ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

23 ตุลาคม 2553

ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

 

     ถ้ำสาริกา ตั้งอยู่บนภูเขาลูกเล็กๆ ภายในวัดถ้ำสาริกา อ.เมือง จ.นครนายก ตั้งอยู่บนเส้นทางที่มุ่งสู่น้ำตกสาริกา โดยอยู่ก่อนถึงน้ำตกสาริกาประมาณ 3 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นเพิงหินเล็กๆ ภายใต้ก้อนหินขนาดใหญ่ลึกเข้าไปในหินประมาณ 3 เมตรไม่มีหินงอกหินย้อยด้านในถ้ำประดิษฐานรูปหล่อหลวงปู่มั่น ขนาดเล็กกว่าองค์จริงเล็กน้อย ด้านบนหินมีต้นไทรต้นใหญ่แผร่รากคอบคลุมหินก้อนนี้อยู่ ปัจจุบันทางวัดได้สร้างศาลาคอนกรีตถาวร คลุมบริเวณหน้าถ้ำไว้ เพื่อสะดวกในการมาสักการะและปฏิบัติธรรมร่มเย็นดีมาก

     ภายในบริเวณวัดเป็นภูเขา ลักษณะสภาพป่าเขาและตบแต่งภูมิทัศน์ได้อย่างเป็นธรรมชาติ มีกุฏิหลังน้อยๆ ซ้อนตัวกลมกลืนกับธรรมชาติอยู่หลายหลัง เหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ก่อนที่จะถึงถ้ำสาริกาจะเป็นมณฑป และเรือนพระธาตุ ภายในมณฑปประดิษฐานรูปหล่อยืนหลวงปู่มั่นขนาดใหญ่ ส่วนเรือนพระธาตุจัดแสดงพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพระอรหันต์และยังมีอุโบสถขนาดเล็ก อยู่บนยอดเขาอีกด้วย

     สำหรับความสำคัญของถ้ำนี้ปรากฏในประวัติหลวงปู่มั่น จากสำนวนหลายครูบาอาจารย์เป็นดังนี้คือ ประมาณปี 2450 - 2453 ท่านได้จาริกไปทางจังหวัดลพบุรี ไปพักอยู่ที่เขาพระงามบ้าง ถ้ำสิงโตบ้าง ต่อมา ท่านได้ไปพักอยู่ที่ถ้ำสาริกานี่เอง ท่านได้ประสบเหตุการณ์ต่าง หลายประการ และเป็นที่ติดใจท่านมาตลอด คือ ขณะที่ท่านไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้กับถ้ำมากกว่าหมู่บ้านอื่น ๆ ท่านวานให้ชาวบ้านพาไปส่งที่ถ้ำดักล่าว เพราะไม่รู้จักทาง ชาวบ้านเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เกี่ยวกับถ้ำนั้นให้ฟัง พร้อมกับนิมนต์ให้เลิกล้มความต้องใจที่จะไปถ้ำนั้นเสีย แต่ท่านบอกว่า ท่านไม่กลัว ท่านทดลองพักดู ขณะที่พักที่ถ้ำสาริกาแห่งนี้ในระยะเดือนแรกๆ ท่านรู้สึกปรกติดี จิตใจสงบ ไม่มีอะไรพลุกพล่าน พอดีคืนต่อๆมา ท่านรู้สึกว่าโรคเจ็บท้องที่เคยเป็นประจำชักกำเริบ และมีอาการรุนแรงขึ้นตามลำดับ ท่านได้หวนคิดถึงคำที่ชาวบ้าพูดกันว่า มีพระมาตายที่นี่ 4 รูปแล้ว ท่านจึงคิดว่าท่านอาจเป็นรูปที่ 5 ก็ได้ ถ้าไม่หายจากโรค เมื่อฉันยาแล้ว โรคก็ยังไม่หยุดกำเริบ ในที่สุดท่านตัดสินใจใช้ธรรมโอสถรักษา จะหายก็หายจะตายก็ตาย จากนั้นท่านจึงพิจารณาถึงทุกขเวทนาด้วยปัญญาอย่างไม่หยุดยั้ง จนในที่สุดโรคก็หาย ความฟุ้งซ่านภายในใจก็ดับกลายเป็นความสงบ จิตสว่างออกไปจากร่างกาย ปรากฏเห็นบุรุษคนหนึ่งมีรูปร่างใหญ่โต ถือตะบองเหล็กเดินเข้ามาหาท่าน พูดกับท่านว่าจะตีท่านให้จมลงดิน ถ้าไม่หนีไป ท่านก็ถามไปว่าท่านผิดอะไรถึงจะมาตีท่าน เขาก็บอกว่า เขารักษาภูเขาลูกนี้มานานแล้ว ใครมาใหญ่กว่าเขาเป็นไม่ได้ ท่านก็บอกว่า ท่านเป็นพระมาบำเพ็ญธรรมเพื่อมาปราบกิเลส ไม่ได้มาทำร้ายใครว่าแล้วก็เทศนา สั่งสอนบุรุษลึกลับคนนนั้น จนเกิดความเลื่อมใส ในคืนต่อมา ท่านได้บำเพ็ญสมณธรรมด้วยความสะดวกไม่มีอะไรมารบกวน ร่างกายก็เป็นปรกติสุข หลังจากที่หลวงปู่มั่นได้ธุดงค์จากที่นี่ไป

     หลังจากหลวงปู่มั่นธุดงค์ไปที่อื่นแล้ว ถ้ำแห่งนี้ก็ได้ร้างลงจนเมื่อประมาณ 30 - 40 ปีมานี้ ท่านพระอาจารย์เจือ กิจจธโรเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ได้สร้างวัดในบริเวณนี้สำหรับปฏิบัติธรรมและศาสนสถานต่างๆ ให้มั่นคงและเป็นที่รุ้จักแพร่หลายมากยิ่งขึ้น วัดแห่งนี้ไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก จัดเป็นศาสนสถานที่สำคัญที่มีความเกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่มั่นใกล้กรุงเทพที่สุดแห่งหนึ่ง สะดวกสำหรับการมาเยื่ยมชมและรำลึกถึงการปฏิบัติธรรมอย่างเด็ดเดี่ยวโดยมีชีวิตเข้าแรก ณ สถานที่แห่งนี้

     ทางผู้ดูแลเว็บหลวงปู่มั่นได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมและเก็บภาพมาเมื่อเที่ยงวันที่ 11 เมษายน 2547 และจะได้สืบหาสถานที่ที่เกี่ยวเนื่องกับองค์หลวงปู่มานำเสนอต่อไป

     ข้อมูลประวัติหลวงปู่มั่นจาก วิปัสสนากรรมฐานอิสาน.คอม

001.jpg
ทางขึ้นถ้ำ

002.jpg
ธรรมะจากต้นไม้

003.jpg
003.jpg

004.jpg
ป้ายชื่อถ้ำ
หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ถ้ำหลวงปู่มั่น

005.jpg
ภายในถ้ำ

006.jpg
เป็นรูปหล่อองค์หลวงปุ่มั่น

007.jpg
อีกด้านหนึ่งของถ้ำ

008.jpg
008.jpg

009.jpg
009.jpg

010.jpg
บริเวณหน้าถ้ำ

011.jpg
ต้นไทรที่เกาะบริเวณหลังถ้ำ

012.jpg
อุโบสถบนยอดเขา

013.jpg
สัปปายะ น่าภาวนา

014.jpg
014.jpg

015.jpg
015.jpg

016.jpg
016.jpg

017.jpg
รูปปั้นหลวงปู่มั่นองค์ใหญ่

018.jpg
ภายในมณฑปหลวงปู่มั่น

019.jpg
ภายในเรือนพระธาตุ

020.jpg
พระบรมสารีริกธาตุ
และพระธาตุพระอรหันต์

021.jpg
021.jpg

022.jpg
มณฑปหลวงปู่มั่น
และเรือนพระธาตุ

023.jpg
หน้าวัดติดริมถนนใหญ่
สังเกตได้ชัดเจนก่อน
ถึงน้ำตกสาริกา

024.jpg
น้ำตกสาริกายามหน้าแล้ง

๑ ชาติกำเนิดและการอุปสมบท

สถานที่กำเนิดของหลวงปู่
ณ หมู่บ้านคำบง อ.โขงเจียม
จ.อุบลราชธาน

ท่าน กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง  มารดาชื่อจันทร์  เพีย ( พระยา ) แก่นท้าวเป็นปู่  นับถือพุทธศาสนา  เกิดวันพฤหัสบดีเดือนยี่  ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคมพ.ศ.๒๔๑๓   ณ  บ้านคำบง  ตำบลโขงเจียม     อำเภอโขงเจียม  จังหวัดอุบลราชธานี ( ปัจจุบันคือ บ้านคำบง ต.สงยาง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี ) มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน  ๗  คน   ท่านเป็นบุตรคนหัวปีท่านเป็นคนร่างเล็ก  ผิวขาวแดงแข็งแรงว่องไวสติปัญญาดีมาตั้งแต่กำเนิดฉลาดดี

  เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายได้เรียนอักขรสมัยในสำนักของอา  คือเรียนอักษรไทยน้อย   อักษรไทย   อักษรธรรมและอักษรขอมอ่านออกเขียนได้นับว่าท่านเรียนได้รวด เร็ว  เพราะมีความทรงจำดี   และมีความขยันหมั่นเพียรชอบการเล่าเรียนศึกษา

เมื่อ ท่านอายุได้  ๑๕ ปี ได้บรรพชา เป็นสามเณรในสำนักวัดบ้านคำบง   ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ   ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนามีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์   จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปรานีมาก   เพราะ เอาใจใส่ในการเล่าเรียนดี   ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้

เมื่ออายุท่านได้ ๑๗ ปี  บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้านท่านก็ได้ลาสิกขาออกไปช่วยงาน ของบิดามารดาเต็มความสามารถ     ท่านเล่าว่าเมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่ลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนอย่างหนึ่งอีกอย่าง หนึ่งเพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า

พระอริยกวี ( อ่อน )
พระอุปฌาย์ของหลวงปู่

"เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก"

พระครูวิเวกพุทธกิจ
หลวงปู่เสาร์ กันตสีลมหาเถร
พระอาจารย์กรรมฐาน

คำสั่ง ของยายนี้ คอยสะกิดใจอยู่เสมอ   ครั้นอายุท่านได้  ๒๒  ปี   ท่านเล่าว่ามีความอยากบวชเป็นกำลัง  จึงอำลาบิดา   มารดาบวชท่านทั้งสองก็อนุญาตตามประสงค์ท่านได้เข้าศึกษาในสำนักพระอาจารย์เสาร์ ( หลวงปู่เสาร์ )  กันตสีโล วัดเลียบ  เมืองอุบล  จังหวัดอุบลราชธานี

อุปสมบท  เป็นภิกษุภาวะในพุทธศาสนา  ณ วัดศรีทอง(วัดศรีอุบลรัตนาราม)อำเภอเมือง   จังหวัดอุบลราชธานี   พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระ อุปฌายะ   พระครูสีทาชยเสโน   เป็นพระกรรมวาจาจารย์   พระครูประจักษ์อุบลคุณ ( สุ่ย ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์เมื่อวันที่  ๑๒  มิถุนายน   พ.ศ.๒๔๓๖  

พระอุปัชฌายะขนานนามมคธให้ว่า  "ภูริทัตโต"แปลว่า "ผู้ให้ปัญญา  ผู้แจกจ่ายความฉลาด" เสร็จอุปสมบทกรรมแล้ว   ได้กลับมาศึกษาวิปัสสนาธุระกับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล   ณ   วัดเลียบต่อไป   เมื่อแรกอุปสมบทท่านพำนักอยู่วัดเลียบ   โดยได้เรียนกรรมฐานจากพระอาจารย์เสาร์เมื่องอุบลเป็นปกติและได้ออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพาราม   เมือง  อุบลราชธานีเป็นครั้งคราว

พระครูสีทา ชยเสโน
วัดบูรพา จ.อุบลราชธานี
พระกรรมวาจาจารย์

พระครูประจักษ์อุบลคุณ ( ญาณาสโย สุ้ย )
วัดศรีอุบลรัตนาราม ( ศรีทอง ) จ.อุบลราชธานี
พระอนุสาวนาจารย์

พระอุโบสถ ( หลังเก่า ) เป็นสถานที่ที่หลวงปู่มั่นอุปสมบท
วัดศรีอุบลรัตนาราม ( ศรีทอง ) จ.อุบลราชธานี

พระอุโบสถ ( หลังปัจจุบัน )
วัดศรีอุบลรัตนาราม ( ศรีทอง ) จ.อุบลราชธานี

ใน ระหว่างนั้นได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้องต้น อันเป็นส่วน แห่งพระวินัย  คือ  อาจาระความประพฤติมารยาท   อาจริยวัตร   และอุปัชฌายวัตรปฏิบัติได้เรียบร้อยดีจนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌาจารย์และได้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจคือเดินจงกรมนั่งสมาธิกับการสมาทานธุดงควัตรต่างๆ

วัดบูรพาราม

วัดบูรพาราม ( ภาพปัจจุบัน )
อ.เมือง  จ.อุบลราชธานี
วัดที่หลวงปู่จำพรรษาในระยะต้นๆ

๒ บำเพ็ญเพียร

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
( จันทร์  สิริจันทมหาเถร )
วัดบรมนิวาส  กรุงเทพมหานคร

ใน สมัยต่อไปได้แสวงหาวิเวกบำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่างๆ ตามราวป่า     ป่าช้า    ป่าชัฏที่แจ้ง  หุบเขา  ซอกเขา  ห้วย  ธารเขา  เงื้อมเขา  ท้องถ้ำ   เรือนว่างทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้าง  ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ทางกรุงเทพ  จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม   หมั่นไปสดับธรรมเทศนากับเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( จันทร์ )  ๓ พรรษา   แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง   คือถ้ำสาริกา     เขาใหญ่    นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงามและถ้ำสิงห์โตลพบุรีจนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัยในสัตถุศาสนา        จึงกลับมาภาคอีสานทำการอบรมสั่งสอนสมถวิปัสสนา แก่สหธรรมิกและอุบาสกอุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใสปฏิบัติตามมากขึ้นโดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลายกระจายทั่วภาคอีสาน 

ในกาลต่อมาได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ   อีก  ๑  พรรษาแล้ว ไปเชียงใหม่ กับเจ้าพระคุณอุบาลี ( จันทร์ ) จำพรรษาวัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษาแล้วออก ไปพักตามที่วิเวกต่างๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง  เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้นๆนานถึง ๑๑  ปี   จึงได้กลับมาจังหวัดอุบลราชธานีพักจำพรรษาอยู่ที่วัดโนนนิเวศน์เพื่ออนุเคราะห์สาธุชนในที่นั้น   ๒  พรรษาแล้วมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนครจำพรรษาที่วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมืองสกลนคร ( ปัจจุบันคืออำเภอ  โคกศรีสุพรรณ )   ๓   พรรษา จำพรรษาที่วัดป่าหนองผือ   ตำบลนาใน   อำเภอพรรณานิคม   ๕   พรรษาเพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น   มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติได้ติดตามศึกษา   อบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่านได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยังเกียรติคุณของท่านให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป

วัดบรมนิวาส
รองเมือง กรุงเทพมหานคร

ถ้ำที่หลวงปู่เคยจำพรรษา
ณ วัดภูหล่น อ.ศรีเชียงใหม่ 
จ.อุบลราชธานี

วัดเจดีย์หลวง
อ.เมือง จ.เชียงใหม่

วัดปทุมวนาราม พ.ศ. ๒๔๑๐

กุฎิ ณ วัดปทุมวนาราม
ที่ท่านจำพรรษา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๗๑

วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร
เขตปทุมวัน  กรุงเทพมหานคร

ดอยมูเซอ ( หมู่บ้านปู่พญา ) อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงใหม่
( หลวงปู่มั่นจำพรรษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ โดยมีหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ร่วมจำพรรษาด้วย )

หมู่บ้านชาวมูเซอร์กลางหุบเขา
( ภาพปัจจุบัน )

วัดป่าอาจารย์มั่น ( วัดร้างป่าแดง ) ภาพปัจจุบัน
บ้านแม่กรอย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
หลวงปู่มั่นจำพรรษาช่วงประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๒

ทางจงกรมหลวงปู่มั่น
ณ วัดป่าอาจารย์มั่น

บริเวณที่เป็นกุฏิหลวงปู่มั่นเดิม
ณ วัดป่าอาจารย์มั่น

กุฏิหลวงปู่มั่น
วัดป่าโนนนิเวศน์ อ.เมือง จ.อุดรธานี
จำพรรษา พ.ศ. ๒๔๘๓ - ๒๔๘๔

กฏิหลวงปู่มั่น
วัดป่าบ้านโคก ( วัดป่าวิสุทธิธรรม )
อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร


ศาลาหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าบ้านโคก
อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร

๓ ปัจฉิมวัย

ใน วัยชรานับแต่   พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นต้นมาท่านหลวงปู่มั่นมาอยู่ที่จังหวัดสกลนคร เปลี่ยนอิริยาบท ไปตามสถานที่วิเวกผาสุขวิหารหลายแห่ง คือ เสนาสนะป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง ( ปัจจุบันเป็นอำเภอโคกศรีสุพรรณ ) บ้าง แถวนั้นบ้าง

ครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยุ่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร  จนถึงปีสุดท้ายแห่งชีวิต ตลอดเวลา ๘ ปีในวัยชรานี้ท่านได้เอาธุระอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ทางสมถวิปัสสนาเป็นอันมาก ได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์เป็นประจำวันศิษย์ผู้ใกล้ชิด ได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านไว้และได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเผยแพร่แล้วให้ชื่อว่า "มุตโตทัย"

กุฏิของหลวงปู่

หุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่ภายในกุฏิ

ภายนอกกุฏิหลวงปู่

ภายในกุฏิหลวงปู่

ศาลาวัด

วัดป่าบ้านหนองผือ  ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ( ภาพปัจจุบัน )


ศาลาที่พักอาพาธหลวงปู่มั่น ณ เสนาสนะป่าบ้านกู่ ( วัดป่ากลางโนนกู่ )
บ้านกุดก้อม ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

มา ถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๒  ซึ่งเป็นปีที่ท่านมีอายุย่างเข้า ๘๐ ปี ท่านเริ่มอาพาธเป็นไข้ ศิษย์ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดก็ได้เอาธุระรักษาพยาบาลไปตามกำลังความสามารถ อาการอาพาธก็สงบไปบ้างเป็นครั้งคราวแต่แล้วก็กำเริบขึ้นอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนจวนออกพรรษาอาพาธก็กำเริบมากขึ้น ข่าวนี้ได้กระจายไปโดยรวดเร็ว พอออกพรรษาศิษยานุศิษย์ผู้อยู่ใกล้ไกลต่างก็ทะยอยกันเข้ามาปรนนิบัติพยาบาล ได้เชิญหมอแผนปัจจุบันมาตรวจ   และรักษาแล้วนำมาพักที่เสนาสนะป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคมเพื่อสะดวกแก่ผู้รักษา และศิษยานุศิษย์ที่จะมาเยี่ยมพยาบาล อาการอาพาธมีแต่ทรงกับทรุดลงโดยลำดับ

อุโบสถวัดป่าสุทธาวาส
( สร้างบนสถานที่ถวายพระเพลิงศพหลวงปู่มั่น )

ครั้น เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒  ได้นำท่านมาพักที่วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง  เมืองสกลนคร  โดยพาหนะรถยนต์ของแขวงการทางมาถึงวัดเวลา ๑๒.๐๐น. เศษ ครั้นถึงเวลา  ๒.๒๓  น.  ของวันที่  ๑๑  พฤศจิกายน    ปีเดียวกันท่านก็ได้ถึงมรณภาพด้วยอาการสงบในท่างกลางศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย มีเจ้าพระคุณพระธรรมเจดีย์เป็นต้น สิริชนมายุของท่านอาจารย์ได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วันรวม ๕๖ พรรษา 

ซึ่งท่านหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้เล่าถึงเหตุการณ์ในเวลานั้น  ไว้ใน"ประวัติท่านพระอาจารย์มั่นฯ"ไว้ว่า

" องค์ท่าน เบื่องต้นนอนสีหไสยาสน์  คือ  นอนตะแคงข้างขวา  แต่เห็นว่าท่านจะเหนื่อยเลยค่อย ๆ ดึงหมอนที่หนุนอยู่ข้างหลังท่านออกนิดหนึ่งเลยกลายเป็นท่านนอนหงายไป  พอท่านรู้สึกก็พยายามขยับตัวกลับคืนท่าเดิม  แต่ไม่สามารถทำได้เพราะหมดกำลัง  พระอาจารย์ใหญ่ก็ช่วยขยับหมอนที่หนุนหลังท่านเข้าไป  แต่ดูอาการท่านรู้สึกเหนื่อยมากเลยต้องหยุดกลัวจะกระเทือนท่านมากไป  ดังนั้น  การนอนท่านในวาระสุดท้ายจึงเป็นท่าหงายก็ไม่ใช่  ท่าตะแคงข้างขวาก็ไม่เชิง  เป็นเพียงท่าเอียง ๆ อยู่เท่านั้น  เพราะสุดวิสัยที่จะแก้ไขได้อีก  อาการท่านกำลังดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง  บรรดาศิษย์ซึ่งโดยมากมีแต่พระกับเณรฆราวาสมีน้อยที่นั้งอาลัยอาวรณ์ด้วยความหมดหวังอยู่ขณะนั้น  ประหนึ่งลืมหายใจไปตาม ๆ กัน  เพราะจิตพะว้าพะวังอยู่กับอาการท่านซึ่งกำลังแสดงอย่างเต็มที่เพื่อถึงวาระสุดท้ายของท่านอยู่แล้ว  ลมหายใจท่านปรากฏว่าค่อยอ่อนลงทุกทีและละเอียดไปตาม ๆ กัน  ผู้นั้งดูลืมกระพริบตาเพราะอาการท่านเต็มไปด้วยความหมดหวังอยู่แล้ว  ลมค่อยอ่อนและช้าลงทุกทีจนแทบไม่ปรากฏ  วินาทีต่อไปลมก็ค่อย ๆ หายเงียบไปอย่างละเอียดสุขุมจนไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าท่านได้สิ้นไปแล้วแต่วินาทีใด  เพราะอวัยวะทุกส่วนมิได้แสดงอาการผิดปกติเหมือนสามัญชนทั่ว ๆ ไปเคยเป็นกัน  ต่างคนต่างสังเกตจ้องมองจนตาไม่กระพริบ  สุดท้ายก็ไม่ได้เรื่องพอให้สะดุดใจเลยว่า  "ขณะท่านลาขันธ์ลาโลกที่เต็มไปด้วยความกังวลหม่นหมองคือขณะนั้น " ดังนี้

           พอเห็นท่าไม่ได้การ  ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์  พูดเป็นเชิงไม่แน่ใจขึ้นมาว่า "ไม่ใช่ท่านสิ้นไปแล้วหรือ " พร้อมกับยกนาฬิกาขึ้นดูเวลา  ขณะนั้นเป็นเวลาตี ๒ นาฬิกา ๒๓ นาที  จึงได้ถือเวลามรณภาพของท่าน  พอทราบว่าท่านสิ้นไปแล้วเท่านั้นมองดูพระเณรที่นั้งรุมล้อมท่านอยู่เป็นจำนวนมาก  เห็นแต่ความโศกเศร้าเหงาหงอยและน้ำตาบนใบหน้าที่ไหลซึมออกมา  ทั้งไอทั้งจามทั้งเสียงบ่นพึมพำไม่ได้ถ้อยได้ความใครอยู่ที่ไหนก็ได้ยินเสียงอุบอิบพึมพำทั่วบริเวณนั้น  บรรยากาศเต็มไปด้วยความเงียบเหงาเศร้าใจอย่างบอกไม่ถูก  เราก็เหลือทน  ท่านผู้อื่นก็เหลือทน  ปรากฏว่าเหลือแต่ร่างครอบตัวอยู่แวลานั้น  ต่างองค์ต่างนิ่งเงียบไปพักหนึ่งราวกับโลกธาตุได้ดับลง  ในขณะเดียวกับขณะที่ท่านอาจารย์ลาสมมติคือขันธ์ก้าวเข้าสู่แดนเกษม  ไม่มีสมมติความกังวลใด ๆ เข้าไปเกี่ยวข้องวุ่นวายอีก  ผู้เขียนแทบหัวอกจะแตกตายไปกับท่านจริง ๆ เวลานั้นทำให้รำพึงรำพันและอัดอั้นตันใจไปเสียทุกอย่าง  ไม่มีทางคิดพอขยับขยายจิตที่กำลังว้าวุ่นขุ่นเป็นตมเป็นโคลนไปกับการจากไปของท่าน  พอให้เบาบางลงบ้างจากความแสนรักแสนอาลัยอาวรณ์ที่สุดจะกล่าว  ที่ท่านว่าตายทั้งเป็นเห็นจะได้แก่คนไม่เป็นท่าคนนั้นแล

    ..............ดวงประทีปที่เคยที่เคยสว่างไสวมาประจำชีวิตจิตใจได้ดับวูบสิ้นสุดลง  ปราศจากความอบอุ่นชุ่มเย็นเหมือนแต่ก่อนมา  ราวกับว่าทุกสิ่งได้ขาดสะบั้นหั่นแหลกเป็นจุณไปเสียสิ้น  ไม่มีสิ่งเป็นที่พึ่งพอเป็นที่หายใจได้เลย  มันสุดมันมุดมันด้านมันตีบตันอั้นตู้ไปเสียหมดภายในใจ  ราวกับโลกธาตุนี้ไม่มีอะไรเป็นสาระพอเป็นที่เกาะของจิตผู้กำลังกระหายที่พึ่ง  ได้อาศัยเกาะพอได้หายใจแม้เพียงวินาทีหนึ่งเลย  ทั้งที่สัตว์โลกทั่วไตรภพอาศัยกันประจำภพกำเนิดตลอดมา  แต่จิตมันอาภัพอับวาสนาเอาอย่างหนักหนา  จึงเห็นโลกธาตุเป็นเหมือนยาพิษเอาเสียหมดเวลานั้น  ไม่อาจเป็นที่พึงได้  ปรากฏแต่ท่านพระอาจารย์มั่นองค์เดียวเป็นชีวิตจิตใจเพื่อฝากอรรถฝากธรรมและฝากเป็นฝากตายทุกขณะลมหายใจเลย ......"

คลิกที่นี่ เพื่ออ่านบันทึกของหลวงปู่หล้า เขมปัตโต

ตลอดชีวิตขององค์หลวงปู่ ด้วยความที่ท่านหวัง เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เหตุนั้นท่านจึงไม่อยู่เป็นที่เป็นทางหลักแหล่ง เฉพาะแห่งเดียว เที่ยวไปเพื่อประโยชน์ แก่ชนในสถานที่นั้น ๆ ดังนี้

๑. ณ กาลสมัยนั้น (พ.ศ.๒๔๔๗) ท่านอาจารย์มั่น ฯ อยู่วัดเลียบมานาน จึงได้เข้าไปจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม (วัดสระปทุม) กรุงเทพฯ และทางเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี จนถึง พ.ศ.๒๔๕๗ ครั้นแล้วท่านจึงมาหาสหธรรมทางอุบลราชธานี จำพรรษาที่วัดบูรพาในจังหวัดนั้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘ ท่านมีพรรษาได้ ๒๕ พรรษา
๒. พ.ศ.๒๔๕๙ จำพรรษาที่ภูผากูด บ้านหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม
๓. พ.ศ.๒๔๖๐ จำพรรษาที่บ้านดงปอ "ห้วยหลวง" อำเภอเพ็ญ จ.อุดรธานี
๔. พ.ศ.๒๔๖๑ จำพรรษาที่ถ้ำผาบิ้ง จังหวัดเลย
๕. พ.ศ.๒๔๖๒ จำพรรษาที่บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
๖. พ.ศ.๒๔๖๓ จำพรรษาที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย
๗. พ.ศ.๒๔๖๔ จำพรรษาที่บ้านห้วยทราย อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม
๘. พ.ศ.๒๔๖๕ จำพรรษาที่ตำบลหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร
๙. พ.ศ.๒๔๖๖ จำพรรษาที่วัดมหาชัย อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำพู
๑๐. พ.ศ.๒๔๖๗ จำพรรษาที่บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
๑๑. พ.ศ.๒๔๖๘ จำพรรษาที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย (วัดอรัญวาสี ปัจจุบัน)
๑๒. พ.ศ.๒๔๖๙ จำพรรษาที่บ้านสามผง อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
๑๓. พ.ศ.๒๔๗๐ จำพรรษาที่บ้านหนองขอน อ.บุง (ปัจจุบัน อ.หัวตะพาน) จังหวัดอำนาจเจริญ
๑๔. พ.ศ.๒๔๗๑ จำพรรษาที่กรุงเทพฯ วัดปทุมวนาราม หรือวัดสระปทุม
๑๕. พ.ศ.๒๔๗๒ จำพรรษาที่ถ้ำเชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
๑๖. พ.ศ.๒๔๗๓ จำพรรษาที่ดอยจอมแตง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
๑๗. พ.ศ.๒๔๗๔ จำพรรษาที่บ้านโป่ง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
๑๘. พ.ศ.๒๔๗๕ จำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ออกพรรษาแล้ว ท่านก็ออกธุดงค์ไปทาง จ.เชียงราย
๑๙. พ.ศ.๒๔๗๗ ได้กลับมาทางเขตเชียงใหม่ จำพรรษาที่ป่าเมี่ยง ดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
๒๐. พ.ศ.๒๔๗๙ จำพรรษาที่บ้านมูเซอ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
๒๑. พ.ศ.๒๔๘๐ จำพรรษาที่พระธาตุจอมแจ้ง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
๒๒. พ.ศ.๒๔๘๑ ท่านได้ลงมาพำนักที่วัดเจดีย์หลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
๒๓. พ.ศ.๒๔๘๒ จำพรรษาที่บ้านแม่กอย ( ปัจจุบัน วัดป่าอาจารย์มั่น ) อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ออกพรรษาแล้ว ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์( จูม พนฺธุโล ) ได้เดินทางจากอุดรไปเชียงใหม่นิมนต์ท่านกลับอีสาน
๒๔. พ.ศ.๒๔๘๓ - ๒๔๘๔ จำพรรษาที่วัดโนนนิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
๒๕. พ.ศ.๒๔๘๕ จำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโคก ( ปัจจุบัน วัดป่าวิสุทธิธรรม ) อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
๒๖. พ.ศ.๒๔๘๖ จำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านนามน ( ปัจจุบัน วัดป่านาคนิมิตต์ ) อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
๒๗. พ.ศ.๒๔๘๗ จำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโคก ( ปัจจุบัน วัดป่าวิสุทธิธรรม ) อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
๒๘. พ.ศ.๒๔๘๘ - ๒๔๙๒ จำพรรษาอยู่ที่บ้านหนองผือ ( ปัจจุบัน วัดป่าภูริทัตตถิราวาท ) ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
มรณภาพ ณ ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ตรงกับวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ เวลา ๐๒

.๒๓ น. สิริชน

พระธรรมฑูตยุคแรกในประเทศไทย1พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตพระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนา

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013