ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

13 ธันวาคม 2553

บทสวดและคำแปล โมกฺขุปายะคาถา

DSC08813 

โมกขุปายะคาถา

สัพพะวัตถุตตะมัง  นัตตะวา        พุทธะธัมมะคะณัตตะยัง

เชคุจฉะกายะมัจจานัง               โมกขุปายัง  วะทามิหัง.

ปาฏิโมกขัง  ปูเรตัพพัง              อะโถ  อินทะริยะสังวะโร,

อาชีวัสสะ  อะโถ  สุทธิ             อะโถ  ปัจจะยะนิสสิตัง

จาตุปาริสุทธิสีลัง                    กาตัพพัง วะ สุนิมมะลัง.

การะณากะระเณเหวะ               ภิกขุนา  โมกขะเมสินา,

พุทธานุสสะติ เมตตา จะ          อะสุภัง  มะระณัสสะติ

อิจจิมา  จะตุรารักขา               กาตัพพา จะ วิปัสสะนา

วิสุทธะธัมมะสันตาโน              อะนุตตะรายะ  โพธิยา,

โยคะโต  จะ ปะโพธา จะ          พุทโธ  พุทโธติ  ญายะเต.

นะรานะระติรัจฉานะ                เภทา  สัตตา  สุเขสิโน.

สัพเพปิ สุขิโน โหนตุ              สุขิตัตตา  จะ เขมิโน

เกสะโลมาทิฉะวานัง               อะยะเมวะ  สะมุสสะโย,

กาโย  สัพโพปิ  เชคุจโฉ          วัณณาทิโต  ปะฏิกกุโล.

ชีวิตินทะริยุปัจเฉทะ                สังขาตะมะระณัง  สิยา,

สัพเพสังปีธะ  ปาณีนัง             ตัณหิ  ธุวัง นะ ชีวิตัง.

อะวิชชาทีหี  สัมภูตา              รูปัญจะ  เวทะนา  ตะถา,

อะโถ สัญญา จะ สังขารา        วิญญาณัญจาติ  ปัญจิเม.

อุปปัชชันติ  นิรุชฌันติ            เอวัง  หุตตะวา  อะภาวะโต,

เอเต  ธัมมา อะนิจจาถะ         ตาวะกาลิกะตาทิโต,

ปุนัปปุนัง  ปีฬีตัตตา              อุปปาเทนะ  วะเยนะ จะ,

เต ทุกขา  วะ  อะนิจจา เย      อะถะ  สันตัตตะตาทิโต.

วะเส  อะวัตตะนาเยวะ            อัตตะวิปักขะภาวะโต

สุญญัตตัสสามิกัตตา จะ         เต อะนัตตาติ  ญายะเร

เอวัง  สันเต จะ เต ธัมมา       นิพพินทิตัพพะภาวะโต,

ทัฑฒะเคหะสะมาเยวะ           อะลัง  โมกขัง คะเวสิตุง.

ปัญจักขันธะมิมัง  ทุกขัง        ตัณหา  สะมุทะโย  ภะเว,

ตัสสา นิโรโธ  นิพพานัง        มัคโค  อัฏฐังคิการิโย

เอตะกานังปิ  ปาฐานัง          อัตถังญัตตะวายะถาระหัง,

ปะฏิปัชเชถะ  เมธาวี            ปัตตุง สังขาระนิพพุตินติฯ

คำแปล  โมกฺขุปายะคาถา

           ข้าพเจ้าขอนมัสการ ๓ รัตนะ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  อันเป็นวัตถุอุดมกว่าวัตถุทั้งปวงแล้ว  จะบอกอุบายเป็นเครื่องพ้นแก่เหล่าชนผู้มีร่างกายอันน่าเบื่อหน่าย  ปาฏิโมกขสังวรศีลควรให้สมบูรณ์  อินทรียสังวรศีลด้วย  อาชีวปาริสุทธิศีลด้วย  ปัจจัยสันนิสสิตศีลด้วย  ปาริสุทธิคุณศีลทั้ง ๔ นี้  อันภิกษุผู้แสวงหาโมกขธรรมคารกระทำให้บริสุทธิ์  โดยการกระทำและไม่กระทำ(คือทำตามพระพุทธานุญาติ ไม่ทำตามที่ทรงห้าม)

           จตุรารักษ์เหล่านี้ คือพุทธานุสสติ เมตตา อสุภะ มรณัสสติ และวิปัสสนาควรกระทำ พระพุทธเจ้า พระองค์มีพระสันดานบริบูรณ์ด้วยพระอันบริสุทธิ์  อันสัตว์โลกมารู้สึกว่าพุทธะๆ ดังนี้  เพราะพระปัญญาตรัสรู้อย่างยิ่ง  เพราะประกอบสัตว์ไว้ในธรรม และเพราะทรงปลุกสัตว์ที่หลับอยู่ให้ตื่น (ดังนี้ชื่อว่พุทธานุสสติ)  สัตว์ทั้งหลายต่างด้วยมนุษย์ อมนุษย์  และดิรัจฉาน  เป็นผู้แสวงหาความสุข ขอเหล่าสัตว์แม้ทั้งปวง จงเป็นผู้ถึงความสุข  และเป็นผู้เกษมสำราญ  เพราะถึงความสุข(ดังนี้ชื่อว่าเมตตาภาวนา)

           กายนี้แล เป็นที่ประชุมแห่งซากศพมีผมขนเป็นต้น  แม้ทั้งหมดเป็นน่าเบื่อหน่าย  ปฏิกูลโดยส่วนมีเป็นต้น (ดังนี้ชื่อว่าอสุภกัมมัฏฐาน)  ความตาย กล่าวคือความแตกขาดแห่งชีวิตินทรีย์  พึงมีแก่สัตว์ทั้งหลายหมดด้วยกันในโลกนี้  เพราะว่าความตายเป็นของเที่ยง  ชีวิตความเป็นอยู่เป็นของไม่เที่ยง  (ดังนี้ชื่อว่า มรณัสสติ)

            เบญจขันธ์เหล่านี้  คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีมาแต่ปัจจัยต่างๆ  มีอวิชชาเป็นต้น  ย่อมเกิดขึ้นและดับไป  ธรรมเหล่านั้นชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะเป็นอย่างนั้นแล้ว หาเป็นอย่างนั้นอีกไม่  เพราะเป็นเหมือนของยืมเขามาเป็นต้น  ธรรมเหล่าใดไม่เที่ยง  ธรรมเหล่านั้นแล  ชื่อว่าเป็นทุกข์  เพราะเป็นสภาพถูก  ความเกิดขึ้น  และความเสื่อมไปเบียดเบียนอยู่รำไป  และเพราะความเป็นของเร่าร้อนเป็นต้น

            ธรรมที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เหล่านั้น  อันผู้ปฏิบัติย่อมทราบว่าเป็นอนัตตา  เพราะไม่เป็นไปในอำนาจเสียงเลยที่เดียวด้วย  เพราะเป็นข้าศึกแก่ตนด้วย  เพราะความเป็นของว่างเปล่าด้วย  เพราะความเป็นของไม่มีเจ้าของด้วย  ก็เมื่อเป็นเช่นนี้  ธรรมเหล่านี้เสมอด้วยเรือนถูกไฟไหม้แท้  เพราะความเป็นของน่าเบื่อหน่าย  ควรแล้วเพื่อจะแสวงหาอุบายเป็นเครื่องพ้น  ขันธ์ ๕ นี้เป็นทุกข์ ตัณหาเป็นสมุทัย ความดับตัณหานั้นเสีย  เป็นอันดับทุกข์  หนทางอันประเสริฐประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ  ปราชญ์ผู้มีปัญญา  มาทราบเนี้อความแห่งปาฐะ  แม้มีประมาณเท่านี้แล้วพึงปฏิบัติตามสมควร  เพื่อบรรลุพระนิพพานอันเป็นที่ดับสังขาร ด้วยประการนี้แล

วัดพุทธบูชา บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ~ สวดมนต์วัดพุทธบูชา

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013