ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

ประวัติวัดพุทธบูชา

ป้ายชื่อวัดพุทธบูชา
        สร้างขึ้นโดยความดำริของท่านเจ้าอาวาสรูปแรก(พระพุทธวิริยากร) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ มีลักษณะเป็นยักษ์ ๒ ตน แบกป้ายชื่อวัดไว้ตนละข้าง  มีผู้บริจาคในการก่อสร้าง คือ
นายตอง-นางบุนนาค ปั่นแก้ว บริจาคทรัพย์ในการสร้างด้านขวา (ทิศใต้) และ  นายทองหล่อ-นางชูศรี ตันเปาว์ บริจาคทรัพย์ในการสร้างด้านซ้าย (ทิศเหนือ) ราคาค่าก่อสร้างด้านละ ๓๑๕,๐๐๐ บาท


        และการสร้างในส่วนที่ไม่ใช่งานประดับตกแต่งด้วยฝีมือ เช่น ผูกเหล็ก เทคานปูน และเทปูนขึ้น
รูปยักษ์ เป็นต้น ได้อาศัยแรงงานของพระภิกษุสามเณรในวัด ซึ่งทราบจาก คำบอกเล่าของท่านพระครู
ศีลคุณากร (ดวงจันทร์) ท่านอดีตเจ้าอาวาสวัดเม็งรายมหาราช จ.เชียงราย ได้เล่าให้พระครูฯฟังว่า
สาเหตุที่สร้างป้ายวัดเป็นรูปยักษ์ 2 ตน ยืนแบกป้ายชื่อวัดนั้น ก็เพื่อไว้เป็น “ปริศนาธรรม” ซึ่งเปรียบ
เหมือนคนเราต้องแบกภาระ คือ ขันธ์5 ไว้ตลอดเวลา
        ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา “ขันธ์ทั้ง 5 เป็นภาระยิ่งแล” ปริศนาธรรมข้อนี้ เจ้า
อาวาสพระพุทธวิริยากรไม่เคยเล่าให้ใครได้รับทราบ แต่ทิ้งไว้เป็นปริศนาธรรม
        ซึ่งป้ายชื่อวัดนี้ตั้งอยู่บนที่กินแปลงที่ 3 ของวัด
        
ผลงานชิ้นสุดท้าย ของท่านเจ้าอาวาสรูปแรก
        ท่านเจ้าคุณพระพุทธวิริยากร (หลวงพ่อเพิ่ม)ได้ดำริจัดสร้าง รอยพระพุทธบาทจำลอง ขึ้น โดยมี
ท่านผู้ใหญ่ทองคำ - นางสัมฤทธิ์ วงษ์รุ่งเรือง เป็นต้นศรัทธาในการจัดสร้าง และได้เริ่มดำเนินการสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ในการสร้างได้ใช้หินที่มีลักษณะพิเศษชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการตกผลึกตามธรรมชาติ
นานปี จนมีลักษณะรูปร่างงดงามแปลกตา ถึงกับบางท่านกล่าวว่าเป็น หินพระธาตุศักดิ์สิทธิ์

        เมื่อได้หินมาแล้ว ได้ว่าจ้างให้ นายช่างขจร เหมือนสุวรรณ เป็นผู้แกะสลัก ซึ่งนายช่างผู้นี้ได้
ดำเนินการแกะสลักในลักษณะ กึ่งจ้าง-กึ่งช่วย และรอยพระพุทธบาทจำลองนี้ นับเป็นผลงานชิ้น
สุดท้ายชิ้นหนึ่งของท่านเจ้าอาวาส พระพุทธวิริยากร



“บางมด” พ.ศ.๒๔๘๕


ใน พ.ศ. ๒๔๘๕ มีเหตุการณ์หลายอย่างให้เป็นที่จดจำชนิดลืมไม่ลง คือ เป็นปีที่เกิด น้ำท่วมใหญ่ ท่วมกรุงเทพฯ ท่วมบางมด ล้างสวนส้มขณะที่กำลังมีลูกดกเต็มต้น
ทำให้ชาวสวนส้มบางมด ยากจนทั่วหน้ากัน ต้องทนกิน ผักบุ้งสายบัวผัดกับกุ้งก้ามกราม จนเหม็นเบื่อ มิหนำซ้ำยังเกิดสงครามตั้งแต่สงครามอินโดจีน สงครามโลกครั้งที่ ๒
คนที่มีอายุเกิน ๖๐ ปีขึ้นไป ก็คงจะพอจำรสชาติของความอดอยากยากแค้น ในระยะนั้นได้ไม่ลืมเลือน จึงถือเอาจุดนี้เป็นจุดเริ่มเรื่อง และ ณ จุดนี้ วัดพุทธบูชายังไม่มี
เริ่มสร้างวัด
เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี พอที่ผู้คนชาวบางมดได้ทำมาหากิน พอมีรายได้ฟื้นตัวจากความบอบช้ำ จากน้ำท่วม สงครามโลก ถึงประมาณ พ.ศ.๒๔๙๗ คหบดีชาวสวน คือ
นายเล็ก เหมือนโค้ว และภรรยาคือ นางทองดำ (นามสกุลเดิม ตันเปาว์) ซึ่งท่านไม่มีบุตรสืบตระกูล มีบ้านอยู่ริมคลองบางมด และเป็นผู้มีพื้นเพเดิมมาจาก จังหวัดสมุทรสงคราม
ได้มีศรัทธาคิดที่จะถวายที่ดินให้สร้างวัด จึงนำความคิดไปปรึกษากับ ท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) แห่ง วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งตัวท่านก็เป็นผู้ที่มีพื้นเพเดิมมาจาก
จังหวัดสมุทรสงครามเช่นเดียวกัน เป็นผู้ที่นายเล็ก และนางทองดำ รู้จักและนับถือมานาน เมื่อได้รับการสนับสนุน และอนุโมทนาจากท่าน นายเล็ก นางทองดำ จึงได้บริจาคที่ดินของตนเอง หนึ่งแปลง มีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๑ งาน ๙๗ ตารางวา
ซึ่งอยู่ติดกับบ้านของท่านให้เป็นที่สร้างวัด
เมื่อมีกุฏิและเสนาสนะพอที่จะเป็นวัดได้แล้ว ชาวบ้านแถบใกล้วัดก็ไปนิมนต์พระที่ตนเคารพมาจำพรรษา รูปหนึ่ง คือ พระปลัดทองสุก ธมฺมคุตฺโต เป็นพระช่างพูดช่างคุยพูดได้ทั้งจีนแต้จิ๋ว และไหหลำ นอกจากนี้ยังมีพระจากวัดท่าข้าม
ซึ่งเป็นพระ เชื้อสายรามัญ มาจำพรรษาด้วย
ขอสมภาร
ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๗ นายเล็ก เหมือนโค้ว โดยการแนะนำของ นายทิ้ว ประยูรหงษ์ จึงได้ไปขอพระวัดบวรนิเวศวิหาร กับท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี (ผิน สุวโจ) รองเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ในสมัยนั้น) ให้มารับตำแหน่งเจ้าอาวาส
วัดพุทธบูชา ท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนี ได้แนะนำพระภิกษุให้เลือก ๒ รูป คือ รูปหนึ่งเก่งทางการศึกษา อีกรูปหนึ่ง คือ พระมหาเพิ่ม กตปุญฺโญ (เพิ่ม แผนดี) อายุ ๓๗ พรรษา ๑๗ เก่งทางการก่อสร้าง ซึ่งนายเล็ก เลือกนิมนต์ พระมหาเพิ่ม มาเป็นเจ้าอาวาส
ท่านเจ้าคุณพระพรหมมุนีจึงได้มีบัญชาให้ พระมหาเพิ่ม มาเริ่มดูแล และก่อสร้างสถานที่แห่งนี้ เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ และนายเล็ก ได้สร้างศาลาบำเพ็ญกุศลชั่วคราวขึ้น ๑ หลัง ตั้งอยู่ริมคลองบางมด เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับทำบุญ
ใส่บาตรในวันธรรมสวนะ(วันพระ) และใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศลในเทศกาลงานบุญ และงานมงคล-อวมงคลต่างๆ
เมื่อพระมหาเพิ่ม ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ในพ.ศ.๒๔๙๙ แล้ว ได้เร่งการก่อสร้างต่อจากที่มีอยู่เดิม คือ เมื่อปรับพื้นที่จากร่องสวนให้เป็นที่เรียบเสมอกันแล้วได้สร้างศาลาบำเพ็ญกุศลใหม่แทนศาลาชั่วคราว ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๘-๒๔๙๙
ได้เริ่มสร้างกุฏิขึ้น ๘ หลังเป็นกุฏิไม้ โดยนายเล็ก นางทองดำ เหมือนโค้ว ได้ชักชวนญาติๆ และผู้คุ้นเคยมาสร้าง และใช้ชื่อกุฏิตามนามสกุลของท่่านผู้สร้าง ตั้งอยู่ในแถวเดียวกันบนที่ดินแปลงที่ ๑ ของวัดด้วย
เจ้าอาวาสวัดพุทธบูชา มีทั้งหมด ๕ รูป
เจ้าอาวาสรูปที่ ๑ พระพุทธวิริยากร (หลวงพ่อเพิ่ม กตปุญฺโญ)
เจ้าอาวาสรูปที่ ๒ พระครูวินัยสารสุภัทร (จำปี  ฐิตธมฺโม) เดิมชื่อ จำปี เม่นทรัพย์
เจ้าอาวาสรูปที่ ๓ พระมหาสมชาย  วรชโย เดิมชื่อ สมชาย  สุภาพ
เจ้าอาวาสรูปที่ ๔ พระมหาโอลิตร  ฐิติสีโล เดิมชื่อ โอลิตร กรมทอง
เจ้าอาวาสรูปที่ ๕ พระราชภาวนาพินิจ (สนธิ์  อนาลโย) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน



0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013