ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

26 ตุลาคม 2553

หนังสือแนวทางเดินสู่พระนิพพานโดยหลวงพ่อธี วิจิตตธมฺโมตอนที่4

portee2

                                                                ปัญญาไม่เกิด สัมมาทิฐิไม่มี
           นัตถิ ฌานัง อะปัญญัสสะ นัตถิ ปัญญา อะฌายิโน ยัมหิ ฌานัญจะ ปัญญา จะ สะเว นิพพานะสันติเก ฯอะปัญญัสสะ-เทวดาหรือมนุษย์ผู้ไม่มีปัญญา นัตถิ ฌานัง-ย่อมไม่มีความเพ่งพินิจ อะฌายิโน-เทวดาหรือมนุษย์ผู้ไม่มีความเพ่งพินิจ นัตถิ ปัญญา-ย่อมไม่มีปัญญา ยัมหิ ฌานัญจะ ปัญญาจะ-เทวดาหรือมนุษย์ผู้มีความเพ่งพินิจและปัญญา สะเว นิพพานะ-สันติเก-เขาผู้นั้นได้ชื่อว่า "อยู่ใกล้พระนิพพาน"ความว่า เทวดาและมนุษย์ ผู้ไม่มีปัญญาเห็นอันถูกต้องและไม่มีปัญญาพิจารณาอันถูกต้องที่เรียกว่า "สัมมาทิฐิและสัมมา-สังกัปปะ" จิตของเขาผู้นั้นก็จะไม่สามารถสงบเย็นมีสมาธิได้ หากบุคคลผู้ไม่มีปัญญาและมีจิตที่ไม่สงบเย็นเป็นสมาธิแล้ว การที่ศีลของผู้นั้นจะบริสุทธ์ิก็ไม่มีทางเป็นไปได้ หากว่า มีปัญญาสัมมาทิฐิความเห็นอันถูกต้องและสัมมาสังกัปปะความพิจารณาอันถูกต้องแล้ว คำว่า"นิพพาน" ก็บังเกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อมีปัญญาดังกล่าวนี้แล้วศีลของเขาก็บริสุทธ์ิ จิต (สมาธิ) ก็บริสุทธ์ิ คำว่า "นิพพาน" มีความหมายในบาลีว่า "วานะตัณหา นิกขะมะตีติ นิพพานัง" แปลว่า คำว่า "วานะตัณหา" ได้แก่ อัตตาและโลภะกลุ่มหนึ่ง มานะและโลภะกลุ่มหนึ่งซึ่งผลัดเปลี่ยนกันเกิดดับ ๆ อยู่อย่างต่อเนื่องนี้ นิกขะมะติ-หลุดพ้นจากไป เพราะตัณหา 2 คู่ดังกล่าวนี้หลุดออกไป หรือดับไปแล้วนั่นแหละจึงเรียกว่า "นิพพาน"คำว่า "นิพพาน" มี 2 อย่าง คือ การหลุดพ้นจากตัณหาอันเป็นสมุทัยได้นั้นเรียกว่า "กิเลสนิโรธ" (เหตุดับ) หรือเรียกอีก
            อย่างหนึ่งว่า "สอุปาทิเสสนิพพาน" และการดับไปของขันธ์ห้าเรียกว่า"ขันธนิโรธ" (ผลดับ) หรือเรียกอย่างหนึ่งว่า "อนุปาทิเสสนิพพาน"หากมีคำถามว่า "ใครเป็นผู้บรรลุนิพพาน" ในคำถามนี้มีบาลีว่า"กิเลเส ภินทะตีติ ภิกขุ" แปลว่า "ผู้ทำลายกิเลส 1,500 ประการซึ่งมีอัตตทิฐิเป็นประธาน เรียกว่าภิกษุ" ดังนั้น ผู้ที่เรียกว่า "ภิกษุ"นี่แหละคือผู้บรรลุนิพพาน คำว่า "ภิกษุ" มี 2 ประเภท1. อนาคาริกสมณะ หมายถึง สมณะผู้ไม่มีเรือน ไม่มีสามีภรรยาหรือบุตร เรียกว่า "ภิกษุ" เช่น พระสารีบุตรเถระพระอุบลวัณณาเถรี เป็นต้น2. อาคาริกสมณะ หมายถึง ฆราวาสผู้เป็นอริยะ ยังครองเรือนอยู่ร่วมกับสามีภรรยาหรือบุตร เรียกว่า "ภิกษุ" เช่น นางวิสาขา
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น

            ปัญญาดุจจันทร์ สมาธิดุจดาว  ปัญญา ได้แก่สัมมาทิฐิและสัมมาวิตก (สัมมาสังกัปปะ) 2อย่างนี้ หากใช้นำหน้าแล้ว งานใด ๆ ก็สำเร็จเสร็จสิ้นได้สมดังปรารถนา ปัญญาทั้ง 2 ประการนี้ส่องสว่างรุ่งโรจน์อยู่ สติกับสมาธิ อยู่ข้างหลังหนุนช่วยเป็นพลัง สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิที่มาพร้อมปัญญาเป็นดังหมู่ดาวบริวารแห่งดวงจันทร์ เพราะศีลและสมาธิทั้งสองนี้เปรียบเหมือนดาวนักษัตรที่ห้อมล้อมรอบดวงจันทร์ ดังพระบาลีว่าปัญญา หิ เสฏฐา กุสะลา วะทันตินักขัตตะราชาริวะ ตาระกานังสีลัง สิรี จาปิ สะตัญจะ ธัมโมอันวายิกา ปัญญาวะโต ภะวันติ ฯปัญญา หิ เสฏฐา-ปัญญากล่าวคือสัมมาทิฐิ ประเสริฐที่สุดตรงที่ทำให้มรรคญาณผลญาณเกิดขึ้นมา นักขัตตะราชาริวะ ตาระกา-นัง-เปรียบเหมือนพระยานักษัตรที่มีแสงสว่างแจ่มจรัสกว่าหมู่ดาวทั้งมวล ฉันนั้น กุสะลา วะทันติ-เทวดา มนุษย์ และพรหมผู้ฉลาดกล่าวไว้อย่างนี้ สีลัง สิรี จาปิ สะตัญจะ ธัมโม- ศีลก็ดี สิริ (สมาธิ)ก็ดี ธรรมทั้งปวงก็ดี อันวายิกา ปัญญาวะโต ภะวันติ-ล้วนติดตามไปข้างหลังปัญญาคือสัมมาทิฐิทั้งสิ้น“หากว่า ผู้คนยังคงอยู่ด้วย "สัมมา"โลกนี้ย่อมไม่ว่างจากพระอรหันต์”ซึ่งเป็นพุทธพจน์ที่ทรงแสดงให้แก่สุภัททะก่อนปรินิพพาน ผู้สันทัดทรงความรู้ทั้งในพม่าและไทยต่างเข้าใจพุทธพจน์นี้ว่า หากปฏิบัติตามสิกขาบท 227 หรือธุดงค์ 13 แล้ว โลกนี้ย่อมไม่ว่างจากพระอรหันต์ความเข้าใจอันนี้ไม่ถูกต้อง เพราะคำว่า "สัมมา วิหะเรยยุง" ในที่นี้หมายถึงการอยู่ด้วยสัมมาทั้ง 8 หรือมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง

              สิ่งที่สามารถทำลายอัตตาได้ปัญญายะ ทิฏฐาทิสังกิเลสานัง วิโสธะนัง, สะมุจเฉทะวะเสนะ ปะหีนัง ฯปัญญายะ-การใช้ปัญญาคือมรรคญาณ ทิฏฐาทิสังกิเลสานัง-กิเลส 10 มีอัตตทิฐิเป็นต้น วิโสธะนัง-ชำระให้หมดจดได้ ปะหีนัง-จะละให้ขาดไปได้ สะมุจเฉทะวะเสนะ-ก็ด้วยการตัดให้ขาดบรรดากิเลส 10 ประการมีอัตตากับวิจิกิจฉาเป็นหัวหน้าเป็นรากแก้ว อัตตากับวิจิกิจฉานี้ จงใช้โสตาปัตติมรรคญาณทำการตัดให้ขาดสะบั้นลงไปแล้ววางเสียได้ การที่จะทำให้มรรคญาณเกิดขึ้นมาตัดกิเลสนั้น เครื่องมือที่ใช้ก็คือปัญญาสัมมาทิฐิกับปัญญาสัมมาสังกัปปะ ปัญญาสัมมาทิฐิเป็นผู้เห็นสภาวะที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ปัญญาสัมมาสังกัปปะเป็นผู้พิจารณาวางสภาวะนั้นว่า "เป็นอนัตตา"มิใช่ตัวตน บังคับไม่ได้ การหา การเห็น และการตัดเกิดขึ้นพร้อมกันพระสององค์ "หาธรรมพบในตน"
ยะทา หะเว ปาตุภะวันติ ธัมมาอาตาปิโน ฌายะโต พราหมะณัสสะ ฯเปฯอาตาปิโน-หากไม่สำเร็จจะไม่ยอมถอย (ดังเช่นปณิธานที่พระพุทธองค์ทรงตั้งไว้หลังผนวชว่าหากไม่พบโพธิญาณจะไม่กลับกรุงกบิลพัสด์ุ) ฌายะโต-ใช้ปัญญาสัมมาทิฐิดูและปัญญาสัมมา-
สังกัปปะพิจารณาลงไปตรงที่ขันธ์ของตนเองนั้นอย่างต่อเนื่องโดยไม่ละเลยหยุดยั้ง พราหมะณัสสะ-สำหรับสมณะหรือโยคีผู้ปฏิบัติอยู่ยะทา หะเว-ในขณะที่ใช้ปัญญาเห็นและพิจารณาสภาวะรูปธาตุนามธาตุอยู่อย่างนั้น ธัมมา-ธรรมะทั้งหลาย (เอหิปัสสิโกธรรม)
ปาตุภะวันติ-ย่อมปรากฏขึ้นมาให้เห็นพุทธอุทานคาถานี้หมายความว่า โยคีผู้ปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาทุกท่านที่ต้องการเป็นปกติสาวก อาตาปิโน-พระพุทธเจ้าทรงประพฤติเป็นตัวอย่างมาแล้วว่า "หากไม่บรรลุโพธิญาณไม่ยอมละความเพียร" พวกเราก็ขอให้อธิษฐานจิตว่า "หากไม่ได้มรรคผลจะไม่คืนสู่เรือน (ละความเพียร)" หากมีใจเด็ดเดี่ยวทำจริงจังอย่างนี้ต้องได้มรรคผลอย่างแน่นอน คำว่า "ธรรม" คือการเห็นและการพิจารณาอย่างถูกต้องในรูปและนาม กล่าวคือองค์ประกอบของธาตุ 4 คือธาตุดิน มีลักษณะ หนัก แข็ง หยาบ กระด้าง เบา อ่อน นิ่ม ธาตุน้ำมีลักษณะ ซึมซับ เอิบอาบ แตกแยก เกาะกุม ธาตุไฟ มีลักษณะ เย็นร้อน อุ่น หนาว ธาตุลม มีลักษณะ เจ็บ ปวด เต้น ตอด เหน็บ ซ่านโยก คลอน ไหว นิ่ง เรียกว่า "รูป ซึ่งมี 28 อย่าง" ส่วนจิต 89 ดวงและเจตสิก 52 ดวง เรียกว่า "นาม" รูปและนามทั้งสองนี้มีลักษณะเป็นอนิจจัง คือเกิดดับ ๆ อยู่เสมอ ไม่เที่ยง ไม่คงทนถาวร ความเกิดความดับนี้แปรปรวนอยู่ตลอด ทนได้ยากจึงเป็นทุกข์ สภาวะที่เป็นไปอยู่อย่างนี้ มิใช่ตัวตน บังคับมิให้เกิดมิให้ดับไม่ได้ เรียกว่า"เป็นอนัตตา"ปัญญาที่เห็นรูปนามอยู่นั้นเป็นสัมมาทิฐิ เรียกว่า"วิปัสสนา" ปัญญาพิจารณาอนิจจังทุกขังที่เกิดอยู่กับรูปนามที่สัมมาทิฐิเห็นอยู่ว่า เป็นอนัตตา บังคับไม่ได้นั้น เป็นสัมมาสังกัปปะเรียกว่า "ภาวนา" หากปัญญา 2 ประการนี้หาและเห็นอย่างต่อเนื่องชัดเจนแล้ว ธรรมกล่าวคือรูปนามจะยื่นส่งมาให้เป็นโอปนยิโก เรียกว่า "อนุโลมญาณเกิด" การปฏิบัติจนเห็นธรรมอย่างนี้เรียกว่า "พระสององค์หาธรรมพบในตน" (ปัญญา 2ประการเห็นธรรม)ขอทุกท่านจงทำความเข้าใจว่า คำว่า "พระสององค์หาธรรมพบในตน" นั้น การหาธรรมหาไม่ยาก แต่การพบแล้วรู้และเข้าใจเป็นสิ่งที่ยาก (เห็นไม่ยากแต่การพิจารณาให้เข้าใจเป็นการยาก)รูปนามมีอยู่ แต่ไม่รู้ไม่เข้าใจเรียกว่า "เป็นคนมิจฉาทิฐิ" คนผู้นี้ไม่สามารถออกจากทุกข์ได้ยังคงตายเกิดอยู่ในวัฏฏะ แต่สำหรับผู้มีปัญญาทั้ง 2 เห็นรูปนามเป็นอนัตตาจะสามารถเข้าถึงมรรคผลนิพพานได้

                                          ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม
               ปัญญาไม่มี ศีลไม่ใส ใจไม่บริสุทธ์ิ  อะสุทธะสีโล ทุปปัญโญ จิตเตกัคคัง น วินทะติ วิกขิตตะ-จิตโต เนกัคโค สัมมา ธัมมัง นะ ปัสสะติ อะปัสสะมาโน ทุกขานะ ปะมุจจะติ ฯทุปปัญโญ-บุคคลผู้ไม่มีปัญญา อะสุทธะสีโล-ศีลจะไม่บริสุทธ์ิ จิตเตกัคคัง นะ วินทะติ- จิตก็จะสงบเย็นไม่ได้ วิกขิตตะ-จิตโต เนกัคโค-หากมีจิตกวัดแกว่ง ฟุ้งซ่าน ไม่สงบ สัมมา ธัมมังนะ ปัสสะติ- ย่อมไม่เห็นธรรมะอันดีงาม ทุปปัญโญ-บุคคลผู้ไม่มีปัญญา อะปัสสะมาโน-ก็ไม่เห็นธรรม ทุกขา นะ ปะมุจจะติ-จึงหลุดพ้นจากความทุกข์ไม่ได้
บุคคลไม่ว่าหญิงหรือชายหากไม่มีการศึกษาด้านปริยัติด้วยการศึกษาเล่าเรียน การฟัง การสอบถาม การพูด และการจดจำที่เรียกว่า "อนุโพธิ 5 ประการ" ก็ไม่สามารถทำศีลฝ่ายโลกิยะให้บริสุทธ์ิได้เลย ในเมื่อศีลไม่บริสุทธ์ิผุดผ่อง จิตก็ไม่สามารถจะสงบนิ่งได้ หากจิตไม่สงบมั่นคงก็ไม่สามารถเห็นธรรมอันถูกต้องเป็นสัจจะได้ หากไม่เห็นธรรมที่ถูกต้องเป็นสัจจะก็ไม่สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์อันใหญ่หลวง คือการเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ คำว่า "ปัญญา"ในระดับโลกุตตระมี 2 ประการ คือ สัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ
บุคคลผู้ไม่มีปัญญาสัมมาทิฐิกับปัญญาสัมมาสังกัปปะ ศีลของเขาก็จะไม่บริสุทธ์ิ ศีลนี้ก็กลายเป็นศีลอัตตาไป หรือเรียกว่าสีลัตตุปาทาน(สีลัพพตปรามาส) ผู้มีศีลไม่บริสุทธ์ิในลักษณะอย่างนี้ จิตใจจะไม่สงบจริง มีแต่อวิชชาเป็นอัตตาอยู่อย่างนั้นเอง หากว่าจิตยังมีอวิชชาความไม่รู้ เป็นอัตตาอยู่ แม้สงบอยู่ก็ไม่สามารถเห็นธรรมอันถูกต้องอันเป็นสัจจะได้เลย หากไม่เห็นธรรมอันถูกต้องก็ไม่พ้นจากทุกข์คือการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไปได้ ดังนั้น หากปัญญาไม่มี ศีลไม่ใสใจก็ไม่บริสุทธ์ิ แต่เมื่อเริ่มต้นด้วย ปัญญามี ศีลก็ใส ใจก็บริสุทธ์ิบาลีพร้อมทั้งคำอธิบายดังกล่าวมานี้มาในวินัยปิฏกมหาวิภังค์หากมี "สัมมา" พระอรหันต์ไม่สูญ  สัมมา วิหะเรยยุง อะสุญโญ โลโก อะระหันเตหิ อัสสะฯเปฯสัมมา วิหะเรยยุง-หากว่ามีการอยู่ด้วย "สัมมา" อยู่อะสุญโญ โลโก-โลกนี้จะไม่ว่างเว้น อะระหันเตหิ-จากพระอรหันต์ทั้งหลายหากว่าผู้คนยังคงอยู่ด้วย "สัมมา" อยู่ โลกนี้ย่อมไม่ว่างจากพระอรหันต์ ซึ่งเป็นพุทธพจน์ที่ทรงแสดงให้แก่สุภัททะก่อนปรินิพพานผู้สันทัดทรงความรู้ทั้งในพม่าและไทยต่างเข้าใจพุทธพจน์นี้ว่าหากปฏิบัติตามสิกขาบท 227 หรือธุดงค์ 13 แล้ว โลกนี้ย่อมไม่ว่างจากพระอรหันต์ ความเข้าใจอันนี้ไม่ถูกต้อง เพราะคำว่า"สัมมา วิหะเรยยุง" ในที่นี้หมายถึงการอยู่ด้วยสัมมาทั้ง 8หรือมรรคมีองค์ 8 นั่นเอง กล่าวคือ สัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะองค์มรรคระดับปัญญานำหน้า ซึ่งมีสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะสัมมาอาชีวะ และสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ องค์มรรคระดับศีลและสมาธิคอยหนุนเนื่องอยู่โดยตลอด องค์แห่งมรรคมีสัมมานำหน้าเสมอ ทั้งนี้ก็เพราะคำว่า "สัมมา" นี้ หมายถึง"สิ่งถูกต้องที่กำกับองค์มรรคเหล่านี้ให้มุ่งตรงไปรู้แจ้งเห็นจริงอนัตตานั่นเอง" ดังนั้น เมื่อ "สัมมา" มากำกับหน้าปัญญา ศีลและสมาธิ จึงเป็นปัญญาที่ถูกต้อง มีศีลที่ถูกต้อง สมาธิที่ถูกต้อง

             และเป็นเหตุแห่งพระนิพพานในการปฏิบัตินั้น ปัญญามรรคจึงทำหน้าที่ในการนำองค์แห่งมรรคที่เหลือ หากปฏิบัติโดยใช้ปัญญามรรคนำหน้าแล้วโลกนี้จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าทรงใช้ปัญญานำหน้า เพราะปัญญาสามารถตัดทำลายอัตตาได้ แต่ไม่ทรงใช้ศีลนำหน้า เพราะศีลตัดอัตตาหรือกิเลสไม่ได้ หากใช้ศีลนำหน้าก็เป็นสีลุปาทานความยึดมั่นในศีล (สีลัพพตปรามาส) เป็นกามสุขัลลิกานุโยคผลที่ได้คือกามสุขในเทวดาหรือมนุษย์ หากว่าใช้สติและสมาธินำหน้าแม้นั่งสมาธิอยู่นานจนจอมปลวกโตขึ้นเท่าหัว จนหญ้างอกขึ้นบนหัวอัตตาก็ไม่ตาย ตัดกิเลสไม่ได้ ทั้งไม่เป็นจิตตวิสุทธิ แต่เป็นอัตต-กิลมถานุโยค คือการทรมานตนให้ได้รับทุกข์เสียเปล่าเท่านั้นเองใครเป็นผู้หา ใครเป็นผู้ถอนการปฏิบัติที่ได้ผลนั้น จะมีทั้งผู้เห็น ผู้พิจารณา ผู้ถอนผู้ที่ถูกถอน คือ1. ผู้หาเหล็กแหลมซึ่งปักอยู่ที่กระหม่อมเป็นสัมมาสังกัปปะที่พิจารณาว่า มิใช่ของตน เป็นอนัตตา 2. ผู้เห็นเหล็กแหลมเป็นสัมมาทิฐิ 3. ผู้ถอนเหล็กแหลมออกเป็นมรรคญาณ4. เหล็กไม่มี ความเจ็บหายไปเป็นผลญาณโปรดทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่าคำว่า "เหล็กแหลม" ในที่นี้หมายถึงอัตตา ผู้สอดส่องพิจารณาหาเป็นสัมมาสังกัปปะผู้เห็นเป็นสัมมาทิฐิ ผู้ถอนออกเป็นมรรคญาณ เหล็กแหลมไม่มี เจ็บ
หายเป็นผลญาณหรือคือพระนิพพานความดังกล่าวนี้เป็นเรื่องของอริยสัจ 4 ประการนั่นเอง เจ็บในที่นี้ก็คือทุกขสัจ เหล็กแหลมคือสมุทัยสัจ ผู้หาและเห็นเหล็กแหลมคือมรรคสัจ 2 ประการ ประกอบด้วยสัมมาสังกัปปะเป็นผู้สอดส่องพิจารณาหา และสัมมาทิฐิเป็นผู้เห็น ผู้ถอนเหล็กแหลมออกเป็นมรรคญาณ เหล็กแหลมไม่มีเจ็บหายเป็นนิโรธสัจ

                ผู้กำจัดตัณหาเสียได้เป็นยอดคนตัณหาสังกิเลโส สะมะเถนะ วิสุชฌะติ, โส สะมะโถสะมะติกกันโต ฯตัณหาสังกิเลโส- การที่จะกำจัดกิเลสกล่าวคือตัณหาอันประกอบด้วยโลภะ มานะ และทิฐินั้น สะมะเถนะ-โดยใช้สมถะกล่าวคือสติและสมาธิ วิสุชฌะติ-ย่อมหมดจดได้ในระยะหนึ่งเท่านั้น โสสะมะโถ-สมถะกล่าวคือสติและสมาธินั้น สะมะติกกันโต-สงบเย็นอยู่เพียงชั่วคราวหากว่าใช้สมถะกล่าวคือสติและสมาธินำหน้าปฏิบัติธรรมก็จะสามารถทำให้กิเลสตัณหาสงบระงับได้ระยะหนึ่งเท่านั้น ดังเช่นกาลเทวิลดาบส อาฬารดาบส และอุทกดาบส เคยปฏิบัติมาแล้วนั่นเองสติ-ระลึก สมาธิ-สงบ หมายความว่าการที่จิตสงบอยู่ที่สติจดจ่ออยู่นั้นเรียกว่า "สมาธิ" (สติจดจ่ออยู่ตรงไหน จิตก็ตั้งมั่นอยู่ตรงนั้นอย่างนี้เรียกว่าจิตเป็นสมาธิ)คำว่า "สมาธิ" นี้ มีวิเคราะห์ว่า "นิวะระณัง สะเมตีติ สะมะโถ"แปลว่า นิวะระณัง-นิวรณธรรมคือ กามะฉันทะ-สิ่งกีดกั้นคือความใคร่ในกาม พยาปาทะ-สิ่งกีดกั้นคือ ความพยาบาทถีนะมิทธะ-สิ่งกีดกั้นคือความเซื่องซึมง่วงเหงาหาวนอน อุทธัจจะกุกกุจจะ-สิ่งกีดกั้นคือความฟุ้งซ่านรำคาญ วิจิกิจฉา-สิ่งกีดกั้นคือความลังเลสงสัย อวิชชา-ความไม่รู้ สะเมติ-ทำให้สงบอยู่ อิติ-เพราะทำนิวรณธรรมทั้งหลายให้สงบอยู่อย่างนั้น สะมะโถ-จึงได้ชื่อว่า"สมถะ" กล่าวคือทำนิวรณธรรมให้สงบอยู่สมถภาวนานั้นทำเพียงนิวรณธรรมให้สงบเย็นอยู่เท่านั้นแต่ไม่สามารถทำลายอัตตาให้ตายได้ หากว่าอัตตาไม่ตาย การเกิดแก่ เจ็บ ตาย ก็จะไม่หาย ยังคงมีอยู่ร่ำไป เพราะ ชาติ ชรา มรณะหรือเกิดแก่เจ็บตายเหล่านี้ อัตตาเป็นผู้ให้กำเนิด หรือมาจากอัตตานั่นเอง หากว่าอัตตายังมีอยู่ตราบใด การเกิด แก่ เจ็บ ตายก็ยังมีอยู่ตราบนั้น แม้ว่าจะสามารถฝึกสมาธิจนได้ระดับฌาน ก็มิอาจที่จะพ้นไปได้เลย ดังเช่นกาลเทวิลดาบสไปเกิดในพรหมโลก ซึ่งมีอายุนานถึง84,000 กัลป์ หากอายุของท่านหมดลงก็ต้องกลับไปเกิดในภพภูมิต่าง ๆ อยู่อีกด้วยอานุภาพแห่งกรรมที่เคยประกอบกระทำไว้ท่านผู้เห็นภัยแห่งการเกิดแก่เจ็บตายทั้งหลาย การที่จะทำตนให้หลุดพ้นจากกิเลสตัณหา หรือวัฏสงสาร บรรลุถึงพระนิพพานที่สงบเย็นนั้นหากกระทำแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือทำทีละเล็กทีละน้อย ย่อมไม่ได้ผลไม่หลุดพ้นไปได้ คือไม่สามารถจะบรรลุถึงพระนิพพานได้เลย ทั้งนี้ก็เพราะ
ว่าการที่เราได้อยู่ร่วมสัมพันธ์กับกิเลสอันประกอบด้วยอัตตทิฐิ วิจิกิจฉา มานะเป็นต้น ยาวนานเกินไปจนไม่สามารถเห็นจุดเริ่มได้-9-
                                                          วิธีการปฏิบัติ
              เพื่อความเป็นพระอริยเจ้า  ปรมัตถ์ หา ปรมัตถ์   ปรมัตถ์ เห็น ปรมัตถ์    ปรมัตถ์ ได้ ปรมัตถ์  ปรมัตถ์ เป็น ปรมัตถ์ คำว่า "ปรมัตถ์" หมายถึงความจริงอันสูงสุดที่มีอยู่ไม่เปลี่ยน แปลง คือ ธาตุ 4 ประกอบด้วยธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุ 4 นี้รวมตัวกันเรียกว่า "รูป" ผู้ที่รู้อาการที่แสดงออกของธาตุ 4 เรียกว่า"มโนวิญญาณ" ผู้ที่รับหรือเสวยอารมณ์ที่ปรากฏออกมาในอาการ
ต่าง ๆ นั้น เรียกว่า "เจตสิก" หรือใจที่รับอาการที่ธาตุ 4 แสดงออก มานี้เรียกว่า "เวทนา" ซึ่งเป็นนาม รูป มโนวิญญาณ และเวทนาทั้ง 3 นี้ เรียกว่าปรมัตถ์ซึ่งมีลักษณะเป็นอนิจจังเกิดดับ ๆ และแปรเปลี่ยนเป็นทุกข์อยู่เสมอเมื่อเข้าใจปรมัตถ์อย่างนี้แล้ว ต่อมาก็คือการปฏิบัติให้เข้าถึงปรมัตถ์ตามหลัก "หา เห็น ได้ เป็น" ในคำ 4 คำนี้ การหาปรมัตถ์ หมายถึงการใช้สัมมาสังกัปปะ ค้นหาหรือพิจารณาว่าเป็นอนัตตาการเห็นปรมัตถ์ หมายถึง การใช้สัมมาทิฐิเห็นปรมัตถ์เป็นอนัตตานั่นเอง ได้ปรมัตถ์ หมายถึง มรรคญาณเกิดขึ้นมาตัดอัตตทิฐิขาดไปเป็นปรมัตถ์ หมายถึง ได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน หรือได้อริยผลทั้ง 4ไปนิพพานไปทางไหน?นิพพานาทิกายะ ปะฏิปันนัสสะ โยคิโน พะหูปะการะโตปะฐะมา สัมมาทิฏฐิ เทสิตา ฯโยคิโน-ผู้ขวนขวายเพื่อก้าวสู่ความเป็นพระอริยเจ้าปะฏิปันนัสสะ-ปฏิบัติอยู่ นิพพานาทิกายะ-เพื่อให้บรรลุถึงพระนิพพาน เทสิตา-พระพุทธองค์ตรัสไว้ชัดเจนแล้วว่า สัมมาทิฏฐิ-ปัญญา คือความเห็นถูกต้องที่ชื่อว่าสัมมาทิฐินี้ พะหูปะการะโต-มีคุณค่าสำคัญอย่างยิ่งยวด ปะฐะมา-เป็นประการที่หนึ่งโยคีผู้ปฏิบัติธรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรลุถึงพระนิพพานนั้น สัมมาทิฐิเป็นสาระสำคัญที่มีประโยชน์มากเป็นอันดับหนึ่งข้อปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงพระนิพพานที่สงบเย็น ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็คือสัมมาทิฐิ-ความเห็นถูกต้องนี่เอง เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด สัมมาทิฐินี้เป็นธรรมมีอุปการะช่วยให้บุคคลเข้าสู่ความเป็นพระอริยะทั้ง 8 จำพวก การที่จะปฏิบัติตนให้บรรลุถึงพระนิพพานได้นั้น นอกเสียจากทางคือสัมมาทิฐินี้แล้ว เป็นอันไม่มี หากดำเนินบนเส้นทางแห่งการให้ทาน ผลที่จะได้ก็คือความอยู่ดีมีสุขอยู่ในโลกมนุษย์และสวรรค์เท่านั้นเอง หากดำเนินบนเส้นทางแห่งศีล (รักษาศีล) ผลที่จะได้ก็คือความสุขกายสุขใจและความอุดมสมบูรณ์ในโลกมนุษย์และสวรรค์เช่นเดียวกัน หากดำเนินบนเส้นทางแห่งสมถะ(ฝึกสมาธิ) ผลที่จะได้ก็คือจิตสงบเป็นโลกิยสุขในโลกนี้และเมื่อตาย

              ไปก็ไปเกิดในพรหมโลก เสวยผลเป็นรูปพรหม 11 ชั้น หรืออรูป-พรหม 4 ชั้น ทางดำเนินไปสู่พระนิพพานก็คือ สัมมาทิฐิเห็นสภาวะปรมัตถ์เป็นอนัตตา สัมมาสังกัปปะพิจารณาปรมัตถ์ที่เป็นอนัตตาซึ่งหมายถึงเห็นถูกต้อง คิดถูกต้องนั่นเอง ความเห็นความคิดอันถูกต้องดังกล่าวนี้มีลักษณะ 6 ประการ
              1. เห็นถูกต้อง หมายถึง สัมมาทิฐิเห็นขันธ์ 5 ว่า "เป็นอนัตตา"
              2. คิดถูกต้อง หมายถึง สัมมาสังกัปปะพิจารณาขันธ์ 5 ว่าเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้
              3.ทำถูกต้องหมายถึง เมื่อปฏิบัติถูกต้องแล้ว อนุโลมญาณหรือสัจจานุโลมญาณจะเกิดขึ้นมาเป็นโอปนยิกธรรมแล้วส่งเข้า
สู่มรรคญาณ
             4. ได้ถูกต้อง หมายถึง มรรคญาณเกิดขึ้นมาตัดกิเลสขาดสะบั้นลงไป
             5. เป็นถูกต้อง หมายถึง เป็นผล เป็นอริยะ
             6. คำพูดและพฤติกรรมถูกต้อง หมายถึง พระอริยเจ้าเป็นผู้มีศีลบริสุทธ์ิสมบูรณ์แล้ว คำพูดและพฤติกรรมของท่านจึงถูกต้อง  

                                                                   บันไดสู่พระนิพพาน
            พระพุทธเจ้าทรงมีพระคุณ ตรัสรู้แล้วสอนคนอื่น ปัญจวัคคีย์ได้รับผลเป็นอริยะ ทรงสอนมัชฌิมาปฏิปทาแห่งมรรคมีองค์ 8คือ"บันไดสู่พระนิพพาน" ญาณนี้ดีประเสริฐนัก ประกอบด้วยองค์ 8 ฝึกฝนอบรมจิตให้แหลมคม ตัดทิ้งมวลกิเลสรวมทั้งหมด 1500สัมมาทิฐิคือผู้เห็น สัมมาสังกัปปะเป็นผู้พิจารณาละวางทิ้งอัตตาอนุโลมญาณรับมาส่งถึงมรรค มรรคก็ตัดอัตตาให้ขาดลงในทันทีปัญจวัคคีย์ผู้ไตร่ตรองตาม จึงได้พบสัจจะเห็นนิพพาน ผู้ปฏิบัติธรรมทุกท่านจงดูตัวอย่างที่ท่านเคยทำมา จงพากเพียรอย่าท้อแท้ แล้วจะพบประสบผลดังเช่นปัญจวัคคีย์ ฉะนั้น โปรดอย่าลืมสังเกตพิจารณาปัญญานี้เป็นประมุขที่สำคัญหากประสงค์พระนิพพานให้ค้นหาที่ธาตุในกายที่เรียกว่า "ขันธ์" นี้ มีธาตุ 4 ประกอบประสมกันอยู่จงค้นหาสอดส่องจ้องมองดู แล้วจะรู้ว่าไม่มีกูดังที่ยึด เมื่อทิฐิที่ว่ามีอัตตานั้นสลายไป มรรคผลจึงเกิดแทนเป็นแดนสุข บัญญัติดูปรมัตถ์มีอยู่ แต่ไม่เห็น ปรมัตถ์ดูปรมัตถ์ไม่มีแต่เห็นได้ มีสองสิ่งไม่เหมือนกัน จงเข้าใจ บัญญัติและปรมัตถ์ตั้งอยู่แห่งเดียวกันแต่แยกกันไม่ปะปนกันดังน้ำกับน้ำมันในกระบอกเดียวบัญญัติเห็นบัญญัติ ปรมัตถ์เห็นปรมัตถ์แยกกัน เป็นอย่างนี้คำว่า "บัญญัติ" เป็นวิธีการปฏิบัติสติและสมาธิ โดยมีสมถะ40 เป็นอารมณ์ ประกอบด้วยอสุภะ 10 กสิณ 10 อนุสติ 10อาหาเรปฏิกูลสัญญา 1 จตุธาตุววัฏฐาน 1 พรหมวิหาร 4 อรูป 4อารมณ์กรรมฐานทั้ง 40 เหล่านี้เรียกว่า "เป็นบัญญัติ" การปฏิบัติทางบัญญัติก็คือการใช้สติกับสมาธิ สติคือระลึก สมาธิคือตั้งมั่นหมายความว่ามีใจตั้งมั่นอยู่ที่ความระลึกนั้นนั่นเอง หากปฏิบัติไปอย่างนี้แล้วก็จะก่อให้เกิดนิมิตขึ้นมาเรียกว่า "ขั้นการเห็น" คือ เห็นบริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิตลักษณะของบริกรรมนิมิตก็คือใจที่ตั้งมั่นอยู่ตรงที่สติระลึกอยู่นั่นเอง ปฏิภาคนิมิตก็คือเมื่อวานเกิดการเห็นภาพต่าง ๆ เช่นเห็นภูเขา ป่าไม้ พุทธรูป เป็นต้น วันนี้อยากเห็นอีก ก็ใช้จิตตั้งมั่นอยู่ที่สติระลึกนั้น ภาพก็มาปรากฏดังเช่นเดิมอีก นี่แหละเรียกว่า
"ปฏิภาคนิมิต" หรือเรียกว่า "เห็นบัญญัติ" มิใช่ของจริง ต่อมาก็คือเป็นบัญญัติ หากปฏิบัติได้อย่างนี้แล้วเสียชีวิตไปก็จะไปเกิดใน

            รูปพรหมฝ่ายโลกิยะ 11 ชั้น และในอรูปพรหมฝ่ายโลกิยะ 4 ชั้น รวมพรหมโลก 15 ชั้น การประพฤติปฏิบัติอย่างนี้ เรียกว่า "การปฏิบัติสมถะ หรือการเอาบัญญัติ"  พระนิพพานนี้ ขอปฏิบัติอย่างค่อยเป็นค่อยไปได้ไหม?สัพพะทุกขา ปะโมจะนัง อิทัง นิพพานัง สิถิละมารัพภะ นะอะธิคันตัพพัง อิทัง นิพพานัง อัปเปนะ ทะมะสา นะ อะธิคันตัพพังฯภิกขะเว-ท่านผู้เห็นภัยแห่งการเกิดแก่เจ็บตายที่จะมาปรากฏในภายภาคหน้าทั้งหลาย ปะโมจะนัง-การที่จะหลุดพ้นไป สัพพะ-ทุกขา-จากทุกข์ในวัฏสงสารทั้งปวง อิทัง นิพพานัง-พระนิพพานอันเป็นที่สงบเย็นนี้ สิถิละมาลัพภะ-หากทำเอาค่อย ๆ แล้ว นะอะธิคันตัพพัง-ไม่พึงสำเร็จแน่ อิทัง นิพพานัง-พระนิพพานที่สุขสงบเย็นนี้ อัปเปนะ ทะมะสา-หากจะทำเอาทีละเล็กละน้อยแล้ว นะอะธิคันตัพพัง-ไม่พึงสำเร็จแน่ท่านผู้เห็นภัยแห่งการเกิดแก่เจ็บตายทั้งหลาย การที่จะทำตนให้หลุดพ้นจากกิเลสตัณหาหรือวัฏสงสาร บรรลุถึงพระนิพพานที่สุขสงบเย็นนั้น หากกระทำแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือทำทีละเล็กทีละน้อย ย่อมไม่ได้ผล ไม่หลุดพ้นไปได้ คือไม่สามารถจะบรรลุถึงพระนิพพานได้เลย ทั้งนี้ก็เพราะว่าการที่เราได้อยู่ร่วมสัมพันธ์กับกิเลสอันประกอบด้วยอัตตทิฐิ วิจิกิจฉา มานะ เป็นต้น มานานเกินไป จนไม่สามารถเห็นจุดเริ่มได้ ทุกภพทุกชาติที่เกิดมา เราก็ได้อยู่ร่วมกับกิเลสโดยไม่เคยมีเวลาห่างจากกันเลย ด้วยเหตุที่กิเลสต่าง ๆ หนาแน่นทับถมกันอยู่ในขันธสันดานนี้ จึงเรียกว่า "ปุถุชน"

           คำว่า "ปุถุชน" นี้หมายถึงผู้มีกิเลสหนานั่นเอง กล่าวคือ เป็นมนุษย์ก็มนุษย์กิเลสหนา เป็นเทวดาก็เทวดากิเลสหนา เนื่องจากกิเลสได้ทับถมกันอยู่อย่างหนาแน่นอย่างนี้นี่แหละ ดังนั้น การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงพระนิพพานนั้นจะกระทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ทำแค่เล็ก ๆน้อย ๆ หรือทำเล่น ๆ ย่อมไม่ได้ผลปกติสาวกนี้ มิใช่ต้องรอคอยบารมีให้เต็มหรือแก่กล้าเสียก่อนจึงจะบรรลุนิพพาน สำหรับบุคคลผู้ต้องคอยบารมีแก่กล้านั้น คือ

               1. พระสัทธาธิกพระพุทธเจ้าและพระวิริยาธิกพุทธเจ้า
               2. พระปัจเจกพุทธเจ้า
               3. พระอัครสาวก เช่น พระสารีบุตร พระนางเขมาเถรี เป็นต้น
               4. พระมหาสาวก เช่น พระมหากัสสปเถระ พระอานนท์เถระเป็นต้น
เนื่องจากมีบารมีเต็มบริบูรณ์แล้ว พระอริยเจ้าเหล่านี้จึงได้มรรคผลนิพพานโดยไม่ยากเย็น พระปัญญาธิกพุทธเจ้าหรือพระบรมศาสดาของพวกเรานี้ก็ทรงบำเพ็ญบารมีเป็นระยะเวลา 4 อสงไขย101,437 กัป ในช่วงระยะเวลาอสงไขยที่หนึ่งนั้น มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาแล้วจำนวน 3 พระองค์ พระบรมศาสดาจึงได้พบพระทีปังกรพุทธเจ้า เพราะฉะนั้น การบำเพ็ญบารมีของพระองค์จำนวน 4 อสงไขยยังไม่ทันเต็มบริบูรณ์ เพราะหากว่าบารมียังไม่เต็มต้องใช้วิริยะความเพียรเป็นพื้นฐาน วิริยะความเพียรแห่งมหาบุรุษที่ทรงตั้งไว้ขณะปฏิบัติช่วงสำคัญก่อนตรัสรู้ก็คือ
              1. แม้เลือดจะเหือดแห้งไปก็ตาม
              2. แม้กระดูกจะแตกไปก็ตามทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม
              3. แม้เนื้อจะเหี่ยวแห้งไปก็ตาม
              4. แม้เส้นเอ็นจะขาดหดหายไปก็ตาม
หากไม่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เราจะไม่ยอมลุกขึ้นการปฏิบัติอย่างนี้เป็นวิธีการปฏิบัติของพระปัญญาธิกพุทธเจ้าพระปัญญาธิกพุทธเจ้าและปกติสาวก (พระสาวกทั่วไป) มีวิธีการปฏิบัติเป็นทำนองนี้เหมือนกัน การที่ปกติสาวกที่ว่านี้จะต้องบำเพ็ญบารมีเท่านั้นเท่านี้แล้วจึงจะเต็มเพียงพอที่จะบรรลุมรรคผลนั้นไม่มี หมายความว่าปกติสาวกไม่ต้องอาศัยบารมีนั่นเอง อย่างไรก็ตาม เฉพาะปกติสาวกนั้น หากมีคุณสมบัติ 8 ประการ (ดูรายละเอียดตอนที่ 1) ก็เพียงพอแล้วที่จะเข้าสู่การบรรลุมรรคผลนิพพาน

                                                      นิพพานอยู่ที่ไหน จะไปทางไหน


              กิเลเส มาเรนโต คัจฉะติ เอเตนาติ มัคโค ฯ กิเลเส-กิเลส 10 ประการ ซึ่งแยกออกเป็น 1,500 อย่างนั้นมาเรนโต-กำจัดตัดฆ่าให้ขาดสะบั้นลงไป คัจฉะติ-ดำเนินไปอยู่เอเตนาติ-เพราะเหตุที่กำจัดตัดฆ่ากิเลสให้ขาดสะบั้นลงไปแล้วดำเนินไปอยู่อย่างนั้น มัคโค-จึงได้ชื่อว่า "มรรค"การกำจัดมวลกิเลสแล้วดำเนินไปสู่พระนิพพาน เรียกว่า"มรรค" ดังนั้น การดำเนินไปสู่พระนิพพานก็ต้องดำเนินไปตามมรรค4 ประการ (โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรคอรหัตตมรรค) นั่นเอง เพราะมรรคเป็นทางสายเอกสู่พระนิพพานพระนิพพานอยู่ที่ไหน พระนิพพานอยู่ที่1. กิเลสดับสงบเย็นเรียกว่า "กิเลสนิโรธ หรือสอุปาทิเสส-นิพพาน"2. ขันธ์ที่เป็นของเทวดามนุษย์และพรหมดับสงบเย็น เรียกว่า"ขันธนิโรธ หรืออนุปาทิเสสนิพพาน"

            นิพพานไปทางไหน อยู่ที่ใจเห็นนิพพานัง ปัสสะติ มัคคะติ คะเวสะติ เอตายาติ สัมมาทิฏฐิฯปัสสะติ-เห็นอยู่ มัคคะติ-ดำเนินไปอยู่ คะเวสะติ-แสวงหาอยู่ นิพพานัง-ซึ่งพระนิพพาน (อนัตตา) เอตายาติ-เพราะเหตุนั้น สัมมาทิฏฐิ- จึงได้ชื่อว่า "สัมมาทิฐิ"ปัญญาที่เห็นทางไปนิพพาน ชื่อว่า "สัมมาทิฐิ" คำว่า"ทางไปนิพพาน" ก็คืออนัตตานั่นเอง นอกจากอนัตตานี้แล้วไม่มีทางอื่นเลยที่จะไปถึงนิพพานได้ หากว่าเห็นอนัตตา ก็เห็นทางไปนิพพาน คำว่า "อนัตตา" ก็คือสัมมาทิฐิความเห็นถูกต้องสัมมาทิฐิจึงเป็นมรรคสัจ และเป็นเหตุแห่งนิโรธคือความดับสงบเย็นแห่งกิเลส นี่แหละทางไปนิพพานการตัดกิเลส 3 ระดับระดับที่ 1 ตัดด้วยศีล มีพระบาลีว่า สีเลนะ วีติกกะมะกิเลเสวิโสธะนัง ปะกาสิตัง โหติ ฯการรักษาศีล 5 ศีล 8 อย่างเคร่งครัดของฆราวาสก็ดีการปฏิบัติตามพระวินัย 227 ข้อ และการปฏิบัติธุคงควัตร 13 ข้ออย่างเคร่งครัดของพระสงฆ์ก็ดี เป็นการชำระวีติกกมกิเลสที่เกิดทางกายและทางวาจา (ป้องกันสิ่งที่จะพึงก้าวล่วงทางกายและวาจา)ระดับที่ 2 ตัดด้วยสมาธิ มีพระบาลีว่า สะมาธิยาวิกขัมภะนะกิเลเส วิโสธะนัง ปะกาสิตัง โหติ ฯการปฏิบัติโดยใช้สติกับสมาธินำหน้า เช่น การปฏิบัติตามสมถะ 40 ซึ่งมีอนุสติ 10 เป็นต้น เป็นเครื่องชำระวิกขัมภนกิเลส(ข่มกิเลสไว้) การปฏิบัติในลักษณะนี้ให้ผลได้ตลอดชาตินี้แล้วเมื่อละอัตภาพก็ไปเกิดเป็นพรหม เมื่อหมดอายุพรหมก็กลับมาเกิดอีกตามแต่บุญกรรมที่ทำไว้ระดับที่ 3 ตัดด้วยปัญญา มีพระบาลีว่า ปัญญายะอะนุสสะยะกิเลเส สะมุจเฉทะนัง วิโสธะนัง ปะกาสิตัง โหติ ฯการปฏิบัติโดยใช้ปัญญามรรค 2 ประการ คือสัมมาทิฐิดูรูปธาตุนามธาตุ ให้เห็นสภาวะที่มิใช่ตัวตน และสัมมาสังกัปปะพิจารณาว่าเป็นอนัตตา มิใช่ตัวตน เป็นหนทางแห่งการขจัดกิเลสชนิดละเอียดอ่อนได้ หมายความว่าการปฏิบัติโดยใช้ปัญญาองค์มรรค 2ประการนำหน้า สามารถที่จะตัดอนุสัยกิเลส ซึ่งเป็นกิเลสชนิดละเอียดอันซ่อนอยู่ในกมลสันดานนั้น ให้ขาดสะบั้นลงไปแล้วก็เกิดความเป็นจิตใจที่บริสุทธ์ิขึ้นมาได้วิธีการตัดกิเลสทั้ง 3 ระดับ ก็คือ
               1. ศีลตัดกิเลส เหมือนกับการตัดกิ่งไม้
               2. สมาธิตัดกิเลส เหมือนกับการตัดต้นไม้
               3. ปัญญาตัดกิเลส เหมือนกับการขุดรากถอนโคนต้นไม้ทั้งต้น
บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอริยเจ้าพึงตระหนักให้ดีเมื่อเห็นสัจจะ ก็พบพระนิพพานสัจจะสี่ มีอยู่แน่ แต่ไม่เห็นเขาจึงเป็น ปุถุชน จนจักษุมัคคญาณ ผลญาณ ก็อดรู้ได้แต่ดู บัญญัติ เห็นบัญญัติหากหมั่นเพียร ปฏิบัติไป ให้ถูกต้องประครองจิต ตามครรลอง อริยสัจ
เห็นรูปนาม ตามที่เป็น ปรมัตถ์ปฏิบัติไป จักได้พบ พระนิพพานหากต้องการพระนิพพานให้เดินตามรอยพระกุลลเถระธัมมะตาสัง คะเหตวานะ ญาณะทัสสะนะปะฏิปัตติยาปัจจะเวกขิง อิมัง กายัง ตุจฉัง อันโตพะหิรัง ฯอาวุโส-ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อะหัง-ข้าพเจ้า พระกุลลเถระญาณะทัสสะนะปะฏิปัตติยา-ปฏิบัติโดยใช้สัมมาทิฐิและสัมมา-สังกัปปะ ธัมมะตาสัง-พระจักษุที่พระพุทธองค์ทรงมอบไว้ให้นั้นคะเหตวานะ-รับเอาไว้แล้ว ปัจจะเวกขิง-พิจารณาเห็น (มองเห็น)อิมัง กายัง-ร่างกายที่เรียกว่าขันธ์นี้ อันโตพะหิรัง-ทั้งภายในและภายนอกขันธ์ ตุจฉัง-เป็นของว่างเปล่าหมายความว่า ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าพระกุลลเถระ ได้ใช้ตาปัญญา คือ สัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะทั้งสองที่พระพุทธเจ้าทรงมอบไว้ให้เฝ้าดู และพิจารณาลงลึกเข้าไปในขันธ์ห้าจนเห็นแต่ความว่างเปล่า ไม่มีอะไรที่เป็นตัวตน เป็นอนัตตา"ขันธ์ห้าของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเกิดขึ้นมาเพราะเหตุ คือสมุทัย(โลภะ มานะ และทิฐิ) พระตถาคตเจ้าตรัสไว้แล้ว การที่เหตุคือสมุทัย และผลคือทุกขังดับสงบเย็นไปนั้นมีอยู่ พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้"

              พระพุทธเจ้าทรงประกาศชัยชนะหลังการตรัสรู้ พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานคาถา สรรเสริญอริยสัจ 4 ประกาศชัยชนะภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธ์ิว่าอะเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสังคะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนังคะหะการะกะ ทิฏโฐสิ ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิสัพพา เต ผาสุกา ภัคคา คะหะกูฏัง วิสังขะตังวิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา ฯในพระคาถานี้แบ่งออกเป็น 5 ท่อน คือท่อนหนึ่งเป็นคำนำท่อนหนึ่งเป็นสมุทัยสัจ (เหตุทุกข์) ท่อนหนึ่งเป็นทุกข์ ท่อนหนึ่งเป็นมรรค (เหตุสุข) และท่อนหนึ่งเป็นนิโรธ กล่าวคือคำว่า "อะเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง" เป็นคำนำ
             คำว่า "คะหะการัง คะเวสันโต" เป็นสมุทัย
             คำว่า "ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง" เป็นทุกข์
             คำว่า "คะหะการะกะ ทิฏโฐสิ ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ"เป็นมรรค
            คำว่า "สัพพา เต ผาสุกา ภัคคา คะหะกูฏัง วิสังขะตัง วิสังขาระ-คะตัง จิตตัง ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา" เป็นนิโรธความว่า "อวิชชาและตัณหา นักก่อสร้างบ้านเรือนคือขันธ์ 5เราแสวงหาท่านมานานแล้ว ในวัฏสงสารที่ยาวนานนั้น ยังไม่เคยประสบพบเจอเห็นท่านมาก่อนเลย" ความท่อนนี้คือ "สมุทัย""อวิชชากับตัณหานี้ก่อร่างสร้างขันธ์ขึ้นมาแล้ว ความทุกข์ก็เกิดมาพร้อมกันอย่างไม่เคยห่างหายว่างเว้น ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นทุกข์มาอย่างนี้หลายภพหลายชาติจนนับไม่ถ้วน" ความท่อนนี้คือ"ทุกข์""การที่อวิชชากับตัณหาก่อร่างสร้างขันธ์ขึ้นมาเป็นเวลายาวนานแล้ว ต่อแต่นี้ไป เราเห็นท่านประจักษ์แจ้งแล้ว เราได้ใช้อรหัตตามรรคตัดทำลายแล้ว ท่านไม่สามารถกลับมาสร้างบ้านเรือนได้อีกต่อไป" ความท่อนนี้คือ "มรรค""นักก่อสร้างบ้านเรือนคือขันธ์ 5 ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับทุกข์มหันต์ ได้แก่ตัณหาและอวิชชา (ผู้ก่อสร้างบ้าน) บัดนี้ เราตัดทำลายท่านด้วยอรหัตตมรรคแล้ว จึงไม่สามารถก่อร่างสร้างขันธ์ห้าอีกต่อไป" ความท่อนนี้คือ "นิโรธ"

             พระอัสสชิเถระ แสดงธรรมแก่พระสารีบุตรพระพุทธเจ้าตรัสรู้เมื่อวันเพ็ญเดือน 6 ทรงแสดงธัมมจักกัปป-วัตตนสูตรและอริยสัจ 4 ในวันเพ็ญเดือน 8 โปรดปัญจวัคคีย์และพระยสะพร้อมสหาย 55 รวม 60 องค์ หลังออกพรรษาแรกจึงส่งพระสงฆ์ไปประกาศพระศาสนา โดยตรัสว่า ".....พุทโธ......ติณโณ.....มุตโต....." เป็นต้นพระบาลีท่อนนี้มีความว่า ประการที่ 1 "สัจจะ 4 ประการ (ทุกข์สมุทัย นิโรธ มรรค) เธอทั้งหลายรู้และเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งแล้วเพื่อให้อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ผู้ถวายปัจจัย 4 ได้เข้าใจในสัจจะ 4เธอทั้งหลายจงแสดงสัจจะ 4 ให้แก่พวกเขาด้วย"ประการที่ 2 "โอฆะ กล่าวคือห้วงน้ำใหญ่ทั้ง 4 (กาโมฆะภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ) เธอทั้งหลายข้ามพ้นแล้ว เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมแก่พวกเขา เพื่อให้อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายผู้ถวายปัจจัย 4 ได้ข้ามพ้นด้วย"ประการที่ 3 "อาสวะทั้ง 4 (กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะอวิชชาสวะ) พวกเธอทั้งหลายหลุดพ้นแล้ว เธอทั้งหลายจงแสดงธรรมเพื่อให้อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายได้หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายแล้วจงเดินทางไปประกาศพระศาสนาทางละรูป"จากนั้น พระพุทธองค์ทรงเดินทางไปโปรดชฎิล 3 พี่น้องพร้อมบริวารรวม 1,003 รูป ชฎิลเหล่านี้ก็บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทุกองค์ ในวันแรม 1 ค่ำเดือน 12 พระองค์พร้อมบริวาร 1,003 องค์เดินทางสู่กรุงราชคฤห์ เสด็จถึงกรุงราชคฤห์ในวันแรม 12 ค่ำเดือนยี่พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยชาวกรุงราชคฤห์สองแสนออกมารับเสด็จแล้วถวายสวนไม้ไผ่สร้างวัดเวฬุวัน ในวันแรม 13 ค่ำ พระอัสสชิเถระก็เดินทางถึงกรุงราชคฤห์ในขณะนั้น สหายสองคนคืออุปติสสะกับโกลิตะ (พระสารีบุตรกับพระโมคคัลลานะ) ซึ่งออกบวชเป็นปริพาชกศึกษาจนจบความรู้ของอาจารย์คือสญชัยปริพาชกแล้วเห็นว่า "ปัญญาหรือความรู้ที่ได้เรียนรู้นี้มิใช่ปัญญาพาให้หลุดพ้นจากวัฏสงสารหรือการตายเกิด"จึงออกจากสำนักอาจารย์เที่ยวแสวงหาปัญญาเครื่องหลุดพ้นโดยสัญญากันไว้ว่า "ใครพบทางหลุดพ้นก่อน ต้องกลับมาบอกกัน"ในวันแรม 14 ค่ำ พระอัสสชิเถระเดินบิณฑบาต อุปติสสะก็ออกบิณฑบาตเช่นกัน ทั้งสองท่านเดินมาพบกันระหว่างทาง อุปติสสะเห็นพระอัสสชิเถระแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใสว่า "ท่านสมณะรูปนี้มีอินทรีย์ผ่องใส คงจะพบทางแห่งการพ้นทุกข์แล้วเป็นแน่" จึงวางสิ่งของแล้วเข้าไปสอบถามธรรมะกับพระอัสสชิเถระ"ท่านเป็นศิษย์ของใคร ท่านปฏิบัติตามคำสอนของใคร ศาสดาของท่านสอนอย่างไรบ้าง โปรดอนุเคราะห์แสดงธรรมให้ข้าพเจ้าฟังด้วย" อุปติสสมานพถาม พระอัสสชิเถระตอบว่า "ขอท่านโปรดฟังพระธรรมคำสั่งสอนของพระศาสดา ขันธ์ห้านี้ของหมู่สัตว์ เกิด แก่ เจ็บตาย หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนไปในทุกภพ ทั้งนี้เพราะเหตุคืออวิชชากับตัณหาจึงทำให้เกิดทุกข์อยู่ร่ำไป หากมีเหตุทุกข์ เหตุสุขก็ต้องมีหากเหตุทุกข์หาย ความที่ไม่ตายต้องมี นี้เป็นคำสอนของพระมหาสมณะศาสดาของเรา"

            อุปติสสมานพได้ฟังดังนั้นก็อนุโมทนาสาธุ ศรัทธาที่เกิดก็ตัดวิจิกิจฉาตกไป อัตตทิฐิก็ตายพร้อมกัน บรรลุเป็นพระโสดาบันในทันที ต่อมาจึงกลับไปบอกโกลิตมานพว่า "เราได้พบท่านผู้มีธรรมไม่ตายแล้ว ธรรมที่ไม่ตาย (อมตธรรม) เราก็ได้ฟังมาแล้วด้วย"
โกลิตมานพจึงกล่าวว่า "ท่านได้ฟังมาอย่างไร" อุปติสสมานพจึงกล่าวอมตธรรมให้ฟัง โกลิตมานพได้ฟังดังนั้น ศรัทธาก็เกิดขึ้นมาตัดวิจิกิจฉา อัตตทิฐิก็ตายพร้อมกันเข้าสู่ความเป็นพระโสดาบัน พระบาลีที่พระอัสสชิเถระแสดงให้แก่อุปติสสมานพมีดังนี้เย ธัมมา เหตุปปะภะวา เตสัง เหตุง ตะถาคะโตเตสัญจะ โย นิโรโธ จะ เอวังวาที มะหาสะมะโณ ฯ"ขันธ์ 5 ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเกิดขึ้นมาเพราะเหตุคือสมุทัย (โลภะ มานะ และทิฐิ) พระตถาคตเจ้าตรัสไว้แล้ว การที่เหตุคือสมุทัยและผลคือทุกข์ดับสงบเย็นไปนั้นมีอยู่ พระมหาสมณะมีปกติตรัสสอนอย่างนี้" คำกล่าวนี้ก็คืออริยสัจ 4 ประการนั่นเองวันแรม 14 ค่ำ อุปติสสะกับโกลิตะพาบริวารเดินทางไปเฝ้าพระศาสดา พอถึงวันแรม 15 ค่ำ บริวารทั้งหมดก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ วันขึ้น 8 ค่ำเดือน 3 พระโมคคัลลานะก็บรรลุเป็น
พระอรหันต์ วันเพ็ญเดือน 3 พระสารีบุตรก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์พระพุทธองค์จึงทรงประชุมสงฆ์ประกาศโอวาทปาฏิโมกข์ท่ามกลาง
พระอรหันต์ 1,250 องค์

             ธรรมะของพระสารีบุตรเถระ  ภารา หะเว ปัญจักขันธา ภาระหาโร จะ ปุคคะโล  ภาราทานัง ทุกขัง โลเก ภาระนิกเขปะนัง สุขัง ฯ ภารา หะเว ปัญจักขันธา-การแบกหามบริหารขันธ์ 5 นี้เป็น ของหนักหน่วง ยิ่งกว่าแบกภูเขาใหญ่ภาระหาโร จะ ปุคคะโล-บุคคลรวมทั้งเทวดาและมนุษย์เป็นผู้แบกหามบริหารขันธ์ 5 ของหนักอันนี้ไว้ภาราานัง ทุกขัง โลเก-การแบกภาระที่หนักหน่วงอันนี้ไว้
เป็นทุกข์ในโลกภาระนิกเขปะนัง สุขัง โลเก-การวางขันธ์ 5 นี้ลงเสียได้เป็นสุขในโลกภารสุตตคาถานี้หมายความว่า เทวดามนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ที่แบกหามขันธ์ 5 แล้วท่องเที่ยวไป คือ เกิด แก่ เจ็บ ตายแล้วก็กลับเกิดอีกหมุนเวียนเป็นวัฏจักรอยู่ในกามาจรภูมิ 11 บ้าง ท่องเที่ยวเกิดตายอยู่ในรูปาวจรภูมิ 11 บ้าง ท่องเที่ยวเกิดตายอยู่ในอรูปาวจรภูมิ 4 บ้าง รวมเป็นภพภูมิแห่งการเกิดตายทั้ง 26 ภพภูมิการเกิดตายอยู่อย่างนี้เป็นภาระแห่งความทุกข์ที่หนักอึ้งและไม่มีจุดจบเราจะสามารถมองเห็นความจริงแห่งขันธ์ 5 โดยผ่านอริยสัจ 4 ดังนี้

            1. การแบกรับหาบแห่งขันธ์ 5 เรียกว่า "ทุกข์"

            2. ผู้ที่มอบหาบแห่งขันธ์ 5 นี้ให้ เรียกว่า "สมุทัย"

            3. การสลัดทิ้งหาบแห่งขันธ์ 5 ได้แล้ว เรียกว่า "นิโรธ"
            4. การวางหาบแห่งขันธ์ 5 ลงเรียกว่า "มรรค"ธรรมะของพระวชิราเถรีทุกขะเมวะ หิ สัมโภติ ทุกขัง ติฏฐะติ เวติ จะ,นาญญัตระ ทุกขา สัมโภติ นาญญัตระ ทุกขา นิรุชฌะติฯสัมโภติ-สิ่งที่สมุทัย กล่าวคือตัณหาปรุงแต่งให้เกิดขึ้นมานี้ทุกขะเมวะ-มีผลเป็นทุกข์อย่างเดียวเท่านั้น ทุกขัง ติฏฐะติ-ที่ตั้งอยู่ก็เป็นทุกข์ เวติ จะ-ที่เสื่อมไปอยู่ก็เป็นทุกข์ นาญญัตระ ทุกขาสัมโภติ-จากความทุกข์แล้วไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้น นาญญัตระ ทุกขานิรุชฌะติ -นอกจากความทุกข์แล้วไม่มีสิ่งใดดับไปพระวชิราเถรีสำเร็จเป็นพระอรหันต์ตั้งแต่ยังเล็กอายุ 7 ขวบเธอได้แสดงธรรมไว้ว่า การที่เราได้มาเกิดเป็นมนุษย์ แล้วตกอยู่ภายใต้ภาวะแห่งความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตายนี้ เป็นเพราะกิเลส 3 ประการ คือโลภะ มานะ และทิฐิ เป็นสาเหตุสำคัญเรียกว่าสมุทัย หากว่าสามารถนำสาเหตุดังกล่าวออกได้แล้ว ความทุกข์เพราะเกิด แก่ เจ็บ ตายก็ไม่มีที่มาอีกต่อไป การที่ความทุกข์ดับไปไม่มีเหลือนั้น เป็นเพราะเหตุแห่งทุกข์ดับไป เหตุหมดไปหรือเหตุไม่มีนั่นเองพระเถรีได้แสดงเหตุและผลแห่งทุกข์ไว้ในกรอบของอริยสัจไว้ดังนี้ต้นเหตุแห่งทุกข์ คือตัณหา เรียกว่า "สมุทัย" ผลทุกข์ คือการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เรียกว่า “ทุกขสัจ” วิธีการทำสาเหตุแห่งทุกข์ให้ดับไป เรียกว่า "มรรค" การที่เหตุแห่งทุกข์ดับไป เรียกว่า "กิเลสนิโรธ"การที่ผลทุกข์ดับไป เรียกว่า "ขันธนิโรธ" หากเหตุแห่งทุกข์ไม่ดับผลทุกข์ก็คงอยู่

ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม อ่านต่อตอนที่ 4

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013