มังคะละสุตตัง
เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, สาวัตถิยัง วิหะระติ,
เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ, อาราเมฯ อะถะโข อัญญะตะรา เทวะตา,
อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา เกวะละกัปปัง เชตะวะนัง
โอภาเสตวา, เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ, อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง
อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง อัฏฐาสิ ฯ เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวะตา
ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ
พะหู เทวา มะนุสสา จะ มังคะลานิ อะจินตะยุง
อากังขะมานา โสตถานัง พรูหิ มังคะละมุตตะมัง ฯ
อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา
อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
อะนากลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห
อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังตะละมุตตะมัง ฯ
อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา
กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ
มงคลสูตร (มงคล ๓๘ ประการ)
(หันทะ มะยัง มังคะละสุตตะปาฐัง ภะณามะ เส)
อะเสวะนา จะ พาลานัง,.............การไม่คบคนพาล
ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา,.............การคบหาสมาคมกับบัณฑิต
ปูชา จะ ปูชะนียานัง,.................การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,...............นี้เป็นอุดมมงคล, คือเหตุให้ถึงความเจริญ
ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ,...............การอยู่ในประเทศถิ่นฐานอันสมควร
ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา,..........การที่ได้กระทำบุญไว้ในปางก่อน
อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ,................การตั้งตนไว้โดยชอบธรรม
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,...............นี้เป็นอุดมมงคล, คือเหตุให้ถึงความเจริญ
พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ,............ความเป็นผู้ได้สดับรับฟังมาก
วินะโย จะ สุสิกขิโต,..................การมีศิลปะ, การมีวินัยที่ได้ศึกษาดีแล้ว
สุภาสิตา จะ ยา วาจา,...............การมีวาจาที่กล่าวดีแล้ว
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,..............นี้เป็นอุดมมงคล, คือเหตุให้ถึงความเจริญ
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง,...................การบำรุงเลี้ยงดูบิดามารดา
ปุตตะทารัสสะ สังคะโห,..............การสงเคราะห์บุตรและภริยา
อะนากุลา จะ กัมมันตา,..............การเป็นผู้ทำงานไม่คั่งค้าง
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,...............นี้เป็นอุดมมงคล, คือเหตุให้ถึงความเจริญ
ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ,..........การให้ทาน, การประพฤติธรรม
ญาตะกานัญจะ สังคะโห,............การสงเคราะห์วงศ์ญาติด้วยความเอื้อเฟื้อ
อะนะวัชชานิ กัมมานิ,................การทำงานทั้งหลายที่ไม่มีโทษ
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,...............นี้เป็นอุดมมงคล, คือเหตุให้ถึงความเจริญ
อาระตี วิระตี ปาปา,...................การงดเว้นจากบาป
มัชชะปานา จะ สัญญะโม,..........การไม่ดื่มสุราและเมรัย
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ,..............ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,..............นี้เป็นอุดมมงคล, คือเหตุให้ถึงความเจริญ
คาระโว จะ นิวาโต จะ,...............การมีความเคารพ, การไม่เย่อหยิ่งจองหอง
สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา,.............ความยินดีในของที่ตนมีอยู่,
..............................................การเป็นคนมีความกตัญญูกตเวทิตา
กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง,..............การฟังธรรมตามกาลเวลา
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,..............นี้เป็นอุดมมงคล, คือเหตุให้ถึงความเจริญ
ขันตี จะ โสวะจัสสะตา,..............การเป็นคนมีความอดทน, เป็นคนว่าง่าย
สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง,...........การได้เห็นสมณะ
กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา,.............การได้สนทนาธรรมตามกาลเวลา
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,..............นี้เป็นอุดมมงคล, คือเหตุให้ถึงความเจริญ
ตะโป จะ พ๎รัห๎มะจะริยัญจะ,........การมีความเพียรเครื่องเผากิเลส,
...............................................การประพฤติธรรมอันประเสริฐ
อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง,............การเห็นอริยสัจจ์สี่
นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ,..............การกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,...............นี้เป็นอุดมมงคล, คือเหตุให้ถึงความเจริญ
ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ,...............จิตของผู้ใดถูกโลกธรรมกระทบแล้ว
จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ,............เมื่อกระทบแล้วจิตไม่หวั่นไหว
อะโสกัง วิระชัง เขมัง,................มีจิตไม่เศร้าโศก มีจิตอันปราศจากกิเลส
...............................................เพียงดังธุลี, มีจิตอันเกษมสำราญ
เอตัมมังคะละมุตตะมัง,...............นี้เป็นอุดมมงคล, คือเหตุให้ถึงความเจริญ
เอตาทิสานิ กัต๎วานะ,..................เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย,
...............................................พากันทำมงคลให้ถึงความเจริญเช่นนี้แล้ว
สัพพัตถะมะปะราชิตา,................ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ข้าศึกทุกหมู่เหล่า
สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ,...........ย่อมถึงความสุขสวัสดิ์ในที่ทุกสถาน
ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ,........ข้อนั้นเป็นมงคล,.คือเหตุให้ถึงความเจริญวัฒนาอันสูงสุด
ของเทพยดาและมนุษย์เหล่านั้น.......ด้วยประการฉะนี้แล.
คำแปลมงคลสูตร
เอวัมเม สุตัง ( อันข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาอย่างนี้ )
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา ( สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า )
สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตะวะเน, อนาถะปิณฑิกะ อาราเม
( ประทับอยู่ที่เชตวันวิหาร อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี )
อะถะ โข อัญญะตะรา เทวะตา ( ครั้งนั้นแล เทวดาองค์ใดองค์หนึ่ง )
อะภิกกันตายะ รัตติยา อะภิกกันตะวัณณา
( ครั้งเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีอันงามยิ่งยิ่งนัก )
เกวะละปัปปัง เชตะวะนัง โอภาเสตวา ( ยังเชตวันทั้งสิ้น ให้สว่าง )
เยนะ ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ
( พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด ก็เข้าไปเฝ้า ณ ที่นั้น )
อุปะสังกะมิตวา ภะคะวันตัง อภิวาเทตวา
( ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้ว )
เอกะมันตัง อัฏฐาสิ ( ได้ยืนอยู่ในที่สมควรแห่งหนึ่ง )
เอกะมันตัง ฐิตา โข สา เทวตา ( ครั้นเทวดานั้น ได้ยืนในที่สมควรแห่งหนึ่งแล้ว แล )
ภะคะวันตัง คาถายะ อัชฌะภาสิ ( ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า )
พะหู เทวา มะนุสสา จะ ( หมู่เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก )
มังคะลานิ อะจินตะยุง อากังขะมานา โสตถานัง ( ผู้หวังความสวัสดี ได้คิดหามงคลทั้งหลาย )
พรูหิ มังคะละมุตตะมัง ( ขอพระองค์จงเทศนา มงคลอันสูงสุด )
อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
( พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า การไม่คบคนพาลทั้งหลาย ๑ การคบคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑ )
ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
( การบูชาชนที่ควรบูชาทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )
ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุเพ จะ กะตะปุญญะตา
( การอยู่ในประเทศอันสมควร ๑ การเป็นผู้มีบุญอันทำแล้วในกาลก่อน ๑ )
อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
( การตั้งตนไว้ชอบ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )
พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
( การเป็นผู้ฟังมาก ๑ ศิลปะ๑ วินัยอันชนศึกษาดีแล้ว ๑ )
สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
( วาจาอันชนกล่าวดีแล้ว ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะทารัสสะ สังคะโห
( การบำรุงมารดาบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรและภรรยา ๑ )
อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
( การงานทั้งหลายที่ไม่อากูล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )
ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห
( การให้ ๑ การประพฤติธรรม ๑ การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑ )
อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
( การกระทำทั้งหลายไม่มีโทษ ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )
อาระตี วิระตี ปาปา มัชชะปานา จะ สัญญะโม
( การงดเว้นจากบาป ๑ การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ )
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
( การไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )
คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐี จะ กะตัญญุตา
( การเคารพ ๑ การไม่จองหอง ๑ การยินดีในของที่มีอยู่ ๑ การเป็นคนกตัญญู๑ )
กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
( การฟังธรรมตามกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )
ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
( ความอดทน ๑ การเป็นคนว่าง่าย ๑ การเห็นสมณะทั้งหลาย ๑ )
กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
( การเจรจาธรรมโดยกาล ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )
ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
( ความเพียรเผากิเลส ๑ การประพฤติอย่างพรหม ๑ การเห็นอริยสัจทั้งหลาย ๑ )
นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
( การทำพระนิพพานให้แจ้ง ๑ ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )
ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
( จิตของผู้ใด อันโลกธรรมถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว )
อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง ฯ
( ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด )
เอตาทิสานิ กัตวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
( เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย กระทำมงคลทั้งหลายเช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง)
สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ ฯ
( ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง ข้อนี้เป็นมงคลอันสูงสุด ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เหล่านั้น แล ฯ )
0 comments :
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น