ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

21 ตุลาคม 2553

รวมบทสวดมนต์–watphut.blogspot.com

20081218102154_5234                     

พุทธภาษิตพิเศษ
....... (หันทะ มะยัง พะหุการานิ พุทธาทิภาสิตานิ ภะณามะ เส)
นิธีนังวะ ปะวัตตารัง ยัง ปัสเส วัชชะทัสสะนัง, นิคคัยหะวาทิง เมธาวิง
ตาทิสัง ปัณฑิตัง ภะเช, ตาทิสัง ภะชะมานัสสะ เสยโย โหติ นะ ปาปิโย,

คนเราควรมองผู้มีปัญญาใดๆ ที่คอยชี้โทษ, และกล่าวคำขนาบอยู่เสมอไป
ว่าผู้นั้นแหละคือผู้ชี้ขุมทรัพย์ล่ะ, ควรคบหากับบัณฑิตที่เป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อ
คบหากับบัณฑิตเช่นนั้นอยู่, ย่อมมีแต่คุณอันประเสริฐส่วนเดียว ไม่มีเสื่อมเลย,
......................................................(ธรรมบท ๒๕/๒๑)
นะ เต อะหัง อานันทะ ตะถา ปะรักกะมิสสามิ, ยะถา กุมภะกาโร อามะเก
อามะกะมัตเต,

อานนท์ ! เราจะไม่พยายามทำกะพวกเธออย่างทะนุถนอม,
เหมือนพวกช่างหม้อทำแก่หม้อที่ยังเปียกยังดิบอยู่,
นิคคัยหะ นิคคัยหาหัง อานันทะ วักขามิ, ปะวัยหะ ปะวัยหาหัง อานันทะ
วักขามิ, โย สาโร โส ฐัสสะติ,

อานนท์ ! เราจะขนาบแล้วขนาบอีกไม่มีหยุด,
อานนท์ ! เราจะชี้โทษแล้วชี้โทษอีกไม่มีหยุด,
ผู้ใดมีมรรคผลเป็นแก่นสาร ผู้นั้นจะทนอยู่ได้,
......................................................(มหาสุญญตสูตร ๑๔/๒๑๒)
ยัง ภิกขะเว สัตถารา กะระณียัง สาวะกานัง, หิเตสินา อะนุกัมปะเกนะ
อะนุกัมปัง อุปาทายะ กะตัง โว ตัง มะยา,

ภิกษุทั้งหลาย ! กิจอันใดที่ศาสดาผู้เอ็นดู, แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล
จะพึงทำแก่สาวกทั้งหลาย, กิจอันนั้นเราได้ทำแล้วแก่เธอทั้งหลาย,
เอตานิ ภิกขะเว รุกขะมูลานิ เอตานิ สุญญาคารานิ,
ภิกษุทั้งหลาย ! นั่นโคนไม้ทั้งหลาย นั่นเรือนว่างทั้งหลาย,
ฌายะถะ ภิกขะเว มา ปะมาทัตถะ,
ภิกษุทั้งหลาย ! เธอทั้งหลายจงเพียรเผากิเลส อย่าได้ประมาท,
มา ปัจฉา วิปปะฏิสาริโน อะหุวัตถุ,
เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจในภายหลังเลย,
อะยัง โว อัมหากัง อะนุสาสะนี,
นี้แลเป็นวาจาเครื่องพร่ำสอนเธอทั้งหลายของเรา,
......................................................(สัลเลขสูตร ๑๒/๗๒)
นะยิทัง ภิกขะเว พ๎รัห๎มะจะริยัง วุสสะติ, ชะนะกุหะนัตถัง นะ
ชะนะละปะนัตถัง, นะ ลาภะสักการะสิโลกานิสังสัตถัง, นะ
อิติวาทัปปะโมกขานิสังสัตถัง, นะ อิติ มัง ชะโน ชานาตูติ,

ภิกษุทั้งหลาย ! เราประพฤติพรหมจรรย์นี้,
มิใช่เพื่อหลอกลวงคนเพื่อให้คนบ่่นถึง, เพื่อผลคือลาภสักการะและชื่อเสียง,
เพื่อเป็นเจ้าลัทธิ หรือเพื่อให้คนทั้งหลายรู้จักเราก็หามิได้,
อะถะ โข อิทัง ภิกขะเว พ๎รัห๎มะจะริยัง วุสสะติ, สังวะรัตถัง ปะหานัตถัง
วิราคัตถัง นิโรธัตถัง,

ภิกษุทั้งหลาย ! แต่ที่แท้แล้วเราประพฤติพรหมจรรย์นี้,
เพื่อความสำรวมระวัง เพื่อละกิเลส, เพื่อคลายกิเลสและเพื่อดับกิเลสเท่านั้น,
......................................................(พรหมจริยสูตร ๒๑/๒๙)
โย โข อานันทะ ภิกขุ วา ภิกขุนี วา อุปาสะโก วา อุปาสิกา วา,
อานนท์ ! ผู้ใดจะเป็นภิกษุก็ตาม เป็นภิกษุณีก็ตาม
เป็นอุบาสกหรือเป็นอุบาสิกาก็ตามที,
ธัมมานุธัมมะปะฏิปันโน วิหะระติ สามีจิปะฏิปันโน อะนุธัมมะจารี,
ถ้าเป็นผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติตามธรรมอยู่,
โส ตะถาคะตัง สักกะโรติ คะรุกะโรติ มาเนติ ปูเชติ ปะระมายะ ปูชายะ,
ผู้นั้นแลชื่อว่าได้สักการะ ได้ให้ความเคารพนับถือ
และบูชาเราตถาคต ด้วยการบูชาอย่างสูงสุด,
อิติ,.........ด้วยประการฉะนี้แล.
......................................................
(มหาปรินิพพานสูตร ๑๐/๑๓๓)
บทสวดแปลสรรเสริญพระพุทธคุณ
(หันทะ มะยัง พุทธัสสะ ภะคะวะโต โถมะนาการะปาฐัง ภะณามะ เส)
เตนะหิ ภันเต สุโณหิ, .....ดูก่อนท่านผู้เจริญ, ขอท่านจงฟังซึ่งคำของข้าพเจ้า,
ยัสสาหัง สาวะโก, .........ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด,
ธีรัสสะ, ........................พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
...................................เป็นนักปราชญ์ ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญา,
วิคะตะโมหัสสะ, ............เป็นผู้ปราศจากแล้ว ซึ่งโมหะ,
ปะภินนะขีลัสสะ, ...........เป็นผู้มีเสาเขื่อนเครื่องตรึงจิต อันหักแล้ว,
วิชิตะวิชะยัสสะ, ...........เป็นผู้มีชัยชนะ อันวิชิตแล้ว,
อะนีฆัสสะ, ...................เป็นผู้ปราศจากแล้ว จากสิ่งคับแค้นสะเทือนใจ,
สุสะมะจิตตัสสะ, ...........เป็นผู้มีจิตสม่ำเสมอด้วยดี,
พุทธะสีลัสสะ, ..............เป็นผู้มีปรกติภาวะ แห่งบุคคลผู้เป็นพุทธะ,
สาธุปัญญัสสะ, .............เป็นผู้มีปัญญา เครื่องยังประโยชน์ให้สำเร็จ,
เวสะมะตารัสสะ, ...........เป็นผู้ข้ามไปได้แล้ว ซึ่งวัฏฏสงสารอันขรุขระ,
วิมะลัสสะ, ...................เป็นผู้ปราศจากแล้ว จากมลทินทั้งปวง,
ภะคะวะโต ตัสสะ สาวะโกหะมัส๎มิ,
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
อะกะถังกะถิสสะ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ไม่มีการถามใครในธรรมทั้งปวง,
ตุสิตัสสะ, .....................เป็นผู้อิ่มแล้วด้วยธรรม,
วันตะโลกามิสัสสะ, ........เป็นผู้มีเหยื่อในโลก อันคายทิ้งเสียแล้ว,
มุทิตัสสะ, .....................เป็นผู้มีความยินดี ในสัตว์ทั้งปวง,
กะตะสะมะณัสสะ, ..........เป็นผู้มีสมณธรรม อันกระทำสำเร็จแล้ว,
มะนุชัสสะ, ....................เป็นผู้ถือกำเนิด แต่กำเนิดแห่งมนู,
อันติมะสะรีรัสสะ, ............เป็นผู้มีสรีระ อันมีในครั้งสุดท้าย,
นะรัสสะ, .......................เป็นผู้นำไปด้วยปัญญา,
อะโนปะมัสสะ, ...............เป็นผู้ที่ใครๆ กระทำอุปมามิได้,
วิระชัสสะ, .....................เป็นผู้ปราศจากกิเลส ที่เปรียบด้วยละออง,
ภะคะวะโต ตัสสะ สาวะโกหะมัส๎มิ,
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
------------------------------------------------------------
(หมายเหตุ) ถ้าไม่ต้องการจะสวดทั้งหมด จะสวดตามที่ต้องการสวด
ก่อนจะจบพึงลงท้ายว่า
ตะมะหัง ภะคะวันตัง อะภิปูชะยามิ,
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
ตะมะหัง ภะคะวันตัง สิระสา นะมามิ,
ข้าพเจ้านอบน้อม พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า,
(ต่อคำว่า) ภะคะวะโต ตัสสะ สาวะโกหะมัส๎มิ,
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
------------------------------------------------------------
อะสังสะยัสสะ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้หมดสิ้นแล้วจากความสงสัยทั้งปวง,
กุสะลัสสะ, ...................เป็นผู้มีปัญญา เครื่องตัดกิเลสดุจหญ้าคา เสียได้,
เวนะยิกัสสะ, ................เป็นผู้นำสัตว์ สู่สภาพอันวิเศษ,
สาระถิวะรัสสะ, .............เป็นสารถีอันประเสริฐกว่าสารถีทั้งหลาย,
อะนุตตะรัสสะ, ..............เป็นผู้ไม่มีใครยิ่งกว่า ด้วยคุณธรรมทั้งปวง,
รุจิระธัมมัสสะ, ..............เป็นผู้มีธรรมเป็นที่ตั้ง แห่งความชอบใจของสัตว์ทั้งปวง,
นิกกังขัสสะ, .................เป็นผู้มีกังขาเครื่องข้องใจ อันทรงนำออกแล้วหมดสิ้น,
ปะภาสะกะรัสสะ, ...........เป็นผู้กระทำ ซึ่งความสว่างแก่ปวงสัตว์,
มานะฉินทัสสะ, .............เป็นผู้ตัดแล้วซึ่งมานะ เครื่องทำความสำคัญมั่นหมาย,
วีรัสสะ, ........................เป็นผู้มีวีรธรรม เครื่องกระทำความแกล้วกล้า,
ภะคะวะโต ตัสสะ สาวะโกหะมัส๎มิ,
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีภาคเจ้าพระองค์นั้น,
นิสะภัสสะ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้เป็นยอดมนุษย์แห่งมนุษย์ทั้งหลาย,
อัปปะเมยยัสสะ, ............เป็นผู้มีคุณอันใครๆ กำหนดประมาณให้มิได้,
คัมภีรัสสะ, ...................เป็นผู้มีธรรมสภาวะอันลึกซึ้ง ไม่มีใครหยั่งได้,
โมนัปปัตตัสสะ, .............เป็นผู้ถึงซึ่งปัญญา เครื่องทำความเป็นแห่งมุนี,
เขมังกะรัสสะ, ...............เป็นผู้ทำความเกษมแก่สรรพสัตว์,
เวทัสสะ, ......................เป็นผู้มีเวท คือญาณเครื่องเจาะแทงซึ่งโมหะ,
ธัมมัฏฐัสสะ, .................เป็นผู้ประดิษฐานอยู่ในธรรม,
สุสังวุตัตตัสสะ, .............เป็นผู้มีพระองค์ อันทรงจัดสรรดีแล้ว,
สังคาติคัสสะ, ...............เป็นผู้ล่วงกิเลส อันเป็นเครื่องข้องเสียได้,
มุตตัสสะ, .....................เป็นผู้หลุดรอดแล้ว จากบ่วงทั้งปวง,
ภะคะวะโต ตัสสะ สาวะโกหะมัส๎มิ,
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
นาคัสสะ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้เป็นดั่งพญาช้างตัวประเสริฐ,
ปันตะเสนัสสะ, ..............เป็นผู้มีการนอนอันสงัด จากการรบกวนแห่งกิเลส,
ขีณะสัญโญชะนัสสะ, .....เป็นผู้มีกิเลสเครื่องประกอบไว้ในภพ สิ้นสุดแล้ว,
วิมุตตัสสะ, ....................เป็นผู้พ้นวิเศษแล้ว จากทุกข์ทั้งปวง,
ปะฏิมันตะกัสสะ, ............เป็นผู้มีความคิดเหมาะเจาะเฉพาะเรื่อง,
โมนัสสะ, ......................เป็นผู้มีปัญญา เครื่องทำความเป็นแห่งมุนี,
ปันนะธะชัสสะ, ..............เป็นผู้มีมานะเป็นดุจธง อันพระองค์ทรงลดลงได้แล้ว,
วีตะราคัสสะ, .................เป็นผู้ปราศจากแล้ว จากราคะ,
ทันตัสสะ, .....................เป็นผู้มีการฝึกตน อันฝึกดีแล้ว,
นิปปะปัญจัสสะ, .............เป็นผู้หมดสิ้นแล้ว จากกิเลสเครื่องหน่วงเหนี่ยวให้เนิ่นช้า,
ภะคะวะโต ตัสสะ สาวะโกหะมัส๎มิ,
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
อิสิสัตตะมัสสะ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้แสวงหาพบคุณอันใหญ่หลวง องค์ที่ ๗,
อักหัสสะ, .....................เป็นผู้ปราศจากแล้ว จากความคดโกง,
เตวิชชัสสะ, ..................เป็นผู้ทรงไว้ ซึ่งวิชชาทั้ง ๓,
พ๎รัห๎มะสัตตัสสะ, ...........เป็นผู้เป็นพรหมแห่งปวงสัตว์,
นะหาตะกัสสะ, ..............เป็นผู้สำเร็จ จากการอาบล้างแล้ว,
ปะทะกัสสะ, ..................เป็นผู้มีหลักมีเกณฑ์ ในการกระทำทั้งปวง,
ปัสสัทธัสสะ, .................เป็นผู้มีกมลสันดาน อันระงับแล้ว,
วิทิตะเวทัสสะ, ..............เป็นผู้มีญาณเวท อันรู้แจ้งแล้ว,
ปุรินทะทัสสะ, ...............เป็นผู้ทำลายซึ่งธานีนครแห่งกิเลสทั้งหลาย,
สักกัสสะ, .....................เป็นผู้เป็นจอมแห่งสัตว์ทั้งปวง,
ภะคะวะโต ตัสสะ สาวะโกหะมัส๎มิ,
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
อะริยัสสะ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ไปพ้นแล้วจากข้าศึกคือกิเลส,
ภาวิตัตตัสสะ, ...............เป็นผู้มีตน อันอบรมถึงที่สุดแล้ว,
ปัตติปัตตัสสะ, ..............เป็นผู้มีธรรมที่ควรบรรลุ อันบรรลุแล้ว,
เวยยากะระณัสสะ, ........เป็นผู้กระทำซึ่งอรรถทั้งหลาย ให้แจ่มแจ้ง,
สะติมะโต, ....................เป็นผู้มีสติสมบูรณ์อยู่เอง ในทุกกรณี,
วิปัสสิสสะ, ....................เป็นผู้มีความรู้แจ้ง เห็นแจ้ง เป็นปรกติ,
อะนะภิณะตัสสะ, ...........เป็นผู้มีจิตไม่แฟบลง ด้วยอำนาจแห่งกิเลส,
โน อะปะณะตัสสะ, .........เป็นผู้มีจิตไม่ฟูขึ้น ด้วยอำนาจแห่งกิเลส,
อาเนชัสสะ, ...................เป็นผู้มีจิตไม่หวั่นไหว ด้วยอำนาจแห่งกิเลส,
วะสิปปัตตัสสะ, ..............เป็นผู้บรรลุถึง ซึ่งความมีอำนาจเหนือกิเลส,
ภะคะวะโต ตัสสะ สาวะโกหะมัส๎มิ,
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
สัมมัคคะตัสสะ, .............พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้ไปแล้วโดยชอบ,
ฌายิสสะ, .....................เป็นผู้มีการเพ่งพินิจ ทั้งในสมาธิและปัญญา,
อะนะนุคะตันตะรัสสะ, .....เป็นผู้มีสันดาน อันกิเลสตามถึงไม่ได้แล้ว,
สุทธัสสะ, .....................เป็นผู้หมดจดแล้ว จากสิ่งเศร้าหมองทั้งปวง,
อะสิตัสสะ, ....................เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ อาศัยไม่ได้แล้ว,
อัปปะภีตัสสะ,
เป็นผู้ไม่มีความหวาดกลัว จากการรบกวนแห่งกิเลสทั้งปวง,
อัคคัปปัตตัสสะ, ............เป็นผู้บรรลุแล้ว ซึ่งธรรมอันเลิศ,
ติณณัสสะ, ..................เป็นผู้ข้ามแล้ว ซึ่งโอฆะกันดาร,
ตาระยันตัสสะ, .............เป็นผู้ยังบุคคลอื่นให้ข้ามแล้ว ซึ่งโอฆะนั้น,
ภะคะวะโต ตัสสะ สาวะโกหะมัส๎มิ,
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
สันตัสสะ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้มีสันดานสงบระงับแล้ว,
ภูริปัญญัสสะ, ...............เป็นผู้มีปัญญา อันหนาแน่น,
มะหาปัญญัสสะ, ...........เป็นผู้มีปัญญา อันใหญ่หลวง,
วีตะโลภัสสะ, ................เป็นผู้ปราศจากแล้ว จากโลภะ,
ตะถาคะตัสสะ,
เป็นผู้มีการไปและการมา เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าทั้งหลาย,
สุคะตัสสะ, ...................เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี,
อัปปะฏิปุคคะลัสสะ, .......เป็นบุคคลผู้ไม่มีบุคคลใดเปรียบ,
อะสะมัสสะ, ..................เป็นบุคคลผู้ไม่มีบุคคลใดเสมอ,
วิสาระทัสสะ, .................เป็นบุคคลผู้มีญาณอันแกล้วกล้า,
นิปุณัสสะ, ....................เป็นผู้มีปัญญาละเอียดอ่อน,
ภะคะวะโต ตัสสะ สาวะโกหะมัส๎มิ,
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้พระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
ตัณหัจฉินทัสสะ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
เป็นผู้เจาะทะลุข่าย คือตัณหา เครื่องดักสัตว์,
พุทธัสสะ, ......................เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นปรกติ,
วีคะธูมัสสะ, ...................เป็นผู้มีกิเลสดุจควันไฟ ไปปราศจากแล้ว,
อะนูปะลิตตัสสะ, .............เป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิ ไม่ฉาบทาได้อีกต่อไป,
อาหุเนยยัสสะ, ................เป็นผู้มีอาหุเนยยบุคคล ควรแก่ของที่เขานำไปบูชา,
ยักขัสสะ, .......................เป็นผู้ที่โลกทั้งปวงต้องบูชา,
อุตตะมะปุคคะลัสสะ, .......เป็นบุคคลผู้สูงสุด แห่งบุคคลทั้งหลาย,
อะตุลัสสะ, .....................เป็นผู้มีคุณ อันไม่มีใครวัดได้,
มะหะโต, .......................เป็นผู้เป็นมหาบุรุษ,
ยะสัคคัปปัตตัสสะ, ..........เป็นผู้ถึงแล้ว ซึ่งความเลิศด้วยเกียรติคุณ,
ภะคะวะโต ตัสสะ สาวะโกหะมัส๎มิ,
ข้าพเจ้าเป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น,
อิติ, ..............................ด้วยประการฉะนี้แล.
........................................ (อุปาลีวาทสูตร ม.ม. ๑๓/๗๗/๘๒)
..ปราภวสูตร
.. (หันทะ มะยัง ปะราภะวะสุตตะปาฐัง ภะณามะ เส)
สุวิชาโน ภะวัง โหติ,....................ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ,
ทุวิชาโน ปะราภะโว,....................ผู้รู้ชั่วเป็นผู้เสื่อม,
ธัมมะกาโม ภะวัง โหติ,.................ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ,
ธัมมะเทสสี ปะราภะโว,..................ผู้เกลียดชังธรรมเป็นผู้เสื่อม,
๑. อะสันตัสสะ ปิยา โหนติ..............
นะ สันเต กุรุเต ปิยัง,
อะสะตัง ธัมมัง โรเจติ
.....................ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ผู้ใดทำความรักใคร่ในอสัตบุรุษ, ไม่ทำความรักใคร่ในสัตบุรุษ,
เขาชอบใจในธรรมของอสัตบุรุษ, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม,
๒. นิททาสีลี สะภาสีลี.....................
อะนุฏฐาตา จะ โย นะโร,
อะละโส โกธะปัญญาโน
..................ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ผู้ใดเป็นผู้ชอบนอนหลับ, ชอบพูดคุย, ไม่ขยัน เกียจคร้านการงาน,
และเป็นคนมักโกรธ, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม,
๓. โย มาตะรัง ปิตะรัง วา................
ชิณณะกัง คะตะโยพพะนัง,
ปะหุสันโต นะ ภะระติ
......................ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ผู้ใดมีความสามารถอยู่, ไม่เลี้ยงดูมารดาบิดา, ผู้ชราอันมีวัยหนุ่มผ่านไปแล้ว,
ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม,
๔. โย พ๎ราห๎มะณัง สะมะณัง วา.......
อัญญัง วาปิ วะณิพพะกัง,
มุสาวาเทนะ วัญเจติ
........................ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ผู้ใดหลอกลวงสมณพราหมณ์, หลอกแม้วณิพกคนขอทานอื่นใดด้วยมุสาวาท,
ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม,
๕. ปะหุตะวิตโต ปุริโส.....................
สะหิรัญโญ สะโภชะโน,
เอโก ภุญชะติ สาธูนิ
.......................ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ผู้ใดมีทรัพย์มีเงิน มีของเหลือกินเหลือใช้, เขาบริโภคของที่ดีๆ นั้นแต่ผู้เดียว,
ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม,
๖. ชาติถัทโธ ธะนะถัทโธ...............
โคตตะถัทโธ จะ โย นะโร,
สัญญาติมะติมัญเญติ
......................ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ผู้ใดหยิ่งเพราะชาติกำเนิด, หยิ่งเพราะทรัพย์, หยิ่งเพราะโคตร,
และดูหมิ่นซึ่งญาติของตน, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม,
๗. อิตถีธุตโต สุราธุตโต.................
อักขะธุตโต จะ โย นะโร,
ลัทธัง ลัทธัง วินาเสติ
.....................ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ผู้ใดเป็นนักเลงหญิง, นักเลงสุราและนักเลงเล่นการพนัน,
เขาได้ทำลายทรัพย์ที่หาได้มาให้พินาศฉิบหายไป, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม,
๘. เสหิ ทาเรหิ อะสันตุฏโฐ..............
เวสิยาสุ ปะทุสสะติ,
ทุสสะติ ปะระทาเรสุ
.......................ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ผู้ใดไม่พอใจรักใคร่ในภรรยาตน, กลับไปเที่ยวซุกซนกับหญิงแพศยา,
และลอบทำชู้กับภรรยาคนอื่น, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม,
๙. อะตีตะโยพพะโน โปโส.............
อาเนติ ติมพะรุตถะนิง,
ตัสสา อิสสา นะ สุปปะติ
.................ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ชายแก่ผู้วัยหนุ่มผ่านไปแล้ว, ได้นำหญิงสาวน้อย (มีถันเท่าลูกมะพลับ)
มาเป็นภรรยา, เขานอนไม่หลับเพราะความหึงหวง, และห่วงอาลัยในหญิงนั้น,
ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม,
๑๐. อิตถิง โสณฑิง วิกิริณิง...........
ปุริสัง วาปิ ตาทิสัง,
อิสสะริยัส๎มิง ฐะเปติ
......................ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ชายใดตั้งหญิงนักเลงใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายมาเป็นแม่เรือน, และหญิงใดตั้งชายนักเลง
ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายมาเป็นพ่อเรือน, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม,
๑๑. อัปปะโภโค มะหาตัณโห..........
ขัตติเย ชายะเต กุเล,
โส จะ รัชชัง ปัตถะยะติ
..................ตัง ปะราภะวะโต มุขัง,
ผู้ใดเกิดในตระกูลกษัตริย์, มีโภคะน้อย, แต่มีความอยากใหญ่,
ปรารถนาราชสมบัติ, ข้อนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม,
เอเต ปะราภะเว โลเก.....................
ปัณฑิโต สะมะเวกขิยะ,
อะริโย ทัสสะนะสัมปันโน
................สะ โลเก ภะชะเต สิวัง,
ผู้เป็นบัณฑิตสมบูรณ์ด้วยทัศนะอันประเสริฐ, ได้เห็นเหตุแห่งความเสื่อม
ทั้งหลายเหล่านั้นชัดแล้ว, ท่านย่อมเว้นสิ่งเหล่านี้เสีย, (เมื่อเป็นเช่นนี้)
ท่านจึงพบและเสพแต่โลก ซึ่งมีแต่ความเจริญ (ฝ่ายเดียว),
อิติ,..........ด้วยประการฉะนี้แล.
บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์
นะโม เม สัพพะพุทธานัง
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง
อุปปันนานัง มะเหสินัง
ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ซึ่งได้อุบัติแล้ว
ตัณหังกะโร มะหาวีโร
พระตัณหังกร ผู้กล้าหาญ
เมธังกะโร มะหายะโส
พระเมธังกร ผู้มียศใหญ่
สะระณังกะโร โลกะหิโต
พระสรณังกร ผู้เกื้อกูลแก่โลก
ทีปังกะโร ชุตินธะโร
พระทีปังกร ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง
โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข
พระโกณฑัญญะ ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
มังคะโล ปุริสาสะโภ
พระมังคละ ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
สุมะโน สุมะโน ธีโร
พระสุมนะ ผู้เป็นธีรบุรุษมีพระหทัยงาม
เรวะโต ระติวัฑฒะโน
พระเรวตะ ผู้เพิ่มพูนความยินดี
โสภิโต คุณะสัมปันโน
พระโสภิตะ ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ
อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
พระอโนมทัสสี ผู้อุดมอยู่ในหมู่ชน
ปะทุโม โลกะปัชโชโต
พระปทุมะ ผู้ทำโลกให้สว่าง
นาระโท วาระสาระถี
พระนารทะ ผู้เป็นสารถีประเสริฐ
ปะทุมุตตะโร สัตตะสาโร
พระปทุมุตระ ผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์
สุเมโธ อัปปะฏิปุคคะโล
พระสุเมธะ ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
สุชาโต สัพพะโลกัคโค
พระสุชาตะ ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
ปิยะทัสสี นะราสะโภ
พระปิยทัสสี ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน
อัตถะทัสสี การุณิโก
พระอัตถทัสสี ผู้มีพระกรุณา
ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
พระธรรมทัสสี ผู้บรรเทาความมืด
สิทธัตโถ อะสะโม โลเก
พระสิทธัตถะ ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
พระติสสะ ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ
พระปุสสะ ผู้ประทานธรรมะอันประเสริฐ
วิปัสสี จะ อะนูปะโม
พระวิปัสสี ผู้หาที่เปรียบมิได้
สิขี สัพพะหิโต สัตถา
พระสิขี ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
เวสสะภู สุขะทายะโก
พระเวสสะภู ผู้ประทานความสุข
กะกุสันโธ สัตถะวาโห
พระกกุสันธะ ผู้นำสัตว์ออกจากกันดารคือกิเลส
โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
พระโกนาคมนะ ผู้หักเสียซึ่งข้าศึกคือกิเลส
กัสสะโป สิริสัมปันโน
พระกัสสปะ ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
โคตะโม สักกะยะปุงคะโว
พระโคตมะ ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยะราช.
.....๑. ปลงสังขาร (โอ้ว่าอนิจจา)
โอ้ว่าอนิจจาสังขารเอ๋ย.........................มาลงเอยสิ้นสุดหยุดเคลื่อนไหว
เมื่อหมดหวังครั้งสุดท้ายไม่หายใจ..........ธาตุลมไฟน้ำดินก็สิ้นตาม
นอนตัวแข็งแลสลดเมื่อหมดชีพ..............เขาตราสังใส่หีบสี่คนหาม
สู่ป่าช้าสิ้นเชื้อเหลือแต่นาม...................ใครจะถามเรียกเราก็เปล่าดาย
นี่แหละหนอมนุษย์เราก็เท่านี้.................หมดลมแล้วก็ไม่มีซึ่งความหมาย
วิญญาณปราศขาดลับดับจากกาย.........หยุดวุ่นวายทุกทุกสิ่งนอนนิ่งเลย
เมื่อชีวิตเรานี้มีลมอยู่...........................จงเร่งรู้ศีลทานนะท่านเอ๋ย
ทั้งภาวนาทำใจหัดให้เคย.....................อย่าละเลยความดีทุกวี่วัน
เมื่อสิ้นลมจิตพรากจากโลกนี้.................จะได้พาความดีไปสวรรค์
อย่าทำบาปน้อยนิดให้ติดพัน.................เพราะบาปนั้นจะเป็นเงาตามเราไป
สู่นรกอเวจีที่มืดมิด...............................สุดที่ใครจะตามติดไปช่วยได้
ต้องทนทุกข์สยดสยองในกองไฟ...........ตามแต่กรรมของผู้ใดที่ได้ทำ
หมั่นสวดมนต์ภาวนารักษาศีล...............สอนลูกหลานให้เคยชินทุกเช้าค่ำ
ให้รู้จักเคารพนบพระธรรม....................อย่าลืมคำที่พระสอนวอนให้ดี
เราเกิดมาเพื่อตายมิใช่อยู่....................ทุกคนจะต้องสู่ความเป็นผี
เมื่อเกิดมาเป็นคนได้ทั้งที......................ก็ควรสร้างความดีติดตัวไป
เพื่อจักได้เป็นสุขไม่ทุกข์ยาก................ไม่คับแค้นลำบากเมื่อเกิดใหม่
ใครทำดีย่อมสุขแท้จงแน่ใจ..................ใครทำชั่วทุกข์ยากไร้ย่อมถึงตน
เร่งบำเพ็ญทานศีลและภาวนา................แสวงหาแต่สิ่งบุญกุศล
ทรัพย์ภายนอกเป็นของโลกโศกระคน.....ทรัพย์ภายในประดับตนพ้นทุกข์เอย.
.๒. ปลงสังขาร (มนุษย์เราเอ๋ย)
มนุษย์เราเอ๋ย...............เกิดมาทำไม.................นิพพานมีสุข
อยู่ไยมิไป...................ตัณหาหน่วงหนัก...........หน่วงชักหน่วงไว้
ผู้ไปมิได้.....................ตัณหาผูกพัน................ห่วงนั้นพันผูก
ห่วงลูกห่วงหลาน.........ห่วงทรัพย์สินศฤงคาร.....จงสละเสียเถิด
จะได้ไปนิพพาน...........ข้ามพ้นภพสาม..............ยามหนุ่มสาวน้อย
หน้าตาแช่มช้อย..........งามแล้วทุกประการ.........แก่เฒ่าหนังยาน
ล้วนแต่เครื่องเหม็น.......เอ็นใหญ่เก้าร้อย.............เอ็นน้อยเก้าพัน
มันมาทำเข็ญใจ...........ให้ร้อนให้เย็น.................เมื่อยขบทั้งตัว
ขนคิ้วก็ขาว.................นัยน์ตาก็มัว...................เส้นผมบนหัว
ดำแล้วกลับหงอก.........หน้าตาเว้าวอก...............ดูน่าบัดสี
จะลุกก็โอย..................จะนั่งก็โอย....................เหมือนดอกไม้โรย
ไม่มีเกสร ....................จะเข้าที่นอน..................พึงสอนภาวนา
พระอนิจจัง..................พระอนัตตา...................เราท่านเกิดมา
รังแต่จะตาย................ผู้ดีเข็ญใจ.....................ก็ตายเหมือนกัน
เงินทองเหล่านั้น...........มิติดตัวไป.....................ตายไปเป็นผี
ลูกเมียผัวรัก................เขาชักหน้าหนี................เขาเหม็นซากผี
เปื่อยเน่าพุพอง............หมู่ญาติพี่น้อง................เขาหามเอาไป
เขาวางลงไว้................เขานั่งร้องไห้.................แล้วกลับคืนมา
อยู่แต่ผู้เดียว................ป่าไม้ชายเขียว..............เหลียวไม่เห็นใคร
เห็นแต่ฝูงแร้ง...............เห็นแต่ฝูงกา.................เห็นแต่ฝูงหมา
ยื้อแย่งกัดกิน...............ดูน่าสมเพช...................กระดูกเราเอ๋ย
เรี่ยรายแผ่นดิน.............แร้งกาหมากิน...............เอาเป็นอาหาร
ตายแล้วก็พลัด.............พรากจากบริวาร............พรากจากลูกหลาน
พี่น้องเผ่าพันธุ์..............เห็นแต่นกเค้า................จับเจ่าเรียงกัน
เห็นแต่นกแสก..............ร้องแรกแหกขวัญ...........เมื่อตายเป็นผี
ต้องพรากจากกัน..........มนุษย์เราเอ๋ย.................อย่าหลงนักเลย
ไม่มีแก่นสาร.................อุตส่าห์ทำบุญ................ค้ำจุนเอาไว้
จิตใจเกษมสันต์.............ทันพระพุทธเจ้า.............จะได้เข้านิพพาน.
- อะหัง วันทามิ สัพพะโส, อะหัง วันทามิ นิพพานะปัจจะโย โหตุ ฯ
- ศฤงคาร อ่านว่า สะ-หริง-คาน แปลว่า สิ่งให้เกิดความรักใคร่

.๓. ปลงสังขาร (เกศาผมหงอก)
เกศาผมหงอก..............บอกว่าตัวเฒ่า..............ฟันฟางผมเผ้า
แก่แล้วทุกประการ.........ตามืดหูหนัก.................ร้ายนักสาธารณ์
บ่มิเป็นแก่นสาร............ใช่ตัวตนของเรา............แผ่พื้นเปื่อยเน่า
เครื่องประดับกายเรา.....โสโครกทั้งตัว...............แข้งขามือสั่น
เส้นสายพันพัว...............เห็นน่าเกลียดกลัว........อยู่ในตัวของเรา
ให้มึนให้เมื่อย...............ให้เจ็บให้เหนื่อย............ไปทั่วขุมขน
แก่แล้วโรคา..................เข้ามาหาตน................ได้ความทุกข์ทน
โศกาอาวรณ์.................จะนั่งก็โอย..................จะลุกก็โอย
เหมือนดอกไม้โรย..........ไม่มีเกสร.....................แก่แล้วโรคา
เข้ามาวิงวอน................ได้ความทุกข์ร้อน..........ทั่วกายอินทรีย์
ครั้นสิ้นลมปาก...............กลับกลายหายจาก.......เรียกกันว่าผี
ลูกผัวเมียรัก..................เขาชักหน้าหนี..............เขาว่าซากผี
เปื่อยเน่าพุพอง..............เขาเสียไม่ได้.................เขาไปเยี่ยมมอง
เขาไม่แตะต้อง..............ร่างกายเราหนา..............เขาผูกคอรัด
มือเท้าเขามัด................รัดรึงตรึงตรา.................เขาหามเอาไป
ทิ้งไว้ป่าช้า....................เขากลับคืนมา...............สู่เหย้าเรือนพลัน
ตนอยู่เอกา....................ขาดคนคบหา................ดังเช่นทุกวัน
ทรัพย์สินของตน.............เขาแบ่งปันกัน..............ข้าวของทั้งนั้น
ไม่ใช่ของเรา..................เมื่อมีชีวิต.....................ครอบครองยึดติด
เดี๋ยวนี้เป็นของเขา...........แต่เงินใส่ปาก...............ก็ไม่ติดตามเรา
ไปแต่ตัวเปล่า.................เน่าทั่วร่างกาย..............อยู่ในป่ารก
ได้ยินเสียงนก.................กึกก้องดงยาง..............ได้ยินหมาไน
ร้องไห้ครวญคราง...........จิตใจอ้างว้าง................วิเวกวังเวง
ยังมีชีวิต........................มีมิตรมากมาย..............รอบกายของตน
เมื่อยามเป็นคน................เป็นอย่างนี้เอง..............มีมิตรครื้นเครง
รอบกายของตัว...............ตายไปเป็นผี.................เขาไม่ใยดี
ทิ้งไว้น่ากลัว....................ยิ่งคิดยิ่งพรั่น................กายสั่นระรัว
รำพึงถึงตัว......................อยู่ในป่าช้า..................ลูกหลานสินทรัพย์
ยิ่งแลยิ่งลับ.....................ไม่เห็นตามมา...............เห็นแต่ศีลทาน
เมตตาภาวนา..................ตามเลี้ยงรักษา..............อุ่นกายอุ่นใจ
ศีลทานมาช่วย................ได้เป็นเพื่อนม้วย............เมื่อตนตายไป
ตบแต่งสมบัติ...................นพรัตน์อำไพ...............เลิศล้ำผ่องใส
เพราะทำความดี...............ศีลพาไปเกิด...............ได้วิมานเลิศ
ประเสริฐโฉมศรี................นางฟ้าแห่ล้อม.............ด้วยคุณความดี
ขับกล่อมดีดสี...................มีสุขครื้นเครง..............เพราะเหตุอย่างนี้
ควรมีศีลทาน....................เพื่อเป็นสะพาน............ข้ามพ้นทุกข์เข็ญ
พ้นกรรมพ้นเวร.................พ้นมารพ้นภัย..............สั่งสมความดี
ให้มากหลากหลาย............เพื่อตนจะได้................มรรคผลนิพพาน
คุณพระทศพล..................ให้ฝึกฝนกรรมฐาน.......ละห่วงลูกหลาน
สามีภรรยา.......................ทั้งทรัพย์สมบัติ............เรือกสวนไร่นา
สิ่งนี้นำพา........................เกิดแก่เจ็บตาย.............เร่งบำเพ็ญเถิด
ประเสริฐมากมาย..............
สุขใจสุขกาย................ตามพระพุทธองค์
พระองค์ทรงชี้..................ตถาคตมี......................สมบัติสูงส่ง
ในรั้วในวัง.......................ในศากยวงศ์.................สมบัติสูงส่ง
ละไม่ไยดี.........................เพราะเป็นเหตุทุกข์.........ผูกพันมากมี
สุขไม่กี่ปี..........................ต้องพรากจากไป...........ตายแล้วเกิดอีก
ไม่มีทางหลีก....................เพราะอนุสัย..................กิเลสเหตุพา
เกิดแก่เจ็บตาย.................ไม่วางไม่วาย................ไม่สิ้นเสียที
สิ่งนี้เป็นเหตุ.....................พระองค์ทรงเทศน์..........กิเลสร้ายหนี
ละบ่วงโลกีย์.....................มุ่งสู่นิพพาน.................นิพพานเป็นสุข
ทุกข์ไม่เผาผลาญ.............พ้นจากบ่วงมาร.............พ้นบ่วงอบาย.
.............................        .นิพพานนัง สัมปัจจะโยโหตุ

.

รวมบทสวดมนต์ – watphut.blogspot.com

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013