ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

24 ตุลาคม 2553

ประวัติพระราชภาวนาพินิจ(สนธิ์ อนาลโย) - วัดพุทธบูชา บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร

ประวัติพระราชภาวนาพินิจ(สนธิ์ อนาลโย)

ประวัติพระราชภาวนาพินิจ(สนธิ์ อนาลโย)โดยสังเขป


อัตตชีวประวัติพระราชภาวนาพินิจ (หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย)

นามเดิม ชื่อสุเต นามสกุล คำมั่น เกิดเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๗๗ ตรงกับวันอาทิตย์  ที่บ้านโนนชาติ  อำเภอเลิงนกทา   ซึ่งปัจจุบันเป็นจังหวัดยโสธร  บิดาชื่อ นายเป  คำมั่น  มารดาชื่อนางกันคำมั่น  อาชีพที่บ้านท่านแต่เดิมก็มีอาชีพทำนาเป็นหลักในภาคอีสาน  ในสมัยนั้นก็มีอาชีพเดียวเป็นหลัก  ท่านมีพี่น้องร่วมอุทรเดียวกันทั้งหมด ๖ คน ส่วนหลวงพ่อเป็นบุตรคนที่สอง  ชื่อเดิมว่าสุเต เพราะท่านเป็นคนที่ชอบสังเกตุ ผู้ใหญ่จึงเรียกว่า สนธิ์ คือมีสิ่งใหม่ให้สังเกตุพิจารณา  ผู้ให้ทำอะไรท่านก็มีความสนใจจึงถูกเรียกว่าสน  เด็กชายสนธิ์  คำมั่น เรียนจบชั้นประถมปีที่ ๔ จากโรงเรียนวัดบ้านสร้างมิ่ง ด้วยคุณธรรมที่มีมาแต่เดิมจึงทำให้ท่านเป็นคนชอบสงบ มีนิสัยรักสงบ เชื่อฟังผู้ใหญ่ กลัวต่อความผิด  ซึ่งทำให้ท่านมีอุปนิสัยแตกต่างจาก เด็กในวัยเดียวกัน  ชอบในการเป็นผู้ให้ เช่นให้อาหารบิณฑบาตร กับคุณแม่ในวัยเด็ก  เมื่อคุณแม่ใส่บาตร แก่พระที่มาบิณฑบาตร ท่านจะมีความอิ่มใจ สุขใจ และด้วยบุญบารมีที่ได้สะสมในกาลก่อน  เมื่อท่านได้พบกับภิกษุผู้ภิกขาจาร  ก็ทำให้ท่านมีความเลื่อมใส่  รู้สึกว่าจิตใจสบายเป็นปิติ  ด้วยกำลังแห่งบารมีธรรมที่เต็มบริบูรณ์  จึงทำให้ท่านมีจิตใจที่โน้มเอียงไปในทางออกบวช  ด้วยนิสัยของชาวอีสานในสมัยนั้นมีความเคารพต่อพระพุทธศาสนามาก  เมื่อมีลูกชายก็อยากจะให้บวชเีรียน เขียนอ่าน เป็น  เพราะการศึกษาในสมัยนั้นยังไม่เจริญ  คนที่มีความรู้ความสามารถ ก็จะเกิดจากนักบวช ทิด จารย์ครู คือผุ้บวชแล้วสึกไป มีครอบครัว  คนอีสานก็มีอัตตลักษณ์ของกลุ่มชนที่มีเฉพาะตน  คือเป็นคนรักสงบ ชอบช่วยเหลือผู้อื่น รักสนุก รักเพื่อนมิตร ดั้งนั้นบิดามารดาของท่านจึงมีความรักในลูกอยากจะให้ลูกได้มีความรู้ความสามารถ  จึงนิยมนำลูกชายของตนเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา  เด็กชายสนธิ์ก็เช่นเดียวกัน มีอัศยาศรัยไปใน
การออกบวช จึงชอบไปอยู่วัด เพื่อรับใช้พระ (สังกะรีวัด) คือเป็นผู้คอยรับใช้พระผู้มีอาวุโส เช่น ตมน้ำร้อน น้ำเย็นถวายพระ  ในวัยเด็กของหลวงพ่อสนธิ์ ท่านก็เหมือนเด็กอีสานในสมัยนั้นคือช่วยเหลือพ่อแม่ทำมาหากิน เพราะระดับการศึกษาในยุกนั้นมีน้อย จบแค่ประถม สี่ ก็สามารถอ่านออกเขียนได้แล้ว ถ้าจะให้มีความรู้มากกว่านั้นก็ต้องมาเรียนในตัวเมืองหลวงหรือหัวเมืองใหญ่ๆ เท่านั้น ส่วนความรู้ที่มีมากอีกสาขาหนึ่งคือ วัด ซึ่งเป็นสถานอบรมนิสัยให้แก่ลูกหลาน พระท่านก็ให้เรียนหนังสือผูก เช่น เรียนสนธิ์ เรียนมูล เรียนตัวธรรม เรียนตัวขอม เป็นต้น ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้จารึก(จาร)ไว้ในใบลาน  พระจึงต้องเรียนตัวธรรม (ไทยน้อย) ซึงส่วนมากจารึกเป็นนิทานธรรมบท หรือนิทานพื้นบ้านในอีสาน คือ นางผมหอม ผาแดงนางไอ่ ขู่หลู่ นางอั๋ว เป็นต้น  ดังนั้นจึงทำให้นักปราชญ์อีสานนำมาเขียนเป็นกลอนลำ  คำผญา สุภาษิตสอนหลาน เป็นต้นล้วนออกมาจากภาษาไทยน้อย หรือตัวธรรมในสมัยนั้น  คนอีสานจึงนิยมฟังกันมาก  เพราะมีความเคารพในพระพุทธศาสนา  พระธรรม พระสงฆ์  เพราะฉนั้นคนอีสานทั้งชายหญิงก็อยู่ในจารีต ๑๒ ครอง ๑๔ ซึงเป็นธรรมเนียมของชาวภาคอีสาน เช่น ฮีตปู่ ครองย่า ฮีตป้า ครองลุง ฮีตพ่อ ครองแม่ ฮีตผัว ครองเมีย เป็นต้น ดังนั้นนิสัยของท่านจึงน้อมไปในทางออกบวชตั้งแต่นั้นเ็ป็นมา

การเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์
ด้วยความกตัญญูต่อแม่ของท่าน  โดยคุณแม่ทุกคนหวังจะได้เกาะชายผ้าเหลืองของลูก หรือเป็นธรรมยาทในทางพระศาสนา แม่หวังให้ลูกได้บวชเรียนเขียนอ่านก่อน  คือพ่อแม่หวังให้ลูกชายทุกคนได้มาฝึกความเพียร ความอดทน  ความลำบากต่างๆ ในทางพระศาสนา  คือการบวชในอดีต เป็นความลำบากมากคือไฟฟ้าก็ไม่มี  มีแต่ตระเกียง จุดใต้ หรือนำเอายางไม้มาผสมกับไม้ที่ผุแล้วนำมาทำใต่จุดส่องสว่างกันเท่านั้น  การท่องบ่นสาธยายต่างๆก็มีตำราน้อย  บางวัดต้องมาเรียกปากต่อปาก เป็นแบบมุขปาถะ  ดังนั้นท่านจึงมาลำรึกถึงคำแม่สั่งไว้ว่าจะทำอะไรต่อไปให้บวชให้แม่ก่อน  ท่านจึงเดินทางกลับไปที่จังหวัดสกลนคร  และขอบวชที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร   โดยมีพระอาจารย์มหาทองสุก  เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระอาจารย์มหากว่า  สุมโณเป็นพระกรรมวาจารย์ และพระมหาสนธิ์  ขนฺตยาคโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านบวชเมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๙๗  และได้อยู่อุปัชถากอุปัชฌาย์และอาจารย์  ฝึกกัมมัฏฐานกับท่าน ในปีพ.ศ.๑๔๙๘ กลับไปจำพรรษาที่วัดป่าสุทธาวาส เพราะพระอาจารย์กว่า ไม่มีใครอยู่อุปัชถาก จึงต้องกลับไปอยู่กับท่านและเรียนหนังที่วัดป่าสุทธาวาส การทำกัมมัฏฐานในยุกสมัยก่อน ทำอย่างเรียบง่ายแต่ก็เข้มข้น เนื่องจากธรรมมารมณ์ที่จะมากระทบจิตมีน้อยกว่าสมัยนี้มาก  การพิจาณาในสรีระร่างกายก็จะทำให้จิตสลดสังเวชลงได้ง่าย  เพราะคนในสมัยก่อนไม่มีการแต่งตัวมากเหมือนสมัยนี้ ความลำบากปรากฏแก่จิตได้ง่าย ด้านอาหารก็ฉันตามชาวบ้าน โดยเฉพาะภาคอีสานจะเป็นอาหารที่เหมาะแก่การภาวนามากคือ ฉันอาหารป่าเช่นแกงหน่อไม้ แกงเห็ด หลวกผักตามธรรมชาติ ทำให้ผู้ภาวนาธรรมมีอาหารที่เหมาะแก่สัพปายะ เรียกว่าอาหารสัพปายะ ทำให้จิตลงง่าย  จึงทำให้หลวงมีความสุข เย็นสบายจิตจะมีเมตตาธรรมจิตจะปรารภความเพียรอย่างเข้มแข็งมาก ธรรมปรากฏแก่จิต จิตถึงธรรม เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับธรรมจึงเป็นจิตที่สลัดทิ้งจากราคะ โทสะ โมหะ ได้

การอยู่ปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่เทสก์ เทสรังษี

ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดป่านาภู จังหวัดสกลนคร บังเอิญหลวงปู่เทสก์ เทสรังษี ได้เดินทางมาที่จังหวัดสกลนคร  และหลวงพ่อก็เดินทางร่วมไปกับหลวงปู่เทสก์ เพื่อไปจำพรรษากับหลวงปู่ที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๙ และได้รับรู้ถึงปฏิปทาของหลวงปู่มั่นได้เป็นอย่างดี เพราะหลวงปู่เทสก์เล่าให้ฟังถึงการปฏิบัติของหลวงมั่น  การได้อยู่ใกล้ชิดกับครูบาอาจารย์  ทำให้หลวงพ่อได้เห็นตัวอย่างการปฏิบัติตนของท่าน  การภาวนาจะเริ่มได้ดีก็ต่อเมื่อเรามีกัลยาณีที่ดี  ติดขัดในข้อปฏิบัติใดๆ ก็สามารถสอบถามได้  หลวงเทสก์ก็ได้เล่าถึงวัตรปฏิบัติ  ให้ฟังจึงทำให้จิตใจได้กำลัง  มีความเพียรในการปฏิบัต  เมื่อเข้าอยู่จำพรรษาโดยธรรมเนียมสายปฏิบัติก็จะพากันเร่งความเพียร อย่างอุกกฤต บางรูปก็ปรารภในการอดอาหาร ในการไม่น้อย ปรารภในการเดินจงกรม  ทุกรูปก็ปรารภเช่น ทำให้วงพระกัมมัฏฐานได้รับความเคารพจากชาวพุทธ เมื่อเป็นอย่างหลวงปู่เทสก์ได้ปรารภกับหลวงพ่อว่าในพรรษานี้เราถือธุดงค์กันในข้อเที่ยวบิณฑบาตรเป็นวัตร

จำพรรษาที่วัดพุทธบูชา
ด้วยว่าหลวงอายุยังน้อยอยู่จึงอยากจะเรียนพระปริยัติธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติ  ท่านจึงกราบเรียนให้หลวงเทสก์ทราบ แต่หลวงปู่เทสก์ก็ได้ปรารภว่า ส่งพระเณรมากรุงเทพก็จะสึกกันหมด ท่านห่วงว่าหลวงพ่อจะเป็นเหมือนพระเณรรูปอื่นจึงได้ปรารภเช่นนั้น แต่ก็อนุญาติให้มาเรียนบาลีที่กรุงเทพได้ ในปีพ.ศ. ๒๕๐๐ โดยมีพระอาจารย์วัน อุตฺตโม ได้ฝากให้มาจำพรรษาที่วัดพุทธบูชา ซึ่งเป็นสาขาของวัดวรนิเวศน์วิหาร และได้อยู่จำพรรษาที่วัดพุทธบูชาเป็นเวลาถึง ๘ ปี และในปีพ.ศ.๒๕๐๘ โดยพระอาจารย์ สุวัจน์ ก็พามาฝากที่วัดบรมนิวาส  และกาลต่อมาหลวงพ่อก็ได้ริเริ่มในการจะอบรมพระกัมมัฏฐานที่วัดบรมนิวาส เมื่อท่านกลับมาจากสหรัฐอเมริกา ท่านก็ได้เปิดการอบรมกัมมัฏฐาน ในปีพ.ศ.๒๕๒๖ โดยได้นิมนต์หลวงปู่พุธ ฐานิโย มาเป็นองค์แสดงธรรมได้รับความนิยมจากญาติโยมเป็นอย่างดี  ต่อมาท่านก็ได้ปรารภกับพระมหาประกอบวัดป่ามหาชัย ว่าเราเป็นการฝึกอบกัมมัฏฐานที่วัดเลย โดยใช้ที่กุฏิหลวงพ่อ(กุฏิผ่องดำรงค์) เมื่อพ.ศ.๒๕๒๗ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม เริ่มเวลา ๑๘.๐๐ น.ถึง ๑๙.๐๐น.โดยมีอุบาสก อุบาสิกา พระ เณรมาปฏิบัติกันเป็นประจำ เหมื่อนกันเมื่อหลวงพ่อมาอยู่ที่วัดพุทธบูชาในปีพ.ศ. ๒๕๔๒ ท่านก็ได้เปิดการอบรมปฏิบัติที่วัดพุทธบูชาเป็นประ โดยเอาพระอุโบสถ์เป็นสถานที่ในการปฏิบัติ ในเวลา ๑๘.๐๐น. ถึง เวลา ๑๙.๐๐ น. ทุกวัน จนถึงปัจจุบันนี้
หลวงพ่อกับการปฏิสังขรณ์เสนาสนะ
เมื่อหลวงได้ย้ายกลับมาจำพรรษาที่วัดพุทธบูชาอีก  ในปีพ.ศ.๒๕๔๒  ท่านได้ริเริ่มในการบูรณะเสนาสนะภายในวัด  ซึ่งแต่เดิมหลวงพ่อเพิ่มท่านได้ก่อสร้างไว้นาน  สิ่งปลูกสร้างทั้งหลายก็ดูทรุดโทรมไปตามกาลเวลา  เมื่อหลวงสนธิ์ได้มาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดพุทธบูชาอีก  ท่านได้เริ่มก่อสร้าง กำแพงวัดให้เป็นสัดส่วน แบ่งเป็นเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และได้ก่อสร้างซุ้มประตูโขงหน้าวัดอีกสองที่  และได้บูรณะปิดทองพระพุทธชินราชใหม่ก่อนที่จะทำการผูกพัทสีมาใหม่ และได้ก่อสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ศรีพุทธบูชา ขึ้นมาใหม่อย่างสวยงาม  ได้ก่อสร้างกุฏิเพิ่มเติมขึ้นมาอีก 3 หลัง  อาทิเช่น กุฏิอนาลโย กุฏิ 72 ปี เป็นต้น  กระนั้นท่านยังมีเมตตาธรรมรับเป็นภาระธุระให้การสนับสนุนในการก่อสร้างวัดอีกมาก เช่น วัดป่าภูปังจังหวัดอุบลราชธานี วัดป่าอนาลโย จังหวัดนครปฐม และอีกที่จังหวัดราชบุรี  ญาติโยมผู้มีความเลื่อมใส่ในวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อต่างก็ได้ถวายที่ดินเป็นพุทธบูชาอีกหลายแห่ง  นี้คือคุณธรรมของท่านในด้านการส่งเสริมบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะในทางพระพุทธศาสนาให้เจริญก้าวหน้าและเป็นที่สัพปายะแก่ทุกท่านที่มาปฏิบัติธรรม นี้คือความเมตตาของหลวงพ่อที่มีแก่สาธุชนทั้งหลาย  จะพบท่านก็ง่าย สบายๆ แบบเป็นกันเองกับทุกคน 
หลวงพ่อกับการอบรมสั่งสอนธรรม

พระกรรมฐาน ๕ คือ เกศา คือผมทั้งหลาย  โลมา คือขนทั้ง  นะขา  คือเล็บทั้งหลาย  ทันตา คือฟังทั้งหลาย ตะโจ คือผิวหนังทั้งหลายให้พิจารณาไปตามลำดับ โดยย้อนกลับไปกลับมา ในสี่อริยาบท หรือใช้ท่องบริกรรมภาวนา เป็นสมถะภาวนาย่อมทำให้ท่านผู้บริกรรมอย่างนี้ทำใจของตนเองเข้าถึงฌาน ทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ  สุข และเอกัคคตารมณ์ได้ง่าย  อุบาสกอุบาสิกาบางคนบางท่านที่เขาทำฌาน กันเป็นแล้ว เมื่อภาวนา กรรมฐาน ๕ ได้ไม่กี่นาที ฌาน ๒ อุพเพงคาปีติ ก็ขึ้นทันทีสั่นไปทั้งตัว เสียงดังโครมครามไปหมดได้แค่ฌาน ๒ เท่านั้นก็เห็นนิมิตตัวเองนั่งอยู่ข้างหน้าแต่เป็น คฤหัสถ์อยู่ เห็นครึ่งตัวสวมเสื้อยืด คอแบะสีน้ำตาล ไว้ผมยาวหวีแสกข้าง สักประเดี๋ยวก็เห็นขันน้ำมาวางอยู่ข้างหน้า มีน้ำใสอยู่เต็มขันก็รู้ขึ้นมาทันทีว่า อ๋อ น้ำใส เต็มขันนั้นเป็นปริศนา เปรียบเทียบ เหมือนจิตเรานั่นเอง เพราะจิตไม่มีตัวตน  "ผู้ที่เห็นนิมิตอย่างนี้มีน้อย(คือผู้ที่เห็นตัวเองออกมานั่งอยู่ข้าง หน้าอย่างนี้)เป็นผู้มีวาสนาสามารถปฏิบัติให้บรรลุถึง นิพพานในชาตินี้ได้" ในขณะที่ทำฌาน ๒ ได้แล้วนั้นรู้สึกเกิดความอิ่มเอิบใจเป็นที่สุดมีความมั่นใจและเชื่อมั่นถึงคำสั่ง สอน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าเป็นของแท้แน่นอน  เมื่อบวชแล้วท่านอาจารย์ผู้สอนกัมมัฏฐานโดยได้หลวงปู่เทสก์ เป็นผู้แนะนำในการภาวนาดั้งนั้นการภาวนาจึงต้องอาศัยกัลยาณมิตร คือครูบาอาจารย์เป็นมิตรในอาวาสของเรา ประดุจดังพ่อแม่เราเป็นมิตรในเรือนนั้นเอง

ปล่อยให้จิตรู้ แต่ระวังอย่าให้จิตหลง

ตาม ความเป็นจริงแล้ว จิตของเรา เป็นธาตุรู้ เป็นอมตะธาตุ เราให้ เขารับรู้ แต่ไม่ให้เขาเกิด ถ้าเขาจะเกิดก็เอาสติคือความระลึกรู้ตัว เข้าไประลึกรู้แล้วจิตกับอารมณ์ก็จะดับ การระลึกรู้ใช้วิธีไหนก็ได้ ที่จะให้อารมณ์นั้นเขาดับไป เช่นเรากำหนดรู้ที่ลมหายใจเข้า ออก จิตเราจะพรากออกจากธรรมารมณ์ของเขาเอง เรียกว่า  เห็นเขาเกิดขึ้นมาแล้วเขาก็ดับหายไปเอง ขอเพียงว่าให้จิต สติ และสัมปชัญญะเขาตามระลึกรู้  ธรรมารมณ์ต่างๆได้แต่ไม่ให้เขาเกิดเป็นตัวเราคิดไปตาม ถ้า เราอยากจะรู้อะไร เหตุอะไรที่มันเกิดภายนอก เราก็เอาสติ ปัญญา เราก็น้อมจิตเข้าไปดู ใหม่ ๆ จะเป็นกันหมดทุกคนเราต้องพยายามศึกษาให้ละเอียด ให้เข้าใจ ให้ถ่องแท้ การควบคุมจิตเป็นยังไง การบริหารจิตเป็นอย่างไร จิตของเราก็เหมือนกับเด็กน้อยนั่นแหละ ปล่อยให้เขาเล่น พอเกิดอุปสรรค เราก็ค่อยไปช่วยเหลือเขา ถ้าเขาจะส่งไปข้างนอก เราก็ต้องรู้จักดับเขา รู้จักแก้ไขเขาจิตที่ไม่ได้ฝึกนี่มัน ก็จะไปตามเองตามราวของเขา หลงไป ขนาดหลง ๆ อยู่ ยังว่ามันไม่หลงนะ เขาว่า เฮ้ย……คำหยาบนี่ไม่มีสติเลย ก็ไปโกรธให้เขา มันก็ไม่มีสติจริง ๆ ดังเขาว่านั่นแหละ ถึง

ปฏิบัติให้ เคร่งตามดูจิตในทุกอิริยาบท

สมัยก่อนฝึกใหม่ ๆ จิตพลิกจากสมมุติ ไปหาวิมุติใหม่ ๆ กำลังเร่งทำความเพียร นี่มองดูพวกท่าน ถ้ามานั่งอยู่ใกล้ ๆ นี่มันห่างไกลเป็นโยชน์ เพราะสภาวะจิตมันต่างกัน สมัยก่อน ทำความเข้าใจกับนิวรณ์ หนาว ๆ ก็ลุกอาบน้ำ ถ้า นิวรณ์เข้ามาลุกอาบน้ำ เดินถูพื้นศาลา จนเป็นมันวับเลย ตอนกลางคืนนี่ เอาการเอางาน เป็นการปฏิบัติธรรม ถูพื้นศาลาด้วย ไล่นิวรณ์ด้วย เพิ่มความขยันหมั่นเพียร ทำงานไปด้วย กลางวันก็ทำงานไป ถ้านั่งนิวรณ์จะเข้าก็ลุก ตามดูจิตให้ได้ ทุกอิริยาบทว่างแล้วจากทุกสิ่ง มุ่งเพียงสร้างประโยชน์ให้สังคมทุกวันนี้ มันไม่มีอะไรที่จะไปตามดู จิตมันก็ไม่เกิดมาร่วม 20 ปีแล้ว สติมันก็หยุดร่วม 15-16ปี ความคิดก็ไม่ผุดมาปรุงแต่ง ร่วม 20 ปี เหมือนกัน ก็ไม่รู้จะทำอะไร ก็มีแต่จะทำงาน ทำงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ ทำงานเพื่อที่จะ ให้คนรุ่นหลัง ได้มาอยู่ดี มีความสุข ได้มาฝึกปฏิบัติ ก็เพื่อที่จะได้ไป ได้เร็ว ได้ไว ทุกวันนี้ อะไร ๆ ก็ทำไว้หมด ที่พัก ที่นั่ง ที่เดิน ห้องส้วม ห้องน้ำก็ทำไว้หมด ก็เหลือเพียงญาติโยม เท่านั้น

ให้เป็นผู้สอน ตัวเอง อย่าเป็นผู้มีกิเลสหนา

เมื่อทำให้ขนาดนี้ ยังจะพากันเกียจคร้านอยู่ ก็ช่วยไม่ได้ เราต้องสอนตัวเอง แก้ไขตัวเอง ปรับปรุงตัวเองอยู่ตลอดเวลา มันจึงจะถูกต้อง ไม่ใช่ให้คนโน้นเขาขนาบ ไปให้พระองค์โน้นขนาบ พระองค์นี้ขนาบ อย่างนั้น คงเป็นบุคคลที่กิเลสหนา บุคคลที่มีกิเลสเบาบางฟังนิดเดียว ไปแก้ไข ปรับปรุงตัวเองอยู่ตลอดเวลา นั่นแหละใครที่เข้ามาที่วัดนี้ ถึงจะแปลกแตกต่าง ไปจากที่อื่นอยู่ ตั้งแต่ปากทางเข้ามา แม้แต่ป้ายวัด ทางการเขาก็มาติดให้ เขาสงสาร เขาหาว่ายาก ก็เลยมาติดให้ พวกท่านถึงได้เห็นป้ายวัด ป้ายวัดก็เล็กนิดเดียว เข้ากันก็ไม่มีเขียนข้อวัตร ปฏิบัติ ต่าง ๆ เอาไว้ให้ แล้วก็ไม่เห็นพากันไปนั่งเดิน ไปฝึกปฏิบัติ อะไรเลย
อุบายการปฏิบัติที่วัด จะไม่มีกฎทุกอย่าง ให้ใช้สติ สังเกตดู
สำหรับ ที่นี่ ทุกคนเข้ามาก็ให้รู้สึกว่า มาที่นี่เหมือนกับอยู่บ้าน ซึ่งแต่ก่อนยังไม่ได้มา ก็ไปคิดว่า เอ… เรา จะไปอยู่ยังไง เราจะไปกินยังไง ไปนั่งยังไง ไปฝึกยังไง มันหลอกเราเสียแล้ว พอมาเข้าจริง ๆ มารู้ความจริง เออ…มาที่นี่ ก็สบายนะ ใคร ๆ ก็เหมือนกับพี่กับน้อง มีอะไรก็คอยช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ความวิตกกังวลก็คลายไป โดยไม่รู้ตัว มันคลายไปเปราะใหญ่ จิตใจก็เลยสบาย
คือว่า มันสบายแบบหลง ๆ หรือสบายแบบไม่มีสติ ก็ไม่รู้นะ ต้องมาสร้างกำลังสติ ไปกว่านี้อีก ถ้าจิตของเราสบายเป็นยังไง สงบเป็นยังไงนี่แหละ ถ้าเป็นบางที่ ถ้าเคร่งครัดมากเกินไป ก็คือคอยระวังระแวง แต่ที่นี่ไม่มีแบบนั้น ก็เลยไม่ได้กังวล ตรงจุดนั้น ความกังวลคลายไป จิตใจก็เลย ไม่มีความกังวล แต่พวกเราจะมีสติ คอยสังเกตรู้หรือเปล่า เท่านั้นเอง
ทุก สิ่งทุกอย่าง ล้วนมีเหตุ และผล
ที่ นี่ จะปล่อยให้ ปฏิบัติดูจิตของเรานี้ มีสติเข้าไปสังเกตดู เข้าไปวิเคราะห์ดู ทั้งที่จิตก็สบายอยู่ สบายแบบธรรมชาติ ทั้งกาย ทั้งจิต ตั้งสติไปด้วยกันหมด ขาดการจำแนก แจกแจง จิตสงบของเราเป็นยังไง ความสบายยาวนานหรือไม่ ที่พากันมา ก็มาเพื่อที่จะแสวงบุญทุกคนก็มีจิตเป็นบุญ เป็นกุศลกันหมด มีศรัทธาน้อมกาย เข้ามาเพื่อศึกษา และก็ได้ผู้บริหารที่ดี ที่ฝักใฝ่ในธรรมอยากจะให้บริวาร ได้รับความสงบสุข ทั้งภายนอก ภายใน ภายนอกก็คือ ภาระหน้าที่การงาน สมมุติต่าง ๆ ที่พวกเราได้สร้างได้ทำกัน ภายในก็คือ ทางด้านจิตใจ ให้มีจิตใจที่สงบ ให้มีจิตใจที่เยือกเย็น ไม่ทำตามอารมณ์ ให้มีเหตุ มีผล เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง มีเหตุมีผลหมด

พึงเจริญตบะ บารมี อยู่ตลอดเวลา

เรื่องการปฏิบัติ จิตนี่ ถ้าเรามีความท้อถอยนี่ เข้าไม่ถึง เราต้องเป็นคนที่ขยันหมั่นเพียร จริง ๆ ขยันหมั่นเพียรในการวิเคราะห์ ในการตั้งจิต ในการทำความเข้าใจอยู่บ่อย ๆ อยู่เนื่อง ๆ และรู้จักสร้างตบะบารมีความเสียสละของเรามีเต็มไหม ความอดทนอดกลั้น สัจจะของเรามีเต็มหรือเปล่า มีความจริงใจต่อตัวเองไหม มีพรหมวิหาร มีความเมตตา มองโลกในทางที่ดี อันนี้เป็นการเจริญตบะบารมีอยู่ตลอดเวลา ตื่นขึ้นมา เราก็รีบสำรวจตรวจตรา ดูตัวเรา สำรวมกายอินทรีย์ของตัวเราเสีย หู ตา จมูก ลิ้น กายของเรา ทำหน้าที่อย่างไร
เราต้องทำความเข้าใจ รู้จักแยกรูป รส กลิ่น เสียง ออกจากจิตของเราหรือไม่ ภาษาธรรมะที่ท่านเรียกว่า สักแต่ว่าดู สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าฟัง เป็นยังไง อันนี้อาตมา เพียงแต่เล่าให้ฟัง ถ้าพวกท่านไม่ไปทำก็จะไม่เข้าใจ

อยากรู้ธรรม อยากเข้าถึงธรรม ก็ต้องทำเอา

การเจริญสติ ก็เพื่อที่จะเข้าไป สะสางกิเลสออกจากจิต จากใจของเรา การรักษาศีล การเจริญสติรักษาศีล สร้างสติ สร้างสมาธิ ก็เพื่อที่จะไปทำความเข้าใจ และก็ละความหลง คลายความหลง และก็ละกิเลสออกจากจิต จากใจของเราให้หมดแม้ แต่ความอยากเล็ก ๆ น้อย ๆ อยากจะรู้ธรรม อยากเข้าถึงธรรม เราก็ต้องทำ แต่การกระทำคือ การสังเกต การวิเคราะห์ สังเกตไม่ทัน เราก็ต้องใช้สมถะเข้าไปดับ เราอาจกำหนดอยู่กับลมหายใจบ้าง สร้างความรู้สึกอยู่ที่การหายใจเข้า ออกบ้างเรียก ว่าสร้างความรู้สึก อยู่ที่การเคลื่อนไหว ของกายบ้าง แล้วแต่ความถนัด ของแต่ละบุคคล ที่จะเดินให้ถึง การฝึกหัดปฏิบัติจิต เราต้องค่อยเป็นค่อยไป อย่าไปวู่วาม คือค่อยเป็นค่อยไป ตั้งจิตไม่ทัน เราก็เริ่มใหม่ ทำความเข้าใจ เราก็เริ่มใหม่อยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา

เรา เป็นผู้ที่เตรียมพร้อมแล้วหรือยัง

บุคคล ที่มีสติ มีปัญญา ถ้าหากฟังนิดเดียว ฟังไปแล้วน้อมระลึก รู้กาย ระลึกรู้ความปรกติของเราไปด้วยถึงจะได้เกิดประโยชน์ น้อมเข้าไปดูตรวจตรา ดูตัวเรา ทั้งภายนอก และภายใน ภาระหน้าที่ สมมุติต่าง ๆ เราทำไว้เรียบร้อย บริบูรณ์แล้วหรือยัง กับหมู่คณะ กับเพื่อนฝูง เรามีพรหมวิหาร เรามีความเมตตาทีนี้ จิตของเราจะเกิดอารมณ์ หรือว่าเกิดความโลภ ความโกรธ ความอยาก เรารู้จักดับหรือไม่ สติที่เราสร้างขึ้นมา นี้เอาไปใช้กับภาระ หน้าที่การงาน ได้หรือไม่ นิวรณ์ต่าง ๆ นิวรณ์ธรรมต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องกั้นจิตของเรา เราทำความเข้าใจได้หรือไม่ เราเป็นบุคคลที่เตรียมพร้อมหรือไม่ เป็นคนที่ถึงพร้อม ทำความเข้าใจได้พร้อม เตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา หรือเป็นคนที่ตื่นอยู่ตลอดเลาหรือเปล่า

มา สะสมทรัพย์ภายในกันเถอะ

เรา ต้องเป็นผู้ที่ สร้างทรัพย์ภายใน ให้มี ให้เกิดขึ้น อยู่ตลอดเวลา ทรัพย์ภายใน ถ้าเราไม่สร้างขึ้นมาก็ไม่มี เราต้องพยายามสร้างขึ้นมา สร้างความว่าง ความสงบ ความสะอาด ความบริสุทธิ์ นั่นแหละ เขาเรียกว่า ทรัพย์ภายใน อริยสัจภายใน คือความว่าง ในความว่างนั้น มีดวงจิตอยู่จิต ที่ว่างจาการเกิด ว่างจากกิเลส ว่างจากความยึดมั่น ถือมั่น ว่างจากความคิด ว่างจากอารมณ์ เขาก็นิ่ง เขาก็สงบ เขารู้ว่า การเกิดเป็นทุกข์ เขาก็ไม่เกิด แต่เวลานี้ จิตของพวกเรายังเกิดอยู่ แต่ละวัน ๆ ไม่รู้เกิดกี่เที่ยว แค่ห้านาที สิบนาที ไม่รู้ไปสักกี่อย่าง เดี๋ยวก้เรื่องคนโน้น เดี๋ยวก็เรื่องคนนี้ เดี๋ยวก็เรื่องอดีต เดี๋ยวก็เรื่องอนาคต สารพัดเรื่อง

จิต ปรุงแต่งรู้ให้ทัน แล้วจะละได้

นอก จากนี้แล้ว บางทีความคิดผุดขึ้นมาปรุงแต่งจิต โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ นั่นแหละ อาการของขันธ์ห้าผุดขึ้นมา ปรุงแต่งจิต บางทีจิตของเรา ก็ไปรวมร่วมกับความคิด ที่เขาเรียกว่า ไปเสวยนั่นแหละ เรื่องดีก็เป็นสุขเวทนา เรื่องไม่ดีก็เป็นเรื่องทุกข์เวทนา เราขาดการจำแนก แจกแจง เรารู้อยู่เมื่อจิตกับความคิด เข้ารวมกันแล้ว ก็เลยว่า เรารู้เราเห็น แต่ขาดการแยกแยะทำความเข้าใจว่า อะไรเป็นอาการของขันธ์ห้า ที่เกิดเรื่องในบ้าน แล้วจิตของเราเข้าไปร่วมได้ยังไง มันก็ไม่มีอะไรยากหรอกโยม ถ้าพวกเรามีความตั้งใจจริง ๆ ก็มีแค่ เรื่องกายเรื่องจิต เรื่องรูป เรื่องนาม ก็วนเวียนอยู่ที่นี่ทุกคนก็มีกิเลสกันหมด แต่มีมากมีน้อย อาจจะต่างกัน เราก็ต้องพยายามทำความเข้าใจ ยิ่งสะสาง ยิ่งเจริญสติเข้าไปมาก เท่าไหร่ เราก็ยิ่งจะเห็นมาก ยิ่งเห็นมากเท่าไร ก็ยิ่งทำความเข้าใจ รู้ความจริงแล้วค่อยละ ถ้าเรามีความคิด สติปัญญาเก่า ๆ ของเรา เราก็ต้องรู้จักตัด รู้จักกด รู้จักข่ม

แยก แยะแล้วยอมรับ ก็ปล่อยวางได้

พระ พุทธองค์ท่านบอกเอาไว้ว่า สติปัญญาทางโลกนั้น อย่าเพิ่งเอามาโต้แย้ง จะดีมากขนาดไหน ก็อย่าเพิ่งเอามาโต้แย้ง เราดับ เราอด เราข่ม จนกว่าจิตของเราจะตกกระแสธรรม จนกว่าจะแยกรูป แยกนามได้ สัมมาทิฐิ ความรู้แจ้งเห็นจริง ถึงจะเปิดทางให้ วิปัสสนาก็เริ่มเกิดกำลัง สติก็จะตามดู การเกิดดับของขันธ์ห้า เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความไม่เที่ยงของความคิด ของอารมณ์ที่จิตเราเข้าไปปรุงแต่ง ทำให้เกิดอัตตาตัวตน ถ้าเราเห็นตรงนี้ กำลังสติของเราก็จะพุ่งแรง เป็นมหาสติ ตามดู ตามรู้ ตามทำความเข้าใจ ก็เห็นการเกิด การดับ เขาเรียกว่า เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความไม่เที่ยงของความคิด ของอารมณ์ตั้งอยู่ดับไปตามดูจนจิตของเรา ยอมรับความจริงว่า ไม่มีสารประโยชน์ แก่นสารอะไร นั่นแหละจิตของเราจึงจะวาง นี่แหละจุดวางก็อยู่ตรงนี้ ตราบใดที่ยังแยกรูป แยกนามไม่ได้ ก็ต้องเพิ่มกำลังสติ ให้เป็นมหาสติ ถ้ายังแยกรูป แยกนามไม่ได้ ส่วนมากกำลังสติของเรา จะพลั้งเผลอ เพราะว่าความเคยชิน แบบเก่า ๆ ปัญญาที่เกิด ก็เกิดจากจิต เกิดจากขันธ์ห้า ที่ปรุงแต่งส่งออกไป

กิเลสจะดับ หรือพอกพูน ก็อยู่ที่เรา

อันนี้ เป็นเรื่องละเอียดมากทีเดียวคนที่ขยันหมั่นเพียรจริง ๆ ถึงจะเข้าใจ ถ้าคนเกียจคร้าน ก็จะไม่เข้าใจ ขยันหมั่นเพียร ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ขยันทำความเข้าใจ ขยันละกิเลส ความอยาก เล็ก ๆ น้อย ๆไม่ใช่ว่า อยากเฉพาะในเรื่องอาหาร การอยู่การกิน อยากในรูป ในรส ในกลิ่น ในเสียง ความยินดี ยินร้าย ทั้งผลักไส ทั้งดึงเข้ามา ไม่อยากเอา ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ดับออกให้หมดเลยทีเดียว ทำความเข้าใจให้ถึงธรรมชาติที่แท้จริง ธรรมชาติของจิตที่ไม่มีกิเลส เขาก็สะอาดบริสุทธิ์ ธรรมชาติของโลกภายนอก เขาก็หลงอยู่กับโลกธรรม 8 อยู่อย่างนั้นเราก็ยังอาศัยโลกอยู่ เราก็ต้องทำความเข้าใจกับโลก โลกในที่นี้หมายถึง ความคิด หมายถึงอารมณ์ที่อยู่ในกายของเรา ซึ่งเรียกว่า รอบรู้ในโลก รอบรู้ในกองสังขาร ของตัวเอง รู้จักทำความเข้าใจแล้ว ค่อยละออกจากที่นั่น ที่นี่กิเลสก็จะเหือดแห้งไป ๆ การละการดับไม่มี มีแต่พอกพูนกิเลส มันก็มากขึ้น ๆ กำลังก็มากขึ้น

ความสุขที่แท้ จริงคือความว่าง

คนเราเกิดมาก็เพื่อที่จะเดิน ให้ถึงจุดหมายปลายทาง แต่ไม่เดินให้ถึงจุดหมายปลายทางสักที มีแต่พากันมัวเมาเล่น เพลิดเพลิน อยู่กับรส กลิ่น เสียง สัมผัสต่าง ๆ เพลิดเพลินอยู่กับโลกสมมุติตรงนี้อยู่ ให้มองให้ลึก ค่าความสุขที่แท้จริง คือ ความว่าง ความสะอาด ความบริสุทธิ์ การไม่กลับมาเกิดอีกเกิด ทางกายเนื้อ พวกเราก็เกิดมาแล้ว แต่เกิดทางด้านจิตวิญญาณนี่แหละสำคัญ กายเนื้อแตกดับ วิญญาณของเราจะไปอย่างไร นี่แหละ เราต้องศึกษา เราดับความเกิดได้แล้วหรือยัง เราตัดภพ ตัดชาติ ได้แล้วหรือยัง ไม่ใช่ว่า จะไปปฏิบัติ เอาช่วงจะหมดลมหายใจ หรือปฏิบัติ เอาช่วงที่อายุมากแล้ว เราก็ต้องปฏิบัติ เราต้องฝึกไปเรื่อย ๆ ขณะที่เรายังมีกำลังใจอยู่ ตื่นนอน ตื่นขึ้นมาเราทำบุญให้กับตัวเรา แล้วหรือยัง เราละความเกียจคร้าน ออกจากจิตใจของเรา แล้วหรือยัง ละความเห็นผิดออกจากจิตใจของเราหรือยังตอนนี้ จิตของเราเป็นกุศล หรือว่าอกุศล อันไหนควรจะเจริญ อันไหนควรละ ถ้าจิตของเราดี เราก็มองโลกในทางที่ดี คิดดี ทำดี ตลอดเวลา รู้จักสำรวมอินทรีย์ ของตัวเราเอง ทุกคนมีกิเลสเหมือนกันหมดนั่นแหละ แต่จะมีมากมีน้อย ก็ขึ้นอยู่กับอานิสงส์ ตบะบารมี ของแต่ละบุคคลเกิด เป็นคนมีบุญทุกคน อยู่ที่ใครจะสานต่อบุญ ของตนในทางไหนทุกคน ล้วนสร้างบุญมาดี ถึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ แล้วเราก็มาสร้างสานต่อ ทำกายให้เป็นบุญ ทำวาจาให้เป็นบุญ ทำจิตให้เป็นบุญ รู้จักศึกษา รู้จักค้นคว้าสติ สมาธิ ปัญญาเป็นอย่างไร ลักษณะของศีลเป็นอย่างไร ความสงบกาย วาจา เป็นอย่างไร ความปกติเป็นอย่างไร ไม่ว่าจิต หรือศีล ก็อยู่ที่จิตของเรานี่แหละ ไม่ได้อยู่ที่ไหนหรอกกาย ของเราก็เป็นศีล จิตของเราก็เป็นศีล ทีนี้จะหนักแน่นหรือไม่ หวั่นไหวหรือไม่ จะหลงหรือไม่ อันนี้อาตมาจะพูด เฉพาะส่วนที่บุคคล ที่มีความขยันจริง ๆ ถึงจะเข้าใจตรงนี้ ส่วนมากก็ยังพากันเพลิดเลินอยู่ ก็ยังดี ที่ยังพากันฝักใฝ่ในครองบุญ ครองกุศล ในการสร้างอานิสงส์ สร้างบารมี สร้างบุญตลอดเวลา

การสร้างบารมี ต้องเสียสละอย่างแท้จริง

อีก อย่างหนึ่งนั้น ถ้าไม่ถึงวาระ ถึงเวลา ก็ยากที่จะตกถึงกระแสธรรม ถ้าอานิสงส์บุญ บารมีของเราไม่เต็ม เราก็ต้องสร้างบารมีของเราไปเรื่อย ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังดีกว่าไม่ทำ ถ้าคนไม่เคยสร้าง คนไม่เคยทำ ก็ยากที่จะระลึกนึกถึงได้ เราต้องพยายามสร้างอยู่บ่อย ๆ ทำอยู่บ่อย ๆ ให้ทานกับตัวเรา ให้ทานกับคนอื่น ให้อภัยทาน อโหสิกรรมอยู่ตลอดเวลา มันก็ไม่มีเรื่องอะไรมากหรอก มีอยู่นิดเดียว
แต่พวกเราพลิกไม่ได้ พลิกจากสมมุติไปหาวิมุติไม่ได้ ถ้าพลิกได้ก็เหมือนกับ เส้นผมบังภูเขา ทำไมถึงพลิกไม่ได้ ก็เพราะว่าอานิสงส์ บารมีทางสมมุติของเรายังไม่พร้อม บางทีภาระหน้าที่ ก็มาปิดกั้นเอาไว้ บางทีครอบครัวก็มาปิดกั้นเอาไว้ ครอบครัวก็ยังไม่บริบูรณ์ ยังไม่สมบูรณ์ บางทีภาระหน้าที่การงาน อันโน้นก็ยังติดขัด สารพัดเรื่องที่เขาจะมาปิดกั้นเอาไว้ บางทีกิเลสต่าง ๆ กายเนื้อก็ยังมาปิดกั้นดวงจิตของเราเอาไว้ความคิดอารมณ์ก็ยังมาปิดกั้น ดวงจิตของเราเอาไว้ กิเลสต่าง ๆ ก็ยังมาปิดกั้นดวงจิตของเราเอาไว้ เราก็ต้องพยายามฝ่าฟันอุปสรรคต่าง ๆ ด้วยความขยันหมั่นเพียร การที่จะขึ้นสู่ที่สูงได้ ก็ต้องเป็นคนที่ขยันหมั่นเพียร เป็นคนเสียสละ อย่างยิ่งยวด เสียสละจริง ๆ เสียสละหมด เสียสละทั้งภายนอกภายใน

ทำ กายให้เป็นวัด ทำจิตให้เป็นพระ อยู่ที่ไหนก็เหมือนกันหมด

ทีนี้ ถ้าจะเป็น ก็เป็นเรื่องปัญญา ให้ทำความเข้าใจ ที่เรามาวัด อย่างนี้ เราก็ได้อยู่ ที่ว่าได้นั้น ได้มาจากการทำจิตของเราให้สงบ ถ้าเราไม่ปล่อยวางภาระหน้าที่ การงานก็คงจะมาไม่ได้ ถ้าไม่มีการเสียสละเวลา เราก็คงจะมาไม่ได้ อีกอย่างหนึ่งนั้น ก็ได้ผู้บริหารที่ดี อยากให้บริวารได้รับความสงบสุข อยากจะให้มาทำความเข้าใจ กับจิตของเราอันนี้อาตมาก็ขอขอบคุณ ผู้บริหารทุกคน ทุกท่านด้วย ผู้หลักผู้ใหญ่ด้วย ทั้งที่ท่านก็พากันมาช่วยอุปการะ วัดนี้ก็เยอะอยู่ ก็ขอขอบคุณทุก ๆ คน มีโอกาสก็ขอเชิญมาที่นี่ ก็เหมือนกับมาบ้านของเรา ทำกายให้เป็นบ้าน ทำกายให้เป็นวัด ทำจิตให้เป็นพระ อยู่ที่ไหนก็เหมือนกันหมด

รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส นั่นแหละอาจารย์ผู้สอนธรรมะ

ถ้าเรามีสติคอยตรวจสอบจิตของเรา เราก็จะได้ธรรมะอยู่ตลอดเวลา รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ก็จะเป็นอาจารย์สอนธรรมะให้เรา ในส่วนลึก ๆ เราก็ต้องสังเกตดู การเกิด ดับของจิต ของขันธ์ห้า ที่มาปรุงแต่งจิต ตัวนี้แหละขันธมาร ที่ทำให้จิตของเรา หลงอยู่ในการเวียน ว่าย ตาย เกิด ในวัฏสงสาร และก็โดยจิตของเรา ก็ยังหลอกจิตของเราอีก ยังปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา ยังวิ่งอยู่ตลอดเวลา เราพยายามมาดับ มากด มาข่ม มาคลายออกจากจิต ออกจากความยึดมั่น ถือมั่นตรงนี้ให้ได้

การปฏิบัติไม่ ใช่อยู่ที่สถานที่ แต่อยู่ที่เรา

ถ้าเราอยากจะเห็นตรงนี้จริง ๆ เราลองอดพูด และก็อดคิด สักวัน สองวันดูสิ จิตของเรามันจะดิ้นถึงขนาดไหน อดทุกสิ่ง ทุกอย่าง อดทั้งอาหาร การอยู่การกิน จิตของเราจะเกิดความอยากไหม กายหิว จิตปรุงแต่ง ได้เร็ว ได้ไวไหม เราต้องทำความเข้าใจ ให้หมด ให้รอบรู้ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ไม่ใช่ว่า จะไปเที่ยวที่โน่น ปฏิบัติธรรมที่นี่ ถึงจะรู้ธรรม ถ้าเรารู้จักฝึกดู เรารู้ได้ตลอดเวลา ตั้งแต่ตื่นมา ทำความเข้าใจกับทวารของเรา ทวารทั้ง 7 ตามีหน้าที่ดูก็ ให้เขาดู เราก็ดูจิตของเราว่า เกิดความยินดีไหม ยินร้ายไหม ผลักไสไหม ดึงเข้ามาไหมถ้าเราจะหลบหลีก ก็ต้องหลบหลีก ด้วยสติปัญญา จิตของเราจะเกิดความโลภ เกิดความโกรธ เรารู้จักดับ รู้จักระงับไหม ถ้ามันเกิดแล้วทำไมเราถึงรู้ว่ามันเกิด เวลาดับ มันกำลังเริ่มก่อตัว เราดับได้หรือไม่ เหตุการณ์จากภายนอก มาทำให้เกิดแล้ว เรารู้จักดับ หรือรู้จัก ควบคุมไหม หรือเกิดจากข้างใน ของเราโดยตรง

จิตเป็นธรรม ตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็ก

สมัยก่อน จิตของวิญญาณต่าง ๆ ก็เป็นมิจฉาทิฐิ กว่าจะคลายลงไปได้ก็ลำบาก เราเหมือนกัน สมัยก่อนก็ไม่มีใคร ฝึกหัดปฏิบัติ มีอาตมาองค์เดียว ที่ออกมาอยู่ป่า อยู่เขา เพราะว่าอะไร เพราะจิตของอาตมามันว่าง ตั้งแต่เป็นฆราวาส ว่างมาตั้งแต่เป็นเด็ก 6-7 ขวบ ก็ว่างแล้ว ก่อนที่จะออกบวช ก็ปลงขันธ์ห้า ได้หมดแล้วแต่ไม่รู้ว่า จิตของตัวเองเป็นธรรม เพื่อที่จะมาแสวงหาธรรม พอบวชได้ประมาณ 17-18วัน จิตก็เลยดีดออกจากความคิด ออกจากอารมณ์ ร้องอ๋อขึ้นมา เราลองใช้ความคิดแค่นี้เอง ให้จิตเราว่าง พอปลงผมวันแรก สติก็สั่งเลย ให้เราหาเครื่องอยู่ให้เจอ ถ้าหาเครื่องอยู่ไม่เจอ การบวชเป็นพระก็จะลำบากก็เร่งทำความเพียร ตั้งแต่วันแรก ยิ่งเห็นแล้วก็ยิ่งเข้าใจ แล้วก็ยิ่งสร้างความเพียร หนัก ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน ทำตามความเข้าใจ เดินปัญญา ละกิเลส ตรงนี้สำคัญ การดับการละของพวกเราไม่มี แล้วจะไปแสวงหาแต่ธรรมจะได้ยังไง การแยกรูป แยกนามของเราไม่มี จะเข้าใจเรื่องจิตได้ยังไง
สติก็ยังไม่รู้จักสร้าง มันจะไปได้ยังไง สร้างสติให้ต่อเนื่อง รักษาสติให้ต่อเนื่อง รู้จักดับ รู้จักละ รู้จักทำความเข้าใจ อยู่ตลอดเวลา แล้วเป็นคนขยันหมั่นเพียรจริง ๆ ถ้าคนเกียจคร้าน จ้างก็ไม่เข้าใจ ก็จะไม่รู้ ไม่เห็น อยู่คนเดียวก็หมั่นวิเคราะห์ แก้ไข ปรับปรุง ความทุกข์เกิดขึ้นที่กาย หรือเกิดขึ้นที่จิต มันเป็นอย่างไร เราต้องศึกษา ค้นคว้าให้ละเอียด นิวรณ์ธรรมต่าง ๆ เป็นอย่างไร ความว่าง ความสงบเป็นอย่างไร ถ้าเราไม่ศึกษา ไม่ค้นคว้า แล้วใครจะทำให้เราล่ะ

ธรรมนั้นมี อยู่ประจำโลก จิตของเรานั้นคือองค์ธรรม

แม้แต่ จับชายจีวรของพระพุทธองค์อยู่ ถ้าเราไม่ศึกษา ไม่สนใจ เราจะไปเข้าใจได้อย่างไร ธรรมะนั้น มีอยู่ประจำโลก พระพุทธองค์ ท่านเป็นคนค้นพบ เราถึงยกไว้สู่ที่สูง เป็นบรมศาสดา ท่านเอามาจำแนกแจกแจง ธรรมะนั้นก็มีอยู่ประจำโลกกัน จิตของเรานั่นแหละคือองค์ธรรมแต่เวลานี้ ก็ยังหลงอยู่ ยังหลงเกิด ยังหลงยึดมั่นถือมั่นอยู่ ก็ต้องพยายามคลายออกให้มันหมด พวกกิเลสที่มาทีหลัง เพราะจิตเดิมแท้นั้น มันไม่มีกิเลสหรอก สะอาด บริสุทธิ์ ก่อนที่จะคลายกิเลสได้ บารมีของเราต้องเต็มเปี่ยม ความเสียสละของเราต้องเต็มเปี่ยม เอาออกให้หมด อย่าไปกลัวอด กลัวลำบากยิ่งเอาออกเท่าไหร่ ก็ยิ่งเยอะ คลายออกให้มันหมด ก็จะรู้ความเป็นจริง แต่พวกเราไม่ยอมคลาย อาจจะคลายอยู่เพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่คลายหมด ต้องคลายออกให้มันหมด คลายความคิด คลายอารมณ์ คลายความยึดมั่น ถือมั่น คลายกิเลส สำรอกกิเลส ออกให้หมด ทีนี้ เราจะมี จะเป็น ก็เป็นเรื่องปัญญาล้วน ๆ ก็ไปทำหน้าที่แทน ทุกสิ่งทุกอย่าง

ปรารถนาให้ญาติ โยมหมั่นปฏิบัติ

ญาติโยมท่านใด มีโอกาส อยากไปฝึกปฏิบัติ ก็ขอเชิญมาที่นี่ก็ได้ หรือจะไปที่มุกดาหารก็ได้ บนภูบ้านไร่ ที่นั่นบรรยากาศดีมากทีเดียว หรือจะไปที่เขาใหญ่ วัดถ้ำสันติธรรม อาตมาก็มีลูกศิษย์อยู่คนหนึ่ง ที่นั่น ไปซื้อที่ ขยายที่เอาไว้ ให้ปลูกต้นไม้ครบ 4-5ไร่ ตรงหน้าถ้ำก็น่าอยู่ เหมือนกันมีโอกาสจะไป พังโคน ได้สร้างวัดเอาไว้ที่พังโคน เลยพังโคนไปทางวานรนิวาส ประมาณ 15 กิโลฯ พระฝรั่งท่านซื้อที่ถวาย เอาไว้ประาณ 300 กว่า ไร่ ก็สร้างวัด สร้างอะไรอยู่ที่นั่น ซึ่งก็น่าปฏิบัติเหมือนกัน

เวลามีค่า อย่าปล่อยให้สูญเปล่า

ถ้าเราเข้าใจแล้ว อยู่ที่ไหนก็เป็นวัด ทำกายให้เป็นวัด ทำจิตให้เป็นพระ ไปสร้างประสบการณ์ ไปหาประสบการณ์ อย่าปล่อยเวลาทิ้ง เสียดายเวลา ถ้าเราเข้าใจตรงนี้แล้ว เราจะเสียดายเวลามากทีเดียว จะไม่อยากปล่อยเวลาทิ้ง ทั้งภายนอก ภายในเราจะสร้างคุณประโยชน์ต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์ ทั้งประโยชน์ตน ประโยชน์ท่าน ทั้งทรัพย์ภายใน ทรัพย์ภายนอก ฝากฝังไว้กับสมมุติ คนรุ่นหลังมา ก็จะได้มาสร้าง มาสานต่อ เหมือนกับพ่อ แม่ ฝากฝังทรัพย์ไว้ให้ลูก ต้องพยายามกันนะ

สรุปสุดท้าย ก็ขอย้ำเรื่องจิต ให้ตามดูจิตทุก ขณะ


ปกติอาตมาไม่ ค่อยอยากจะพูด พูดน้อย แต่เหตุการณ์สมมุติให้พูด ถึงได้พูด ไม่อยากจะพูดเลย ถ้าพูดตามความจริง อยากจะดูอยู่เฉย ๆ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้วันนี้ ก่อนที่จะรับประทานอาหาร จิตนิ่งหรือเปล่า หรือว่า จิตเกิดความอยาก กายหิว จิตเกิดความอยากไหม จิตถึงบ้าน วันละกี่เที่ยว เราปรับปรุงแก้ไข ตัวเราเองได้แล้วหรือยัง เราเคยใช้อารมณ์กับแม่บ้าน กับหมู่ กับคณะ กับเพื่อนฝูง เรารู้จักสงบ รู้จักนิ่ง มีเหตุผลหรือไม่ เราก็ต้องพยายามวิเคราะห์แก้ไข ปรับปรุง ตัวเราเอง
วันนี้ อาตมาขอเจริญธรรม เพียงเท่านี้ ขอให้ญาติโยมทุกท่าน จงประสบแต่ความสุขความเจริญ
ขอสรุป อีก ครั้งพอฟังง่ายตาม บรรยายปฏิปทาของหลวงพ่อพยายามตาม ดูมาน่าเยินยอไม่ มีขอมีแต่ให้น้ำใจงามคำสอนเด่น เน้นตนเองให้ดีก่อนท่านพร่ำสอนฝึกเจ้าของอย่ามอง ข้ามพูดถึง เรื่องคนอื่นท่านก็ปราม
เท่าที่ตาม เฝ้าดูมาศรัทธาจริงการเข้าหาเวลาใดได้ทุกที่ท่านไม่มี การถือศักดิ์มักอวดหยิ่งเทศน์แก่นธรรมนำพา ว่าความจริงไม่ประวิง เวลาน่านิยมท่าน เน้นมากเรื่องวิมุติหลุดให้ได้ส่วนรูปกาย สมมุตินามตามเหมาะสมมือไม่วางว่างแต่ใจไร้อารมณ์จึงกล่าวชม หลวงพ่อท่านช่วยจริงไม่ รบกวนไม่ขอใครเกรงใจมากไม่ออกปาก ขออะไรใครทุกสิ่งการหาพระละความอยากหายากยิ่งเป็นความ จริงมิได้โฆษณ์โปรดเข้าใจเรื่องตำแหน่งยศถาบรรดาศักดิ์มิได้ ฝักใฝ่เอื้อเพื่อเป็นใหญ่แม้ตำแหน่งเจ้าอาวาสไม่สนใจแล้วแต่ใคร จะขันแข่งแย่งกันเองถึงจะกล่าวเล่าเขียนไปไม่มีจบเท่าที่พบ มากมีมิได้เล่าความ ดีท่านทุกส่วนล้วนน่าเอาถ้าพวกเรา ทำตามนี้จะดีเอง
ที่ควรใช้ โยนิโสมนสิการ (การพิจารณาโดยแยบคาย) และนำไปปฏิบัติให้กำหนด ดูลมหายใจเข้า ออก กระทบปลายจมูก ทั้งผ่านเข้า และผ่านออก อย่าส่ง จิตออกนอก ถ้ามันออกไป ให้รีบดึงกลับคืนมาถ้าควบ คุมจิตยากลำบาก ให้ใช้สมถะข่มไว้ (สร้าง สติตามรูปแบบ)-ให้ดูอาการของจิต (สิ่งที่เกิดกับจิต) ตลอดเวลา (ใช้ ตาปัญญา)-เมื่อ มีความอยาก ความต้องการ อย่าเพิ่งเอาทันที ดูให้เห็นชัดก่อนจึงเอา (ดูจนกว่าจะหายอยาก)-การเสียสละที่ดีกว่า คือการสลัดกิเลส (สิ่งเศร้าหมอง)ออกจากจิต-ต้องเป็นผู้ให้ หรือเป็นผู้ไม่เอา จึงจะเป็นผู้ได้ ถ้าอยากเอาจะไม่ได้-สมมุติ กับวิมุติต้องไปด้วยกัน คือกายทำตามหน้าที่สมมุติ แต่จิตใจไม่หลงยึดติดในสมมุติ ปล่อยวางทางใจ เพื่อให้จิตว่าง โดยมิได้วางมือ)
-ให้แยกรูป แยกนาม หรือแยกจิตออกจากขันธ์ห้า โดยไม่ให้ขันธ์ห้า มีอำนาจเหนือจิต (ไม่มีอุปาทานยึดมั่นในขันธ์ห้า)-การปฏิบัติ ต้องปฏิบัติตลอดเวลา ไม่เลือกเวลาและสถานที่ โดยทำบ้านให้เป็นวัด ทำจิตใจให้เป็นพระ ทำอยู่ที่ไหน เมื่อไรก็ได้-ผู้เห็นจิตจึงเห็นธรรม ผู้เห็นธรรม จึงเห็นพระพุทธเจ้า (เห็นด้วยปัญญา)-ตำราและอาจารย์ตัวจริง คือตัวเรา ส่วนตำราและอาจารย์อื่น เป็นเพียงผู้บอก ผู้แนะ ถ้าหากตัวเอง ไม่รู้จักตัวเอง ไม่เห็นตัวเอง ก็ยังไม่รู้อะไรเลย-สิ่งที่เห็น ที่ได้ยินเป็นต้น มิใช่เขามารบกวนเรา ที่จริงจิตของเราวิ่งออกไปรับมาเอง (แก้ปัญหาที่จิตเรา)
-การเดินต้องเห็นขา และเท้าตัวเองทุกก้าว โดยมิได้ก้มดู-ขณะมาอยู่วัด ให้สังเกตดูจิต เขาไปเยี่ยมบ้านหรือเปล่า ถ้าเขาไปกี่ครั้ง พยายามควบคุมไว้ ไม่ให้เขาไป-ไม่ควรสนใจงานอื่น หรือบุคคลอื่น ที่เป็นเหตุให้เสียเวลา ดูจิตของตน-เวลาจะเข้าห้องน้ำ ให้ตรวจดูก่อน จึงเลือกเข้าห้องที่สกปรกที่สุด เพื่อจะได้มีงานทำเพิ่มขึ้น และอย่าลืมนึกขอบคุณ ผู้ที่สร้างงานไว้ให้เรา ได้มีงานทำ (เราเป็นคนไม่ตกงานเพราะเขา) ฯลฯจบบริบูรณ์

อ่านประวัติพระราชภาวนาพินิจ(สนธิ์ อนาลโย)ต่อที่นี้

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013