ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

21 ตุลาคม 2553

รวมบทสวดมนต์–watphut.blogspot.com

                                                  โอวาทปาฏิโมกขคาถา
                     (หันทะ มะยัง โอวาทะปาฏิโมกขะคาถาโย ภะณามะ เส)

สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง,.....การไม่ทำบาปทั้งปวง,
กุสะลัสสูปะสัมปะทา,...............การทำกุศลให้ถึงพร้อม,
สะจิตตะปะริโยทะปะนัง,..........การชำระจิตของตนให้ขาวรอบ,
เอตัง พุทธานะสาสะนัง,
ธรรมเหล่านี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,
ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขา,
ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง,
นิพพานัง ปะระมัง วะทันติ พุทธา,
ผู้รู้ทั้งหลาย กล่าวพระนิพพานว่าเป็นธรรมอันยิ่ง,
นะ หิ ปัพพะชิโต ปะรูปะฆาตี,
ผู้กำจัดสัตว์อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิตเลย,
สะมะโณ โหติ ปะรัง วิเหฐะยันโต,
ผู้ทำสัตว์อื่นให้ลำบากอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะเลย,
อะนูปะวาโท อะนูปะฆาโต,........การไม่พูดร้าย การไม่ทำร้าย,
ปาฏิโมกเข จะ สังวะโร,............การสำรวมในปาฏิโมกข์,
มัตตัญญุตา จะ ภัตตัส๎มิง,.........ความเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภค,
ปันตัญจะ สะยะนาสะนัง,...........การนอนการนั่งในที่อันสงัด,
อะธิจิตเต จะ อาโยโค,..............ความหมั่นประกอบในการทำจิตให้ยิ่ง,
เอตัง พุทธานะสาสะนัง,           ธรรมเหล่านี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
                        

                                     อัปปมาทธัมมคาถา
             (หันทะ มะยัง อัปปะมาทะธัมมะคาถาโย ภะณามะ เส)


          อัปปะมาโท อะมะตัง ปะทัง......
ปะมาโท มัจจุโน ปะทัง,
          อัปปะมัตตา นะ มิยยันติ
...........เย ปะมัตตา ยะถา มะตา,
ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย, ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย,
ชนทั้งหลาย ผู้ไม่ประมาทแล้วชื่อว่าย่อมไม่ตาย,ผู้ซึ่งประมาทแล้วก็เหมือนคนตายแล้ว,
          เอตัง วิเสสะโต ญัต๎วา..............
อัปปะมาทัมหิ ปัณฑิตา,
          อัปปะมาเท ปะโมทันติ
.............อะริยานัง โคจะเร ระตา,
บัณฑิตทั้งหลาย ทราบความข้อนั้นโดยต่างกันแล้ว,ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท,ยินดีแล้วในธรรมอันเป็นโคจรของพระอริยเจ้าทั้งหลาย,
          เต ฌายิโน สาตติกา...............
นิจจัง ทัฬหะปะรักกะมา,
          ผุสันติ ธีรา นิพพานัง
.............โยคักเขมัง อะนุตตะรัง,
บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์เหล่านั้น เพ่งพิจารณาธรรม,มีความเพียรติดต่อกัน มีความบากบั่นมั่นเป็นนิจ, ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันเกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้.

                                          ปฐมพุทธภาสิตคาถา
                   (หันทะ มะยัง ปะฐะมะพุทธะภาสิตะคาถาโย ภะณามะ เส)


อะเนกะชาติสังสารัง...............สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง,
เมื่อเรายังไม่พบญาณ ได้แล่นท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นเอนกชาติ,
คะหะการัง คะเวสันโต............ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง,
แสวงหาอยู่ซึ่งนายช่างปลูกเรือน, คือตัณหาผู้สร้างภพ,
การเกิดทุกคราวเป็นทุกข์ร่ำไป,
คะหะการะกะ ทิฏโฐสิ.............ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ,
นี่แน่ะ ! นายช่างปลูกเรือน, เรารู้จักเจ้าเสียแล้ว,
เจ้าจะทำเรือนให้เราไม่ได้อีกต่อไป,
สัพพา เต ผาสุกา ภัคคา..........คะหะกูฏัง วิสังขะตัง,
โครงเรือนทั้งหมดของเจ้าเราหักเสียแล้ว, ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว,
วิสังขาระคะตัง จิตตัง..............ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา,
จิตของเราถึงแล้วซึ่งสภาพที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป,
มันได้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นไปแห่งตัณหา (คือถึงนิพพาน).
ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ
(หันทะ มะยัง ปัจฉิมะพุทโธวาทะปาฐัง ภะณามะ เส)
หันทะทานิ ภิกขะเว อามันตะยามิ โว,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, บัดนี้ เราขอเตือนท่านทั้งหลายว่า,
วะยะธัมมา สังขารา,
สังขารทั้งหลาย มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา,
อัปปะมาเทนะ สัมปาเทถะ,
ท่านทั้งหลาย, จงยังประโยชน์ตน ประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด,
อะยัง ตะถาคะตัสสะ ปัจฉิมา วาจา, นี้เป็นพระวาจาตรัสในครั้งสุดท้าย ของพระตถาคตเจ้า.
                                          ธัมมปริยายคาถา
                 (หันทะ มะยัง ธัมมะปะริยายะคาถาโย ภะณามะ เส)

สัพเพ สัตตา มะริสสันติ มะระณันตัง หิ ชีวิตัง,
สัตว์ทั้งหลายทั้งสิ้นจักต้องตาย, เพราะชีวิตนี้มีความตายเป็นที่สุดรอบ,
ชะรังปิ ปัต๎วา มะระณัง เอวัง ธัมมา หิ ปาณิโน,
แม้จะอยู่ได้ถึงชราก็ต้องตาย, เพราะสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเป็นอย่างนี้ตามธรรมดา,
ยะมะกัง นามะรูปัญจะ อุโภ อัญโญญะนิสสิตา,
ก็นามและรูปคือกายกับใจ, ย่อมอาศัยกันอยู่เป็นของคู่กัน,
เอกัส๎มิง ภิชชะมานัส๎มิง อุโภ ภิชชันติ ปัจจะยาติ,
เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแตกสลาย, ทั้ง ๒ ฝ่ายก็สลายไปด้วยกัน,
ยะถาปิ อัญญะตะรัง พีชัง เขตเต วุตตัง วิรูหะติ,
เปรียบเหมือนพืชอย่างใดอย่างหนึ่ง,
ที่หว่านลงแล้วในพื้นแผ่นดิน ย่อมงอกขึ้นได้,
ปะฐะวีระสัญจะ อาคัมมะ สิเนหัญจะ ตะทูภะยัง,
เพราะอาศัยรสแห่งแผ่นดิน, และเชื้อในยางแห่งพืชนั้นๆ,
เอวัง ขันธา จะ ธาตุโย ฉะ จะ อายะตะนา อิเม,
ขันธ์ทั้ง ๕ และธาตุทั้งหลาย, พร้อมทั้งอาตยนะทั้ง ๖ นี้ก็เหมือนกัน,
เหตุง ปะฏิจจะ สัมภูตา เหตุภังคา นิรุชฌะเร,
อาศัยเหตุจึงเกิดขึ้นได้, เมื่อเหตุนั้นแตกสลายก็ย่อมดับไป,
ยะถา หิ อังคะสัมภารา โหติ สัทโท ระโถ อิติ,
เปรียบเหมือนการประกอบชิ้นส่วนของรถเข้าด้วยกัน, คำเรียกว่ารถก็มีขึ้นได้,
เอวัง ขันเธสุ สันเตสุ โหติ สัตโตติ สัมมะติ,
เมื่อขันธ์ทั้ง ๕ ยังมีอยู่ก็เหมือนกัน, คำสมมุติว่าคนและสัตว์ก็มีขึ้นได้,
อุโภ ปุญญัญจะ ปาปัญจะ ยัง มัจโจ กุรุเต อิธะ,
ผู้ทำบุญและบาปใดๆ ในโลกนี้, เมื่อผู้นั้นตายไป
ตัญหิ ตัสสะ สะกัง โหติ ตัญจะ อาทายะ คัจฉะติ,
บุญและบาปนั้นแล ย่อมเป็นของๆ เขาผู้นั้นโดยแท้,
เขาย่อมได้รับบุญและบาปนั้นแน่นอน,
ตัญจัสสะ อะนุคัง โหติ ฉายาวะ อะนุปายินี,
บุญและบาปนั้น ย่อมติดตามเขาไป, เหมือนเงาตามตัวเขาไป ฉันนั้น,
สัทธายะ สีเลนะ จะ โย ปะวัฑฒะติ,
ผู้ใดเจริญด้วยศีลและมีศรัทธา,
ปัญญายะ จาเคนะ สุเตนะ จูภะยัง,
เป็นผู้ฟัง ผู้เสียสละ ผู้มีปัญญา,
โส ตาทิโส สัปปุริโส วิจักขะโน,
บุคคลผู้เป็นสัตบุรุษ เป็นผู้เฉียบแหลมเช่นนั้น,
อาทียะติ สาระมิเธวะ อัตตะโน,
ย่อมเป็นผู้ถือเอาประโยชน์แห่งตน ในโลกนี้ไว้ได้โดยแท้,
อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว,
ความพากเพียรในสิ่งดีงาม เป็นกิจที่ต้องทำในวันนี้, ใครจะรู้ความตายแม้พรุ่งนี้,
นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา,
เพราะการผัดเพี้ยนต่อมัจจุราชซึ่งมีเสนามาก, ย่อมไม่มีสำหรับเรา,
เอวัมภูเตสุ เปยเตสุ สาธุ ตัตถาชฌุเปกขะนา,
เมื่อสังขารเหล่านั้นต้องเป็นอย่างนี้แน่นอน,
การวางเฉยในสังขารเสียได้ ย่อมเป็นการดี,
อะปิ เตสัง นิโรธายะ ปะฏิปัตตะยาติ สาธุกา,
อนึ่ง การปฏิบัติเพื่อดับสังขารเสียได้ ยิ่งเป็นการดี,
สัพพัง สัมปาทะนียัญหิ อัปปะมาเทนะ สัพพะทาติ,
กิจทั้งสิ้นนี้จะพึงบำเพ็ญให้บริบูรณ์ได้,
ด้วยความไม่ประมาททุกเมื่อเท่านั้นแล ดังนี้.

                                    บทพิจารณาสังขาร
              (หันทะ มะยัง สังขาราปัจจะเวกขะณะปาฐัง ภะณามะ เส)

สัพเพ สังขารา อะนิจจา,
สังขารคือร่างกายจิตใจ แลรูปธรรม นามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น
มันไม่เที่ยง เกิดแล้วดับไป มีแล้วหายไป,
สัพเพ สังขารา ทุกขา,
สังขารคือร่างกายจิตใจ แลรูปธรรม นามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น
มันเป็นทุกข์ทนยาก เพราะเกิดขึ้นแล้ว แก่ เจ็บ ตายไป,
สัพเพ ธัมมา อะนัตตา,
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทั้งที่เป็นสังขารแลมิใช่สังขารทั้งหมดทั้งสิ้น
ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ควรถือว่าเราว่าของเรา ว่าตัวว่าตนของเรา,
อะธุวัง ชีวิตัง,............................ชีวิตเป็นของไม่ยั่งยืน,
ธุวัง มะระณัง,............................ความตายเป็นของยั่งยืน,
อะวัสสัง มะยา มะริตัพพัง,...........อันเราจะพึงตายเป็นแน่แท้,
มะระณะปะริโยสานัง เม ชีวิตัง,....ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุดรอบ,
ชีวิตัง เม อะนิยะตัง,...................ชีวิตของเราเป็นของไม่เที่ยง,
มะระณัง เม นิยะตัง,...................ความตายของเราเป็นของเที่ยง,
วะตะ,.......ควรที่จะสังเวช,.........   อะยัง กาโย,..............ร่างกายนี้,
อะจิรัง,......มิได้ตั้งอยู่นาน,........    อะเปตะวิญญาโณ,.....ครั้นปราศจากวิญญาณ,
ฉุฑโฑ,......อันเขาทิ้งเสียแล้ว,....    อะธิเสสสะติ,..............จักนอนทับ,
ปะฐะวิง,....ซึ่งแผ่นดิน,.............    กะลิงคะรัง อิวะ,.........ประดุจดังว่าท่อนไม้และท่อนฟืน,
นิรัตถัง,............................... ....หาประโยชน์มิได้,
อะนิจจา วะตะ สังขารา,....... ......สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ,
อุปปาทะวะยะธัมมิโน,................มีความเกิดขึ้นแล้ว มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา,
อุปปัชชิต๎วา นิรุชฌันติ,..............ครั้นเกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป,
เตสัง วูปะสะโม สุโข,                  ความเข้าไปสงบระงับสังขารทั้งหลายเป็นสุขอย่างยิ่ง ดังนี้.

                                    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
(หันทะ มะยัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตะปาฐัง ภะณามะ เส)
เท๎วเม * ภิกขะเว อันตา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดแห่งการกระทำ ๒ อย่างเหล่านี้ มีอยู่,
ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา,.....เป็นสิ่งที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะเลย,
โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค,
นี้คือการประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย,
ฮีโน,......................................เป็นของต่ำทราม,
คัมโม,....................................เป็นของชาวบ้าน,
โปถุชชะนิโก,..........................เป็นของชนชั้นปุถุชน,
อะนะริโย,................................ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า,
อะนัตถะสัญหิโต,......................ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย นี้อย่างหนึ่ง,
โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค,
อีกอย่างหนึ่งคือ การประกอบการทรมานตนให้ลำบาก,
ทุกโข,......................................เป็นสิ่งนำมาซึ่งทุกข์,
อะนะริโย,..................................ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า,
อะนัตถะสัญหิโต,........................ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย,
เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง
ไม่เข้าไปหาที่สุดแห่งการกระทำ ๒ อย่างนั้น มีอยู่,
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา,
เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว,
จักขุกะระณี,..............................เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ,
ญาณะกะระณี,...........................เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ,
อุปะสะมายะ,..............................เพื่อความสงบ,
อะภิญญายะ,..............................เพื่อความรู้ยิ่ง,
สัมโพธายะ,................................เพื่อความรู้พร้อม,
นิพพานายะ สังวัตตะติ,................เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน,
กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา,ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น เป็นอย่างไรเล่า?
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลางนั้น คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นี้เอง,

เสยยะถีทัง,....ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ,
สัมมาทิฏฐิ,.....ความเห็นชอบ,....... สัมมาสังกัปโป,.....ความดำริชอบ,
สัมมาวาจา,.....การพูดจาชอบ,...... สัมมากัมมันโต,.....การทำการงานชอบ,
สัมมาอาชีโว,...การเลี้ยงชีวิตชอบ,.. สัมมาวายาโม,......ความพากเพียรชอบ,
สัมมาสะติ,.......ความระลึกชอบ,..... สัมมาสะมาธิ,.......ความตั้งใจมั่นชอบ,
อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง,
ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา,         เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว,
จักขุกะระณี,............................ ..เป็นเครื่องกระทำให้เกิดจักษุ,
ญาณะกะระณี,........................ ...เป็นเครื่องกระทำให้เกิดญาณ,
อุปะสะมายะ,.......................... ....เพื่อความสงบ,
อะภิญญายะ,.......................... ....เพื่อความรู้ยิ่ง,
สัมโพธายะ,................................เพื่อความรู้พร้อม,
นิพพานายะ สังวัตตะติ,............ ....เป็นไปพร้อมเพื่อนิพพาน,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจจ์คือทุกข์นี้ มีอยู่,
ชาติปิ ทุกขา,...............................คือความเกิดก็เป็นทุกข์,
ชะราปิ ทุกขา,..............................แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์,
มะระณัมปิ ทุกขัง,..................... ...แม้ความตายก็เป็นทุกข์,
โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา,
แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์,
อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข,        ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,
ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข,             ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์,
ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง, มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์,
สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา,  ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์นี้ มีอยู่,
ยายัง ตัณ๎หา,...........................นี้คือ ตัณหา,
โปโนพภะวิกา,..........................อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก,
นันทิราคะสะหะคะตา,
อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิน,
ตัต๎ระ ตัต๎ราภินันทินี,
อันเป็นเครื่องทำให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ,
เสยยะถีทัง,............................ได้แก่ตัณหาเหล่านี้ คือ,
กามะตัณ๎หา,...........................ตัณหาในกาม,
ภะวะตัณ๎หา,...........................ตัณหาในความมีความเป็น,
วิภะวะตัณ๎หา,..........................ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจจ์คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่,
โย ตัสสาเยวะ ตัณ๎หายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ,
นี้คือความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้น นั่นเอง,
จาโค,....................................เป็นความสลัดทิ้ง,
ปะฏินิสสัคโค,.........................เป็นความสลัดคืน,
มุตติ,.....................................เป็นความปล่อย,
อะนาละโย,.............................เป็นความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น,
อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจจ์คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นี้ มีอยู่,
อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค,นี้คือข้อปฏิบัติเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ,

เสยยะถีทัง,....ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ,
สัมมาทิฏฐิ,.....ความเห็นชอบ,....... สัมมาสังกัปโป,... ..ความดำริชอบ,
สัมมาวาจา,.....การพูดจาชอบ,...... สัมมากัมมันโต,.....การทำการงานชอบ,
สัมมาอาชีโว,...การเลี้ยงชีวิตชอบ,.. สัมมาวายาโม,......ความพากเพียรชอบ,
สัมมาสะติ,.......ความระลึกชอบ,..... สัมมาสะมาธิ,.......ความตั้งใจมั่นชอบ,
อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง
อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจจ์คือทุกข์เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ดังนี้,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ,
ว่า ก็อริยสัจจ์คือทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ดังนี้,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ,
ว่า ก็อริยสัจจ์คือทุกข์นั้นแล เรากำหนดรู้ได้แล้ว ดังนี้,
อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ
ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,
อาโลโก อุทะปาทิ,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์
เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ดังนี้,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ,
ว่า ก็อริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรละเสีย ดังนี้,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะฮีนันติ,
ว่า ก็อริยสัจจ์คือเหตุให้เกิดทุกข์นั้นแล เราละได้แล้ว ดังนี้,
อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ,
จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ, วิชชา อุทะปาทิ,
อาโลโก อุทะปาทิ,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจจ์คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์
เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ดังนี้,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ,
ว่า ก็อริยสัจจ์คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง ดังนี้,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ,
ว่า ก็อริยสัจจ์คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล เราทำให้แจ้งได้แล้ว ดังนี้,
อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว, ปุพเพ
อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ, จักขุง อุทะปาทิ, ญาณัง อุทะปาทิ, ปัญญา อุทะปาทิ,
วิชชา อุทะปาทิ, อาโลโก อุทะปาทิ,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, ญาณเกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, วิชชาเกิดขึ้นแล้วแก่เรา, แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยฟังมาแต่ก่อน, ว่าอริยสัจจ์คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์
ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เป็นอย่างนี้ อย่างนี้ ดังนี้,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ,
ว่า ก็อริยสัจจ์คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล
เป็นสิ่งที่ควรทำให้เกิดมี ดังนี้,
ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินีปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ,
ว่า ก็อริยสัจจ์คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้นแล
เราทำให้เกิดมีได้แล้ว ดังนี้,
ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว, อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ, เอวันติปะริวัฏฏัง
ท๎วาทะสาการัง, ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง,
มีปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒ เช่นนั้น, ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ เหล่านี้ **
ยังไม่เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เราอยู่เพียงใด,
เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก,
สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ, สะเทวะมะนุสสายะ, อะนุตตะรัง
สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตลอดกาลเพียงนั้น, เรายังไม่ปฏิญญาว่า ได้ตรัสรู้พร้อม
เฉพาะแล้ว, ซึ่งอนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณ, ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก
พรหมโลก, ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์
ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว, อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ, เอวันติปะริวัฏฏัง
ท๎วาทะสาการัง, ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ,

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดปัญญาเครื่องรู้เห็นตามที่เป็นจริง,
มีปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒ เช่นนั้น, ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ เหล่านี้
เป็นของบริสุทธิ์หมดจดด้วยดีแก่เรา,
อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก,
สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ, สะเทวะมะนุสสายะ, อนุตตะรัง
สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง,

เมื่อนั้นเราจึงปฏิญญาว่า ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว, ซึ่งอนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณ,
ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก,
ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์,
ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ,
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณและทัสสนะได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา,
อะกุปปา เม วิมุตติ,..........................ว่าความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ,
อะยะมันติมา ชาติ,...........................ความเกิดนี้เป็นความเกิดครั้งสุดท้าย,
นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ,......................บัดนี้ ความเกิดอีกย่อมไม่มี ดังนี้.
(หมายเหตุ) * เท๎วเม อ่านว่า ทะ-เว-เม
คำอธิบายเพิ่มเติม
** ปริวัฏฏ์ ๓ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจจ์ทั้ง ๔ อธิบายดังนี้
ญาตปริญญา ปัญญาหยั่งรู้อริยสัจจ์ ๔
(๑) ทุกข์ ความทุกข์มีจริง
(๒) สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์มีจริง
(๓) นิโรธ ความดับทุกข์มีจริง
(๔) มรรค ทางให้ถึงความดับทุกข์มีจริง
ตีรณปริญญา
(๑) ทุกข์เป็นกิจที่ควรกำหนดรู้
(๒) สมุทัยเป็นกิจที่ควรละ
(๓) นิโรธเป็นกิจที่ควรทำให้แจ้ง
(๔) มรรคเป็นกิจที่ควรเจริญให้มาก
ปหานปริญญา
(๑) ทุกข์กำหนดรู้แล้ว
(๒) สมุทัยละได้แล้ว
(๓) นิโรธทำให้แจ้งแล้ว
(๔) มรรคเจริญแล้ว กิจที่ต้องทำไม่มีอีก

รวมบทสวดมนต์ – watphut.blogspot.com

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013