ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

26 ตุลาคม 2553

หนังสือแนวทางเดินสู่พระนิพพานโดยหลวงพ่อธี วิจิตตธมฺโมตอนที่ 2

portee2

บุคคลผู้ไม่เห็นการเกิดดับพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแก่นางปฏาจาราว่า "ปุถุชนตาบอด ไม่เห็นธรรมเกิดดับ แม้อายุยืนร้อยปี ก็เสียชาติเปล่าประโยชน์ส่วนผู้เห็นธรรมเกิดดับ แม้มีอายุวันเดียว ประเสริฐกว่าตั้งร้อยเท่า"พระบาลีว่า
                                                         โย จะ วัสสะสะตัง ชีเว อะปัสสัง อุทะยัพพะยัง
                                                         เอกาหัง ชีวิตัง เสยโย ปัสสะตัง อุทะยัพพะยัง ฯ
                                 ผู้เห็นการเกิดดับอยู่เพียงวันเดียว ประเสริฐกว่าผู้ไม่เห็นการเกิดดับที่มีชีวิตอยู่ร้อยปี
                                                         อนัญญตามินทริเย  อนัญญตัสสมิตินทริเย
                                                                  

                                                                         สติปัฏฐาน 4
สติปัฏฐานมี 2 ประเภท มาในพระสูตรอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นส่วนของโลกิยะเรียกว่าโวหารสติปัฏฐาน หรือบัญญัติสติปัฏฐาน การปฏิบัติ
ที่เป็นบัญญัติ ผลที่ได้ก็เป็นบัญญัติ คือ เป็นรูปบัญญัติ และอรูปบัญญัติเช่น กาเย เกสา คือการกำหนดตามจุดต่าง ๆ ในกายมีผมเป็นต้น ในขณะที่องค์แห่งมรรคทั้งสองคือสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะยังไม่ทำงานเรียกว่า "บัญญัติ"ส่วนสติปัฏฐานที่มาในโพธิปักขิยธรรม 37 ประการเรียกว่าสติปัฏฐานปรมัตถ์ หากเหตุเป็นปรมัตถ์ ผลก็เป็นปรมัตถ์ ผลของปรมัตถ์ก็คือพระนิพพาน โพธิปักขิยธรรมนี้เป็นปีกธรรมพระอริยเจ้าบินเข้าพระนิพพาน เรียกว่าอนุโลมญาณมี 37 ประการ
                                                          1. สติปัฏฐาน 4

                                                          2. สัมมัปปธาน 4


                                                          3. อิทธิบาท 4

                                                          4. อินทรีย์ 5
                                                          5. พละ 5

                                                         6. โพชฌงค์ 7
                                                         7. มรรคมีองค์ 8
โพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 นี้เป็นอภิธรรมปรมัตถ์ ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะสติปัฏฐาน 4 เท่านั้น ในบรรดาธรรมทั้ง 37 ประการนี้หากปฏิบัติตามสติปัฏฐาน 4 ได้อย่างครบถ้วนก็หมายความว่าปฏิบัติธรรมได้ทั้งหมดแล้ว เพราะสติปัฏฐาน 4 อย่างนี้จะทำหน้าที่ในการร้อยธรรมที่เหลือมารวมกันเป็นพวงเดียว เป็นธรรมอันเดียว (เอโก ธัมโม) ธรรมที่รวมตัวกันเป็นธรรมเดียวนี้แหละเรียกว่า"อนุโลมญาณ" สติปัฏฐาน 4 ประการ คือ
                 1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน กาย (รูป) คือส่วนประกอบของธาตุ 4 กล่าวคือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม รวมรูป 28อย่าง เรียกว่า "กาย" วิธีการปฏิบัติก็คืออย่าลืมพิจารณา พิจารณาอะไร? พิจารณาสภาวะแห่งธาตุดินน้ำไฟลมที่เป็นอนัตตาสติในที่นี้ หมายถึงไม่ลืมพิจารณาสภาวธรรมทุกอย่างที่เกิดขึ้นมาว่าเป็นอนัตตา ไม่ใช่ของเรา บังคับบัญชาไม่ได้ ไม่อยากให้เกิดก็เกิดอยู่ ไม่อยากให้ดับก็ดับอยู่ เป็นอยู่อย่างนั้น ให้เห็นความทุกข์ว่าเป็นอนัตตา ดิน น้ำ ไฟ ลมที่เกิดขึ้นอยู่นี้เป็นทุกข์ อันความทุกข์นี้ไม่อยากให้มันทุกข์ ก็ทุกข์อยู่ อ๋อนี่แหละอนัตตา ไม่ใช่ของเรา บังคับไม่ได้
                 2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้แก่ เวทนาเจตสิกที่รับอารมณ์แห่งรูปที่เกิดขึ้นมาในอาการต่าง ๆ เช่น เจ็บ ปวด เต้น ตอดเหน็บ ซ่าน โยก คลอน ไหว นิ่ง เป็นต้น แยกศัพท์ให้เห็นได้ดังนี้ อนุ-ตาม ปัสสนา-ดู สติ-ไม่ลืม ปัฏฐาน-ที่อารมณ์เกิดขึ้นมาหมายความว่าใจรับหรือใจเวทนาที่เกิดขึ้นมานี้ โยคีผู้ปฏิบัติธรรมอย่าลืมดูให้เห็นสภาวะที่มันเป็นอนัตตา และไม่ลืมพิจารณาว่า"เป็นอนัตตา"
                3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยแยกศัพท์ออกได้ดังนี้ จิตตะ-ใจ อนุ-ตาม ปัสสนา-ดู สติ-ไม่ลืม ปัฏฐาน-ที่ใจปรุงแต่ง
เกิดขึ้นแล้วดับไป เมื่อรวมกันแล้วได้ความว่า ไม่ลืมตามดูตามพิจารณาใจปรมัตถ์ที่ปรุงแต่งเกิดดับ หรือไม่ลืมดูและไม่ลืมพิจารณา
ที่ใจรู้ คำว่า "ปรมัตถ์" กับคำว่า "อนัตตา" เป็นสิ่งเดียวกัน หมายถึงอย่าลืมดูและอย่าลืมพิจารณาที่มันเป็นอนัตตานั้นนั่นเองใจทั้งหมดนั้นรวมอยู่ที่มโนวิญญาณธาตุ สิ่งที่เข้ามาทางทวารทั้ง5 นั้น ต้องรับรู้โดยมโนวิญญาณธาตุทั้งสิ้น ดังนั้น จงดูจงพิจารณาสิ่งใด ๆ ที่มากระทบที่มโนวิญญาณธาตุนั้นว่า"เป็นอนัตตา"
                4. สติปัฏฐานทั้ง 3 ดังกล่าวนี้รวมกันเป็นธรรมตัวเดียวเรียกว่า "เอโก ธัมโม" เพราะคำว่า "ธรรม" นี้มีไม่มาก มีเพียงตัว
เดียวเท่านั้น อันคำว่า "เอโก ธัมโม ธรรมตัวเดียว" นี้ คือ
                    (ก) ความเจ็บปวด เป็นกาย
                    (ข) สิ่งที่รับเจ็บปวด เป็นเวทนา
                   (ค) สิ่งที่รู้เจ็บปวด เป็นจิต
ธรรม 3 ประการดังกล่าวนี้รวมกันเป็นธรรมอันเดียวเรียกว่า"เอโก ธัมโม" ธรรมอันเดียวนี้แหละเรียกว่า "ธัมมานุปัสสนา"ธรรมกล่าวคือ กาย เวทนา จิต นี้รวมกันเป็นธรรมอันเดียวเรียกว่า"อนัตตา มิใช่ตัวตน บังคับไม่ได้ มิใช่บุคคล ตัว ตน เรา เขา เป็นสภาวะปรมัตถ์" แห่งรูปนามเท่านั้นเอง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนี้หากแยกศัพท์แล้วจะปรากฏดังนี้ คือธัมมะ-หมายถึงธรรม 3ประการซึ่งรวมกันเป็นหนึ่งเดียวนั้น อนุ-ตาม ปัสสนา-ดู สติ-ไม่ลืม ปัฏฐาน-ที่ธรรมตั้งอยู่ หมายความว่ามีสติ คือไม่ลืมตามดูธรรมทั้ง 3 ประการดังกล่าวแล้วนั้นตามที่มันเป็นอนัตตา นี้แหละเรียกว่า "ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน" พระพุทธพจน์ที่ว่า "สัพเพธัมมา อนัตตา" หมายความว่า บรรดาธรรมทั้งหลาย กล่าวคือ รูป28 จิต 89 ดวง เจตสิก 52 และนิพพาน ล้วนเป็นอนัตตาด้วยกันทั้งสิ้นหรือเรียกว่า "อนัตตา" เพียงประการเดียวเท่านั้นเอง คำว่า "อนัตตา"กับ "พุทธะ" คำว่า "อนัตตา" กับ "ธรรมะ" และคำว่า "อนัตตา" กับ"นิพพาน" คำเหล่านี้ เห็นสิ่งใดก็ดีเป็นอนัตตาทั้งสิ้นในเรื่องของโลกิยะกับโลกุตตระนี้ขอให้ทำความเข้าใจว่า"โลกิยะ" เป็นเรื่องของโลกแห่งการเวียนว่ายตายเกิด เป็นทุกข์อยู่ในวัฏสงสาร มีลักษณะดังนี้
                  1. อัตตา-ตัวกู

                 2. สังขาร-การปรุงแต่ง


                 3. สังขตะ-การก่อร่าง

                4. สัตว์ บุคคล ฯลฯ


                5 . มรณะ-ความตาย

                6. บัญญัติ-สมมติ
สิ่งเหล่านี้เป็นโลกิยะ เป็นธรรมแห่งการเกิดดับอยู่ตลอดเวลาส่วนเรื่องโลกุตตระ เป็นเรื่องของปัญญาเหนือโลกมีลักษณะ
ดังนี้
               1. อนัตตา-มิใช่ตัวตน
               2. นิพพาน-ความดับสงบเย็นแห่งกิเลส
               3. อสังขตะ-หยุดปรุงแต่ง
               4. ปรมัตถ์-ความไม่เปลี่ยนแปลง
               5. อมตะ-ความไม่ตาย
               6. สัจจะ-ความจริง
สิ่งเหล่านี้เป็นโลกุตตระ ธรรมที่อยู่เหนือโลกบรรดาธรรมทั้งหมดทั้งสิ้นนั้นมีอนัตตาเพียงประการเดียวเท่านั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดนอกจากนี้ โยคีต้องใช้ปัญญาสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ ดูให้เห็นและพิจารณาให้เป็นอย่างนี้สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นเรื่องของอารมณ์ภายในทั้งหมดส่วนอารมณ์ภายนอก กล่าวคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ในสิ่งทั้ง5 นี้ สิ่งใดเกิดขึ้นมาก็ตามเป็นอารมณ์ภายนอกกายทั้งหมดเมื่อจักษุเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้สัมผัสสิ่งที่รับรู้อารมณ์เหล่านี้เรียกว่า "วิญญาณ 5 อย่าง" เมื่ออารมณ์ทั้ง 5 นี้เกิดขึ้นมา สัมปฏิชวนะจิตรับเอาอารมณ์แล้วส่งไปใจมโนวิญญาณเป็นผู้รับแล้วปรุงแต่งว่าดี ไม่ดี ชอบ ไม่ชอบ การตามดูพิจารณาจิตอย่างนี้นี่แหละเรียกว่า "จิตตานุปัสสนา" ซึ่งหมายถึงการพิจารณาตรงที่ใจปรุงแต่งหรือคิดนึกขึ้นมานั่นเอง เจตสิกเวทนาที่รับอารมณ์ที่ดี ชอบ น่าพอใจ เรียกว่า "โสมนัส" ที่รับอารมณ์ไม่ดีไม่ชอบ ไม่น่าพอใจเรียกว่า "โทมนัส" รับอารมณ์กลาง ๆ ดีก็ไม่ใช่ไม่ดีก็ไม่ใช่ หรืออารมณ์เฉย เรียกว่า "อุเบกขา" อารมณ์ที่ปรากฏขึ้นมาทั้ง 3 ประการนี้เรียกว่า "เวทนา" การคิดพิจารณาตามเวทนานี้ เรียกว่า "เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน" ธรรมทั้ง 3 ประการดังกล่าวนี้ รวมกันเป็นธรรมอันเดียว คือ อนัตตาคำว่า "อนัตตา" นี้ พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นจึงมีขึ้นมา และมีคนเข้าใจสภาวะอนัตตา หากพระพุทธศาสนาไม่เกิดก็ไม่มี หมายความว่าอนัตตานี้เกิดขึ้นมาพร้อมกับการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั่นเอง

อนัตตาเป็นธรรมประจำพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงเห็นปฏิจจสมุปบาททั้ง 12 ประการเป็นอนัตตาเหมือนกัน คำว่า"อนิจจัง ทุกขัง" นี้เป็นธรรมประจำของพระปัจเจกพุทธเจ้านั่นเองพระปัจเจกพุทธเจ้าบางองค์เห็นบัญญัติ กล่าวคือ ดอกบัวเหี่ยวก็
พิจารณาเห็นอนิจจัง ทุกขัง ซึ่งปรากฏที่ดอกบัวก็บรรลุเป็นพระปัจเจก-พุทธเจ้า อนัตตานี้เป็นธรรมที่ค้นพบโดยพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้อัครสาวก มหาสาวก และปกติสาวกทั้งหลาย ค้นหาให้พบอนัตตานี้เช่นเดียวกันทางเดินสู่พระนิพพานมีเพียงทางเดียวคืออนัตตาเท่านั้นอนัตตากับสัมมาทิฐิเป็นธรรมอันเดียวกัน อัตตากับมิจฉาทิฐิเป็นธรรมอันเดียวกัน พระพุทธองค์ตรัสว่า "อะยะเมวะ อะริโยอัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป" เป็นต้นหมายความว่า ทางเดินที่พระอริยเจ้าเดินเข้าสู่พระนิพพานนั้นประกอบด้วยองค์ 8 มีสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะเป็นต้นโดยมีองค์แห่งปัญญา 2 ประการนำหน้านั่นเอง เป็นทางที่พระอริยเจ้ารู้ว่าหากบุคคลใดเดินตามก็จะบรรลุเป็นพระอริยะ ทางเดินไปสู่พระนิพพานนั้นให้ใช้สัมมาทิฐิดูที่ใจรู้ หรือมโนวิญญาณธาตุ และที่ใจรับเวทนา ในขณะเดียวกันก็ใช้สัมมาสังกัปปะพิจารณาสิ่งที่สัมมาทิฐิเห็นนั้นว่าเป็นอนัตตา มิใช่ของเรา บังคับไม่ได้ สัมมาทิฐิเป็นผู้เห็นสัมมาสังกัปปะเป็นผู้พิจารณา ปัญญา 2 ประการนี้นำหน้า มีศีล(สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ) และสมาธิ (สัมมา-วายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ) องค์แห่งมรรค 6 ประการนี้คอยช่วยหนุนอยู่ นี่แหละเรียกว่า "ทางเดินไปสู่พระนิพพานของพระอริยเจ้า"

ทางเดินหรือคติของเทวดาและมนุษย์ในโลกแห่งการตายเกิดก็คือการใช้ทานและศีลนำหน้า ทางเดินหรือคติของบุคคลผู้ไปบังเกิดในรูปพรหมและอรูปพรหมก็คือการใช้สติกับสมาธินำหน้าการปฏิบัติสมถะหรือสมาธิเป็นวิธีการปฏิบัติที่ไม่ต่อสู้ที่เหตุเหมือนพระยาราชสีห์ แต่ไปต่อสู้ที่ผลเหมือนกับสุนัขดุ นี่แหละเรียกว่า"วิธีการปฏิบัติสมถภาวนาสู้ที่ผล"ส่วนวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เป็นวิธีการปฏิบัติที่ต่อสู้ที่เหตุหากความเจ็บปวดเกิดขึ้นมาก็พิจารณาว่า ความเจ็บปวดอยู่ที่ใจเวทนาเป็นอนัตตา มิใช่ของเรา เป็นการสู้ที่ต้นเหตุ คือ สมุทัยนั่นเอง

                                                                  ความทุกข์มาจากไหน ?
ธัมมา ธัมเม สัญชะเนนติ เหตุสัมภาระปัจจะยา เหตูนัญจะนิโรธายะ ธัมโม พุทเธนะ เทสิโต ฯอวิชชาคือความไม่รู้ และโลภะผู้ก่อให้เกิดตัณหา ธรรม 2ประการนี้เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์ เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายได้มาเกิด แก่เจ็บ ตาย เป็นกองแห่งความทุกข์ เพราะอวิชชาคือโมหะสนับสนุนค้ำชูตัณหาที่เรียกว่าอัตตทิฐินี่เอง ความทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย จึงเกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง การที่จะทำให้ต้นเหตุ (สมุทัย) คือ อวิชชา (โมหะ)ตัณหา (โลภะ) 2 ประการนี้ให้ดับสนิทลงไปได้นั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการไว้ซึ่งก็คือ สัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะอันเป็นปัญญามรรคทั้ง 2 ประการนี้นั่นเอง (มาในสัมโมหวิโนทนี)การที่หมู่สัตว์กล่าวคือเทวดาและมนุษย์ได้ขันธ์ (กองแห่งทุกข์) มาเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้ เป็นเพราะอวิชชา (โมหะ) นี้เองเป็นตัว

การใหญ่ ซึ่งหมายถึงความไม่รู้ไม่เข้าใจในธรรมที่ถูกต้อง กลับไปเข้าใจในสิ่งที่ผิดว่า "ถูก" และเพราะตัณหา (โลภะ) อันได้แก่ ธรรมที่ถูกต้องไม่อยากได้ กลับไปอยากได้ธรรมที่ผิด ธรรมทั้ง 2 ประการนี้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้นำของกิเลสอีก 8 ตัว จึงเป็นเหตุให้เกิดกองแห่งทุกข์ขึ้นมาอวิชชา 4 ประการ โดยมีโมหะเป็นหัวหน้า และตัณหา 3ประการ โดยมีอัตตทิฐิเป็นหัวหน้า ภาษาไต (ไทยใหญ่) ว่า "ธรรมจื้ออ่ำฮู่ (อวิชชา) ธรรมมี อ่ำหัน (ทิฐิ)" ซึ่งหมายถึงธรรมถูกต้องไม่รู้คือ อวิชชา ธรรมมี ไม่เห็น คือ ทิฐิ ที่ว่าธรรมถูกต้องไม่รู้ ก็คือ ไม่รู้ทุกข์ธรรมมีไม่เห็น ก็คือไม่เห็นอนัตตา (สัมมาทิฐิ) เป็นสมุทัยปรุงแต่งให้เกิดกองแห่งความทุกข์ คือเกิด แก่ เจ็บ ตายขึ้นมา เป็นวัฏสงสารหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปมาอยู่อย่างไม่มีที่สิ้นสุด อันคำว่า "อวิชชา"หมายถึงโมหะ (ความหลง) อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อการทำความชั่ว) อโนตตัปปะ (ความไม่เกรงกลัวผลความชั่ว)และอุทธัจจะความฟุ้งซ่าน ธรรมทั้ง 4 ประการ นี้แหละที่เรียกว่า"ธรรมถูกต้องไม่รู้" ความไม่รู้นี้เป็นความไม่รู้ ไม่เข้าใจความจริงในเรื่องดังต่อไปนี้
              1. อนิจจาวิชชา ความไม่เที่ยง ไม่คงทน เป็นของจริง มีอยู่จริง แต่ไม่รู้
              2. ทุกขาวิชชา ความทุกข์ลำบากอันใหญ่หลวง เป็นของจริงมีอยู่จริง แต่ไม่รู้
              3. อนัตตาวิชชา ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์นี้ มิใช่ของเราบังคับไม่ได้ เป็นของจริง มีอยู่จริง แต่ไม่รู้
              4. มัคคาวิชชา มรรควิถีในการตัดอัตตาให้ขาดสะบั้นลงไปนั้นเป็นของจริง มีอยู่จริง แต่ไม่รู้
              5. สมุทยาวิชชา ตัณหา (อัตตา) อันเป็นสาเหตุแห่งทุกข์เป็นของจริง มีอยู่จริง แต่ไม่รู้
             6. ผลาวิชชา ผลที่เกิดจากการที่ตัณหาดับลงไปแล้วเกิดความสงบเย็นขึ้นมา เป็นของจริง มีอยู่จริง แต่ไม่รู้คำว่า "ตัณหา" หมายถึงธรรม 3 ประการ คือ ทิฐิ (ความเห็นผิด) มานะ (ความเย่อหยิ่งถือตัว) และโลภะ (ความอยาก)ในบรรดาธรรมทั้ง 3 ประการนี้ มีลักษณะดังนี้
              1. ธรรมมีไม่เห็น คืออัตตาจริงไม่มี แต่เห็นผิดไปว่ามีอัตตาจึงกลายเป็นอัตตทิฐิ เรียกว่า "กามตัณหา"
              2. ธรรมดับไม่เห็น คือความดับมีอยู่ แต่ไม่เห็น จึงกลายเป็นสัสสตทิฐิ เรียกว่า "ภวตัณหา"
             3. ธรรมเกิดไม่เห็น คือความเกิดมีอยู่ แต่ไม่เห็น จึงกลายเป็นอุจเฉททิฐิ เรียกว่า "วิภวตัณหา"ตัณหานี้มีหลายประเภทนับจำนวนได้ตั้ง 108 อย่าง ซึ่งมีส่วนประกอบดังนี้ คือ ตัณหา 3 คูณด้วยอารมณ์ 6 เป็น 18 คูณด้วยกาล3 เป็น 54 คูณด้วยสันดาน 2 คือ สันดานทั้งภายในและภายนอกจึงรวมเป็นตัณหา 108 ประการ บาลีว่า "ตัณหายะติ ตะสะตีติตัณหา" กล่าวคือได้ก็อยาก ไม่ได้ก็อยาก อิติ-เพราะเป็นไปอยู่อย่างนี้จึงเรียกว่า "ตัณหา" ตัณหานี้มีลักษณะเหมือนกับลูกวัวหิวนมแมวเห็นหนู และงูเห็นเขียด

                                                          ตัณหาเป็นเหตุเกิดทุกข์
ทุกขัง วะตะ เตภูมิกัง ตัณหา สะมุทะโย ภะเว นิโรโธ นามะมัคโค โลกุตตะโร มะโต ฯเตภูมิกัง-กามาวจรภูมิ 11 รูปาวจรภูมิ 11 และอรูปาวจรภูมิ4 รวมภพภูมิแห่งการตายเกิด 26 ภพภูมินี้ ทุกขัง วะตะ-เป็นทุกข์ใหญ่หลวงนัก ตัณหา สะมุทะโย ภะเว-ตัณหาเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดจึงได้เป็นทุกข์อย่างนี้ นิโรโธ นามะ-การที่เหตุแห่งทุกข์ดับสนิทลงมัคโค-มรรคสัจกล่าวคือสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ โลกุตตะโร-เป็นโลกุตตระ มะโต-ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ในกามาวจรภูมิ 11 รูปาวจรภูมิ 11 และอรูปาวจรภูมิ 4เรียกว่า "โลกแห่งการตายเกิด 26 ภูมิ" หรือโลกแห่งทุกข์ตายเกิดการที่หมู่สัตว์ต้องตายเกิด ๆ อยู่ในภพภูมิเหล่านี้ เป็นเพราะตัณหาเป็นตัวการใหญ่ เป็นเหตุแห่งการตายเกิด ตัณหาคือความทะยานอยากนี้มี3 ประการ

            1. ธรรมมีไม่เห็น (ไม่เห็นอนัตตา) ก่อให้เกิดกามตัณหาเรียกว่า "สักกายทิฐิ" หรืออัตตทิฐิ
            2. ธรรมตายไม่เห็น (ไม่เห็นการดับ) ก่อให้เกิดภวตัณหาเรียกว่า "สัสสตทิฐิ"
            3. ธรรมเกิดไม่เห็น (ไม่เห็นการเกิด) ก่อให้เกิดวิภวตัณหาเรียกว่า "อุจเฉททิฐิ"
ในบรรดาทิฐิทั้ง 3 นี้ หากสามารถตัดอัตตทิฐิได้แล้ว ทิฐิที่เหลือก็อยู่ไม่ได้ สิ่งที่ตัดอัตตทิฐิได้นั้นก็คือมรรคสัจ หากว่ามรรคสัจตัดได้แล้วก็เป็นนิโรธหรือนิพพาน การที่เหตุแห่งทุกข์หรือสมุทัยดับลงไปเรียกว่า "กิเลสนิโรธ" การที่ผลทุกข์คือขันธ์ดับไปเรียกว่า "ขันธนิโรธ" คำว่า "ตัณหา" เหตุแห่งทุกข์นั้น คือความทะยานอยาก หมายความว่า ได้ก็อยาก ไม่ได้ก็อยากตัณหาทั้งหมดมี 108ประการ ประกอบด้วยตัณหา 3(กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) คูณด้วยอารมณ์ 6 เป็น 18แล้วคูณด้วยกาลทั้ง 3 เป็น 54 และคูณด้วยสันดานภายในและภายนอก 2 ประการ จึงรวมเป็น "ตัณหา 108"ส่วนกิเลสมี 1,500 ประการ ประกอบด้วย เจตสิก 52 จิต 1ดวง รวม 53 นิปผันนรูป 18 เป็น 71 พร้อมด้วยลักษณะรูป 4 เป็น75 แล้วคูณด้วยกิเลส 10 เป็น 750 และคูณด้วยสันดานภายในและภายนอก จึงรวมเป็น "กิเลส 1,500"เห็นอนิจจัง แต่ไม่เห็นทุกขังอะนิจจัง ปัญญายะติ, ทุกขัง นะ ปัญญายะติ, ทุกขังปัญญายะติ, อะนิจจัง ปัญญายะติ, อะนัตตา นะ ปัญญายะติ,อะนัตตา ปัญญายะติ, อะนิจจะทุกขัง ปัญญายะติ ฯคำบาลีที่ว่ามานี้ แปลความได้ว่าอะนิจจัง ปัญญายะติ= เมื่อพิจารณาเห็นอนิจจังทุกขัง นะ ปัญญายะติ=จะพิจารณาไม่เห็นทุกขังทุกขัง ปัญญายะติ= เมื่อพิจารณาเห็นทุกขังอะนิจจัง ปัญญายะติ = (และ) พิจารณาเห็นอนิจจังอะนัตตา นะ ปัญญายะติ= จะพิจารณาไม่เห็นอนัตตาอะนัตตา ปัญญายะติ= (แต่) เมื่อพิจารณาเห็นอนัตตาอะนิจจะทุกขัง ปัญญายะติ= จะพิจารณาเห็นทั้งอนิจจังและทุกขังหมายความว่า ถ้าเห็นอนิจจัง จะไม่เห็นทุกขังกับอนัตตาถ้าเห็นทุกขัง ก็จะเห็นอนิจจัง แต่จะไม่เห็นอนัตตา แต่ถ้าเห็นอนัตตาแล้วจะเห็นทั้งอนิจจังและทุกขังคำว่า "อนิจจัง" ก็คือ ความเกิดขึ้นดับไป ไม่มั่นคง สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วดับไป ๆ นั้น บังคับบัญชาไม่ได้ เป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน อนิจจังที่ว่าเกิดขึ้นแล้วดับไปนั้น เป็นสิ่งที่ทนได้ยากเป็นทุกข์ ความทุกข์นี้สั่งไม่ได้เลยว่าอย่าทุกข์ เพราะบังคับไม่ได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น ทั้งอนิจจังและทุกขังจึงรวมลงที่อนัตตาตัวเดียวนั่นเอง เนื่องจากว่าอนิจจังและทุกขังนี้เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาไม่ได้ สั่งการไม่ได้ มิใช่ตัวตนเป็นอนัตตาผู้บัญชาหมู่สัตว์สรรพสัตว์ ทั้งเทวดา และมนุษย์ล้วนผุดใต้ อวิชชา ตัณหาสามเกิดภพใด ไม่เคยห่าง ก้าวย่างตามทุกชั่วยาม ต้องน้อมตัว รับบัญชาต่างเห็นผิด คิดว่าสุข สนุกดีแต่ที่แท้ มีแต่ทุกข์ สะสมมาฆราวาส ทั้งพระเณร รับอาญาเปรียบบรรดา แมลงเม่า เข้ากองไฟโฉบโบยบิน วิ่งถาโถม ให้ไฟครอกไม่ต่างหรอก กับตัวหนอน ในเมล็ดพริกทุกข์เก่าไป ทุกข์ใหม่มา เพิ่มพูนอีก
กระดิกดิ้น พลิกพล่านไป ไม่มีพ้น

ทางออกมี แต่ไม่รู้ ดูไม่เห็นกามคุณ เป็นบ่วงรัด กลับผูกพันบวชเป็นพระ ไม่ตามรอย ภควันกลับหันไป ทำแบบอย่าง ผู้ครองเรือนนิพพานมี กลับไม่หา น่าอดสูตนไม่รู้ กลับนำคน พูดแชเชือนคล้ายคนบอด จูงคนบอด ก้าวคลาดเคลื่อนตนกับเพื่อน ตกหลุมพราง ตายฟรีฟรีพึงตระหนัก ถึงวิชชา หาทางรอดจงถอดออก อวิชชา ตามวิถีหากล่วงเลย พระศาสนา ห้าพันปีทางออกนี้ จะหาได้ ที่ไหนกัน ฯเหล็กแหลมที่ปักอก ทำอย่างไร ให้หายเจ็บสัตติยา วิยะ โอมัฏโฐ ตัณหามาโน วะ มัตถะเกสักกายะทิฏฐิง ปะหานายะ สะโต ภิกขุ ปะริพพะเช ฯภิกขุ-ท่านผู้เห็นภัยแห่งการเกิดแก่เจ็บตายซึ่งจะมาปรากฏในภายภาคหน้า ตัณหามาโน-อันตัณหาและมานะทั้งสองนี้โอมัฏโฐ-เสียบปักคาอยู่ มัตถะเก-ตรงกระหม่อม สัตติยา วิยะ-เหมือนดังหอกที่ปักอยู่ที่หทัย สักกายะทิฏฐิง-สักกายทิฐินี้ปะหานายะ-ละทิ้งไปเสียให้ได้ ปะริพพะเช-เว้นไปเสียให้ห่างไกลสะโต-อย่าลืมพิจารณาว่าเป็นอนัตตา มิใช่ของตนผู้เห็นภัยแห่งการเกิดแก่เจ็บตายทั้งหลาย เหล็กแหลมคมกล่าวคือตัณหาและมานะกำลังปักอยู่ที่กระหม่อมเหมือนดังหอกที่เสียบหทัยอยู่ พวกเธอจงพยายามอย่างไม่ลดละ เพื่อถอนเหล็กแหลมอันนั้นออกให้ได้ การที่จะนำเหล็กแหลมที่ปักอกนั้นออกไป จะต้องใช้การพิจารณาว่ามิใช่ของตน เป็นอนัตตา ซึ่งเหล็กแหลมนี้ก็คืออัตตทิฐิหรือสักกายทิฐิที่ปักอยู่ตรงหทัยนั้น จะต้องอาศัยมรรคญาณตัดถอนออกไป กล่าวให้เข้าใจง่ายก็คือ การที่จะถอนเหล็กแหลมที่ปักอยู่ตรงหทัยออกไปได้นั้นมี 3 วิธี
           1. รักษาโดยวิธีการทายาที่แผล ซึ่งหมายถึงการให้ทานและการรักษาศีล
           2. รักษาโดยวิธีการกินยาแก้ ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติสมถะหรือสมาธิ 40 วิธีการรักษาโดยการทายาและการกินยาแก้ทั้งสองวิธีนี้ สามารถระงับหรือกลบทับอาการเจ็บปวดไว้ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น อาการจะไม่หายจริง
         3. รักษาโดยการผ่าตัด ซึ่งหมายถึงการใช้มรรคญาณตัดถอนออกไปเพียงวิธีเดียวเท่านั้น จึงจะสามารถทำให้อาการหายไปได้จริง
                                                          วิธีปฏิบัติสมถภาวนา
สะมาธิยา ปะนะ สุนะโขวะ วุฑโฒ โหติ ปะกาสิโต ฯเปฯสะมาธิยา ปะนะ-ส่วนวิธีปฏิบัติสมถภาวนานั้น สุนะโขวะวุฑโฒ-ประพฤติเหมือนดังสุนัขดุ ฉะนั้น ปะกาสิโต-ท่านประกาศไว้อย่างนี้  สมาธิ เป็นวิธีการปฏิบัติของฤๅษี และศาสนาพราหมณ์ วิธีการปฏิบัติสมถะ คือสมาธินี้มีลักษณะเหมือนกับสุนัขดุ หากมีคน  นำไม้มาตีก็จะไล่ตะครุบกัดเอาที่ไม้ วิธีการปฏิบัติสมาธิของพวกฤๅษีหรือพราหมณ์ทั้งหลายเป็นวิธีแห่งสมถะดังสมถะ 40 ในบรรดาสมถะ ทั้ง 40 ประการนี้ พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติและอุปสมานุสสติ รวมอนุสสติทั้ง 4 นี้เป็นของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ส่วนวิธีปฏิบัติสมถะที่เหลืออีก 36 นั้นเป็นของฤๅษี หรือพราหมณ์เป็นของประจำโลก ติดมาพร้อมกับพรหมตั้งแต่ยุคแรกของโลกการปฏิบัติสมถะหรือสมาธินี้เป็นวิธีการปฏิบัติที่ไม่ต่อสู้ที่เหตุเหมือนพระยาราชสีห์ แต่ไปต่อสู้ที่ผลเหมือนกับสุนัขดุ นี่แหละเรียกว่าวิธีการปฏิบัติสมถภาวนา เป็นวิธีการต่อสู้ที่ผล ส่วนวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา เป็นวิธีการปฏิบัติที่ต่อสู้ที่เหตุคือสมุทัย หากความเจ็บปวดเกิดขึ้นมา ก็พิจารณาว่าความเจ็บปวดอยู่ที่ใจเวทนาเป็นอนัตตา บังคับไม่ได้ มิใช่ตัวเรา เป็นการสู้ที่เหตุ-สมุทัยนั่นเอง
ภิกขะเว-ดูกรท่านผู้เห็นภัยแห่งการเกิดแก่เจ็บตายที่จะมาปรากฏในภายหน้า  เอโก ธัมโม-ธรรมอันเป็นเอกอันนี้  อะนัตตาโต-ตรงที่ความเป็นอนัตตานั้น  อะนุปัสสิโต-เธอจงตามเฝ้าดู  ภาวิโต-เธอจงตามเฝ้าพิจารณา   พะหุลีกะโต-เธอจงทำให้มาก  อะภิญญายะ-มรรคญาณ  สัมโพธายะ-ผลญาณ  นิพพานายะ-พระนิพพาน   สังวัตตะติ-ย่อมเกิดขึ้น

                                                        ขั้นตอนการปฏิบัติวิปัสสนา
             1. คำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย
                           พุทธัง ปูเชมิ (กราบ)
                           ธัมมัง ปูเชมิ (กราบ)
                           สังฆัง ปูเชมิ (กราบ)
                   นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต อะนัตตะวาทิโนโคตะโม สะมะณัสสะ
                   นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต อะนัตตะวาทิโน โคตะโม สะมะณัสสะ
                   นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต อะนัตตะวาทิโน โคตะโม สะมะณัสสะ
            2. คำกล่าวถวายอัตภาพบูชาพระรัตนตรัย

                    อิมาหัง อัตตะภาวัง พุทธัสสะ ปะริจจะชามิ  ข้าพเจ้า ขอมอบถวาย อัตภาพนี้ ของข้าพเจ้า แด่พระพุทธเจ้า
                    อิมาหัง อัตตะภาวัง ธัมมัสสะ ปะริจจะชามิ  ข้าพเจ้า ขอมอบถวาย อัตภาพนี้ ของข้าพเจ้า แด่พระธรรม
                    อิมาหัง อัตตะภาวัง สังฆัสสะ ปะริจจะชามิ  ข้าพเจ้า ขอมอบถวาย อัตภาพนี้ ของข้าพเจ้า แด่พระสงฆ์
           3. คำแผ่เมตตา
                   อิทัง เม ปุญญัง, อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ, มะมะ  ปุญญะภาคัง, สัพเพ สัตตา, สัมมา ละภันตุ ฯ บุญที่เกิดจากการบำเพ็ญวิปัสสนาภาวนานี้, ของข้าพเจ้า จงเป็นปัจจัยเครื่องนำมา, ซึ่งการบรรลุมรรคผลนิพพาน, ขอให้สัตว์ ทั้งหลายทั้งปวง, จงมีส่วนได้, ในส่วนกุศลผลบุญของข้าพเจ้า,โดยชอบ, โดยถ้วนหน้ากัน ด้วยเทอญ ฯ
           4. การขอขมาพระอริยเจ้า
                  อะริเยสุ, ปะมาเทนะ, ทะวารัตตะเยนะ, กะตัง สัพพัง, อะปะราธัง, ขะมะถะ เม ภันเต ฯ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หากว่า ข้าพเจ้า ได้ประมาท, กระทำผิดล่วงเกิน ในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี ด้วยใจก็ดี ในกาลไหน ๆ ก็ตาม ขอท่านอาจารย์ โปรดเป็นตัวแทน พระอริยเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ช่วยยกโทษให้เป็นอโหสิกรรม แก่ข้าพเจ้า  เพื่อมิให้เป็นอันตราย เพื่อมิให้เป็นอุปสรรคขวางกั้น การบรรลุมรรค  ผลนิพพานของข้าพเจ้า ณ โอกาสบัดนี้ ด้วยเทอญ ฯ
           5. วิธีการปฏิบัติ
                  โยคีผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่าน โปรดนั่งตัวตรงในท่าขัดสมาธิ มือ  สองข้างวางไว้บนหน้าตัก มือขวาวางทับบนมือซ้าย ต่อจากนั้น ให้หลับตาเนื้อ เปิดตาปัญญา แล้วดู และพิจารณาที่จิตของตนเอง หา เห็น ตัด ถึง หา คือ ใช้สัมมาสังกัปปะค้นหาอนัตตา โดยมีสติกระตุ้น เตือนว่า "อย่าลืมพิจารณา" เห็น คือ ใช้สัมมาทิฐิเห็น โดยมีสมาธิจดจ่ออยู่ที่เห็นมิให้ขาดตัด คือ อนุโลมญาณรับธรรมแล้วส่งให้มรรคตัดกิเลส 10ประการถึง คือ กิเลสดับลงแล้วสงบเย็นเป็นผล 4 รับเสวยนิโรธหรือนิพพาน

การปฏิบัติวิปัสสนาต้องใช้หลัก "หา เห็น ตัด ถึง"วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามพระพุทธองค์ก็คือ "หา เห็น ตัดถึง" (ไทยใหญ่ว่า "หา หัน แต๊บ ฮอด") คำว่า "หา" คือ ปัญญาสัมมาสังกัปปะ-พิจารณารูป วิญญาณ เวทนาว่าเป็นอนัตตาไม่ใช่ของเรา บังคับบัญชาไม่ได้ คำว่า "เห็น" คือ ปัญญาสัมมาทิฐิ-เห็นรูป วิญญาณ เวทนาที่มีสภาพเป็นอนัตตา คำว่า "ตัด" คือเมื่อปัญญาแห่งองค์มรรค 2 ประการดังกล่าวทำงานอย่างต่อเนื่องจนแจ่มแจ้งชัดเจนแล้ว มรรคญาณก็จะเกิดขึ้นมาตัดอัตตาให้ขาดไป คำว่า "ถึง" คือ ผลจากการที่อัตตาหายไปแล้วนิโรธความสงบเย็นจากกิเลสเกิดขึ้นมาแทนที่ หรือเรียกว่า"ผลญาณ"หลักการปฏิบัติวิปัสสนา

           1. พอนั่งไปได้ประมาณ 15 นาที ธาตุทั้ง 4 ในร่างกายจะเรียก ร้องให้ไปดู ธรรมที่เรียกร้องไปดูนี้เรียกว่า “เอหิปัสสิโก”
               ก. ปฐวีธาตุ ธาตุดิน แสดงออกในอาการหนัก แข็ง หยาบกระด้าง เบา อ่อน นิ่ม
               ข. อาโปธาตุ ธาตุน้ำ แสดงออกในอาการซึมซับ เอิบอาบแตกแยก เกาะกุม
               ค. เตโชธาตุ ธาตุไฟ แสดงออกในอาการร้อน เย็น อุ่น หนาว
               ง. วาโยธาตุ ธาตุลม แสดงออกในอาการเจ็บ ปวด เต้น ตอดเหน็บ ซ่าน โยก คลอน ไหว นิ่งธาตุทั้ง 4 เหล่านี้จะแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏขึ้นมาที่รูป (กาย)
           2. อาการเหล่านี้จะมาปรากฏที่ใจ หรือมโนวิญญาณธาตุอย่างแน่นอน (รับรู้ได้ด้วยจิต)
           3. ใช้ปัญญามรรคองค์ที่หนึ่ง คือสัมมาทิฐิ ดูที่จิตและที่เวทนาซึ่งรับธาตุทั้ง 4 อยู่
           4. หากอาการใดเกิดขึ้นมา เช่น อาการหนัก แข็ง หยาบกระด้าง เบา อ่อน นิ่ม เป็นต้น ให้ใช้ปัญญาสัมมาวิตก ที่เรียกว่าสัมมาสังกัปปะนั้น พิจารณาว่าอาการเหล่านั้นเป็นอนัตตาไม่ใช่ของเรา บังคับไม่ได้ แล้ววางอัตตา ทำอย่างนี้เรื่อยไปการปฏิบัติในกรณีที่ธาตุ 4 สงบนิ่ง
         1. ถ้าหากธาตุในมหาภูตรูปไม่แสดงอาการใด ๆ เลย ให้ใช้ปัญญาสัมมาทิฐิดูที่ปลายจมูก ให้เห็นลมเข้า-ออก หรือเห็นสภาวะ
ของวาโยธาตุอยู่อย่างต่อเนื่อง
         2. ลมเข้าก็ดี ออกก็ดี การยุบ-พองที่ท้องก็ดี เรียกว่า"กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน"
        3. ผู้ที่รับลมเข้า-ออกนั้น เป็นเวทนา (ความรู้สึก) เวทนานี้มี  3 อย่าง คือ ความรู้สึกที่ไม่ดี ไม่ชอบ ไม่น่าพอใจ เรียกว่า "ทุกขเวทนาหรือโทมนัสเวทนา" ความรู้สึกที่ดี ชอบอ น่าพอใจ เรียกว่า"สุขเวทนาหรือโสมนัสเวทนา" และความรู้สึกเป็นกลาง ๆ ไม่ดีไม่ร้ายเรียกว่า "อุเบกขาเวทนา" นี้เรียกว่า "เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน"
         4. ผู้ที่รู้ลมเข้า-ออกนั้น เป็นมโนวิญญาณธาตุ เรียกว่า"จิต ตานุปัสสนาสติปัฏฐาน"
        5. ให้ใช้วิตกเจตสิก ที่เรียกว่า "สัมมาสังกัปปะ" นั้นพิจารณาอาการที่มาปรากฏเหล่านี้ว่า "มิใช่ของเรา บังคับไม่ได้ เป็นอนัตตา"และปล่อยวางอัตตาเสีย เรียกว่า "ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน"การเห็น และการพิจารณาให้เห็นอนัตตาเมื่อเฝ้าดูอยู่ที่ลมหายใจให้พิจารณาว่า "ลมหายใจนี้ ไม่ให้เข้าก็เข้าอยู่ ไม่ให้ออกก็ออกอยู่ เพราะเป็นอนัตตา มิใช่ของเราบังคับไม่ได้" ให้พิจารณาอย่างนี้เรื่อยไปคำว่า "อนัตตา" มาจากคำผสม คือ นะ กับ อัตตา นะแปลว่า "มิใช่" อัตตา แปลว่า "ตัวตน" เมื่อรวมกันเข้า จึงแปลว่า
"มิใช่ตัวตน" การพอง-ยุบที่ท้องนั้น ไม่ให้พองก็พอง ไม่ให้ยุบก็ยุบเป็นอยู่อย่างนั้น บังคับไม่ได้ มิใช่ตัวตน ให้ใช้ปัญญาสัมมาสังกัปปะพิจารณาอยู่อย่างนี้เรื่อยไป กล่าวให้เข้าใจง่ายก็คือ ลมที่เข้า-ออกก็ดีการพอง-ยุบก็ดี เป็นวาโยธาตุ (ธาตุลม) คือรูปปรมัตถ์ ผู้ที่รู้ลมเข้า-ออก และการพอง-ยุบนั้นเป็นนามปรมัตถ์ หรือมโนวิญญาณธาตุผู้รับลมเข้า-ออก และการพอง-ยุบนั้น เป็นเจตสิกหรือใจเวทนา รูปเวทนา และจิตทั้ง 3 ประการนี้ เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ผู้รับลม เข้า-ออก และการพอง-ยุบนั้นเป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ยุบพอง=รูป ใจรู้ยุบพอง=จิต ใจรับยุบพอง=เวทนา) รูป จิต และเวทนา 3 ประการนี้นั่นแหละ เป็นธรรมะที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า "เอโก ธัมโม ภิกขะเว อะนัตตาโตอะนุปัสสิโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะนิพพานายะ สังวัตตะติ" ฯแปลว่า ภิกขะเว-ดูกรท่านผู้เห็นภัยแห่งการเกิดแก่เจ็บตายที่จะมาปรากฏในภายหน้า เอโก ธัมโม-ธรรมะอันเป็นเอก (อันนี้)อะนัตตาโต-ตรงที่ความเป็นอนัตตานั้น อะนุปัสสิโต-เธอจงตามเฝ้าดู ภาวิโต-เธอจงตามเฝ้าพิจารณา พะหุลีกะโต-เธอจงทำให้มากอะภิญญายะ-มรรคญาณ สัมโพธายะ-ผลญาณ นิพพานายะ-พระนิพพาน สังวัตตะติ-ย่อมเกิดขึ้นหมายความว่า ท่านผู้เห็นภัยแห่งการแก่เจ็บตายอันจะมาปรากฏในภายหน้านั้น ตรงที่รูปและนามอันเป็นอนัตตานั้น ดูให้เห็นความเป็นอนัตตา ภาวิโต-ใช้สัมมาสังกัปปะ (สัมมาวิตก) อริยมรรคองค์ที่ 2 เฝ้าพิจารณาว่า "เป็นอนัตตา" สังเกตอยู่ พิจารณาอยู่อย่างนั้นนาน ๆ โดยไม่ขยับเขยื้อน จนอัตตา (ความคิดผิดเห็นผิด) ตกไปคำว่า "ภาวิโต" นี้ หมายถึงการเพียรพิจารณาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
จนกระทั่งอัตตาหลุดออกไป การพิจารณาอย่างนี้เป็นหน้าที่ของสัมมาสังกัปปะ พะหุลีกะโต-ก็คือสังเกตอยู่ที่ใจรับเจ็บ หรือใจเวทนา
นั้นมาก ๆ เข้า จนกระทั่งเห็นความเป็นอนัตตาอย่างชัดเจนคำว่า "ภิกษุ" คือ ผู้เห็นภัยแห่งการเกิดแก่เจ็บตายที่จะมาปรากฏในภายภาคหน้า ดังพระบาลีว่า "อิธะ ภิกขะเว ภิกขุสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโปติ ภาสะตีติ" มีความหมายดังนี้ คือคำว่า "ภิกขะเว" เป็นคำผสม คือ ภะยะกับอิกขะ ภะยะแปลว่า "ภัย" อิกขะ แปลว่า "เห็น" รวมกันแล้วจึงเป็นภิกขะเวแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏสงสาร นอกจากนี้แล้ว คำว่า "ภิกขุ" นี้ยังมีความหมายที่พิเศษอีกอย่างหนึ่ง คือ "ผู้ตัดทำลายกิเลส" โดยในภาษาบาลีนั้น มีวิเคราะห์ว่า "กิเลเส ภินทะตีติ ภิกขุ" แปลว่า กิเลเส-กิเลสทั้ง 10 ประการ โดยพิสดารมี 1,500 ประการนั้น ภินทะติ-ตัดขาดทำลายไปโดยไม่หลงเหลือ อิติ-เพราะเหตุฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า

"ภิกขุ" คำว่า "ภิกขุ" นี้ จึงหมายถึงเทวดา มนุษย์ หรือพรหมผู้ซึ่งได้ตัดทำลายกิเลสทั้งหมดเสร็จสิ้นแล้วนั่นเอง นางวิสาขาและอนาถบิณฑิกเศรษฐีทั้งคู่ได้ตัดรากถอนโคนกิเลส คือ อัตตทิฐิหรือสักกายทิฐิได้แล้ว (อัตตทิฐิกับสักกายทิฐินี้เป็นกิเลสตัวเดียวกัน)หากจะเรียกท่านทั้งสองว่า "เป็นภิกษุณี เป็นภิกษุ" ก็ไม่ผิดสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นธัมมานุปัสสนา ในสติปัฏฐาน 4 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโพธิปักขิยธรรมเรียกว่า เป็น "เอโก ธัมโม ธรรมตัวเดียวกัน"คำว่า "ภาวิโต" นี้ หมายความว่าใช้สัมมาสังกัปปะวางตัวกู (อัตตา) หรือสักกายทิฐิอันเป็นหัวหน้ากิเลสทั้งปวงเสีย คำว่า"สักกายทิฐิ" นั้นขยายความว่า "สันโต กาโย กาเยนะ สักกายะทิฏฐิ"แปลว่า สันโต-มีอยู่อย่างชัดแจ้ง กาโย-รูปและนาม ในส่วนที่เป็นปรมัตถ์นี้ กาเยนะ-ตรงที่รูปและนาม อันเป็นปรมัตถ์ที่มีอยู่อย่างชัดแจ้งนี้ ทิฏฐิ-เห็นว่า "เป็นเขาเป็นเรา เป็นอัตตา" อยู่อย่างนั้น ความตามที่กล่าวมานั้นหมายความว่า การที่รูปและนามอันเป็นปรมัตถ์นั้นมีอยู่อย่างชัดแจ้งแล้ว แต่พิจารณาไม่เห็น กลับไปเห็นเป็นอัตตา เป็นเขาเป็นเรา หรือเป็นหญิงเป็นชาย อันนี่แหละเรียกว่า"สักกายทิฐิ"อีกอย่างหนึ่ง ธรรมมีไม่เห็น แต่กลับไปเห็นสิ่งที่ไม่มีว่า "มี"นี้เรียกว่า "ทิฐิ" ที่ว่ารูปกายนั้นก็คือรูปธรรมทั้ง 28 นั่นเอง เรื่องนามและกายมีอยู่ว่า "ผัสสะเวทะนา สัญญาเจตะนา เอกัคคะตาชีวิตินทะริเย นะมะสิการะ" เป็นต้น เจตสิกธรรม 52 ดวง ผัสสะแปลว่า "สัมผัส" เวทนา แปลว่า "เสวยหรือรับเอา" เจตนา-จิตรู้สัญญา-ความจำอดีต เอกัคคะตา-ใจสงบมีอารมณ์เดียวชีวิตินทะริเย-คอยเฝ้าอายุของจิต อย่างนี้เป็นต้นเรียกว่า "นามและกาย" จะกล่าวถึงนามปรมัตถ์ต่อไป ใจกับเจตสิกที่เกิดพร้อมกันไปด้วยกันนั้นเรียกว่า "นาม" ในบรรดาสัพพจิตตสาธารณะ 7 ดวงและจิต 89 ดวงนั้น ดวงไหนเกิดก็ตาม เรียกว่า "นาม"คำว่า "นาม" นี้ มีวิเคราะห์ว่า "นะมะตีติ นามัง" แปลว่านะมะติ -น้อมเข้าหาอารมณ์แล้วรู้ชัดอารมณ์และรูป อิติ-เพราะเหตุที่น้อมเข้าหาอารมณ์แล้วรู้ชัดอารมณ์และรูปนั้น นามัง-จึงได้ชื่อว่า"นาม" สิ่งที่เรียกว่า "นามหรือจิต" นี้ มีหน้าที่เข้าหา (รับรู้) อารมณ์เสมอคำว่า "รูป" มีวิเคราะห์ว่า "รูปปะตีติ รูปัง" แปลว่า รูปปะติ-เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อิติ-เพราะเหตุที่เปลี่ยนแปลงนี้แหละ รูปัง-จึงได้ชื่อว่า "รูป" ดังนั้น สิ่งที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอโดยไม่มีหยุดนิ่งนี้เรียกว่า "รูป" ตัวอย่างเช่น ปฐวี ธาตุดินมีลักษณะหนัก แข็ง หยาบกระด้าง เบา อ่อน นิ่ม อาโป ธาตุน้ำมีลักษณะ ซึมซับ เอิบอาบแตกแยก เกาะกุม เตโช ธาตุไฟมีลักษณะ เย็น ร้อน อุ่น หนาว วาโยธาตุลมมีลักษณะเจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่าน โยก คลอน ไหว นิ่งเพราะรูปประกอบด้วยธาตุสี่เหล่านี้ จึงต้องเปลี่ยนแปลงโดยปรากฏออกมาในอาการใดอาการหนึ่งดังที่กล่าวมาแล้วนี้อยู่เสมอ หากว่าธาตุ4 ประกอบกันเกิดเป็นรูปขึ้นมาแล้ว นามก็เข้าอาศัยในรูปอายตนะภายนอก 5 มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็เรียกว่า "เป็นรูป"อายตนะภายใน มีตา หู จมูก ลิ้น กาย เรียกว่า "เครื่องมือส่งให้นาม(ใจ) รับรู้" ในขณะที่อายตนะทั้งสองสัมผัสกัน สิ่งที่มีอาการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามอาการธาตุสี่ และอายตนะต่าง ๆ สัมผัสกันเกิดขึ้นไปมาอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้จึงเรียกว่า "รูปและนาม" สิ่ง 3 ประการดังกล่าวมานี้ คือ รูป จิต เจตสิก เรียกว่า "รูปนามสังขตธาตุปรมัตถ์"การเจริญวิปัสสนาจึงต้องใช้ปัญญาสัมมาทิฐิดูให้เห็นสภาวะหรืออาการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปตรงที่นาม หรือตรงที่ใจรับกับใจรู้รูป ณปัจจุบันขณะ หากเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่อย่างชัดเจนนั้นแล้ว จากนั้นให้ใช้ปัญญาสัมมาสังกัปปะคิดพิจารณาจน เห็นว่า"เป็นอนัตตา มิใช่ของเรา บังคับไม่ได้" ให้ทำอย่างนี้อยู่อย่างเสมอโดยไม่ลดละ หากกระทำได้อย่างต่อเนื่องแล้ว ธรรมะที่ว่า "โอปนยิโก"ก็จะบังเกิดขึ้นมาเหตุทุกข์ และเหตุสุขอริยสัจ 4 เป็นหลักการที่แสดงไว้อย่างชัดเจนว่า "อะไรเป็นทุกข์ อะไรเป็นเหตุทุกข์ อะไรเป็นสุข อะไรเป็นเหตุสุข และวิธีการใช้เหตุสุขต่อสู้กับเหตุทุกข์" ซึ่งเป็นแนวทางที่สำคัญสำหรับการเจริญวิปัสสนาภาวนาเพื่อให้เกิดผลสุขขึ้นมา เหตุทุกข์คือสมุทัยเหตุสุขคือมรรค สุขคือนิโรธ รายละเอียดมีดังนี้ทุกข์ (ผลแห่งกิเลส)สิ่งที่เรียกว่า "เป็นทุกข์หรือความทุกข์" มี 3 ประการ
        1. รูป ได้แก่ ร่างกาย คำว่า "รูป" ประกอบด้วยรูป 28และสภาวะแห่งธาตุ 4 คือ
              (ก) สภาวะธาตุดิน คือ หนัก แข็ง หยาบ กระด้าง เบาอ่อน นิ่ม
              (ข) สภาวะธาตุน้ำ คือ ซึมซับ เอิบอาบ แตกแยกเกาะกุม
              (ค) สภาวะธาตุไฟ คือ เย็น ร้อน อุ่น หนาว
              (ง) สภาวะธาตุลม คือ เจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บซ่าน โยก คลอน ไหว นิ่ง
       2. จิต เป็นนาม หรือเรียกว่า "มโนวิญญาณ คือ ใจรู้"
       3. เจตสิก เจตนา เป็นนาม หรือเรียกว่า "ใจรับ"รูป จิต และเจตสิก 3 ประการเหล่านี้ เป็นตัวทุกข์ เรียกว่า"ทุกข์" เหตุแห่งทุกข์
ทุกข์ (รูป จิต และเจตสิก) หรือทุกขสัจนี้มาจากไหน มาจากตัณหา โลภะ มานะ ทิฐิ อัตตทิฐิเป็นหัวหน้าใหญ่ของกิเลส 10ประการ กิเลสเหล่านี้เป็น สาเหตุหรือที่มาของความทุกข์ เรียกว่า"สมุทัย"สุข (พระนิพพาน)การที่กิเลส 10 ประการ มีทิฐิ วิจิกิจฉา เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ดับสงบเย็น เรียกว่า "นิโรธหรือสอุปาทิเสสนิพพาน"ส่วนการที่ทุกข์คือรูป จิต เจตสิก ดับสงบเย็น เรียกว่า "ขันธนิโรธหรืออนุปาทิเสสนิพพาน" การที่กิเลสดับไปนี้เรียกว่า "นิโรธคือสุข"เหตุแห่งสุขการเห็นจิตหรือมโนวิญญาณที่รู้รูปนามเกิดดับ เปลี่ยนแปลงเป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น เรียกว่า "สัมมาทิฐิ" การคิดพิจารณาสิ่งที่สัมมาทิฐิเห็นอยู่ว่า "เป็นอนัตตา" เรียกว่า "สัมมาสังกัปปะ" ปัญญาทั้งสองนี้เป็นเหตุแห่งสุข เรียกว่า "มรรค"พัฒนาการแห่งญาณในการเจริญวิปัสสนาภาวนาการปฏิบัติวิปัสสนา ก็คือ การเจริญปัญญา ให้เห็นความเป็นจริงในเรื่องของรูปนาม การใช้ปัญญาในลักษณะนี้เรียกว่าญาณคือความรู้ลึกเห็นจริง เมื่อลงมือปฏิบัติวิปัสสนาจะก่อให้เกิดพัฒนาการแห่งญาณเป็นลำดับไป ซึ่งมีลักษณะดังนี้ คือสัมมสนญาณ-การพิจารณาถูกต้อง อุทยัพพยญาณ-เห็นความเกิดขึ้นและความดับไปของรูปนาม ภังคญาณ-เห็นรูปนามดับ ญาณ 3 ประการนี้เรียกว่า อนิจจานุปัสสนาญาณ-
เห็นอนิจจัง คือ ความไม่เที่ยงภยญาณ-เห็นความเกิดความดับว่าเป็นภัยที่น่ากลัวอาทีนวญาณ-เห็นความเป็นโทษในสังขาร นิพพิทาญาณ-เห็นแล้วเกิดความหน่าย ญาณ 3 ประการนี้เรียกว่า อัปปนิหิตานุปัสสนา-ญาณ-เห็นทุกขัง คือ ความทุกข์การเห็นอนิจจังความไม่เที่ยง และทุกขังความทุกข์แล้วมีความต้องการที่จะหลุดพ้นเรียกว่า "มุญจิตุกามยตาญาณ" การมีความต้องการหลุดพ้นแล้วเกิดความพยายามขึ้นมาเรียกว่า"ปฏิสังขาญาณ" (หากว่าสัมมสนญาณทำหน้าที่ยังไม่แล้วเสร็จปฏิสังขาญาณนี้ จะทำหน้าที่ในการคิดพิจารณา แต่หากสัมมสนญาณทำหน้าที่แล้ว ปฏิสังขาญาณก็จะทำหน้าที่ คือความเพียร) หากพยายามพิจารณาแล้วเห็นรูปนามอย่างชัดเจนว่า "เป็นอนัตตา" นี้เรียกว่า "สังขารุเปกขาญาณ" ญาณ 3 ประการดังกล่าวนี้เรียกว่า

อนัตตานุปัสสนาญาณ-เห็นอนัตตา คือ ความบังคับไม่ได้ความไม่มีตัวตนของรูปนามหากว่า เห็นสามัญลักษณะทั้ง 3 ประการนี้แล้ว เรียกว่า"เห็นถูกต้อง" หากเห็นถูกต้องแล้ว ทำถูกต้อง คืออนุโลมญาณ(โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ เว้นธรรม 2 ประการ คือ ปีติกับปัสสัทธิคงเหลือ 35 ประการ โพธิปักขิยธรรม 35 ประการรวมเป็นหนึ่งเดียวเป็นพลังอันเดียว รับเอารูปนามส่งให้มรรค เรียกว่าอนุโลมญาณ)นี่แหละที่เรียกว่า "ทำถูกต้อง"อันปีติ-ความอิ่มเอิบใจ และปัสสัทธิ-ความสงบนี้หากว่าเกิดในขณะที่มรรคยังไม่เกิด เรียกว่า "เป็นอันตรายต่อมรรค"แต่หากเกิดพร้อม ๆ กับผลไม่เป็นอันตราย ได้ถูกต้อง คือมรรคญาณเกิด มรรคญาณที่เกิดขึ้นมาตัดกิเลสขาดสะบั้นลงไปอย่างนี้แหละเรียกว่า "ได้ถูกต้อง" ผล 4 เกิดขึ้นมาแล้วเสวยพระนิพพานสงบเย็นอยู่อย่างนี้เรียกว่า "เป็นถูกต้อง" หากว่าผลญาณปรากฏขึ้นมาหรือว่าเราได้ประสบกับผลญาณอย่างแท้จริงแล้ว เรียกว่า "ผลญาณปรากฏแล้วเข้าสู่ความเป็นอริยะ" ด้วยเหตุนี้ การพูดการเทศนาธรรมของพระอริยเจ้านั้นจึงถูกต้องทั้งหมด

บุคคลผู้มิได้เพาะเมล็ดพันธ์ุแห่งมรรคผลไว้จะต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสารอย่างยาวนาน โดยไม่มีที่สิ้นสุดเพราะฉะนั้น ผู้ประสงค์จะหลุดพ้นจากวัฏสงสารควรเร่งรีบกระทำการเพาะเมล็ดพันธ์ุแห่งมรรคผลคือการเจริญวิปัสสนาภาวนาโดยเร็วเถิด  เมล็ดพันธ์ุแห่งมรรคผลอายะติง มัคคะผะละลาภายะ พีชัง กะเรยยะ, พีชาภาเวกุโต มัคโค, มัคคะพีชา หิ ภาวะนา ฯอายะติง มัคคะผะละลาภายะ-การที่จะได้มรรคผลในกาลต่อไปนั้น พีชัง กะเรยยะ-พึงเพาะเมล็ดพันธุ์ไว้เถิด พีชาภาเว-เพราะเมื่อไม่มีเมล็ดพันธุ์แห่งมรรคผลแล้ว กุโต มัคโค-จะได้บรรลุมรรคผลได้ที่ไหนกัน มัคคะพีชา หิ-ความจริงแล้ว เมล็ดพันธ์ุแห่งมรรคผล ภาวะนา-คือ วิปัสสนาภาวนาความว่า เมล็ดพันธ์ุแห่งการบรรลุมรรคผลในภายภาคหน้านั้นเป็นวิปัสสนาภาวนา ในกรณีที่บุคคลไม่มีเชื้อ หรือไม่ได้เพาะบ่มเมล็ดพันธ์ุแห่งวิปัสสนาภาวนาไว้แล้ว เขาจะหามรรคหาผลได้ที่ไหนเล่าวิปัสสนาภาวนานี้นั่นเอง เป็นเมล็ดพันธ์ุแห่งการเข้างมรรค 4 ผล 4ไม่ว่าในโอกาสหน้า วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า หรือชาติหน้าก็ตามเมล็ดพันธุ์แห่งการที่จะได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยเจ้าชั้นใดชั้นหนึ่ง เช่น เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีหรือพระอรหันต์นั้น ก็คือวิปัสสนาภาวนา บุคคลผู้ไม่เจริญวิปัสสนาภาวนาก็จะไม่บรรลุมรรคผล เพราะเมล็ดพันธ์ุแห่งมรรคผลก็คือวิปัสสนาภาวนา ดังกล่าวมาแล้วอนึ่ง การบรรลุมรรคผลนั้นมิใช่ได้มาด้วยการอ้อนวอนขอร้องแต่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติต่างหาก พระพุทธเจ้าทรงขอเป็นพระพุทธเจ้าแล้วได้เป็นขึ้นมาก็ไม่ใช่และมิได้ทรงขอจากใคร แต่พระองค์ทรงปฏิบัติแล้วได้มาด้วยพระองค์เอง คำว่า "ปะณิธานะโต"(ปณิธาน) แปลว่า การกระทำของบุคคลผู้เลอเลิศเหนือเทวดา
และมนุษย์" การกระทำที่ประเสริฐนี่แหละเรียกว่า "บารมี" บุคคลผู้เอาแต่ขอร้องและอ้อนวอนมาโดยตลอดนั้น ขอให้ลงมือปฏิบัติเอาด้วยตนจริง ๆ เถิด เพราะว่าทุกอย่างมีเหตุและผล หากกระทำเหตุผลแม้ไม่หวังก็ต้องได้อย่างแน่นอน ประสงค์สิ่งใดก็ขอให้ทำเหตุสิ่งนั้นเมื่อทำเหตุแล้ว ผลนั้นไม่ต้องไปอ้อนวอนขอร้องก็ต้องปรากฏมาให้ได้รับเป็นแน่

หากไม่มีเมล็ดพันธ์ุแห่งมรรคผลอะพีชัสสะ ตุ สังสาโร ทีโฆเยวะ อะนันติโก, ตัสมา หิโมจะนัตถิโก ภาวะนาพีชัง กะเรยยะ ฯอะพีชัสสะ-เทวดา มนุษย์ผู้ไม่มีเมล็ดพันธุ์แห่งมรรคผลสังสาโร ทีโฆเยวะ อะนันติโก-วัฏสงสารของเขาจะยาวนานต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ตัสมา หิ-เพราะเหตุนั้น โมจะนัตถิโก-เทวดามนุษย์ผู้ประสงค์จะหลุดพ้นจากวัฏสงสาร ภาวะนาพีชัง กะเรยยะ-พึงรีบเพาะเมล็ดพันธ์ุแห่งมรรคผลไว้ความว่า บุคคลผู้ไม่มีเมล็ดพันธ์ุแห่งมรรคผล (ไม่ได้เจริญวิปัสสนาภาวนา) จะต้องเวียนว่ายอยู่ในวัฏสงสารอย่างยาวนานโดยไม่มีจุดสิ้นสุด เพราะฉะนั้น ผู้ประสงค์จะหลุดพ้นจากวัฏสงสารควรเร่งรีบกระทำการเพาะบ่มเมล็ดพันธ์ุแห่งการบรรลุมรรคผลคือวิปัสสนาภาวนาให้เจริญงอกงามขึ้นโดยเร็วเถิดบุคคลทุกสถานะเพศวัยในโลกนี้ หากมิได้มีเชื้อแห่งมรรคผลไว้วัฏสงสารอันจะต้องเวียนว่ายต่อไปในภายภาคหน้านั้น ไม่อาจกล่าวได้ว่าจะไปสิ้นสุดลงเมื่อไร สิ้นสุดตรงจุดไหน คำว่า "วัฏสงสาร" เกี่ยวข้องโดยตรงกับคำว่า "อัตตา" (อวิชชาหรืออัตตทิฐิ) อัตตานี้แหละเป็นตัวการใหญ่ที่ทำให้เกิดระบบการเวียนว่าย (ตาย-เกิด) อัตตาทำให้ตายเกิด หรือจะเรียกว่าอัตตาเป็นผู้ทำให้มีการตายเกิดก็ได้การเวียนว่ายตายเกิดนี้จะสิ้นสุดลง ณ ตรงจุดไหน ไม่สามารถจะล่วง

รู้ได้เลย เพราะฉะนั้น บุคคลทั้งฆราวาสชายหญิง พระภิกษุ สามเณรและแม่ชี ที่กลัวเกิด กลัวแก่ กลัวเจ็บ และกลัวตาย ทุกท่าน จงเพาะบ่มเชื้อ หรือเมล็ดพันธ์ุแห่งมรรคผลอันเป็นเหตุแห่งการไม่เกิด ไม่แก่ไม่เจ็บ และไม่ตายให้เจริญงอกงาม โดยไม่ต้องผลัดวันประกันพรุ่งหรือคอย วัน เวลา โอกาส เดือนหน้า ปีหน้า หรือชาติหน้า อีกต่อไป

                                                            มรรคและผล
สิ่งที่ทำหน้าที่ในการฆ่ากิเลสหรือตัดกิเลสให้ขาดไปเรียกว่า "มรรค" ดังวิเคราะห์ว่า "กิเลเส มาเรตีติ มัคโค" แปลว่ากิเลเส-กิเลส 10 ประการมีอัตตทิฐิเป็นต้น มาเรติ-กำจัดตัดให้ขาดไป อิติ-เพราะกำจัดกิเลส (อัตตา) ขาดตกไปได้นั้น มัคโค-จึงได้ชื่อว่า"มรรค" คำว่า "กิเลส" นี้มีบาลีว่า "กิลิสฺสติ เอเตนาติ กิเลโส" แปลว่ากิลิสฺสติ-ทำให้เศร้าหมอง เอเตนาติ-เพราะทำให้เศร้าหมอง อย่างนั้นกิเลโส-จึงได้ชื่อว่า "กิเลส"คำว่า "กิเลส" มี 10 ประการ เป็นเหตุทำให้กามาวจรกุศลรูปาวจรกุศลและอรูปาวจรกุศลเศร้าหมอง ในบรรดากิเลส 10ประการนี้มีอัตตทิฐิเป็นหัวหน้า มีวิจิกิจฉาเป็นรองหัวหน้า อัตตา-ตัวกูทิฐิ-เห็น คือเห็นผิดคิดว่า "นามรูปนี้เป็นตัวกูของกู" เห็นว่า "อัตตา(ตัวกู)" เป็นนิจจัง มั่นคง เที่ยงแท้ ไม่แตกสลาย เป็นสุข สงบเย็น เป็นคนก็เป็นผู้สุขเย็น เป็นเทวดา หรือพรหมก็เป็นผู้สุขเย็น เห็นผิดอย่างนี้ในการบรรลุธรรมนั้น โสตาปัตติมรรคจะตัดอัตตทิฐิ(ความเห็นว่าเป็นตัวเป็นตน) และวิจิกิจฉา แล้วเข้าสู่ความเป็น
พระอริยะ คือเป็นพระโสดาบัน แต่ยังคล้ายปุถุชนอยู่ เพราะยังคงมีกิเลสหลงเหลืออยู่อีก 8 อย่าง สกทาคามิมรรคจะตัดอัตตทิฐิ วิจิกิจฉาเหมือนกัน แต่กิเลสที่เหลือนั้นได้เหี่ยวเฉาลงไป เมื่อถึงขั้นนี้ ก็มีความแตกต่างจากปุถุชนแล้ว อนาคามิมรรคก็ตัดกิเลสที่เหลืออีกโดยเหลือมานะครึ่งหนึ่ง และถีนะครึ่งหนึ่ง อรหัตตมรรคก็ตัดกิเลสที่เหลืออย่างละครึ่งนั้นออกไปอีก โดยไม่มีกิเลสตัวไหนหลงเหลืออยู่

ลำดับต่อมาก็เป็นผลหรือเสวยผล เรียกว่า "ผลสมาบัติ"คำว่า "ผลสมาบัติ" มีบาลีว่า "ผะลัง สะมาปัชชะตีติผะละสะมาปัตติ" แปลว่า ผะลัง-ผลคือกิเลสนิโรธ (กิเลสนิพพาน)ที่สงบเย็นนั้น สะมาปัชชะติ-เข้าถึงสงบเย็นอยู่ อิติ-เพราะเข้าเสวยกิเลสนิโรธ (กิเลสนิพพาน) สงบเย็นอยู่อย่างนั้น ผะละสะมาปัตติ-จึงได้ชื่อว่าผลสมาบัติพระพุทธเจ้า ไม่ทรงรบกับผลภะคะวา ทุกขะนิโรธัง อะเทเสนโต สะมุทะยะนิโรเธนะเทเสสิ, สีหะสะมา วุฑฒิโน หิ ตะถาคะตา ฯภะคะวา-พระผู้มีพระภาคเจ้า อะเทเสนโต-ไม่ทรงแสดง(ประพฤติเช่นนี้พระองค์ก็ไม่ทรงประพฤติ) ทุกขะนิโรธัง-ซึ่งการดับทุกข์ เทเสสิ-แต่พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว (พระองค์ก็ทรงประพฤติเช่นนี้มาแล้ว) สะมุทะยะนิโรเธนะ-เพื่อการดับตัณหา 3 ประการและอวิชชา 4 ประการ ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์นั้น สีหะสะมาวุฑฒิโน หิ ตะถาคะตา-เพราะพระตถาคตเจ้าทรงประพฤติดังพระยาราชสีห์ไล่จับนายพราน ฉะนั้นพระพุทธเจ้าไม่ทรงแสดง ไม่ทรงแนะนำให้ต่อสู้กับความทุกข์เพื่อให้ความทุกข์ดับไป แต่พระองค์ทรงแสดงและทรงแนะนำให้ต่อสู้ต้นเหตุของความทุกข์ที่เรียกว่า "สมุทัย" ซึ่งประกอบด้วยตัณหา 3(กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) และอวิชชา 4 (โมหะ อหิริกะอโนตตัปปะ อุทธัจจะ) เพราะว่าการต่อสู้ของพระองค์เปรียบเหมือนพระยาราชสีห์พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ที่เสด็จอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ ไม่ทรงปฏิบัติและไม่ทรงสอนให้สู้กับทุกข์ คือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย แต่ทุกพระองค์ทรงปฏิบัติและทรงแสดงธรรมเพื่อการดับสมุทัยอันเป็นต้นเหตุของความทุกข์ซึ่งมีอัตตาเป็นหัวหน้า วิธีการปฏิบัติของพระองค์นี้เปรียบเสมือนพระยาราชสีห์ กล่าวคือพระองค์ทรงปฏิบัติวิปัสสนา

ภาวนาเพื่อดับสมุทัยต้นเหตุของทุกข์ มิใช่ดับที่ทุกข์ เพราะทุกข์เป็นผลพระยาราชสีห์นั้น หากถูกนายพรานใช้ลูกศรยิงใส่ตน จะไม่สนใจแผลที่โดนยิงหรือลูกศรที่ยิงถูกตน แต่จะสอดส่องค้นหาที่มาของลูกศรว่ามาจากไหน เมื่อสอดส่องแสวงหาที่มาของลูกศรก็จะพบว่า มาจากนายพราน เมื่อหาพบแล้วก็รีบวิ่งขับไล่ติดตามนายพรานไปจนทันแล้วก็ฆ่านายพรานให้ตายไป เมื่อนายพรานตายแล้ว ลูกศรก็ไม่มีที่มาอีก ข้ออุปมาอุปมัยในที่นี้ นายพรานหมายถึงสมุทัย 3ประการ ประกอบด้วยอัตตา มานะ และโลภะ การเห็นนายพราน(อัตตา) สัมมาทิฐิเป็นผู้เห็น การหานายพราน สัมมาสังกัปปะเป็นผู้หา การวิ่งขับไล่นายพรานอย่างไม่ลดละ คือ สัมมาวายามะ
(ความเพียร) การจับนายพรานได้เป็นอนุโลมญาณ การฆ่านายพรานเสียได้เป็นมรรคญาณ การที่นายพราน (อัตตา) ตายไปลูกศรไม่มีแหล่งที่มาอีก เป็นผลญาณ วิธีการปฏิบัติของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ก็คือการใช้ปัญญาวิปัสสนาภาวนาดังที่ได้ยกมาเป็นตัวอย่างที่กล่าวมานั่นเองธรรมมีเพียงเหตุกับผลกัมมะการะโก นัตถิ, วิปากัสสะ คะหะโก นัตถิ, จิตตังสะเจตะสิกัง ปะวัตตะติ, เอวะเมตัง สัมมาทัสสะนัง ฯกัมมะการะโก-มนุษย์ทำกรรม เทวดาทำกรรม หรือพรหมทำกรรม นัตถิ-ไม่มี วิปากัสสะ คะหะโก-มนุษย์ผู้รับผล เทวดาผู้รับผล หรือพรหมผู้รับผล นัตถิ-ไม่มี จิตตัง สะเจตะสิกัง-มีเพียงจิตและเจตสิกเท่านั้น ปะวัตตะติ-เป็นไปอยู่อย่างนี้ เอตะมิทัง-การรู้เห็นอย่างนี้ สัมมาทัสสะนัง-เป็นความรู้เห็นอันถูกต้องในเรื่องการทำกรรมนั้นจะว่าเทวดาทำหรือมนุษย์ทำไม่มีแต่มีจิตกับเจตสิกเท่านั้นเป็นผู้ทำ กรรมกับเหตุเป็นอันเดียวกัน การที่ว่ามนุษย์หรือเทวดาตนนี้ตนนั้นรับผลกรรมไม่มี มีเพียงใจวิบากและเจตสิกเท่านั้นรับไป ผลกับวิบากเป็นสิ่งเดียวกัน กรรมเหตุและกรรมผลนี้จะผลัดเปลี่ยนกันไปมาอย่างต่อเนื่องเป็นสภาวธรรมเทวดาหรือมนุษย์ผู้มีความเห็นอย่างนี้ เรียกว่า "ผู้มีความเห็นถูกต้อง"คำว่า "กรรมเหตุ" คือกรรมอดีต 5 ประการ คำว่า "กรรมผล"คือกรรมปัจจุบัน 5 ประการ กรรมอนาคตก็มี 5 ประการเช่นเดียวกันสภาวะธรรมดังกล่าวมานี้จะเห็นได้ว่า "ปัจจุบันมีผลกับเหตุ 10""อดีตกับอนาคตมีผลกับเหตุ 10" รวมเหตุผลในสภาวธรรมมี 20จะเห็นได้ว่า "ธรรมะทั้งหมดในโลกนี้มีเพียงเหตุกับผลเท่านั้น"อดีตกรรมเหตุที่ผ่านมานั้นประกอบด้วย  1. อวิชชา 2. สังขาร  3. ตัณหา 4. อุปาทาน 5. กรรมภพ เนื่องจากอดีตกรรมเหล่านี้เป็นเหตุ จึงทำให้เกิดปัจจุบันผล(วิบาก) ปัจจุบันผลก็คือ  1. วิญญาณ 2. นามรูป  3. สฬายตนะ 4. ผัสสะ 5. เวทนาหากว่าเวทนาเกิดขึ้นแล้วก็เริ่มเกิดปัจจุบันเหตุอีกทอด คือ
เริ่มต้นด้วย  1. ตัณหา 2. อุปาทาน  3. กรรมภพ 4. อวิชชา 5. สังขาร ปัจจุบันเหตุนี้เกิดขึ้นพร้อมกันอย่างต่อเนื่อง หากว่ากรรมเหตุ
ในปัจจุบันหมุนแล้ว กรรมผลในอนาคตก็เกิดขึ้นดำเนินต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด อดีตกรรมผลที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นคือ1. วิญญาณ 2. นามรูป3. สฬายตนะ 4. ผัสสะ 5. เวทนาเหตุกับผลทั้ง 4 ประการนี้ (อดีตเหตุ ปัจจุบันผล ปัจจุบันเหตุอนาคตผล) ทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันเกิดขึ้นเป็นทอด ๆ ดำเนินไปอยู่อย่างนี้อย่างต่อเนื่องจึงเรียกว่า "วงเวียนแห่งวัฏสงสาร" หากว่าวงเวียนอันนี้ไม่ขาดยังมีอยู่ เทวดาและมนุษย์ก็ยังคงอยู่ หากว่าสภาวธรรม 2 ประการทั้ง 4 แห่งนี้ไม่มี เทวดาและมนุษย์ก็ดับหายไปด้วย เมื่อเทวดามนุษย์ดับหายไปแล้ว บรรดาความทุกข์ที่เทวดาและมนุษย์รับมาเสวยเป็นตายเกิด ๆ อยู่นั้นก็ดับสนิทไปด้วย

                                                   วิธีการตัดทำลายเหตุกับผล
วิธีการตัดทำลายเหตุกับผลดังกล่าวข้างต้นก็คือ  1. การใช้ปัญญาสัมมาทิฐิคอยดูจดจ่ออยู่ที่จิต ซึ่งเรียกว่า"มโนวิญญาณธาตุ" 2. มหาภูตรูปทั้ง 4 คือ ธาตุดิน อันมีลักษณะ หนัก แข็ง หยาบกระด้าง เบา อ่อน นิ่ม ธาตุน้ำ อันมีลักษณะ ซึมซับ เอิบอาบ แตกแยก
เกาะกุม ธาตุไฟ อันมีลักษณะ เย็น ร้อน อุ่น หนาว ธาตุลมอันมีลักษณะ เจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่าน โยก คลอน ไหว นิ่งในขณะที่นั่งอยู่หรือในอิริยาบถอื่นก็ตาม ลักษณะอาการแห่งมหาภูตรูปหรือธาตุ 4 นี้ จะต้องปรากฏออกมาที่มโนวิญญาณธาตุอย่างแน่นอน หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นมาแล้วจะมี 3 ลักษณะ คือดีชอบ เรียกว่า "โสมนัสเวทนา" ร้าย ไม่ชอบเรียกว่า "โทมนัสเวทนา"เป็นกลาง ๆ ดีก็มิใช่ ร้ายก็มิใช่ หรือเฉย ๆ เรียกว่า "อุเบกขาเวทนา"ลักษณะอาการที่แสดงออกมานี้เป็นอาการของรูปและนาม เมื่อใดก็ตามที่อาการเหล่านี้เกิดขึ้นมาให้ใช้สัมมาสังกัปปะพิจารณาว่า ไม่ใช่ของเรา เป็นอนัตตา ไม่ควรยึดถือว่าเป็นของตน พร้อมกันนี้ก็ให้ใช้สัมมาทิฐิ-ความเห็นถูกต้อง ดูที่ความเป็นอนัตตานั้นให้ชัด ๆพระพุทธองค์ตรัสว่า "เอโก ธัมโม อะนัตตาโต ภิกขะเวอะนุปัสสิโต ภาวิโต พะหุลีกะโต อะภิญญายะ สัมโพธายะนิพพานายะ สังวัตตะติ"แปลว่า ภิกขะเว-ดูกรท่านผู้เห็นภัยแห่งการเกิดแก่เจ็บตายที่

จะมาปรากฏในภายหน้า เอโก ธัมโม-ธรรมะอันเป็นเอก (อันนี้)อะนัตตาโต-ตรงที่ความเป็นอนัตตานั้น อะนุปัสสิโต-เธอจงเฝ้าดูภาวิโต-เธอจงเฝ้าพิจารณา พะหุลีกะโต-เธอจงทำให้มากอะภิญญายะ-มรรคญาณ สัมโพธายะ-ผลญาณ นิพพานายะ-พระนิพพาน สังวัตตะติ-ย่อมเกิดขึ้นมาหมายความว่า ผู้เห็นภัยแห่งการเกิดแก่เจ็บตายทั้งหลายตรงที่ความเป็นอนัตตานั้น จงใช้ปัญญาสัมมาทิฐิดูให้มาก ๆ ใช้สัมมา-สังกัปปะพิจารณาลงไปให้ต่อเนื่องว่ามิใช่ของตน เป็นอนัตตาการกระทำอย่างนี้เนือง ๆ นั่นแหละเป็นเหตุแห่งการเกิดมรรคผลนิพพาน พระพุทธองค์ตรัสไว้ดังนี้ขอให้ท่านผู้เป็นชาวพุทธทั้งหลายจงปฏิบัติไปอย่างนี้ ให้ดีโดยต่อเนื่อง แล้วเราจะเข้าใจแจ่มแจ้งเห็นจริงว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนสิ่งที่เป็นจริง หากว่าเห็นเวทนาเป็นอนัตตาแล้ว อัตตาอันเป็นหัวหน้าของตัณหาก็จะถูกตัดทำลายลงไปได้ เหตุกับผลแห่งวัฏสงสาร อันเป็นวงเวียนแห่งการตายเกิดนี้ก็จะถูกตัดขาดออกเป็นสองท่อน ทำงานต่อไปไม่ได้ อนาคตเหตุก็หยุดนิ่ง ไม่เคลื่อนไหวอีกต่อไปคำว่า "สังขารไม่เที่ยง และสังขารเป็นทุกข์ 2 คำนี้ รวมลงในคำว่า“สัพเพ ธัมมา อนัตตา” ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา มิใช่สัตว์ บุคคลตัวตนเราเขา เป็นอนัตตาเพียงประการเดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่า
เอโก ธัมโม-ธรรมอันเดียวดังนั้น หากประสงค์จะเห็นธรรม 84,000 พระธรรมขันธ์ก็ให้พิจารณาเห็นอนัตตากันเถิด ผู้หาคือสัมมาสังกัปปะ ผู้เห็นคือสัมมาทิฐิปัญญาทั้ง 2 นี้เรียกว่าวิปัสสนาภาวนา สัมมาทิฐิเป็นวิปัสสนา สัมมาสังกัปปะ
เป็นภาวนา"เอโก ธัมโม" ธรรมมีอย่างเดียว

สัพเพ สังขารา อะนิจจา
สัพเพ สังขารา ทุกขา
สัพเพ ธัมมา อะนัตตา ฯ
สัพเพ-รูปนามหรือขันธ์ของหมู่สัตว์ มนุษย์และเทวดาทั้งปวง
สังขารา-อวิชชาและตัณหาเป็นผู้ก่อสร้างปรุงแต่งให้เกิดเป็นมา
อะนิจจา-ไม่เที่ยง ไม่มั่นคง สัพเพ-รูปนามหรือขันธ์ของหมู่สัตว์
มนุษย์และเทวดาทั้งปวง สังขารา-อวิชชาและตัณหาเป็นผู้ก่อสร้างปรุงแต่งให้เกิดเป็นมา ทุกขา-ต้องตายเกิด ๆ สัพเพ ธัมมา-สิ่งปรุงแต่งที่ไม่เที่ยงและตายเกิด ๆ ทั้งปวงนี้ อะนัตตา-สัตว์ก็ไม่ใช่มนุษย์ก็ไม่ใช่ เทวดาก็ไม่ใช่ เป็นอนัตตา มิใช่ตัวตนรูปนามหรือขันธ์ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนั้นเกิดขึ้นมาเพราะอวิชชาและตัณหาเป็นผู้ก่อสร้างปรุงแต่งมีลักษณะไม่เที่ยงไม่มั่นคง รูปนามหรือขันธ์ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนั้นเกิดขึ้นมาเพราะอวิชชาและตัณหาเป็นผู้ก่อสร้างปรุงแต่ง มีลักษณะแปรปรวนเป็นทุกข์ ทั้งอนิจจสังขารก็ดี ทุกขสังขารก็ดี หรือสภาวธรรมทั้งหมดนี้เป็นอนัตตาทั้งสิ้น ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาคำว่า "สังขาร" นี้ หมายถึงการประกอบ การปรุงแต่งหรือการก่อให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นมา ทั้งในด้านที่ดีและไม่ดีประกอบด้วย
               1. ปุญญาภิสังขาร คือการประกอบในเรื่องบุญ ทาน ปัตติทานปัตตานุโมทนา และทิฏฐุชุกรรม เป็นเหตุ ทำให้เกิดกามาวจรกุศลจิต8 ดวง พร้อมทั้งมีอัตตทิฐิและมานะ การกระทำอย่างนี้นี่แหละเรียกว่าปุญญาภิสังขาร เป็นคติทางเดินแห่งเทวดาและมนุษย์ส่วนการฟังธรรม การทำวัตรสวดมนต์ และทิฏฐุชุกรรม-การทำความเห็นให้ตรงแล้วประกอบสมถภาวนา 36 ประการเป็นเหตุให้เกิดปุญญาภิสังขารประการที่สอง นี่แหละเป็นทางเดินของผู้ได้ปฐมฌาน 3 ภูมิ ทุติยฌาน 3 ภูมิ ตติยฌาน 3 ภูมิ จตุตถฌาน
2 ภูมิ ซึ่งเรียกว่า "รูปพรหม 11 ภูมิ" พรหมผู้ตายเกิดอยู่ในรูปพรหมทั้ง 11 ภูมินี้ ก็ยังอยู่ในลักษณะของความไม่เที่ยงเป็นทุกข์
                2. อปุญญาภิสังขาร คือ การประกอบปาณาติบาตและมิจฉาทิฐิ เป็นต้นแล้วก่อให้เกิดอกุศลวิบาก 12 โดยมีโลภะ มานะ
และทิฐิเป็นประธาน เป็นเหตุให้ไปบังเกิดในอบายภูมิ 4 ตายเกิด ๆเป็นทุกข์ อยู่อย่างนั้น
               3. อเนญชาภิสังขาร คือ การปฏิบัติสมถภาวนา โดยการเจริญอากาสานัญจายตนะ เป็นต้น จนได้อรูปฌาน 4 วิธีปฏิบัติอย่างนี้ เป็นทางไปเกิดในอรูปพรหม 4 ตายเกิด ๆ อยู่ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ด้วยเหตุนี้นั่นเอง พระศาสดาจึงตรัสว่า "สังขารทั้งหลาย(สิ่งปรุงแต่งทุกชนิด) ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ (ตายเกิด ๆ)"คำว่า "สังขารไม่เที่ยง" และ "สังขารเป็นทุกข์" สองคำนี้ รวมลงในคำว่า "สัพเพ ธัมมา อนัตตา-ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตามิใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เป็นอนัตตาเพียงประการเดียวเท่านั้นด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่า "เอโก ธัมโม-ธรรมอันเดียว" พระไตรปิฎกประกอบด้วยพระวินัย 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสูตร 21,000พระธรรมขันธ์ พระอภิธรรม 42,000 พระธรรมขันธ์ รวมเป็น84,000 พระธรรมขันธ์ ทั้งหมดจึงเป็น สัพเพ ธัมมา อนัตตา-ธรรมะทั้งหมดทั้งสิ้นดังกล่าวนี้เป็นอนัตตาประการเดียวเท่านั้นเองใครเห็นว่า "ไม่ใช่" ก็เป็นผู้มีความเห็นผิดเหมือนกับท่านเทวทัต ดังนั้นหากประสงค์จะเห็นพระธรรม 84,000 พระธรรมขันธ์ก็ให้พิจารณาเห็นอนัตตากันเถิด ผู้หาคือสัมมาสังกัปปะ ผู้เห็นคือสัมมาทิฐิปัญญาทั้ง 2 นี้เรียกว่าวิปัสสนาภาวนา สัมมาทิฐิเป็นวิปัสสนาสัมมาสังกัปปะเป็นภาวนา "มรรคมีองค์ 8"  ทางสายเอกสู่พระนิพพานอะยะเมวาติ อะวะธาระณะวะจะนัง อัญญัสสะ นิพพานะ-คามิมัคคัสสะ อัตถิภาวะปะฏิเสธะนัตถัง ฯอะยะเมวาติ-มรรคมีองค์ 8 อันมีสัมมาทิฐิและสัมมา-สังกัปปะเป็นประธานนี้เอง อะวะธาระณะวะจะนัง-พระองค์ทรงประกาศไว้อย่างอาจหาญ อัญญัสสะ-นอกจากมรรคมีองค์ 8 แล้วนิพพานะคามิมัคคัสสะ-ทางที่จะดำเนินไปสู่นิพพานที่สงบเย็นนั้นอัตถิภาวะปะฏิเสธะนัตถัง-ที่ว่ามีทางอื่นอยู่อีกนั้น เป็นคำที่ทรงปฏิเสธไว้แล้วหมายความว่า ทางที่จะดำเนินไปสู่พระนิพพานนั้นมีเพียงมรรคมีองค์ 8 อันมีสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะนำหน้านี้เท่านั้นหากเห็นว่ายังมีทางอื่นอยู่อีก นี้เป็นความเห็นที่ผิด พระพุทธองค์จึงทรงปฏิเสธไว้ว่า ไม่มีทางอื่นอีก นอกจากมรรคมีองค์ 8 ประการนี้

               วิธีประพฤติตามมรรคมีองค์ 8
สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ เปรียบเหมือนแผ่นดินที่รองรับ สัมมาวายามะ เปรียบเหมือนเท้าสองข้างที่ก้าวเดินสัมมาสติและสัมมาสมาธิ เปรียบเหมือนมือซ้ายมือขวา สัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ เปรียบเหมือนตาสองข้าง เป็นองค์แห่งปัญญาพาส่งอนุโลมญาณ เมื่อมองเห็นแล้วจึงมอบให้มรรคญาณตัดกิเลสทั้ง 10ให้สงบเย็นลงไปมรรคมีองค์ 8 ในหัวข้ออุปมาวิรัติศีลประกอบด้วยสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะองค์แห่งมรรคทั้งสามประการนี้เปรียบเหมือนแผ่นดินที่รองรับบ้านเมืองสัมมาวายามะเป็นเท้าสองข้างที่เดินเหยียบย่ำไปมา สัมมาสติกับสัมมาสมาธิเป็นหูสองข้างไว้ฟังธรรมพระพุทธองค์ สัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะเป็นตาสองข้างดูสังเกตพิจารณาอย่างพากเพียรมรรคญาณเป็นมือสองข้างวางทิ้งศัตรูคือกิเลส ผลญาณคือการได้ผลลัพธ์อันเป็นการเสวยพระนิพพานตรงปลายสุดแห่งวัฏสงสารดูและพิจารณาให้เห็นอนัตตาคำว่า "อนัตตา" และ "สัมมาทิฐิ" เป็นธรรมอันเดียวกันในลักษณะที่ตรงกันข้าม คำว่า "อัตตา" และ "มิจฉาทิฐิ" เป็นธรรมอันเดียวกัน อนัตตาเป็นเหตุแห่งการไม่เกิดไม่ตาย อัตตาเป็นเหตุแห่งการตายการเกิด ในการปฏิบัตินั้น ตรงที่ความเป็นอนิจจังความไม่เที่ยงและทุกขังความเป็นทุกข์นั้นไม่ต้องไปดูไปพิจารณาแต่ให้ไปดูและพิจารณาที่ความเป็นอนัตตาเพียงประการเดียวเท่านั้น เพราะว่าทั้งอนิจจังความไม่เที่ยงและทุกขังความเป็นทุกข์นั้นตามหลังอนัตตา พระพุทธองค์ทรงแสดงอนัตตาก่อนทั้งนี้ก็เพราะพระองค์ทรงเห็นอนัตตานั่นเอง ดังพระบาลีที่ว่าอะนัตตะลักขะเณ ทิฏเฐ, อะนิจจะลักขะณัง ทิฏฐะเมวะโหติ, อิเมสุ ตีสุ ลักขะเณสุ เอกัสมิง ลักขะเณ ทิฏเฐ, อิตะรังทิฏฐะเมวะ โหติ ฯอะนัตตะลักขะเณ-เมื่อลักษณะแห่งอนัตตานั้น ทิฏเฐ-หากว่าเห็นแล้ว อะนิจจะลักขะณัง-ลักษณะแห่งความไม่เที่ยงทิฏฐะเมวะ-ก็จะได้เห็นแจ่มแจ้งขึ้นมาเอง โหติ-เป็นเช่นนี้ อิเมสุ ตีสุลักขะเณสุ-บรรดาลักษณะ 3 ประการเหล่านี้ เอกัสมิง ลักขะเณ-เมื่อลักษณะอย่างหนึ่ง ทิฏเฐ-หากว่าได้เห็นแล้ว อิตะรัง-อนิจจ-ลักษณะและทุกขลักษณะทั้ง 2 นอกนี้ ทิฏฐะเมวะ-จะได้เห็นขึ้นมาเอง

คำว่า "อนิจจัง" และ "ทุกขัง" ทั้งสองนี้ เป็นเพียงคำถาม หมายความว่า ความไม่เที่ยงเป็นทุกข์นี้ เป็นเพราะอะไร ก็เป็นเพราะว่า ธรรมทั้ง 2 นี้ เป็นสภาพแห่งอนัตตานั่นเองจึงเป็นอย่างนี้ ทุกข์หรือความทุกข์ที่เกิดขึ้นมาอยู่อย่างนี้ ไม่ใช่ของเรา บังคับไม่ได้ ไม่อยู่ในอำนาจเป็นอนัตตา เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า "เป็นทุกข์" นี่คือคำตอบพระพุทธองค์ตรัสว่า หากว่าเห็นอนัตตาแล้ว อนิจจัง ทุกขัง แม้ว่าไม่ดูไม่พิจารณาก็จะรู้พร้อมอนัตตานั่นเอง เพราะธรรมคืออนัตตานี้เป็นธรรมเอก (เอโก ธัมโม) ดังนั้น เมื่อเห็นอนัตตาก็จบกิจ ดังพระบาลีว่า "สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหมด กล่าวคือทั้งอนิจจังและทุกขังล้วนเป็นอนัตตา"ความเห็นถูกต้องกล่าวคือสัมมาทิฐินี้ประเสริฐสุดเปรียบดังดวงจันทร์ที่แจ่มจรัสอยู่บนท้องฟ้าท่ามกลางหมู่ดาวบริวาร ในบรรดามรรคมีองค์ 8 นี้ สัมมาทิฐิเปรียบดังดวงจันทร์ ศีลกับสมาธิเปรียบดังหมู่ดาวบริวารบุคคลผู้ที่บุญกุศลส่ง แล้วได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา ควรตระหนักในการที่จะรับเอาปัญญาศาสนา (คำสอนที่เป็นปัญญา) มานำหน้าพระพุทธเจ้าทรงใช้ปัญญานำหน้าปัญญุตตะรา หิ กุสะลา ธัมมา, ปัญญายะ จะ สิทธายะ,สัพเพ อะนะวัชชา ธัมมา สิทธาเยวะ โหนติ ฯหิ-เป็นความจริง กุสะลา ธัมมา-บรรดากุศลธรรมญาณ-สัมปยุตทั้ง 13ประการ ปัญญุตตะรา-มีปัญญาคือสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะนี้เป็นยอดธรรม ปัญญายะ จะ-ก็เมื่อปัญญาสิทธายะ-ทำกิจสำเร็จแล้ว สัพเพ อะนะวัชชา ธัมมา-ธรรมที่ปราศจากโทษทั้งมวล สิทธาเยวะ-ก็ทำกิจสำเร็จแล้วเหมือนกันบาลีข้างต้นนี้หมายความว่า ความจริง พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงปฏิบัติโดยใช้ปัญญานำหน้าเสมอ คำว่าปัญญาแปลว่า รู้แจ้ง

คำว่าพุทธะก็แปลว่ารู้แจ้ง ศัพท์ทั้ง 2 นี้มีความหมายว่า "รู้แจ้ง"เหมือนกัน ที่ว่ารู้แจ้งนี้ หากถามว่า "รู้แจ้งอะไร?" ก็หมายถึงรู้แจ้งว่า
"ขันธ์ห้าหรือร่างกาย ตั้งแต่หัวจรดเท้านี้มีทุกข์ประการเดียวเท่านั้น"ทุกข์ก็คือเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือชาติ ชรา มรณะเป็นตัวทุกข์ อีกนัยหนึ่งว่าโดยปรมัตถ์ก็คือ รู้ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของสังขารนั่นเองแจ้งก็คือเมื่อรู้ว่าเป็นเพียงความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเท่านั้นก็วางเหตุทุกข์ที่เรียกว่าสมุทัยนั้นเสียได้ หากว่า เหตุทุกข์ดับนิพพานก็เกิดอีกอย่างหนึ่ง คำว่า "รู้" กับคำว่า "แจ้ง" เป็นธรรมอย่างเดียวกัน คือสัมมา-ถูกต้อง คำว่า "แจ้ง" ก็หมายถึงพุทธะ พุทธะก็คือปัญญาหรืออโมหะ-ความไม่ลุ่มหลง ปัญญาหรืออโมหะนี้ เกิดพร้อมกับจิตที่เป็นญาณสัมปยุต 17 ดวง ส่วนปัญญาอันเกิดพร้อมกับจิตกามาวจรกุศลญาณสัมปยุต 4 ดวง รูปกุศล 5 ดวง และอรูปกุศล 4 ดวง เรียกว่า"โลกิยปัญญา" อยู่ในวงเวียนแห่งคุกตายเกิด (วัฏสงสาร)ปัญญาอันเกิดพร้อมโลกุตตรมรรคกุศล 4 ดวง เรียกว่า
"ปัญญาปรมัตถ์" หรือโลกุตตรปัญญา (ไม่ตายอีก) ทั้งใจโลกิยสัมปยุต13 ดวงก็ดี และใจโลกุตตรญาณสัมปยุต 4 ดวงนี้ก็ดี มีปัญญาสัมมาทิฐิความเห็นถูกต้องและปัญญาสัมมาสังกัปปะความคิดพิจารณาถูกต้องเป็นประธานเป็นผู้นำในการทำกิจทั้งปวงให้สำเร็จความสามารถของสัมมาทิฐิสัพพะกุสะลา ธัมมา สัมมาทิฏฐิ เสฏฐา, กุสะลาเรวะ จะปุพพังคะมา ฯสัพพะกุสะลา ธัมมา-ใจโลกิยญาณสัมปยุต 13 ดวงและใจโลกุตตรญาณสัมปยุต 4 ดวง รวมทั้งหมด 17 ดวง สัมมาทิฏฐิเสฏฐา-ความเห็นถูกต้องที่เรียกว่าสัมมาทิฐินี้แหละ เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้กิจสำเร็จ กุสะลาเรวะ จะ-กุศลโลกุตตรมรรค 4 ดวงนั้นปุพพังคะมา-มีปัญญาสัมมาทิฐิกล่าวคือความเห็นถูกต้องและสัมมา-สังกัปปะกล่าวคือความพิจารณาถูกต้องทั้งสองนี้เป็นประมุขเป็นผู้นำใจโลกิยญาณสัมปยุตที่ร่วมกับญาณประกอบด้วย
              1. มหากุศลญาณสัมปยุต 4 ดวง
              2. รูปกุศล 5 ดวง
              3. อรูปกุศล 4 ดวง
จิต 13 ดวงนี้ เรียกว่า "ใจโลกิยญาณ" ไม่สามารถทำให้หลุดพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ ใจเหล่านี้มีสัมมาทิฐิ-ความเห็นถูกต้องนำหน้า จึงสามารถทำกิจให้สำเร็จได้ แม้กุศลไม่มีโทษกล่าวคือมรรค 4 ก็มีสัมมาทิฐิความเห็นถูกต้องนำหน้านี้เอง ที่ทำให้กิจสำเร็จลุล่วงไปได้ (กุศลมีโทษ หมายถึงโลกิยกุศล เพราะยังมีอัตตาอยู่ส่วนกุศลไม่มีโทษ หมายถึงโลกุตตรกุศลหรือมรรค 4 เพราะไม่มีอัตตาแล้ว) กุศลทั้ง 2 ประเภทนี้จะต้องอาศัยสัมมาทิฐิความเห็นถูกต้องจึงจะสามารถทำกิจให้สำเร็จได้ สัมมาทิฐินี้เป็นผู้นำมรรคที่เหลืออีก 7องค์ ส่วนศีลมรรค 3 ประการ และสมาธิมรรค 3 ประการ จัดเป็นกองหนุนคอยช่วยสัมมาทิฐิทำงานให้สำเร็จ อีกอย่างหนึ่ง สัมมาทิฐินี้เป็นอธิบดีของปัญญาด้วย นี่แหละเรียกว่า "ความเป็นผู้นำที่สามารถของสัมมาทิฐิ"สัมมาทิฐิเปรียบดังดวงจันทร์ในหมู่ดาวปัญญา หิ เสฏฐา กุสะลา วะทันตินักขัตตะราชาริวะ ตาระกานังสีลัง สิรี จาปิ สะตัญจะ ธัมโมอันวายิกา ปัญญาวะโต ภะวันติ ฯปัญญา หิ เสฏฐา-ปัญญากล่าวคือสัมมาทิฐิ ประเสริฐที่สุดตรงที่ทำให้มรรคญาณผลญาณเกิดขึ้นมา นักขัตตะราชาริวะ ตาระกา-นัง-เปรียบเหมือนพระยานักษัตรที่มีแสงสว่างแจ่มจรัสกว่าหมู่ดาวทั้งมวล ฉันนั้น กุสะลา วะทันติ-เทวดา มนุษย์ และพรหมผู้ฉลาดกล่าวไว้อย่างนี้ สีลัง สิรี จาปิ สะตัญจะ ธัมโม- ศีลก็ดี สิริ (สมาธิ)ก็ดี ธรรมทั้งปวงก็ดี อันวายิกา ปัญญาวะโต ภะวันติ-ล้วนติดตามไปข้างหลังปัญญาคือสัมมาทิฐิทั้งสิ้นความว่า ความเห็นถูกต้อง กล่าวคือสัมมาทิฐินี้ประเสริฐสุดตรงที่เป็นผู้นำในการทำมรรคผลนิพพานให้เกิดขึ้นมา เปรียบดังดวงจันทร์ที่แจ่มจรัสอยู่บนท้องฟ้าท่ามกลางหมู่ดาวบริวาร ในบรรดามรรคมีองค์ 8 นี้ สัมมาทิฐิเปรียบดังดวงจันทร์ ศีลกับสมาธิเปรียบดังหมู่ดาวบริวาร บุคคลผู้ที่บุญกุศลส่งได้มาเกิดพบพระพุทธศาสนานี้ควรตระหนักในการที่จะรับเอาปัญญาศาสนา (คำสอนที่เป็นปัญญา)ที่แจ่มจรัสเหนือสิ่งอื่นใดในโลก คือ แจ่มจรัสนำหน้าศีลและสมาธิดังดวงจันทร์แจ่มจรัสอยู่เหนือหมู่ดาวบริวาร ฉันนั้น มานำหน้า

สัมมาทิฐิเปรียบดังรอยเท้าช้างเสยยะถาปิ มะหาราชะ ยานิ กานิจิ ชังฆะลานัง ปาณานังปะทะชาตานิ, สัพพานิ ตานิ หัตถิปะเท สะโมธานัง คัจฉันติ,หัตถิปะทัง เตสัง อัคคะมักขายะติ ฯความว่า มะหาราชะ-พระมหาบพิตรเจ้า (พระเจ้าปเสนทิโกศล) สัตว์จำพวกสองเท้าสี่เท้ามากเท้าที่เดินบนพื้นดินทั้งหมดนั้นต่างก็มีรอยเท้าปรากฏอยู่ รอยเท้าโคและรอยเท้าม้าจะรวมลงในรอยเท้ากระบือ (เพราะเล็กกว่า) รอยเท้ากระบือก็จะรวมลงในรอยเท้าช้าง เป็นอย่างนี้ ศีลมรรค หากว่าสมาธิเกิดขึ้นมาแล้วก็หายเข้าไปรวมอยู่ในสมาธิ สมาธิก็เหมือนกัน หากว่าปัญญาศาสนา คือสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะเกิดขึ้นมาแล้ว ก็จะหายเข้าไปรวมอยู่ในปัญญาสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะนั่นเอง รอยเท้าใหญ่สุดก็คือรอยเท้าช้าง ดังนั้น รอยเท้าสัตว์ที่เล็กจึงรวมลงในรอยเท้าช้าง ในบรรดามรรคมีองค์ 8มรรคองค์ที่สำคัญที่สุด และนำหน้าเพื่อนก็คือสัมมาทิฐิความเห็นถูกต้อง และสัมมาสังกัปปะความคิดพิจารณาถูกต้อง หากมีคำถามว่า "เห็นอะไรถูกต้อง" ก็ตอบได้ว่า"เห็นความเกิดดับของรูปนามที่เป็นปรมัตถ"์ นั่นเอง เรียกว่า "เห็นถูกต้อง" คิดพิจารณาอะไรถูกต้อง คือคิดพิจารณาขันธ์ห้ารูปนามเป็นอนัตตานั่นแหละเรียกว่า "คิดพิจารณาถูกต้อง" ขอให้โยคีผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่านจงทำความเข้าใจให้ถูกต้อง

สัมมาทิฐิกับวิปัสสนาคือสิ่งเดียวกันทุกขะญาณัง สะมุทะยะญาณัง ทุกขะนิโรธะญาณังทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทาญาณัง อะยัง สัมมาทิฏฐิ ฯทุกขะญาณัง-ความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่าความทุกข์คืออะไรเป็นอย่างไร สะมุทะยะญาณัง-ความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่าสาเหตุของความทุกข์คืออะไร ทุกขะนิโรธะญาณัง-ความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งถึงความดับสนิทของความทุกข์ว่าเป็นอย่างไร ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทาญาณัง-ความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในการดำเนินไปบนหนทางแห่งการดับไปของทุกข์อะยัง สัมมาทิฏฐิ-ท่านกล่าวว่า ความรู้ความเข้าใจอย่างนี้ ก็คือสัมมาทิฐินั่นเองคำว่า "สัมมาทิฐิ" แยกออกเป็น 2 คำคือ สัมมา-ถูกต้องและทิฐิ-เห็น วิธีการฝึกสัมมาทิฐินั้นเป็นการปิดทวารทั้ง 5 เปิดไว้เพียงมโนทวาร เพราะสิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในทวารทั้ง 5ก็จะมาปรากฏที่มโนทวาร สัมมาทิฐิจะทำหน้าที่เฝ้าดูอยู่ตรงนี้กล่าวคือ หลับตาเนื้อแล้วเปิดตาปัญญามองเห็น (การเกิดดับของนามรูป) อยู่อย่างชัดเจน เพราะมองเห็นได้อย่างพิเศษอย่างนี้นี่แหละจึงได้ชื่อว่า "สัมมาทิฐิ" คำว่า "สัมมาทิฐิ" กับ "วิปัสสนา" เป็นสิ่งเดียวกัน รู้เห็นและเข้าใจทุกข์ คือ รู้เห็นและเข้าใจขันธ์ 5 ของเทวดาและมนุษย์ที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย อย่างไม่มีที่สุดนี้ว่า "เป็นทุกข์จริง"และการได้ขันธ์ 5 อันเป็นกองแห่งความทุกข์ที่เกิด แก่ เจ็บ ตายอยู่อย่างนี้ เป็นเพราะอัตตทิฐิ โลภะและมานะซึ่งมีอวิชชาหนุนเนื่องเป็นพลังขับเคลื่อนอยู่ข้างหลัง จึงก่อให้เกิดขันธ์ห้าหรือกองแห่งทุกข์ขึ้นมา การที่ขันธ์ห้าได้ดับสนิทลงไปนั้น เรียกว่า "ขันธนิโรธหรืออนุปาทิเสสนิพพาน" ต้นเหตุที่ก่อให้เกิดขันธ์ 5 (กองทุกข์)ขึ้นมานั้นเรียกว่า "สมุทัย" การที่ต้นเหตุแห่งทุกข์คือ โลภะ มานะ ทิฐิและอวิชชาได้ดับสนิทไปนั้นเรียกว่า "กิเลสนิโรธหรือสอุปาทิเสส-นิพพาน"การปฏิบัติเพื่อทำให้เหตุดับสนิทไปเรียกว่า "มัคคสัจ"สัมมาทิฐิกับสัมมาสังกัปปะเป็นปฏิปทาแห่งการปฏิบัติเพื่อให้ได้นิโรธ หรือนิพพานทั้ง 2 ประการนี้ (ขันธนิโรธ และกิเลสนิโรธ)
สรุปตรงนี้ก็คือว่า "ตาปัญญาที่เห็นทุกข์และเหตุแห่งทุกข์เป็นปัญญาสัมมาทิฐิ ส่วนปัญญาที่เข้าใจว่า ทุกข์ก็ดี เหตุแห่งทุกข์ก็ดีมิใช่ของเรา บังคับไม่ได้ เป็นอนัตตา เป็นปัญญาสัมมาสังกัปปะ"

สัมมาสังกัปปะทำงานอย่างไรสัมมาสังกัปโปติ สัมปะยุตตะธัมเม นิพพานะสังขาเตอารัมมะเณ อะภินิโรเปตีติ สัมมาสังกัปโป ฯสัมมาสังกัปโปติ- สัมมาสังกัปปะนี้ อะภินิโรเปติ-พิจารณาลึกลงไป สัมปะยุตตะธัมเม-ในธรรมกล่าวคือการปรุงแต่ง(อนิจจัง ทุกขัง) นิพพานะสังขาเต อารัมมะเณ-ในอารมณ์กล่าวคือนิพพาน (อนัตตา) อิติ-เพราะเหตุฉะนั้น สัมมาสังกัปโป- จึงได้ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะคำว่า "สัมมาสังกัปปะ" นี้ เป็นความคิดพิจารณารูปนามว่า"เป็นอนัตตา" สัมมาทิฐิความเห็นรูปนามที่เป็นอนัตตา องค์แห่งมรรคทั้ง 2 ประการนี้ ทำงานร่วมกันอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่ไม่ห่างจากกันการที่รูปและนาม (จิต) คิดปรุงแต่งเกิดดับ ๆ อยู่อย่างนี้ เรียกว่าเป็นสภาวะอนิจจัง ความเกิดดับ ๆ นี้ ไม่ดี ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้เรียกว่าเป็นสภาวะแห่งความทุกข์ สภาวะอนิจจังและทุกขังทั้งสองนี้เป็นสิ่งที่บังคับบัญชาไม่ได้ มิใช่ของเรา คือห้ามมิให้เกิด มิให้ดับไม่ได้จึงเรียกว่าเป็นสภาวะอนัตตา การวางอัตตาหรือความคิดพิจารณาว่า"ทุกสิ่งที่เห็นทั้งด้านดี ไม่ดี ชอบ ไม่ชอบหรือเฉย ๆ ล้วนเป็นอนัตตา"นี่แหละเป็นการเดินทางไปสู่พระนิพพานโดยตรง เรียกว่า "ปัญญาสัมมาสังกัปปะ"

สัมมาสังกัปปะมีอุปการะมากต่อสัมมาทิฐิสัมมาสังกัปโป ปะนะ ตัสสา พะหูปะกาโร ตัสมา นิรันตะรังวุตโต ฯสัมมาสังกัปโป ปะนะ-ความคิดพิจารณาอันเป็นสัมมาวิตกนี้ตัสสา พะหูปะกาโร-มีอุปการะมากต่อสัมมาทิฐิ ตัสมา-เหตุฉะนั้นวุตโต-ท่านกล่าวไว้ว่า นิรันตะรัง-สัมมาสังกัปปะนี้ไม่ห่างจากสัมมาทิฐิ และไม่มีระหว่างกั้นระหว่างสัมมาทิฐิสัมมาสังกัปปะหมายถึงความคิดพิจารณาถูกต้องหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสัมมาวิตก สัมมาทิฐิหมายถึงปัญญาอันเห็นนามรูปที่เกิดดับเป็นอนัตตาอยู่อย่างนั้น ปัญญาทั้ง 2ประการนี้เป็นหลักการใหญ่ในการเจริญวิปัสสนาภาวนา ในการทำหน้าที่ของปัญญาทั้ง 2 นี้ มีดังนี้ สัมมาทิฐิทำหน้าที่ในการเห็นตามความเป็นจริง สัมมาทิฐิเห็นการเกิดดับแต่ไม่รู้ว่าเป็นอนัตตาปรมัตถ์สัมมาสังกัปปะจึงทำหน้าที่ในการพิจารณาว่าสิ่งที่สัมมาทิฐิเห็นอยู่นั้นเป็นสภาวะอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา บังคับไม่ได้ จึงเป็นการทำหน้าที่ในการพิจารณาวางอัตตาอยู่อย่างนี้ สัมมาสังกัปปะจึงมีอุปการะ
มากต่อสัมมาทิฐิอย่างนี้ ปัญญาทั้ง 2 นี้ทำหน้าที่ร่วมกันอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีระหว่างกั้น

ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม อ่านต่อตอนที่ 4

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013