ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

10 ธันวาคม 2553

บทสวดและคำแปล เทวะตาทิสะทักขิณาและธัมมะจักกัปปะวัตตะสะสูตร

vlcsnap-148361

เทวะตาทิสสะทักขิณานุโมทะนาคาถา

ยัสมิง  ปะเทเส กัปเปติ                           วาสัง ปัณฑิตะชาติโย
        สีละวันเตตถะ  โภเชตวา                         สัญญะเต  พรัหมะจาริโน
        ยา  ตัตถะ เทวะตา อาสุง                         ตาสัง  ทักขิณะมาทิเส
        ตา  ปูชิตา  ปูชะยันติ                               มานิตา  มานะยันติ  นัง
        ตะโต  นัง  อะนุกัมปันติ                           มาตา  ปุตตังวะ  โอระสัง
        เทวะตานุกัมปิโต  โปโส                           สะทา  ภัทรานิ  ปัสสะติ ฯ

.

    ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง

เอวัมเม  สุตัง  ฯ  เอกัง  สะมะยัง  ภะคะวา  พาราณะสิยัง  วิหะระติ
อิสิปะตะเน  มิคะทาเย ฯ  ตัตระ  โข  ภะคะวา  ปัญจะวัคคิเย  ภิกขู
อามันเตสิ ฯ
        เทวเม  ภิกขะเว  อันตา  ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย  จายัง
กาเมสุ  กามะสุขัลลิกานุโยโค  หีโน  คัมโม  โปถุชชะนิโก อะนะริโย
อะนัตถะสัญหิโต  โย  จายัง  อัตตะกิละมะถานุโยโค  ทุกโข  อะนะริโย
อะนัตถะสัญหิโต ฯ
        เอเต  เต  ภิกขะเว  อุโภ  อันเต  อะนุปะคัมมะ  มัชฌิมา ปะฏิปะทา
ตะถาคะเตนะ  อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี  ญาณะกะระณี  อุปะสะมายะ
อะภิญญายะ  สัมโพธายะ  นิพพานายะ  สังวัตตะติ ฯ
        กะตะมา  จะ สา  ภิกขะเว  มัชฌิมา  ปะฏิปะทา  ตะถาคะเตนะ
อะภิสัมพุทธา  จักขุกะระณี  ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ  อะภิญญายะ
สัมโพธายะ  นิพพานายะ  สังวัตตะติ ฯ
        อะยะเมวะ  อะริโย  อัฏฐังคิโก  มัคโค ฯ  เสยยะถีทัง ฯ สัมมา-
ทิฏฐิ  สัมมาสังกัปโป  สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว  สัมมา-
วายาโม  สัมมาสะติ  สัมมาสะมาธิ ฯ
        อะยัง  โข สา ภิกขะเว  มัชฌิมา  ปะฏิปะทา  ตะถาคะเตนะ
อะภิสัมพุทธา  จักขุกะระณี  ญาณะกะระณี  อุปะสะมายะ  อะภิญญายะ
สัมโพธายะ  นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ
        อิทัง โข ปะนะ  ภิกขะเว ทุกขัง  อะริยะสัจจัง ฯ ชาติปิ ทุกขา
ชะราปิ  ทุกขา  มะระณัมปิ  ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะโทมะนัสสุปายา-
สาปิ  ทุกขา  อัปปิเยหิ  สัมปะโยโค  ทุกโข  ปิเยหิ วิปปะโยโค  ทุกโข
ยัมปิจฉัง  นะ ละภะติ  ตัมปิ  ทุกขัง สังขิตเตนะ  ปัญจุปาทานักขันธา
ทุกขา ฯ
        อิทัง โข  ปะนะ  ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย  อะริยะสัจจัง ฯ  ยายัง
ตัณหา  โปโนพภะวิกา  นันทิราคะสะหะคะตา  ตัตระ  ตัตราภินันทินี ฯ
เสยยะถีทัง ฯ  กามะตัณหา  ภะวะตัณหา  วิภะวะตัณหา ฯ
        อิทัง  โข ปะนะ  ภิกขะเว  ทุกขะนิโรโธ  อะริยะสัจจัง ฯ  โย
ตัสสาเยวะ  ตัณหายะ  อะเสสะวิราคะนิโรโธ  จาโค  ปะฏินิสสัคโค  มุตติ
อะนาละโย ฯ
        อิทัง  โข  ปะนะ  ภิกขะเว  ทุกขะนิโรธะคามินี  ปะฏิปะทา
อะริยะสัจจัง ฯ
        อะยะเมวะ  อะริโย  อัฏฐังคิโก  มัคโค ฯ  เสยยะถีทัง  ฯ สัมมา-
ทิฏฐิ สัมมาสังกัปโก  สัมมาวาจา  สัมมากัมมันโต  สัมมาอาชีโว  สัมมา-
วายาโม  สัมมาสะติ  สัมมาสะมาธิ ฯ
        อิทัง  ทุกขัง  อะริยะสัจจันติ เม  ภิกขะเว  ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ
ธัมเมสุ  จักขุง  อุทะปาทิ  ญาณัง  อุทะปาทิ ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา
ุอุทะปาทิ  อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
        ตัง โข ปะนิทัง  ทุกขัง  อะริยะสัจจัง  ปะริญเญยยันติ  เม  ภิกขะเว
ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง  อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ  ปัญญา
อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
        ตัง  โข  ปะนิทัง ทุกขัง  อะริยะสัจจัง  ปะริญญาตันติ  เม ภิกขะเว
ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง อุทะปาทิ  ญาณัง อุทะปาทิ  ปัญญา
อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
        อิทัง  ทุกขะสะมุทะโย  อะริยะสัจจันติ  เม ภิกขะเว  ปุพเพ อะนะ-
นุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง  อุทะปาทิ  ญาณัง  อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ
วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
        ตัง โข  ปะนิทัง  ทุกขะสะมุทะโย  อะริยะสัจจัง  ปะหาตัพพันติ
เม ภิกขะเว  ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ  จักขุง  อุทะปาทิ  ญาณัง
อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
        ตัง  โข  ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย  อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ  เม
ภิกขะเว ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง  อุทะปาทิ  ญาณัง
อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
        อิทัง  ทุกขะนิโรโธ  อะริยะสัจจันติ  เม  ภิกขะเว  ปุพเพ อะนะ-
นุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง  อุทะปาทิ  ญาณัง  อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ
วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
        ตัง  โข  ปะนิทัง  ทุกขะนิโรโธ  อะริยะสัจจัง  สัจฉิกาตัพพันติ  เม
ภิกขะเว  ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง  อุทะปาทิ  ญาณัง
อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
        ตัง  โข  ปะนิทัง  ทุกขะนิโรโธ  อะริยะสัจจัง  สัจฉิกะตันติ  เม
ภิกขะเว  ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง  อุทะปาทิ  ญาณัง  อุทะ-
ปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
        อิทัง  ทุกขะนิโรธะคามินี  ปะฏิปะทา  อะริยะสัจจันติ  เม ภิกขะเว
ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ  จักขุง  อุทะปาทิ  ญาณัง  อุทะปาทิ  ปัญญา
อุทะปามิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
        ตัง  โข  ปะนิทัง  ทุกขะนิโรธะคามินี  ปะฏิปะทา  อะริยะสัจจัง
ภาเวตัพพันติ  เม ภิกขะเว  ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ  จักขุง อุทะปาทิ
ญาณัง  อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
        ตัง  โข  ปะนิทัง  ทุกขะนิโรธะคามินี  ปะฏิปะทา  อะริยะสัจจัง
ภาวิตันติ  เม ภิกขะเว ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง  อุทะปาทิ
ญาณัง  อุทะปาทิ  ปัญญา  อุทะปาทิ  วิชชา  อุทะปาทิ  อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ
        ยาวะกีวัญจะ เม  ภิกขะเว  อิเมสุ  จะตูสุ  อะริยะสัจเจสุ  เอวันติ-
ปะริวัฏฏัง  ทวาทะสาการัง  ยะถาภูตัง  ญาณะทัสสะนัง นะ  สุวิสุทธัง
อะโหสิ ฯ
        เนวะ  ตาวาหัง  ภิกขะเว  สะเทวะเก  โลเก  สะมาระเก  สะพรัหมะ-
เก  สัสสะมะณะพราหมะณิยา  ปะชายะ  สะเทวะมะนุสสายะ  อะนุต-
ตะรัง สัมมาสัมโพธิง  อะภิสัมพุทโธ  ปัจจัญญาสิง ฯ
        ยะโต  จะ โข เม ภิกขะเว  อิเมสุ  จะตูสุ  อะริยะสัจเจสุ  เอวันติ-
ปะริวัฏฏัง  ทวาทะสาการัง  ยะถาภูตัง  ญาณะทัสสะนัง  สุวิสุทธัง
อะโหสิ ฯ
        อะถาหัง  ภิกขะเว  สะเทวะเก  โลเก  สะมาระเก  สะพรัมหะเก
สัสสะมะณะพราหมะณิยา  ปะชายา  สะเทวะมะนุสสายะ  อะนุตตะรัง
สัมมาสัมโพธิง  อะภิสัมพุทโธ  ปัจจัญญาสิง ฯ
        ญาณัญจะ  ปะนะ  เม ทัสสะนัง  อุทะปาทิ  อะกุปปา เม
วิมุตติ  อะยะมันติมา  ชาติ  นัตถิทานิ  ปุนัพภะโวติ ฯ
        อิทะมะโวจะ  ภะคะวา ฯ  อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา  ภิกขู
ภะคะวะโต  ภาสิตัง  อะภินันทุง ฯ อิมัสมิญจะ  ปะนะ  เวยยากะระณัสมิง
ภัญญะมาเน  อายัสมะโต  โกณฑัญญัสสะ  วิระชัง  วีตะมะลัง
ธัมมะจักขุง  อุทะปาทิ  ยังกิญจิ  สะมุทะยะธัมมัง  สัพพันตัง
นิโรธะธัมมันติ ฯ
        ปะวัตติเต  จะ  ภะคะวะตา  ธัมมะจักเก  ภุมมา เทวา สัททะ-
มะนุสสาเวสุง  เอตัมภะคะวะตา  พาราณะสิยัง  อิสิปะตะเน  มิคะทาเย
อะนุตตะรัง  ธัมมะจักกัง  ปะวัตติตัง  อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ
วา  พราหมะเณนะ  วา  เทเวนะ  วา  มาเรนะ วา พรัหมุนา  วา
เกนะจิ  วา  โลกัสมินติ ฯ
        ภุมมานัง เทวานัง สัททัง  สุตวา
        จาตุมมะหาราชิกา  เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ  จาตุมมะหา-
ราชิกานัง  เทวานัง สัททัง  สุตวา
        ตาวะติงสา  เทวา  สัททะมะนุสสนาเวสุง ฯ  ตาวะติงสานัง  เทวานัง
สัททัง  สุตวา
        ยามา  เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง  ฯ  ยามานัง เทวานัง  สัททัง
สุตวา
        ตุสิตา  เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง  ฯ  ตุสิตานัง  เทวานัง  สัททัง
สุตวา
        นิมมานะระตี  เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ  นิมมานะระตีนัง
เทวานัง  สัททัง  สุตวา
        ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี  เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ  ปะระ-
นิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง  สัททัง สุตวา  พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุส-
สะเวสุง   เอตัมภะคะวะตา  พาราณะสิยัง  อิสิปะตะเน  มิคะทาเย
อะนุตตะรัง  ธัมมะจักกัง  ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง  สะมะเณนะ
วา  พราหมะเณนะ วา  เทเวนะ  วา  มาเรนะ  วา พรัหมุนา  วา
เกนะจิ  วา โลกัสมินติ ฯ
        อิติหะ  เตนะ  ขะเณนะ  เตนะ มุหุตเตนะ  ยาวะ  พรัหมะโลกา
สัทโท  อัพภุคคัจฉิ  ฯ อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี  โลกะธาตุ  สังกัมปิ
สัมปะกัมปิ  สัมปะเวธิ ฯ อัปปะมาโณ  จะ โอฬาร  โอภาโส  โลเก
ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง  เทวานุภาวัง ฯ
        อะถะโข  ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ  อัญญาสิ  วะตะ  โภ
โกณฑัญโญ  อัญญาสิ  วะตะ  โภ  โกณฑัญโญติ ฯ
        อิติหิทัง อายัสมะโต  โกณฑัญญัสสะ  อัญญาโกณฑัญโญเตววะ
นามัง  อะโหสีติ ฯ

 

คำแปล เทวะตาทิสสะ

     บัณฑิตชาติ  สำเร็จการอยู่ในประเทศสถานที่ใด  พึงเชิญเหล่าท่านผู้มีศีล  สำรวม ประพฤติพรหมจรรย์  เลี้ยงดูกันในที่นั้น  เทพดา  เหล่าใด  มีในที่นั้น   ควรอุทิศทักขิณาทานเพื่อเทพดาเหล่านั้นด้วย  เทพดาที่บูชาท่านแล้ว  ท่านย่อมบูชาบ้าง  ที่นับถือท่านแล้วท่านย่อมนับถือบ้าง  ย่อมอนุเคราะห์เขา  ประหนึ่งมารดาอนุเคราะห์บุตร  ผู้เกิดจากอก  บุรุษได้อาศัยเทพดาอนุเคราะห์แล้วย่อม พบแต่สิ่งที่อันเจริญตลอดไป

คำแปล  ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสูตร

     อันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ)  ได้สดับมาอย่างนี้  สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า  เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันใกล้  เมืองพาราณสี  ในกาลนั้นแล  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระภิกษุปัจจวัคคีย์ว่า

     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ที่สุดสองอย่างนี้  อันบรรพชิตไม่ควรเสพ  คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุข  ในกามทั้งหลายนี้ได้เป็นธรรมอันเลว  เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน  เป็นของคนมีกิเลสหนา  ไม่ใช่จากข้าศึกคือกิเลส  ไม่ประกอบด้วยประโยชน์  อย่างหนึ่ง  คือการประกอบความเหน็ดเหนื่อยด้วยตนเหล่านี้ใด  ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ  ไม่ใช่ไปจากข้าศึกคือกิเลส  ไม่ประกอบด้วยประโยชน์อย่างหนึ่ง  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง  ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่นนั้น  อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง  ทำดวงตา  ทำญาณเครื่องรู้  ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบระงับ  เพื่อความรู้ยิ่ง  เพื่อความรู้ดี  เพื่อความดับ

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้ปฏิบัติซึ่งเป็นกลางนั้นเป็นไฉน  ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว  ด้วยปัญญาอันยิ่ง  ทำดวงตา  ทำญาณเครื่องรู้ย่อมเป็นไปเพื่อความเข้าไประงับ  เพื่อความรู้ยิ่ง  เพื่อความรู้ดี  เพื่อความดับ ทางมี องค์๘ เครื่องไปจากข้าศึก  คือกิเลสนี้เอง กล่าวคือ ปัญญาอันเห็นชอบ  ความดำริชอบ  การเจารจาชอบ การงานชอบ  ความเลี้ยงชีวิตชอบ  ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ  ความตั้งใจมั่นชอบ 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็นี้แลเป็นทุกข์อย่างแท้จริง  คือ  ความเกิดก็เป็นทุกข์  ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์  ความโศก  ความร่ำไรรำพัน  ความทุกข์โทมนัส  ความคับแค้นใจ  ก็เป็นทุกข์  ปรารถนาอยู่ย่อมไม่ได้ แม้อันใด แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์  โดยย่อแล้ว  อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็นี้แล เป็นเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นอย่างจรงิแท้  คือความทะยานอยากนี้ทำให้มีภพอีก  เป็นไปกับความกำหนัดยินดี  ด้วยอำนาจความเพลิน  เพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ  กล่าวคือ ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่  คือความทะยานอยากในความี ในความเป็น  คือความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น

       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็นี้แล  เป็นความดับทุกข์อย่างจริงแท้ง  คือความดับโดยสิ้นกำหนัด  โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นนั่นเทียวอันใด  ความสละตัณหานั้น  ความวางตัณหานั้น  ความปล่อยตัณหานั้น  ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ก็นี้แล เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างจริงแท้  คือ ทางมีองค์ ๘ เครื่องไปจากข้าศึกคือกิเลสนี้แล  กล่าวคือปัณญาอันเห็นชอบ  ความดำริชอบ  วาจาชอบ  การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ การตั้งจิตมั่นชอบ

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว  ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว  ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว  วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว  แก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า  นี้เป็นทุกข์ อริยสัจ  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว  ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว  ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว  วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว  แก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า  ก็ทุกข์อริยสัจนี้แล  ควรกำหนดรู้ 

      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว  ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว  วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว  แก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า   ก็ทุกข์อริยสัจนี้แลอันเราได้กำหนดรู้แล้ว

       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว  ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว  วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว  แก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า  นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ

       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว  ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว  วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว  แก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า  ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ละแล้ว

       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว  ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว  ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว  วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว  แก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า  นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว  ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว  ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว  วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว  แก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า  ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล  ควรทำให้แจ้ง

       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว  ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว  วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว  แก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า  ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล อันเราได้ทำให้แจ้งแล้ว  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว  ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว  ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว  วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว  แก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า  นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว  ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว  ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว  วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว  แก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า  ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้นั้นแล ควรทำให้เจริญ  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว  ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว  ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว  วิทยาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว  แก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังแล้วในกาลก่อนว่า  ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทานี้นั้นแล อันเราเจริญแล้ว

       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงแล้ว  อย่างไรในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเราซึ่งมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒  อย่างนี้ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  เราได้ยืนยันตนว่า  เป็นผู้ตรัสรู้ พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ  ไม่มีความรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลกเป็นไปกับด้วยเทพดา มาร พหรม ในหมู่สัตว์ทั้งสมณพราหมณ์เทพดาไม่ได้เพียงนั้น  ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็เมื่อใดแล  ปัญญาอันรู้เห็นตามเป็นจริงอยางไรในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเราซึ่งรอบ ๓ มีอาการ ๑๒  อย่างนี้หมดจดดีแล้ว  เมื่อนั้น  เราจึงได้ยืนยันตนว่า  เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ  ไม่มีความตรัสรู้อื่นยิ่งกว่า  ในโลกกับด้วยเทพดา มาร พหรมในหมู่สัตว์ทั้งสมณพราหมณ์ เทพดามนุษย์

       ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า  ความพ้นพิเศษของเราไม่กลับกำเริบ  ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว  บัดนี้ไม่มีภพอีก  พระผุ้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระรรมปริยายนี้แล้ว  ภิกษุปัจจวัคคีย์ก็มีใจยินดี  เพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ก็แลเมื่อเวยยากรณ์นี้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่  จักษุในธรรมอันปราศจากธุลี  ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะ ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีอันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งทั้งปวงนั้น มีอันดับไปเป็นธรรมดา  ก็ครั้นเมื่อธรรมจักร  อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว  เหล่าภุมมเทพดา  ก็ยังเสียงให้บันลือว่านั้นจักร  คือธรรม ไมมีจักรอื่นสู้ได้  อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว  ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี  อันสมณพราหมณ์ เทพดา มาร พรหม และใดรๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้  ดังนี้

      เทพเจ้าเหล่านี้นจาตุมหาราช  ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าภุมมเทพดาแล้ว  ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น  เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้าเหล่าชั่นจาตุมมหาราชแล้วก็ยังเสียงให้บันลือลั่น  เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิต  ฯลฯ เทพเจ้าเหล่าชั้นนิมมานรดี  ฯลฯ เทพเจ้าเหล่นชั้นปรนิมมิตวสวัดดี  ฯลฯ เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ฯลฯ ว่านั้นจักร คือธรรม  ไม่มีจักรอื่นสู้ได้  อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว  ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  ใกล้เมืองพาราณสี  อันสมณพราหมณ์  เทพดา มาร พรหม และใครๆ  ในโลกยังให้เป็นไปไม้ได้ ดังนี้

       โดยขณะครู่เดียวนั้น  เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลก  ด้วยประการฉะนี้  ทั้งหมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป  ทั้งแสงสว่างอันยิ่งไม่มีประมาณได้ปรากฏแล้วในโลก  ล่วงเทวานุภาพของเทพดาทั้งหลายเสียหมด  ลำดับนั้นแล  พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า  อัญญาโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ  ผู้เจริญ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ  ผู้เจริญ  เพราะเหตุนั้น  นามว่า อัญญาโกณฑัญญะนี้นั่นเที่ยว  ได้มีแล้วแก่พระผู้มีอายุโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล

วัดพุทธบูชา บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ~ สวดมนต์วัดพุทธบูชา

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013