ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

03 ตุลาคม 2553

ประวัติวัดพุทธบูชาโดยสังเขป

IMG_6744IMG_6741
IMG_6756IMG_2792

วัดพุทธบูชาจากอดีตสู่ปัจจุบันและมุ่งสู่อนาคต

IMG_2883IMG_2891
IMG_3049IMG_3231

ประวัติวัดพุทธบูชา

วัดพุทธบูชา ตั้งอยู่เลขที่ 172 หมู่ที่ 3 แขวงบางมด เขตทุ่งครุกรุงเทพฯ สังกัดคณะสงฆ์ ธรรมยุตอาณาเขตทิศเหนือ ติดกับที่เอกชนและถนนพุทธบูชาทิศใต้ ติดกับคลองบางมดทิศตะวันออก ติดกับถนนทิศตะวันตก ติดกับคลองวางมดเมื่อเวลาผ่านไปหลาย ๆ ปี พอที่ผู้คนชาวบางมดได้ทำมาหากิจพอมีรายได้ฟื้นตัวจากความบอบช้ำ จากน้ำท่วม จากสงครามโลก ถึงประมาณ พ.ศ. 2497 คหบดีชาวสวน คือ นายเล็กเหมือนโค้ว และภรรยาคือ นางทองดำ (นามสกุลเดิม ตันเปาว์) ซึ่งท่านไม่มีบุตรสืบตระกูล มี บ้านอยู่ริมคลองบางมด และเป็นผู้มีพื้นเพเดิมมาจาก จังหวัดสมุทรสงคราม ได้มีศรัทธาคิดที่จะถวายที่ดินให้สร้างวัด จึงนำความคิดนี้ไปปรึกษากับ ท่านเจ้าคุณ พระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งตัวท่านก็เป็นผู้ที่มีพื้นเพเดิมมาจากจังหวัดสมุทรสงครามเช่นเดียวกัน (ท่านเกิดที่ ต.แหลมใหญ่ อ.บ้านปรก (อ.เมือง ในปัจจุบัน) จ.สมุทรสงคราม ญาติในฝ่ายบิดามารดาของท่านเป็นคริสตศาสนิกชนที่เคร่งครัด ตัวท่านกลับเลื่อมใสในพุทธศาสนา และได้อุปสมบทที่วัดเกตการาม จ.สมุทรสงคราม ภายหลังจึงย้ายมาที่ วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม

ต่อ และต่อมาใน พ.ศ. 2503 ท่านจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 5 ของ วัดบวรนิเวศวิหาร)ซึ่ง ท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี เป็นผู้ที่ นายเล็กและนางทองดำ รู้จักและนับถือมานาน เมื่อได้รับสถานที่ตั้งประวัติความเป็นมาการสนับสนุนและอนุโมทนาจากท่าน นายเล็ก นางทองดำ จึงได้บริจาคที่ดินของตนเองหนึ่งแปลง มีเนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน 97 ตารางวา ซึ่งอยู่ติดกับบ้านของท่านให้เป็นที่สร้างวัดเมื่อมีกุฏิและเสนาสนะพอที่จะเป็นวัดได้แล้ว ชาวบ้านแถบใกล้วัดก็ไปนิมนต์พระที่ตนเคารพมาจำพรรษา รูปหนึ่ง คือ พระปลัดทองสุก ธมฺมคุตฺโต (จากคำบอกเล่าของ ท่านเจ้าคุณพระเทพสารเวที สุบิน เขมิโย ป.ธ. 9 วัดเครือวัลย์วรวิหาร ว่า ต่อมา พระปลัดทองสุกได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสของวัดวชิราลงกรณ์ จ.ชลบุรี (ชื่อวัด และจังหวัด อาจไม่ถูกต้อง) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูธรรมาภิวัฒน์ และมรณภาพที่วัดนั้น) เป็นพระช่างพูดช่างคุย พูดได้ทั้งจีนแต้จิ๋ว และไหหลำ และนอกจากนี้ ยังมีพระจาก วัดท่าข้าม ซึ่งเป็นพระ เชื้อสายรามัญ มาจำพรรษาด้วยต่อมาประมาณ พ.ศ. 2497 นายเล็ก เหมือนโค้ว โดยการแนะนำของ นาย ทิ้ว ประยูรหงษ์ จึงได้ไปขอพระวัดบวรนิเวศวิหารกับ ท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) รองเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ในสมัยนั้น) ให้มารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดพุทธบูชา ท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี ได้แนะนำพระภิกษุให้เลือก 2 รูปคือ รูปหนึ่งเก่งทางการศึกษา (ไม่ทราบนามของท่าน) อีกรูปหนึ่งคือ พระมหาเพิ่ม กตปุญฺโญ (เพิ่ม แผนดี) อายุ 37 พรรษา 17 เก่งทางการก่อสร้าง ซึ่งนายเล็ก เลือกนิมนต์ พระมหาเพิ่ม มาเป็นเจ้าอาวาส ท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี จึงได้มีบัญชาให้พระมหาเพิ่ม มาเริ่มดูแลและก่อสร้างสถานที่แห่งนี้ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 และนายเล็ก ได้สร้างศาลาบำเพ็ญกุศลชั่วคราวขึ้น 1 หลัง ตั้งอยู่ริมคลองบางมด เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับทำบุญใส่บาตรในวันธรรมสวนะ (วันพระ) และใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศลในเทศกาลงานบุญและงานมงคล-อวมงคลต่าง ๆเมื่อ พระมหาเพิ่ม ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ใน พ.ศ. 2499 แล้ว ได้เร่งการก่อสร้าง

ต่อจากที่มีอยู่เดิม คือเมื่อปรับพื้นที่จากร่องสวนให้เป็นที่เรียบเสมอกันแล้ว ได้สร้างศาลาบำเพ็ญกุศลใหม่แทนศาลาชั่วคราว และต่อมาใน พ.ศ. 2498-99 ได้เริ่มสร้างกุฏิขึ้น 8 หลัง เป็นกุฏิไม้โดยนายเล็ก นางทองดำ เหมือนโค้ว ได้ชักชวนญาติ ๆ และผู้คุ้นเคยมาสร้าง และใช้ชื่อกุฏิตามนามสกุลของท่านผู้สร้าง ตั้งอยู่ในแถวเดียวกันบนที่ดินแปลงที่ 1 ของวัดคือ ตั้งอยู่ทางด้านขวา (ทิศใต้) ของอุโบสถหลังใหม่ 4 หลัง (นับจากคลองบางมดเข้ามา)- ตั้งอยู่ทางด้านซ้าย (ทิศเหนือ) ของอุโบสถหลังใหม่ 4 หลัง (นับจากคลองบางมดเข้ามา)- ในปี พ.ศ. 2503 และในปีต่อ ๆ มา มีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์เพื่อก่อสร้าง ศาลาท่าน้ำ 1 หลัง กุฏิไม้ 2 หลัง และศาลาธรรมสังเวช 1 หลังนอกจากถาวรวัตถุที่ได้มีการก่อสร้างไว้ในวัดพุทธบูชาตามที่ได้กล่าวถึง ยังมีถาวรวัตถุที่ได้มีผู้มีจิตศรัทธาสร้างถวายไว้ใน

วัดพุทธบูชาคือ

1. หอกลอง (ไม้)

2. หอระฆัง

3. กุฏิทรงไทย

4. บ่อน้ำบาดาลและประปา

5. กุฏิ “เหมือนโค้ว 1”

6. กุฏิ “ซุนจาง”

7. ร.ร.ปริยัติธรรม “ลบตุ้ม”

8. กุฎิหลังเล็ก

9. ศาลาท่าน้ำ “ปัทมานุช

10. ห้องน้ำสาธารณะ

11. ศาลาธรรมสังเวช “ราษฎรอาศัย”

12. กุฏิ “เอื้ออารีย์ลบตุ้ย”

13. ป้ายชื่อวัด

14. ร.ร.ปริยัติธรรม “ประจักษ์จิตต์”

15. ศาลาธรรมสังเวช “ศรีบังอร”

16. กุฏิ “ไล้สวน”

17. กุฏิ “ประจักษ์จิตต์”

18. กุฏิ อนาลโย

19. กุฏิ 72 ปี

20 กุฏิ มากเกษร

21 ศาลา อเนกประสงค์

22 . ศาลาขวัญบัว

23. ศาลาเกิดน้อย

24. พระมหาธาตุเจดีย์ ศรีพุทธบูชา

พระมหาเพิ่ม ท่านเล็งเห็นว่าเนื้อที่ของวัดยังคับแคบ จึงได้ดำเนินการจัดซื้อที่ดินเพื่อขยายอาณาเขตของวัด และส่วนใหญ่เจ้าของที่เดิมจะขายให้กับทางวัดในราคาแบบกึ่งขาย-กึ่งถวาย เป็นการร่วมกุศลกับทางวัดด้วย เมื่อสรุปที่ดินที่ท่านเจ้าอาวาสจัดซื้อไว้ รวมกับที่ซึ่งได้รับบริจาค จึงรวมเป็นที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งวัดทั้งหมด 46 ไร่ 3 งาน ตารางวา และได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ สร้างขึ้นจนถึงปัจจุบันนี้

ประวัติเจ้าอาวาสวัดพุทธบูชา

1. พระพุทธวิริยากร

2. พระครูวินัยสารสุภัทธ (จำปี จิตธมฺโม)

3. พระมหาสมชาย วรชโย

4. พระมหาโอลิตร จิติสีโล

5 พระราชภาวนาพินิจ (สนธิ์ อนาลโย)เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

ประวัตเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

พระราชภาวนาพินิจ(สนธิ์ อนาลโย)

เมื่อพระครูอุดมสังวรคุณ ได้รักษาการเจ้าอาวาวัดพุทธบูชาเป็นเวลาประมาณ 4 เดือนเศษ ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็น พระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ ฝ่ายวิปัสสนา(สป.วิ.) ที่ พระอุดมสังวรญาณ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ต่อมาจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสของวัดพุทธบูชา เมื่อวันที่ 16 เดือน มกราคม พ.ศ. 2542 ซึ่งนับเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 5ของวัดพุทธบูชา

ท่านเจ้าคุณ พระอุดมสังวรญาณ เป็นชาว จ.อุบลราชธานี มีนามเดิมว่า สนธิ์ นามสกุลคำมั่น เป็นบุตรชายของ นายเป นางกัน คำมั่น เกิดที่ บ้านโนนชาติ ต.สร้างมิ่ง อ.เลิงนกทา จ.อุบลราชธานี อุปสมบทที่ที่ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนคร มี พระครูอุดมธรรมคุณ (ทองสุขสุจิตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สนธ์ (สนธ์ ขนฺตยาคโม) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์กวาด (กวาด สุมโน) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้มีโอกาสไปศึกษาและปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี (วัดหินหมากเป้ง จ. หนองคาย) ประมาณ 1 ปี(2499-2500)

ขณะนั้นเป็นช่วงที่ หลวงปูเทสก์ กำลังอยู่จำพรรษาเพื่อเผยแผ่พระศาสนาอยู่ที่จ.ภูเก็ต จากนั้นจึงได้ย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดพุทธบูชานี้ เมื่อ พ.ศ. 2500 ต่อมาใน พ.ศ. 2508 จึงได้ย้ายไปอยู่จำพรรษาที่วัดบรมนิวาส ซึ่งท่านได้อยู่เป็นกำลังช่วยสอนพระปริยัติธรรม และเป็นกำลังช่วยบริหารวัดบรมนิวาสเรื่อยมา จนกระทั่งวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ.2541จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการเจ้าอาวาสวัดพุทธบูชา ต่อมาวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2542ท่านจึงได้รับแต่งตั้งจาก ท่านเจ้าคุณ พระธรรมกวี (จุนท์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.9)ซึ่งดำรงตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดกรุงเทพมหานคร-สมุทรปราการ (ธ)ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสของวัดพุทธบูชา ซึ่งท่านได้ดำรงตำแหน่งนี้เรื่อยมาจนกระทั่งปัจจุบัน (พ.ส.2552)

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013