ปัพพะโตปะมะคาถา
ยะถาปิ เสลา วิปุลา นะภัง อาหัจจะ ปัพพะตา
สะมันตา อะนุปะริเยยยุง นิปโปเถนตา จะตุททิสา
เอวัง ชะรา จะ มัจจุ จะ อะธิวัตตันติ ปาณิโน
ขัตติเย พราหมะเณ เวสเส สุทเท จัณฑาละปุกกุเส
นะ กิญจิ ปะริวัชเชติ สัพพะเมวาภิมัททะติ
นะ ตัตถะ หัตถีนัง ภูมิ นะ ระถานัง นะ ปัตติยา
นะ จาปิ มันตะยุทเธนะ สักกา เชตุง ธะเนนะ วา
ตัสมา หิ ปัณฑิโต โปโส สัมปัสสัง อัตถะมัตตะโน
พุทเธ ธัมเม จะ สังเฆ จะ ธีโร สัทธัง นิเวสะโย
โย ธัมมะจารี กาเยนะ วาจายะ อุทะ เจตะสา
อิเธวะ นัง ปะสังสันติ เปจจะ สัคเค ปะโมทะติ ฯ
ยัสสะ สัทธา ตะถาคะต อะจะลา สุปะติฏฐิตา
สีสัญจะ ยัสสะ กัลยาณัง อะริยะกันตัง ปะสังสิตัง
สังเฆ ปะสาโท ยัสสัตถิ อุชุภูตัญจะ ทัสสะนัง
อะทะสิทโทติ ตัง อาหุ อะโมฆันตัสสะ ชีวิตัง
ตัสมา สัทธัญจะ สีลัญจะ ปะสาทัง ธัมมะทัสสะนัง
อะนุยุญเชถะ เมธาวี สะรัง พุทธานะ สาสะนันติ ฯ
คำแปล ปัพพะโตปะมะคาถา
ภูเขาทั้งหลาย แล้วด้วยหิน อันไพบูลย์ สูงจดฟ้า กลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ แม้ฉันใดความแก่ และความตาย ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย ฉันนั้น เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตามเป็นพลเมืองก็ตาม เป็นไพร่ก็ตาม เป็นครึ่งชาติก็ตาม (จันฑาล วรรณะสี่ของอินเดียว กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ ศูทร์) เป็นกุลีเทหยากเยื่อก็ตาม มิได้เว้นสิ่งอะไรๆไว้ ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งปวงทีเดียว ภูมิแห่งช้างทั้งหลาย ย่อมไม่มีในชรา และมรณะนั้น ภูมิแห่งรถทั้งหลาย แห่งพลเดินเท่าย่อมไม่มี
อนึ่งอันใครๆ ไม่อาจเพื่อจะชนะชรามรณะนั้น ด้วยการสู้รบ ด้วยเวทมนต์ หรือด้วยทรัพย์ เหตุนั้นแลผู้เป็นบัณฑิต เมื่อเห็นประโยชน์ของตน ผู้มีปัญญา ควรจะปลูกความเชื่อ ในพระพุทธ พระธรรม และสงฆ์ ผู้ใดเป็นผู้ประพฤติธรรมด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจ บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ ผู้นั้น ในโลกนี้ที่เดียว ผู้นั้นละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์
ความเชื่อของบุคคลผู้ใด ตั้งมั่นแล้วในพระตถาคตเจ้า อนึ่งศีลของบุคคลผู้ใดดีงาม เป็นที่ยินดีแห่งพระอริยเจ้า อันพระอริยอริยเจ้าสรรเสริญแล้ว ความเลื่อมใสในพระสงฆื มีอยู่แล้วในบุคคลผู้ใด อนึ่งความเห็นของบุคคลผู้ใด เป็นธรรมชาติ ตรงบัณฑิตทั้งหลาย กล่าวผู้นั้นว่าเป็นผู้ไม่จน ความเป็นอยู่ของผู้นั้น ไม่เปล่าจากประโยชน์ เพราะเหตุฉะนั้น เมื่อผู้มีปัญญามาระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ควรประกอบ ความเชื่อและศีล และความเลื่อมใสความเห็นธรรมไว้เนี่องๆ ดังนี้แล
วัดพุทธบูชา บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ~ สวดมนต์วัดพุทธบูชา
0 comments :
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น