ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

6 สถานที่ มงคลในวัดพุทธบูชา


1. อุโบสถ
การก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ โดยทำการปรับพื้นที่ กะวางผัง ตอกเสาเข็มไม้ ในการเตรียมพื้นที่เพื่อก่อสร้าง เพราะสภาพดินเป็นร่องสวน
ต้องใช้จอบฟันเกลี่ยดินให้เสมอกัน แม้การเทปูนทับหัวเข็มอุโบสถ ก็ได้อาศัยแรงงานจากชาวบ้าน และพระภิกษุ – สามเณรในวัดมา
ช่วยเหลือกัน การประกอบพิธี วางศิลาฤกษ์อุโบสถ ขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๑ โดยได้กราบทูลเชิญ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี ป.ธ.๙) แห่ง วัดมกุฎกษัตริยาราม มาทรงเป็นประธานในการประกอบพิธี และในอีก ๒๒ ปี ต่อมา
ทางวัดซึ่งมีท่าน พระครูวินัยสารสุภัทร (จำปี ฐิตธมฺโม ป.ธ. ๕ ) เป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น  ได้กราบทูลเชิญ
สมเด็จญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฒฺฑโน ป.ธ.๙) แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร มาทรงเป็นองค์ประธานในการประกอบพิธี
ยกช่อฟ้า อุโบสถหลังนี้ เมื่อ วันอังคารที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๓


2. พระประธานในอุโบสถ
      พระพุทธชินราชจำลอง ของวัดพุทธบูชานี้ มีขนาดเท่าองค์จริง  มีหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว (๒.๘๗๕ เมตร) สูง ๗ ศอก
หล่อด้วย ทองสัมฤทธิ์ (เป็นโลหะผสมระหว่างทองเหลืองและดีบุก) น้ำหนัก ๓ ตัน (๓,๐๐๐ กิโลกรัม) มีพุทธลักษณะที่งดงาม มีองค์ประกอบที่สำคัญ
คือ เรือนแก้ว (ลวดลายคล้ายตัวพญานาค ดุจรัศมีล้อมรอบองค์พระ)  ยักษ์ (มีลักษณะกึ่งนั่งกึ่งยืนมือขวาถือกระบองอยู่ปลายเรือนแก้วทางด้านซ้าย)
มาร (ลักษณะอยู่ในท่ากำลังเหาะมือทั้งสองข้างจับบ่วงบาศบนศรีษะ อยู่ปลายเรือนแก้วตรงด้านขวา) ฝาผนังด้านหลังขององค์พระ ลงรัก
เขียนลวดลายปิดทองเป็นรูปใบไม้และดอกไม้ มีปูนปั้นนูนรูปเทพบูชา (หมู่เทวดา นางอัปสร โปรยดอกไม้เพื่อเป็นพุทธบูชา) พร้อมสมบูรณ์
เหมือนองค์จริงทุกประการ ประดิษฐานในอุโบสถหลังใหม่ ราคาในการก่อสร้างองค์พระ๒๘๑,๐๐๐ บาท


3. พระมหาเจดีย์
สร้างขึ้นโดยความดำริ ของ พระราชภาวนาพินิจ (หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย) เจ้าอาวาส รูปที่ ๕ การซื้อที่ดินเพื่อสร้างพระมหาเจดีย์ เจ้าอาวาสท่าน ซื้อที่ดินจากเจ้าของที่จำนวน ๒ แปลง ๒ ครั้ง 
แปลงละ ๙๐ ตารางวา ตารางวาละ ๕๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๙๐,๐๐๐ บาทถ้วน กึ่งทำบุญกึ่งถวาย งบประมาณในการสร้างมีสาธุชน และผู้มีจิตศรัทธาหลั่งไหลมาทำบุญร่วมสร้างพระมหาเจดีย์
พระมหาเจดีย์วัดพุทธบูชา ทำการวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างเมื่อวันที่ ๒๔พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙  โดยท่านเจ้าคุณพระพรหมเมธี (สมชาย วรชาโย ป.ธ.๘) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทร์เป็นองค์ประธาน
วางศิลาฤกษ์ ใช้งบในการสร้างประมาณ  ๔๐ ล้านบาท ปัจจุบัน (๒๕๕๓) ได้แล้วเสร็จไปประมาณ ๘๐ % โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ
๑ ใช้เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลายปาง และภาพวาดที่เป็นเรื่องราวทางพระพุทธศาสนาที่แฝงด้วยคติธรรม
๒ เป็นที่สักการะ เคารพนับถือ บูชา ปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนทั่วไป
๓ เป็นที่สอนธรรมและปฏิบัติธรรมของหน่วยงานต่างๆ
๔ เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาในวันธรรมสวนะ (วันพระ) ที่สำคัญ
 
4. รูปหล่อหลวงพ่อเพิ่ม กตปุญฺโญ
พระพุทธวิริยากร  อาพาธได้ประมาณปีเศษ  ท่านได้ให้ลูกศิษย์คือ คุณดำรงค์  งามเจริญ  ถ่ายรูปของท่านไว้ทุกด้าน  คือ หน้า-หลัง  ซ้าย-ขวา  และเฉียง  
ทั้งให้วัดขนาดสัดส่วนของร่างกายของท่าน  แล้วจึงจ้างให้นายช่างคือ  จ.ส.อ. ดร.ทวี  บูรณเขตต์  ผู้ที่เคยหล่อรูป  พระพุทธชินราชจำลอง  
ซึ่งเป็นพระประธานในอุโบสถ   ดำเนินการก่อสร้างรูปหล่อของตัวท่านไว้ ๓ รูป  ยืน ๑ รูป  นั่ง ๒ รูป  และทราบว่าท่านได้สั่งไว้ว่า 
 “รูปยืน ให้ไว้ที่ผนังด้านหลังอุโบสถ  ส่วนรูปนั่ง ไว้ในอุโบสถรูปหนึ่ง  อีกรูปหนึ่ง ให้ไว้ที่ โรงเรียนวัดพุทธบูชา”  รูปหล่อทั้ง ๓ นี้ 
ได้มาสำเร็จในสมัยเจ้าอาวาสรูปที่ ๓ จึงจัดงานสมโภชฉลอง แล้วจึงประดิษฐานไว้ เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๖

5.รอยพระพุทธบาทจำลอง
ท่านเจ้าคุณพระพุทธวิริยากร ได้ดำริจัดสร้าง  รอยพระพุทธบาทจำลอง  ขึ้น โดยมีท่านผู้ใหญ่ทองคำ นางสัมฤทธิ์  วงษ์รุ่งเรือง  เป็นต้นศรัทธาในการจัดสร้าง  
และดำเนินการสร้างในปี พ.ศ. ๒๕๒๙  ในการสร้างได้ใช้หินที่มีลักษณะพิเศษชนิดหนึ่ง  ซึ่งเกิดจากการตกผลึกตามธรรมชาตินานปี จนมีลักษณะรูปร่างงดงามแปลกตา  
ถึงกับบางท่านกล่าวว่าเป็นหินพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งท่านเจ้าคุณพระพุทธวิริยากร  ได้เดินทางไปค้นหาด้วยตนเองที่  เขาสามร้อยยอด  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  
เมื่อได้หินมาแล้ว  ได้ว่าจ้างให้  นายช่างขจร  เหมือนสุวรรณ เป็นผู้แกะสลัก นับเป็นผลงานชิ้นสุดท้ายของท่านเจ้าอาวาส รูปที่ ๑ หลวงพ่อเพิ่ม กตปุญฺโญ


6.ซุ้มประตูหน้าวัด 
สร้างขึ้นโดยความดำริของท่านเจ้าอาวาสรูปแรก เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๘ มีลักษณะเป็นยักษ์ ๒ ตนคือ อินทรชิตกับรามสูร ยืนแบกป้ายชื่อวัดไว้ตนละข้าง 
มีผู้บริจาคทรัพย์ในการก่อสร้าง คือ นายตอง - นางบุนนาค  ปั่นแก้ว  บริจาคทรัพย์ในการสร้างด้านขวา (ทิศใต้) และนายทองหล่อ นางชูศรี ตันเปาว์ 
บริจาคทรัพย์ในการสร้างด้านซ้าย (ทิศเหนือ) ราคาค่าก่อสร้างด้านละ ๓๑๕,๐๐๐ บาท และ ได้อาศัยแรงงานของพระภิกษุสามเณรในวัด  
ซึ่งพระครูศีลคุณากร (ดวงจันทร์) ท่านอดีตเจ้าอาวาส วัดเม็งรายมหาราช จังหวัดเชียงราย  เล่าว่าท่านเจ้าอาวาส พระพุทธวิริยากร  เมื่อครั้งที่ขึ้นไปเยี่ยมท่าน
ที่วัดเม็งรายมหาราช  ได้เล่าให้ท่านพระครูฟังว่าสาเหตุที่สร้างป้ายวัดเป็นรูปยักษ์ ๒ ตน ยืนแบกป้ายชื่อวัดนั้น ก็เพื่อเป็น ปริศนาธรรม 
ซึ่งเปรียบเหมือน คนเราต้องแบกภาระคือขันธ์ ๕ ไว้ตลอดเวลา ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า ภารา หเว ปญฺจกฺขนฺธา  “ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นภาระยิ่งแล”

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013