ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

26 ตุลาคม 2553

หนังสือแนวทางเดินสู่พระนิพพานโดยหลวงพ่อธี วิจิตตธมฺโมตอนที่ 1

portee2

"ชาวพุทธคือบุคคลสัมมาทิฐิมีความเห็นถูกต้องสัมมาสังกัปปะมีความพิจารณาถูกต้อง"เห็นอะไรก็คือเห็นความทุกข์พิจารณาอะไร ก็คือพิจารณาโดยวางเหตุแห่งความทุกข์เสียได้การปฏิบัติโดยใช้สัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะนำหน้านั่นแหละเป็นพระพุทธศาสนาที่แท้ปัญญาสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะนี้หากใช้เป็นตัวนำในปฏิบัติแล้วจะรวบผนวกเอาศีลและสมาธิมารวมเป็นหนึ่งเดียวเป็นธรรมเอกที่สามารถรู้แจ้งเห็นจริงในพระธรรมคำสอนได้

                                                                  ปณามพจน์
                                         นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต อะนัตตะวาทิโน โคตะโม สะมะณัสสะ
                                         นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต อะนัตตะวาทิโน โคตะโม สะมะณัสสะ
                                         นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต อะนัตตะวาทิโน โคตะโม สะมะณัสสะ
ตัสสะ สะมะณัสสะ พระสมณะผู้เป็นอรหันต์ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ภะคะวะโต อิสสะริยัสสะ จะผู้มีปัญญาล่วงลุถึงธรรมะที่มีพระคุณทั้งหกประการ อะระหะโต กิเลส10 ประการ ซึ่งเป็นแม่ของกิเลสจำนวน 1500 ประการนั้น ทรงใช้พระอรหัตตมรรคตัดขาดหมดสิ้นแล้ว อะนัตตะวาทิโน ทรงมีจรณะและวาทะว่าอนัตตา โคตะโม สะมะณัสสะ พระสมณโคดมพุทธเจ้า นะโม ข้าพเจ้าขอนอบน้อมบูชาพระคุณ

                                                             พระพุทธศาสนา คือ อะไร ?
คำว่า "พระพุทธศาสนา" เป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้งพระพุทธศาสนามิใช่พรหม เทวดา มนุษย์ ชาย หญิง พระภิกษุสามเณร ทั้งมิใช่สมมติหรือบัญญัติ แต่พระพุทธศาสนาเป็นปรมัตถ์ หมายความว่า พุทธะ-ผู้รู้ พุชฌติ-แจ่มแจ้ง สันติ-สงบเย็น รวมความก็คือผู้รู้แจ่มแจ้ง แทงตลอด สงบเย็นการทำบุญทำทาน การรักษาศีลหรือการปฏิบัติสมถภาวนายังไม่เรียกว่า "เป็นพระพุทธศาสนา"เพราะหากว่าการทำบุญ ทำทาน การรักษาศีล การปฏิบัติสมถะเป็นพระพุทธศาสนาแล้ว คนในโลกนี้ก็ล้วนทำบุญทำทานกันทุกคน อเมริกันชนบริจาคทานแต่ละครั้งเป็นพันเป็นหมื่นดอลล่าร์ ศีลก็มีกันอยู่ทุกคนอย่างน้อยก็สองถึงสามข้อ สมถะหรือสมาธิก็มีการปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป ถ้าเช่นนั้นแล้วเขาเหล่านี้ก็ควรจะเรียกว่าเป็นพุทธศาสนิกชนด้วยเหมือนกันศาสนาหลักในโลกนี้ ได้แก่ ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู

ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาซิกข์ ศาสนายูดาย (ศาสนายิว)และศาสนาพุทธ ศาสนาโลกโดยสังเขปมีเท่านี้ แต่แยกออกเป็นนิกายย่อยอีกมากมาย บรรดาศาสนาเหล่านี้ ศาสนาที่นำมนุษย์ไปอยู่กับพระเจ้าบนสวรรค์หรือในอาณาจักรพระเจ้า มีศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม เป็นต้น ศาสนาที่นำมนุษย์ไปเกิดในพรหมโลก คือศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู แต่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่นำมนุษย์ไปสู่พระนิพพาน สาเหตุที่ทำให้ผู้คนไปเกิดในเทวดาและมนุษย์ ก็คือการบำเพ็ญทานและการรักษาศีล ดังบาลีที่ว่า "ทาเนนะ สีเลนะกามะสุคะติง คัจฉะติ" หมายความว่าการปฏิบัติโดยเอาทานและศีลนำหน้า จะไปเกิดในกามาวจรภูมิทั้ง 7 ภูมิ คือมนุษย์ 1และเทวดา6 ชั้น ส่วนการปฏิบัติโดยใช้สมาธินำหน้า จะไปเกิดในรูปพรหมกับอรูปพรหมทั้ง 15 ชั้น ดังบาลีที่ว่า "สะมาธิยา ปะนะ รูปัง อะรูปังคัจฉะติ" ส่วนการปฏิบัติโดยใช้ปัญญานำหน้า มีศีลและสมาธิคอยหนุนอยู่ข้างหลัง จะบรรลุถึงพระนิพพาน ดังบาลีที่ว่า "ปัญญายะนิพพานัง คัจฉะติ"อนึ่ง หากเป็นชาวพุทธโดยแท้จริงแล้วต้องบรรลุถึงพระนิพพานพระพุทธเจ้าก็ทรงเป็นผู้รู้แจ้งแทงตลอดพระนิพพาน ถ้าหากว่าเราเป็นชาวพุทธก็หมายความว่า "เราเป็นสาวกของผู้รู้แจ้งแทงตลอด"รู้อะไรก็คือรู้จักทุกข์ ในโลกที่เรียกว่า "คุกตายเกิด" นี้ มีแต่ตายแล้วเกิดเกิดแล้วตาย แก่แล้วเจ็บ เจ็บแล้วตาย หรือเกิดแก่เจ็บตายหมุนเวียนอยู่ในวงจรทั้ง 4 นี้ อย่างนี้แหละเรียกว่า "เป็นทุกข์" เป็นสภาวะบัญญัติส่วนความเกิดขึ้นตั้งอยู่นี้เป็นสภาวะปรมัตถ์ สภาวะสัจจะ คือรู้อย่างชัดเจนว่า "สภาวธรรมทั้งสองนี้เป็นทุกข์" แทงตลอดคืออะไร คือ

การแทงตลอด (รู้ชัด) ว่า "ทุกข์นี้มาจากไหน" มาจากอัตตทิฐิเมื่อรู้แล้วก็วางเหตุแห่งทุกข์ เหตุทุกข์ก็คือทิฐิเจตสิกฝ่ายอกุศลนั่นเอง ในเริ่มแรกทิฐิเจตสิกฝ่ายอกุศลนี้ มาทำหน้าเป็นกิเลสจากกิเลสมาทำหน้าที่เป็นตัณหา จากตัณหามาทำหน้าที่เป็นสมุทัย ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ของความทุกข์นั่นเอง หากตัดอัตตาตกไปก็ไม่มีอะไรเป็นอัตตากลายเป็นอนัตตาไป สิ่งเกิดขึ้นมาแทนที่ก็คือความสุข
ที่เรียกว่า "พระพุทธศาสนา" นั้น เรียกตามคำว่า "รู้แจ้งแทงตลอดสงบเย็นนั่นเอง" รู้อะไรก็คือรู้ทุกข์ แทงตลอดอะไรก็คือแทงตลอดในเรื่องการวางเหตุคืออัตตาหรือตัวกู ใครผู้ใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เทวดาหรือพรหม หากรู้และแทงตลอดโดยการวางเหตุ
แห่งทุกข์หรืออัตตาเสียได้ บุคคลผู้นั้นเรียกว่า "ชาวพุทธ"มีบาลีว่าโสตาปัตติมัคคอาจาระ ซึ่งกล่าวถึงเรื่องพระโสดาบัน คำว่า "โสดาบัน"มีความหมายว่า "เดินหน้าไม่ถอยหลัง" เดินไปข้างหน้า คือไปสวรรค์หรือพรหมโลก แล้วนิพพานในที่นั้น บางท่านไปนิพพานในรูปพรหมไม่รวมอสัญญพรหม บางท่านไปนิพพานในอรูปพรหมจึงกล่าวได้ว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการ ไปเกิดในสวรรค์พรหม และการบรรลุนิพพานในที่สุด"การที่จะบรรลุถึงพระนิพพานนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่ความยากอยู่ที่การที่จะได้เป็นชาวพุทธต่างหาก ขอให้ทำความเข้าใจในเรื่องเหล่านี้ให้ดี คือ (1) เรื่องพระพุทธศาสนา (2) เรื่องพระอริยะ(3) พระอริยะ ใน 3 เรื่องนี้ การที่จะเป็นพระอริยะ เป็นเรื่องที่ไม่ยากแต่เรื่องพระพุทธศาสนาและเรื่องพระอริยเจ้าทั้งสองนี้แหละเป็นเรื่อง

ยาก เรื่องพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องปริยัติ คือการเรียน การฟังการสอบถาม การท่องบ่น และการคิด ทั้ง 5 ประการนี้เรียกว่า"อนุโมทญาณ คือ การรู้ตามทฤษฎีแห่งรูปนาม หรือรู้ตามมรรควิธีแห่งอริยสัจ 4 ในประเด็นที่เป็นปรมัตถสภาวะ" การเรียนรู้อย่างนี้เรียกว่า
"ชาวพุทธชั้นรอง" แต่พระพุทธศาสนาที่แท้จริงนั้นเป็นเรื่องการปฏิบัติ เพราะพระพุทธศาสนามีความหมายว่า "รู้แจ้ง แทงตลอดสงบเย็น" นั่นเอง คำว่า "สงบเย็น" ก็คือไม่มีความตายอีก เมื่อไม่มีตายก็ไม่มีเกิด เมื่อไม่มีเกิดก็ไม่มีแก่ จึงหลุดพ้นไปจากเหตุแห่งการเกิดแก่เจ็บตาย ที่ว่ารู้แจ้งแทงตลอดสงบเย็นนั้นหมายถึงการรู้แจ้งแทงตลอดว่า1. การตายเกิด เรียกว่า "ทุกข์"2. เหตุแห่งการตายเกิด เรียกว่า "สมุทัย"3. การเห็นทุกข์หรือการตายเกิดนั้น อริยมรรคองค์ที่หนึ่งเป็นผู้เห็น เรียกว่า "สัมมาทิฐิ" (เห็นถูกต้อง)4. การวางเหตุแห่งทุกข์หรือเหตุแห่งการตายเกิดได้นั้นอริยมรรคองค์ที่สองเป็นผู้พิจารณาวาง เรียกว่า "สัมมาสังกัปปะ"(พิจารณาถูกต้อง)
5. การที่เหตุแห่งทุกข์หรือการตายเกิดได้ดับสิ้นไปนั้น เรียกว่า"กิเลสนิโรธ" (ดับกิเลส)6. การที่ขันธทุกข์ได้ดับสิ้นไปนั้น เรียกว่า "ขันธนิโรธ"(ดับขันธ์)


การที่จะเป็นชาวพุทธคือก้าวสู่ความเป็นพระอริยเจ้าในขั้นพระโสดาบันเป็นต้นได้นั้น ต้องอาศัยคุณสมบัติ 8 ประการ คือ

               1. ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ผู้ไม่มีอันตราย 5 ประเภท

                  (ก) กัมมันตราย (ทำผิดอนันตริยกรรม 5)

                 (ข) วิปากันตราย (ความเกิดมาเป็นคนพิกลพิการแต่กำเนิด)
                 (ค) อริยุปวาทันตราย (การว่าร้ายพระอริยเจ้า)
                 (ง) อนาติกมันตราย (ต้องอาบัติสังฆาทิเสส หรือปาราชิกของพระภิกษุ)
                 (จ) อธิฏฐานันตราย (การอธิษฐานเพื่อไปเกิดในยุคพระศรีอาริยเมตไตรย์ เป็นต้น)
              2. ได้พบพระพุทธศาสนา
              3. ได้อยู่ใกล้พระอริยเจ้า
              4. ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ (ธรรมะ) จากพระอริยเจ้า
              5. ได้มนสิการถึงข้อวัตรปฏิบัติ (ธรรมะ) นั้น
              6. ได้มีความศรัทธาเชื่อถือ
              7. ได้ปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทาโดยใช้ปัญญานำหน้า
              8. ปฏิบัติด้วยความพยายามที่ว่าแม้เลือดเนื้อกระดูกและเส้นเอ็นจะแตกไปก็ตามที หากไม่บรรลุธรรมจะไม่ยอมถอย ไม่หวนคืนสู่บ้าน ดังเช่นพระบรมศาสดาได้อธิษฐานว่า "หากไม่บรรลุธรรมจะไม่กลับกรุงกบิลพัสด์ุ (หากไม่ตรัสรู้ธรรมแล้วจะไม่ละความเพียร)  ชาวพุทธทั่วไปที่เรียกว่า "ปกติสาวก" ผู้มีคุณสมบัติครบทั้ง 8ประการนี้ ต้องเข้าถึงพระนิพพานได้อย่างแน่นอน คุณสมบัติทั้ง 8 ประการนี้เป็นองค์แห่งพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยเรื่องพระอริยเจ้าพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ ทรงมีพระกรุณาคุณเพื่อที่จะปรับฐานะความดีของผู้คนให้สูงขึ้น คือทรงโปรดมนุษย์ให้เป็นเทวดา ทรงโปรดเทวดาให้เป็นพรหม มิใช่เพื่อให้ทุกคนบรรลุถึงพระนิพพานแต่เพียงประการเดียวเท่านั้น ขอให้ทุกท่านเข้าใจอย่างนี้ว่า "ชาวพุทธนั้นเป็นบุคคลสัมมาทิฐิมีความเห็นถูกต้องสัมมาสังกัปปะมีความคิดพิจารณาถูกต้อง" เห็นอะไร ก็คือเห็นความทุกข์ คิดพิจารณาอะไร ก็คือคิดพิจารณาโดยวางเหตุแห่ง
ความทุกข์เสียได้

พระพุทธศาสนาแท้จริง "เป็นปัญญา"การปฏิบัติโดยใช้สัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะนำหน้านั่นแหละเป็นศาสนาพุทธที่แท้ ปัญญาสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะนี้หากใช้เป็นตัวนำในการปฏิบัติแล้วก็จะรวบผนวกเอาศีลและสมาธิมารวมเป็นหนึ่งเดียว เป็นธรรมเอกที่สามารถรู้แจ้งเห็นจริงในพระธรรมคำสอนได้ ศีลกับสมาธินี้ หากอยู่ตามลำพังไม่จัดว่าเป็นศาสนาพุทธ แต่หากมาอยู่รวมกับปัญญาทั้งสองนี้จึงเป็นศาสนาได้ดังนั้น พระพุทธศาสนาที่แท้ก็คือปัญญา ศีลกับสมาธิจึงเป็นเพียงอาคันตุกะหรือองค์ประกอบเท่านั้น เพราะถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าไม่อุบัติขึ้นมาในโลกนี้ ศีลกับสมาธิก็มีอยู่ก่อนแล้ว คือมีการถือศีลปฏิบัติสมาธิกันอยู่ก่อนหน้าการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้า แต่ปัญญานี้ในกรณีที่พระพุทธเจ้าไม่อุบัติขึ้นก็ไม่มี พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นจึงมีดังนั้น จึงสามารถกล่าวได้อย่างชัดเจนว่า ปัญญาสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะทั้ง 2 นี้เกิดขึ้นมาพร้อมกับพระพุทธเจ้าและเป็นเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนา

บุคคลในพระพุทธศาสนา คือ ใคร ?สะเจ ปะนะ สังขารา วะ อุปัชชันติ เจวะ นิรุชฌันติ จะ,คัณเหยยะ สาสะนะวะจะโร, สัมมาทิฏฐิ นามะ ภะเว ฯปะนะ-อันความจริงนั้น สังขารา วะ-สังขารทั้งหลายนี้อุปัชฌันติ-เกิดขึ้นอยู่ นิรุชฌันติ-ดับไปอยู่ สาสะนะวะจะโร-ชาวพุทธปฏิบัติตามคำสอน คัณเหยยะ-ควรยึดถือเอาตรงที่สังขารเกิดขึ้นและดับไปนี่แหละ สัมมาทิฏฐิ นามะ-ธรรมะที่ชื่อว่าสัมมาทิฐิ(เห็นถูกต้อง) หรือวิปัสสนาภาวนา ภะเว-จะปรากฏขึ้นมาแท้ที่จริงแล้ว คำว่า "พระพุทธศาสนา" เป็นสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะนั่นเอง สัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะทั้ง 2 นี้เรียกว่า "ปัญญาศาสนา" ปัญญาศาสนาและพุทธะ ทั้งสองคำนี้เป็นสิ่งเดียวกัน คำว่า "พระพุทธเจ้า" มีพระบาลีว่า "พุชฌะตีติ พุทโธ" แปลว่าพุชฌะติ-รู้แจ้ง อิติ-เพราะรู้แจ้งอย่างนี้ พุทโธ-จึงได้ชื่อว่า "พุทธะ"หมายความว่า รู้แจ้งแทงตลอดดับกิเลสสิ้นแล้วสงบเย็นและรื่นรมย์อยู่กับวิปัสสนาภาวนา ผู้มีปัญญาทั้ง 2 ประการดังกล่าวนี้เรียกว่า "บุคคลในพระพุทธศาสนา"พระพุทธศาสนาเป็นปรมัตถ์ไม่ใช่บัญญัติ ซึ่งเรียกตามปัญญาในการวางอัตตาและรับอนัตตานั่นเอง บุคคลผู้เห็นอนัตตาจึงเป็นพุทธศาสนิกชนรองอริยะ คือรองพระโสดาบัน บุคคลในพระพุทธศาสนามี 3ประเภท คือผู้กำลังศึกษาปริยัติเรียกว่า "เป็นพุทธศาสนิกชนประเภทที่สาม"ผู้กำลังปฏิบัติเรียกว่า "เป็นพุทธศาสนิกชนประเภทที่สอง"ส่วนผู้รู้แจ้งแทงตลอดเป็นปฏิเวธแล้วเรียกว่า "พระอริยะ" เป็นพุทธศาสนิกชนประเภทที่หนึ่งซึ่งเป็นชาวพุทธแท้ในบรรดาบุคคล 3ประเภทนี้ บุคคลประเภทที่สามยังไม่สามารถปิดประตูอบายได้ เพราะมีอัตตาอยู่ บุคคลประเภทที่สองกำลังทำกิจคือการตัดอัตตาอยู่ บุคคลประเภทที่หนึ่ง (พระอริยะ)ตัดอัตตาออกได้แล้ว คนประเภทที่สองและที่หนึ่งจึงเป็นคนปลอดอบายภูมิ บุคคลผู้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้วยกฐานะตนเป็นพุทธศาสนิกชน มีนัยอันได้อธิบายมาด้วยประการฉะนี้
                                                       

                                                           ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ
ปริยัติศาสนา คือการศึกษา การฟัง การคิด การสอบถามซึ่งหมายถึงการนำเอาพระธรรมคำสอนที่พระพุทธองค์ตรัสไว้กลับมา
ศึกษา ฟัง คิด และสอบถามอีก คำว่า "คิด" คือพิจารณาในสิ่งที่ได้ฟังได้สอบถามมาว่าเป็นความจริงหรือไม่ นี้เรียกว่า "ปริยัติ" ผู้ที่มีความรู้ด้านปริยัตินี้เรียกว่า "เป็นชาวพุทธชั้นรอง" การศึกษาคืออะไร คือการเรียน การฟัง และการสอบถามเรื่อง "รูปธาตุนามธาตุอันเป็นปรมัตถสัจจะ" เป็นต้นปฏิบัติศาสนา คือการหาและการเห็น คำทั้ง 2 นี้เป็นขั้นตอนของการปฏิบัติ หาอะไร หารูปธาตุนามธาตุที่เป็นปรมัตถสภาวะและหาอนัตตา ผู้หาคือสัมมาสังกัปปะพิจารณาหา ธรรมใดเกิดขึ้นมาก็ไม่ยึดถือ ปล่อยวางลงไปด้วยความรู้ว่าเป็นอนัตตา มิใช่ตัวตนผู้เห็นคือสัมมาทิฐิ เห็นรูปธาตุนามธาตุที่เกิดดับ ๆ เป็นอนัตตานี้เรียกว่า "ปฏิบัติ"ปฏิเวธศาสนา คือการได้และการเป็น คำทั้ง 2 นี้มีความหมายดังนี้ คำว่า "ได้" คือได้มรรคญาณเกิดขึ้นมาตัดอัตตา คำว่า "เป็น"ก็คือเป็นผลญาณ เป็นปฏิเวธฉะนั้น คำว่า "รู้ พูด ซึ่งเป็นส่วนของปริยัติ หา เห็นซึ่งเป็นส่วนของปฏิบัติ ได้ เป็น ซึ่งเป็นส่วนของปฏิเวธ" นี้เป็นศาสนา คือการเข้าถึงคำสอนนั่นเอง การศึกษาเฉพาะปริยัติยังไม่สามารถทำให้พ้นจากการตกไปสู่อบายได้ ส่วนการปฏิบัติกับปฏิเวธกล่าวคือ "หา เห็น ได้ เป็น" นี้ ทำให้หลุดพ้นจากการตกไปสู่อบายได้แล้ว ดังนั้น หากเข้าถึงคำสอนก็พ้นอบายแต่หากไม่เข้าถึงก็หลีกไม่พ้น

                                                         ศีล สมาธิ วิปัสสนา
ปฏิบัติตามแล้ว จะพาไปไหน ?สีเลนะ วีติกกะมะกิเลเส เขเปนโต กามะสุคะติง คัจฉะติฯสะมาธิยา ปะริยุฏฐานะกิเลเส เขเปนโต รูปัง อะรูปัง คัจฉะติ ฯปัญญายะ อะนุสสะยะกิเลสะเขปะเน คัจเฉยยะ นิพพานะมุตตะมังถือศีล สีเลนะ-ฆราวาสถือศีล 5 ศีล 8 หรือศีล 10 แล้วปฏิบัติอย่างเคร่งครัด พระสงฆ์ถือปฏิบัติศีลสิกขาบท 227 อย่างเคร่งครัดวีติกกะมะกิเลเส เขเปนโต -เมื่อตัดวีติกกมกิเลส อันเกิดทางกายและวาจารวม 7 ประการได้แล้ว กามะสุคะติง คัจฉะติ-ย่อมไปบังเกิดเป็นเทวดา มนุษย์ หรือเข้าสู่สุคติโลกสวรรค์หากฆราวาสปฏิบัติศีล 5 ศีล 8 หรือศีล 10 อย่างเคร่งครัดหรือพระสงฆ์ถือศีล 227 อย่างเคร่งครัด ตัดวีติกกมกิเลสซึ่งเกิดขึ้นทางกายและวาจา คือกายทุจริตและวจีทุจริตได้ขาดแล้ว ความสงบสุขก็จะเกิดขึ้นทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เป็นเหตุให้เกิดในเทวดาและมนุษย์ปฏิบัติสมาธิสะมาธิยา-ใช้สติและสมาธิหรือสมถภาวนาเป็นข้อปฏิบัติตามสมถะ 40 มีพุทธานุสสติ เป็นต้น ปะริยุฏฐานะกิเลเส เขเปนโต-เมื่อตัดปริยุฏฐานกิเลส  การถือผิด คือการไหว้เจ้านับถือผี หรือที่เรียกว่า (1) อภิชฌา-ความเพ่งอยาก ได้ของเขา (2) พยาบาท-ความมุ่งร้าย (3)มิจฉาทิฐิ-ความเห็นผิดได้แล้วรูปัง อะรูปัง คัจฉะติ-ย่อมเข้าถึงพรหมโลกที่เป็นรูปพรหมและอรูปพรหม (เกิดเป็นพรหม)การปฏิบัติสมถะ 40 เป็นวิธีการปฏิบัติโดยใช้สติกับสมาธินำหน้า การปฏิบัติสมถะหรือสมาธินี้สามารถตัดปริยุฏฐานกิเลส คือใจบาป 3 ประการ ได้แก่ อภิชฌา-ความเพ่งอยากได้ของเขาพยาบาท-ความมุ่งร้าย มิจฉาทิฐิ-ความเห็นผิด โลกหน้าของ
ผู้ปฏิบัติสมถะก็คือไปเกิดเป็นรูปพรหม หรืออรูปพรหมเจริญวิปัสสนาปัญญายะ-การใช้ปัญญาอันเป็นวิปัสสนา กล่าวคือ สัมมาทิฐิ
ดูเห็นรูปธาตุและนามธาตุ และใช้สัมมาสังกัปปะคิดพิจารณาว่า"เป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน บังคับไม่ได้"อะนุสสะยะกิเลสะเขปะเน-เมื่อกำจัดตัดอนุสัยกิเลส 10ประการซึ่งติดตามไปทุกภพทุกชาติ ได้แก่โลภะ 3 โมหะ 4 โทสะ 2วิจิกิจฉา 1 ได้ขาดแล้วคัจเฉยยะ นิพพานัง อุตตะมัง-ย่อมดำเนินถึงพระนิพพานอันยอดเยี่ยมกล่าวคือ กิเลสนิโรธดับกิเลส ขันธนิโรธดับขันธ์

                                       ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม


หากใช้สัมมาทิฐิดูเห็นรูปธาตุนามธาตุอยู่ และใช้สัมมาสังกัปปะคิดพิจารณาอยู่ว่า "เป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน" อยู่อย่างต่อเนื่องมรรคญาณก็จะเกิดขึ้นมาตัดกิเลส คืออัตตทิฐิและวิจิกิจฉา พร้อมด้วยสีลัพพตปรามาสขาดลงแล้วก็เข้าสู่ความเป็นพระอริยบุคคลประเภทที่หนึ่ง คือพระโสดาบัน ต่อจากนั้นก็เสวยกิเลสนิโรธนิพพานอันยอดเยี่ยม ส่วนขันธนิโรธนิพพานสำหรับพระโสดาบัน ก็คืออบายภูมิ 4 และมนุษย์ 1 ทั้ง 5 ภพภูมินี้ดับสงบลงไป คือไม่ต้องไปเกิดในภูมิทั้ง 5 ดังกล่าวอีกต่อไปหากเข้าสู่ความเป็นพระสกทาคามี ก็ตัดกิเลสทั้ง 2 ได้เหมือนพระโสดาบัน คือ อัตตทิฐิและวิจิกิจฉา พร้อมด้วยสีลัพพตปรามาสและพร้อมกันนี้กิเลสอีก 8 ตัวที่เหลือก็อ่อนกำลังลง ไม่มีเรี่ยวแรงเหี่ยวเฉาลงไปหากเข้าสู่ความเป็นพระอนาคามีก็ตัดกิเลสได้เพิ่มอีก 8 ตัวและอีก 2 ตัว ๆ ละครึ่ง (ถีนะครึ่งหนึ่ง มานะครึ่งหนึ่ง) เป็นกิเลส-นิโรธนิพพาน ส่วนขันธนิโรธนิพพานของพระอนาคามี คือกามาวจรภูมิ 11 รูปาวจรภูมิ 11 และอรูปาวจรภูมิ 4 รวม 26 ภพภูมิ ก็ดับลงพร้อมกับการบรรลุเป็นพระอนาคามี พระอนาคามีจึงไม่ไปเกิดในภพภูมิทั้ง 26 นี้อีกต่อไป แต่ไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาสทั้ง 5หากบรรลุเป็นพระอรหันต์ก็ตัดกิเลสอีก 2 ครึ่งที่เหลือ คือถีนะครึ่งหนึ่งและมานะครึ่งหนึ่ง เป็นกิเลสนิโรธนิพพาน สำหรับขันธ์ของพระอรหันต์นั้น หากระยะเวลาแห่งการดับขันธ์มาถึงเข้าก็จะทิ้งขันธ์ที่ต้องไปเกิดในอบาย มนุษย์ สวรรค์ และพรหมแล้ว เข้าสู่ขันธนิโรธนิพพานการที่จะเข้าสู่มรรคผลหรือการบรรลุถึงนิพพานนั้นปัญญาสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ 2 ประการนี้มีความสำคัญมากเป็นอันดับหนึ่ง ดังได้พรรณนาด้วยประการฉะนี้

                                                          ทางเดินของสัตว์โลก


บรรดาหนทางทั้งหลาย หนทางอันประกอบด้วยองค์ 8ประเสริฐที่สุด ทั้งนี้เห็นได้จากทางเดินของสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ย่ำเดินอยู่ในวัฏสงสารมี 5 เส้นทาง โดยเรียงตามลำดับต่ำสุดไปหาสูงสุด คือทางเดินไปสู่อบายภูมิสี่ของผู้ประกอบอกุศลกรรม ทางเดินไปสู่มนุษย์และเทวดาของผู้ขวนขวายในทานและรักษาศีล ทางเดินไปสู่รูปพรหมของผู้ปฏิบัติสมถภาวนาคือเจริญสติและสมาธิ ทางเดินไปสู่อรูปพรหมของผู้เจริญอรูปฌาน และทางเดินไปสู่พระนิพพานของผู้เจริญวิปัสสนาภาวนาคือสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ โดยมีรายละเอียดดังนี้
             1. เส้นทางไปอบายภูมิ 4 คือ บุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฐิ-เห็นผิด มิจฉาสังกัปปะ-พิจารณาผิด มิจฉาวายามะ-พยายามผิด มิจฉาสติ-ระลึกผิด เรียกว่า "ทุคติอเหตุบุคคล" เพราะทำกรรมนี้เป็นเหตุ จึงไปเกิดในทุคติภูมิ คือ อบายภูมิ 4 ได้แก่นรกสัตว์เดรัจฉาน เปรต และอสุรกาย

             2. เส้นทางดีกว่าอบายภูมิ 4 คือ เทวดาและมนุษย์ บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์แห่งอริยมรรค 3 ประการ คือสัมมาวาจา-วาจาถูกต้อง สัมมากัมมันตะ-การงานถูกต้อง สัมมาอาชีวะ-อาชีพถูกต้อง กล่าวคือ มีการให้ทานรักษาศีลได้ดี เพราะทำกรรมนี้เป็นเหตุจึงไปเกิดในโลกกามสุคติภูมิ 7 ภพภูมิ ประกอบด้วยมนุษย์ 1และสวรรค์ 6 ชั้น ทางเดินนี้เป็นหนทางแห่งสุคติอเหตุบุคคล ทวิเหตุ-บุคคล และติเหตุบุคคล
             3. เส้นทางดีกว่าเทวดาและมนุษย์ คือ รูปพรหม ได้แก่บุคคลผู้ประกอบด้วยองค์แห่งอริยมรรค 3 ประการ คือ สัมมา-วายามะ-พยายามถูกต้อง สัมมาสติ-ระลึกถูกต้อง และสัมมา-สมาธิ-ตั้งใจถูกต้อง กล่าวคือปฏิบัติสมถะหรือสมาธิได้ดี เพราะทำกรรมนี้เป็นเหตุจนได้ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌานจึงไปเกิดในรูปพรหม 11 ภูมิ
             4. เส้นทางเดินที่ดีกว่ารูปพรหม คืออรูปพรหม 4ได้แก่บุคคลผู้เจริญสมถะ โดยใช้สิ่งที่ไม่มีรูปร่างเป็นอารมณ์ เช่นใช้อากาศอันไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ เป็นต้น จนได้อรูปฌานแล้วไปบังเกิดในอรูปพรหม (โลกมีทั้งหมด 26 ภพภูมิ ส่วนสุทธาวาสทั้ง 5
ชั้นไม่รวมอยู่ในโลก)
              5. เส้นทางดีกว่าอรูปพรหม คือ พระนิพพาน ซึ่งเป็นเส้นทางดับสาเหตุแห่งทุกข์ กล่าวคือ บุคคลผู้ประกอบด้วยมรรคมีองค์ 8อย่างครบถ้วน โดยมีปัญญานำหน้า คือ สัมมาทิฐิ-ความเห็นถูกต้องสัมมาสังกัปปะ-พิจารณาถูกต้อง สัมมาวาจา-วาจาถูกต้อง
สัมมากัมมันตะ-การงานถูกต้อง สัมมาอาชีวะ-อาชีพถูกต้องสัมมาวายามะ-พยายามถูกต้อง สัมมาสติ-ระลึกถูกต้องและสัมมาสมาธิ-ตั้งใจถูกต้อง มรรคมีองค์ 8 นี้รวมเป็นทางสายเดียว เรียกว่า "สัจจานุโลมญาณ" โอปนยิโกและสัจจานุโลม-ญาณรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเรียกว่า "รับธรรมส่งให้มรรคตัดกิเลสให้ขาดลงไป" ดังนั้น หนทางอันประกอบด้วยองค์ 8 นี้เป็นหนทางประเสริฐที่สุด ทั้งนี้ ก็เนื่องจากว่าหากบุคคลสามารถปฏิบัติธรรมจนบรรลุเป็นพระอริยบุคคลชั้นที่หนึ่ง คือพระโสดาบันจะมีการเกิดตายอีกไม่เกิน 7 ชาติ พระสกทาคามีจะมีการตายเกิดอีกทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโมไม่เกิน 3ชาติ พระอนาคามีจะมีการตายอีกเพียงชาติเดียวพระอรหันต์จะไม่มีการตายอีก นิพพานเพียงประการเดียว นี่แหละที่เรียกว่า "อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสฏโฐ-มรรคมีองค์ 8 เป็นหนทางประเสริฐที่สุด"ทางเดินของสัตว์โลกดังกล่าวนี้ เป็นแนวทางที่บ่งบอกชัดเจนว่าแต่ละหนทางมีจุดเริ่มต้นและจุดหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ใดเดินอยู่บนเส้นทางใด (ประกอบกรรมใด) ก็จะได้รับผลแห่งกรรมนั้นกล่าวคือ ประกอบอกุศลกรรมก็จะเดินทางสู่อบาย 4 ประกอบกามาวาจรกุศลก็จะเดินทางสู่เทวดาและมนุษย์ ประกอบรูปกุศลก็จะเดินทางสู่รูปพรหม ประกอบอรูปกุศลก็จะเดินทางสู่อรูปพรหมประกอบโลกุตตรกุศลก็จะเดินทางสู่พระนิพพาน

 

อ่านต่อตอนที่ 3

                                                          สมถะ กับ วิปัสสนา

คำว่า "สมถะก็คือสมาธิ" คำว่า "ภาวนาก็คือสติ" สติกับสมาธิผนวกรวมกัน จึงเรียกว่าสมถภาวนา นี่แหละคือวิธีการปฏิบัติเพื่อให้ได้ฌานส่วนคำว่า "วิปัสสนา" คือการใช้อารมณ์อันตาเนื้อของมนุษย์ เทวดาและพรหมมองไม่เห็นนั่นแหละ มองเห็นเข้าไป นี่คือหน้าที่ของสัมมาทิฐิเป็นตัววิปัสสนา เมื่อสัมมาทิฐิเห็นแล้วสัมมาสังกัปปะพิจารณาต่อว่า"สิ่งนี้มิใช่ตัวตน" นี่เป็นตัวภาวนา เมื่อรวมกันจึงเรียกว่า "วิปัสสนาภาวนา"

                                                          กรรมฐานอยู่ที่ไหน?
เหตุใด จึงเรียกว่า "กรรมฐาน"คำว่า "กรรมฐาน" คือที่ตั้งแห่งการทำงานของจิต กรรมฐานนี้มี 2 อย่าง ประกอบด้วยสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานสมถะเป็นบัญญัติ วิปัสสนาเป็นปรมัตถ์ บัญญัติอยู่ที่ไหน สมถ-กรรมฐานก็อยู่ที่นั่น ปรมัตถ์อยู่ที่ไหน วิปัสสนากรรมฐานก็อยู่ที่นั่นคำว่า "สมถะ" เป็นมรดกของใคร ก็ตอบได้ว่าเป็นมรดกของพวกอาภัสสรพรหม ซึ่งติดมากับอาภัสสรพรหมตั้งแต่เริ่มมาถือปฏิสนธิเป็นโอปปาติกะในโลกยุคแรกโน้นแล้ว สมถะทั้ง 36 ประเภทมีมาตั้งแต่นั้นแต่พระพุทธเจ้าทรงเพิ่มเติมอีก 4 ประการ คือ พุทธานุสสติธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ และอุปสมานุสสติ จึงเป็นสมถกรรมฐาน40 ประการ หากมีคำถามว่า "วิปัสสนากรรมฐานเป็นมรดกของใคร" ก็ตอบได้ว่า "เป็นมรดกของพระพุทธเจ้า" เพราะพระองค์ทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง วิปัสสนากรรมฐานเกิดเฉพาะในยุคที่พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นมาในโลกนี้เท่านั้น หากพระพุทธเจ้าไม่ทรงอุบัติขึ้นมาโนโลก คำว่า "วิปัสสนากรรมฐาน" ก็ไม่มีสมถกรรมฐาน 40 ว่าโดยสังเขปมี 3 ประการ
                      1. บริกรรมภาวนา หรือบริกรรมนิมิต
                      2. อุคคหภาวนา หรืออุคคหนิมิต
                      3. อัปปนาภาวนา หรือปฏิภาคนิมิต
สมถกรรมฐาน 40 โดยสังเขปมีเพียงเท่านี้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บริกรรมสมาธิ อุคคหสมาธิ และอัปปนาสมาธิ จิตที่ตั้งมั่นอยู่กับการบริกรรมต่าง ๆ เช่น การกำหนดลมหายใจเข้า-ออกหรือการบริกรรมในลักษณะอื่น เรียกว่า "บริกรรมสมาธิ" จิตที่ตั้งมั่นอยู่แล้วเห็นนิมิตต่าง ๆ เช่น สีแดง สีเขียว สีเหลือง ห้วย หนอง คลองบึง วัด พระธาตุ เจดีย์ ผู้หญิง ผู้ชาย เทวดา เป็นต้น นิมิตเหล่านี้มาปรากฏอยู่ไม่นานนักก็หายไป ไม่ถึงกับแน่วแน่มั่นคง เรียกว่า"อุคคหสมาธิหรืออุคคหนิมิต" จิตที่ตั้งมั่นเห็นนิมิตต่าง ๆ เช่นเห็นพระพุทธเจ้า เป็นต้น ต้องการเห็นเมื่อไรก็สามารถเห็นได้โดยตลอด ตั้งมั่นอยู่ยาวนานไม่เคลื่อนคล้อยไปไหน เรียกว่า "อัปปนา-สมาธิ" หรืออัปปนานิมิต การที่จิตตั้งมั่นอยู่กับการบริกรรมทางวาจาหรือทางจิต นิมิตเกิดขึ้นมาแล้วก็หายไปไม่มั่นคง หรือนิมิตเกิดขึ้นมาแล้วตั้งอยู่มั่นคง วิธีการทำจิตให้สงบทั้ง 3 ประการนี้เรียกว่า"เป็นสมถภาวนา" จุดหมายก็คือการได้ฌาน หากเสียชีวิตไปก็จะไปเกิดในหมู่พรหม นี่แหละที่เรียกว่า "เอาบัญญัติ หาบัญญัติ เห็นบัญญัติ ได้บัญญัติ เป็นบัญญัติ" เป็นโลกิยะ หรือคุกตายเกิดของ

หมู่สัตว์ กล่าวคือยังต้องวนเวียนอยู่ในวัฏสงสารต่อไปคำว่า "กรรมฐาน" ในภาษาบาลีมีวิเคราะห์ว่า กัมมัง กะโรติฐานะตีติ กัมมัฏฐานัง แปลว่า กัมมัง-สิ่งที่จะได้ฌาน ได้มรรคผลกะโรติ-กระทำอยู่ ฐานติ-ตั้งมั่นอยู่ อิติ-เพราะเหตุที่ได้ฌานได้มรรคผลนั้น กัมมัฏฐานัง-จึงได้ชื่อว่า "กรรมฐาน" การปฏิบัติจนได้ฌานเรียกว่า "สมถกรรมฐาน" สมถกรรมฐานนี้มีทั้งหมด 40ประการดังกล่าวมาแล้ว คำว่า "สมถะ" นี้ มีวิเคราะห์ว่า นิวะระณังสะเมตีติ สะมะโถ แปลว่า นิวะระณัง-นิวรณธรรมอันประกอบด้วยกามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา และอวิชชาสะเมติ-ทำให้สงบอยู่ ทำให้หลับเย็นอยู่ อิติ-เพราะทำนิวรณธรรมทั้ง 6 นี้ให้สงบเย็นอยู่อย่างนี้ สมโถ จึงชื่อว่า "สมถะ" กล่าวคือสิ่งที่ทำให้นิวรณธรรมทั้ง 6 สงบเย็นอยู่ เหมือนดังเด็กที่นอนหลับอยู่ในเปล ชื่อว่า "สมถะ"" นิวรณธรรมเหล่านี้เพียงแค่สงบอยู่เท่านั้นยังไม่ถึงกับดับมอดไปหรือตายไปจากจิต ตัวอย่างเช่น อาฬารดาบสและอุทกดาบสบำเพ็ญสมถะจนได้ฌานแล้วตายไปเกิดในพรหมโลกเสวยความสงบของกิเลสเหมือนกับหลับอยู่ 500 กัลป์ ส่วนกาลเทวิลดาบสไปเสวยความสงบของกิเลสเหมือนกับหลับอยู่ในพรหมโลก 84,000 กัลป์ หากล่วงเลยอายุนั้นแล้วก็ต้องกลับมาเวียนเกิดเวียนตายเป็นเทวดาและมนุษย์อยู่อีกสิ่งที่กล่าวมานี้เรียกว่า "ใช้บัญญัติ หาบัญญัติ" นั่นเองบัญญัติคือสติ หาบัญญัติคือการกำหนดลมหายใจเข้า-ออก หรือใช้พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ เป็นต้น หรือใช้อารมณ์ใด อารมณ์หนึ่งในบรรดาอารมณ์สมถะทั้ง 40 ประการ การใช้สติบัญญัติหาบัญญัตินี้เป็นการกำหนดให้รู้ทันแล้วจะเกิดนิมิตต่าง ๆ ขึ้นมาให้เห็นเช่น โอภาส แสงสว่าง สีแดง สีเหลือง เห็นห้วย คลอง หนอง บึงเห็นภูเขา ป่าไม้ เห็นพระพุทธเจ้า เห็นพระภิกษุสามเณร แม่ชีหรือเห็นเทวดามนุษย์ เป็นต้น นิมิตเหล่านี้ปรากฏขึ้นมาให้เห็นแล้วก็หายไป เป็นอุคคหนิมิต หากนิมิตเกิดขึ้นแล้วตั้งมั่นอยู่เป็นปฏิภาค-นิมิตเรียกว่า เห็นบัญญัติ ได้บัญญัติคือได้อัปปนาสมาธิ (ฌาน)เป็นบัญญัติก็คือเมื่อตายไปก็จะไปเกิดเป็นรูปพรหม ดังเช่นอาฬารดาบสและอุทกดาบส หรือเกิดเป็นอรูปพรหม ดังเช่นกาลเทวิลดาบส การปฏิบัติดังเช่นที่กล่าวมานี้เรียกว่า "การปฏิบัติแบบสมถภาวนา" คำว่า "สมถะ" ก็คือสมาธิ คำว่า "ภาวนา" ก็คือสตินั่นเอง สติกับสมาธิผนวกรวมกันจึงเป็นสมถภาวนา นี่แหละคือวิธีการปฏิบัติเพื่อให้ได้ฌานกรรมฐานกล่าวคือที่ตั้งแห่งการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งมรรคผลเรียกว่าวิปัสสนากรรมฐาน คำว่า "วิปัสสนา" นี้ มีวิเคราะห์ว่าวิเสเสนะ ปัสสะตีติ วิปัสสะนา แปลว่า วิเสเสนะ-ใช้อารมณ์อันตาเนื้อของมนุษย์เทวดาและพรหมมองไม่เห็นนั่นแหละ ปัสสะติ-เห็นอยู่ดูอยู่ อิติ-เพราะใช้ตามนุษย์ตาเทวดาตาพรหมดูไม่เห็นแต่ใช้ตาสัมมาทิฐิมองเข้าไปเห็นนั่นเองจึงเรียกว่า "วิปัสสนา" คำว่า"วิปัสสนา" นี้ ว่าโดยพิสดารมีอนัตตา 5 ประการ อนิจจัง 15 ประการทุกขัง 20 ประการ รวมเป็น 40 เรียกว่า "วิปัสสนา" เมื่อว่าโดยสังเขปมี  3 ประการ คือ
          1. อนัตตานุปัสสนา-ดูให้เห็นความเป็นอนัตตา (เห็นอนัตตา)  ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม
          2. อนิจจานุปัสสนา-ดูให้เห็นความเป็นอนิจจัง (เห็นอนิจจัง)
          3. ทุกขานุปัสสนา-ดูให้เห็นความเป็นทุกข์ (เห็นทุกขัง)หน้าที่ของสัมมาทิฐิคือเป็นผู้เฝ้าดู สัมมาทิฐิเป็นผู้เฝ้าดูให้เห็น (จิต เจตสิก รูป) ว่า "มิใช่ตัวตน (มิใช่กู)" ให้เห็นว่า"ไม่มั่นคง (ไม่เที่ยง)" ให้เห็นว่า "เป็นทุกข์" นี่แหละเรียกว่า"วิปัสสนา" ตาที่เห็นสภาวะธาตุดิน คือ หนัก แข็ง หยาบ กระด้างเบา อ่อน นิ่ม สภาวะธาตุน้ำ คือ ซึมซับ เอิบอาบ แตกแยก เกาะกุมสภาวะธาตุไฟ คือ เย็น ร้อน อุ่น หนาว สภาวะธาตุลม คือ เจ็บ ปวดเต้น ตอด เหน็บ ซ่าน โยก คลอน ไหว นิ่ง เรียกว่า "ตาสัมมาทิฐิ"สภาวธรรมเหล่านี้ ตาเนื้อมนุษย์ตาเทวดาหรือตาพรหมมองไม่เห็น มีแต่ตาสัมมาทิฐิเท่านั้นสามารถมองเห็นได้จึงเรียกว่า"วิปัสสนา" เมื่อสัมมาทิฐิเห็นแล้ว สัมมาสังกัปปะพิจารณาต่อไปว่า"สภาวะเหล่านี้เป็นอนัตตา (มิใช่ตัวตน) บังคับบัญชาไม่ได้" การที่สัมมาสังกัปปะพิจารณาอยู่อย่างนี้เรียกว่า "ภาวนา" สัมมาทิฐิเป็นตัววิปัสสนา สัมมาสังกัปปะเป็นตัวภาวนา เมื่อรวมกันเข้าจึงเรียกว่า"วิปัสสนาภาวนา" ความจริงแล้ว วิปัสสนาก็คืออนัตตาประการเดียวเท่านั้นเอง สมถภาวนาเรียกว่า "โลกิยบัญญัติคือยังวนเวียนอยู่ในคุกตายเกิด (วัฏสงสาร)" ส่วนวิปัสสนาภาวนาเป็นโลกุตตรสัจจะ หลุดพ้นจากการตายเกิด พระพุทธเจ้าหรือพระอรหันต์ไม่มีตาย มีแต่สละขันธ์แล้วก็นิพพาน หากเป็นพระอรหันต์ในเทวดาหรือในพรหมก็สละขันธ์เทวดาหรือขันธ์พรหมแล้วก็นิพพาน เรียกว่า"ย้ายจิตอรหัตตผลเข้าสู่นิพพาน" ไม่มีตายเกิดอีก

ใจทั้งหมดมี 89 ดวง ในบรรดาใจเหล่านี้ จำแนกออกตามความถี่แห่งการตายเกิดได้ดังนี้ คือใจตาย 7 ครั้ง (ตายอีกเจ็ดชาติ)เป็นใจของพระโสดาบัน ใจตาย 3 ครั้ง (ตายอีกสามชาติ) เป็นใจของพระสกทาคามี ใจตายครั้งเดียว (ตายอีกเพียงชาติเดียว) เป็นใจของพระอนาคามี ใจไม่ตายเลย คือใจของพระอรหันต์ ใจตายมากที่สุดคือใจอเหตุอกุสลวิบาก ใจตายมากปานกลาง คือใจอเหตุกุสลวิบาก1 และใจมหาวิบาก 8 ใจตายน้อยอันดับสอง คือใจรูปวิบาก 5 ใจตายน้อยอันดับที่หนึ่ง คือใจอรูป 4 รวมใจตายทั้งหมด 18 ใจตายก็เป็นใจเหล่านี้ ใจที่ไปปฏิสนธิก็เป็นใจเหล่านี้เหมือนกันการที่จะได้ใจไม่ตาย คือเป็นพระอรหันต์นั้น ต้องพบศาสนาของพระพุทธเจ้าจึงจะหาได้ หากไม่พบพระพุทธศาสนาก็หาไม่ได้ ผู้ที่เกิดมาไม่พบพระพุทธศาสนา แต่ปฏิบัติตนจนเป็นพระพุทธเจ้ามี 4ประเภทเท่านั้น คือ พระวิริยาธิกพุทธเจ้าพระสัทธาธิกพุทธเจ้า พระปัญญาธิกพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 3 องค์นั้น ทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่แสดงธรรมไม่อบรมสั่งสอนใครขอกล่าวย้ำถึงวิปัสสนาอีกครั้งหนึ่ง วิปัสสนาโดยตรงก็คือการเห็นอนัตตา วิปัสสนาโดยกว้างก็คือการเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาวิปัสสนานี้เป็นสมบัติของพระพุทธเจ้า หากพระพุทธเจ้าทั้ง 3พระองค์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งไม่เสด็จอุบัติขึ้นมาในโลกวิปัสสนาก็ไม่มี ส่วนสมถะเป็นสมบัติของพรหม หรือพราหมณ์ฮินดู เรียกว่า "เป็นสมบัติประจำโลก ประจำคุกตายเกิด" ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติหรือไม่ก็ตาม สมถะก็มีอยู่อยู่ก่อนแล้ว

ส่วนอนัตตาเป็นสมบัติของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์การที่พระพุทธเจ้าทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ก็หมายความว่า "พระองค์พิจารณาอนัตตานั่นเอง" เพราะปฏิจจสมุปบาทกับอนัตตาเป็นธรรมอันเดียวกัน การที่พระองค์ทรงพิจารณาจนปฎิจจสมุปบาทขาดไปไม่สามารถหมุนเวียนอีกต่อไปนั้น เป็นตรงที่เวทนานั่นเอง ส่วนอัตตาก็คือตัณหาหรืออัตตทิฐิ หากว่าอัตตากลายเป็นอนัตตาแล้ว ปฏิจจสมุปบาทก็ขาดตกไปไม่หมุนเวียนอีกเมื่อเป็นเช่นนั้น วัฏสงสารหรือสังสารวัฏก็หยุดหมุนทันที สมบัติหรือเครื่องพิจารณาของพระปัจเจกพุทธเจ้าก็คืออนิจจังกับทุกขังซึ่งบางองค์เห็นดอกบัวเหี่ยวแห้งไปหรือเห็นใบไม้ร่วงหล่นจากต้นแล้วพิจารณาเห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง ก็สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าส่วนพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์จะพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาพระพุทธเจ้าจึงทรงเป็นอนัตตวาทะคำว่า "วิปัสสนาภาวนา" ก็คือ สัมมาทิฐิทำงานร่วมกับสัมมาสังกัปปะนั่นเอง เพราะว่าการเห็นก็คือสัมมาทิฐิ เป็นวิปัสสนาการคิดพิจารณาก็คือสัมมาสังกัปปะ เป็นสัมมสนญาณ การใคร่ครวญพิจารณา หรือสัมมาวิตกการคิดถูกต้อง รวมกันจึงเรียกว่า"วิปัสสนาภาวนา"ใคร คือผู้แสดงธรรมบอกกรรมฐาน  อะภิธัมมิกะภิกขูเยวะ กิระ ธัมมะกะถิกา นามะกัมมัฏฐานาจะริยา นามะ อะวะเสสา นะ ธัมมะกะถิกา ฯกิระ-ทราบว่าท่านผู้ทั้งรู้ธรรมและบอกธรรมได้แท้จริงอะภิธัมมิกะภิกขูเยวะ-คือพระสงฆ์หรือฆราวาสผู้รู้อภิธรรม ผู้ได้
ศึกษาพระอภิธรรมทั้ง 7 คัมภีร์ ผู้สามารถล่วงรู้ถึงรูปธาตุและนามธาตุกล่าวคือ จิต เจตสิก และรูปนั้นเท่านั้น ธัมมะกะถิกา นามะ-จึงได้ชื่อว่า "เป็นผู้กล่าวธรรม" หรือแสดงธรรม กัมมัฏฐานาจะริยา นามะ-เป็นอาจารย์ผู้กล่าวสอนกรรมฐาน อะวะเสสา-นอกจากผู้ที่ได้ศึกษาเรียนรู้พระอภิธรรมแล้ว นะ ธัมมะกะถิกา-ไม่จัดว่าเป็นผู้กล่าวธรรมสั่งสอนธรรมบุคคลผู้เป็นพระหรือฆราวาสที่เรียนรู้พระอภิธรรมรู้รูปธาตุ นามธาตุ กล่าวคือจิต เจตสิก และรูปนั่นแหละ ท่านเรียกว่า "เป็นพระธรรมกถึก" ผู้สามารถในการกล่าวสอนธรรม เป็นอาจารย์ผู้สอนกรรมฐาน ส่วนบุคคลนอกนั้นไม่ชื่อว่าเป็นพระธรรมกถึก (ผู้กล่าวสอนธรรม) มิใช่เป็นผู้บอกกรรมฐานหรือสอนกรรมฐาน คำว่า "ธรรม" หมายถึง สิ่งที่ประกอบอยู่มีอยู่ในตัวสรรพสัตว์ ซึ่งประกอบด้วยจิต 89 ดวง เจตสิก 52 ดวงรูป 28 นิพพาน 2 บุคคลผู้ไม่รู้อภิธรรม 9 ปริเฉท และไม่รู้ไม่เข้าใจในรูปธาตุนามธาตุ หรือรู้ปฏิจจสมุปบาทเพียงอย่างเดียว กลับสอน
กรรมฐานให้คนอื่น ๆ นั้น ไม่จัดว่าเป็นผู้กล่าวธรรม แต่เรียกว่าบุคคลผู้พูดพร่ำไป รู้ไม่จริง

ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม อ่านต่อตอนที่ 3

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013