สาราณียะธัมมะสูตตัง
เอวัมเม สุตัง, เอกัง สะมะยัง ภะคะวา, สาวัตถิยัง วิหะระติ, เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ,อาราเม .ตัตตระโข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ. ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัตโสสุง. ภะคะวา เอตะทะโวจะ, ฉะยิเม ภิกขะเว ธัมมา สาราณียา ปิยะกะระณา คะรุกะระณา, สังคะหายะ อะวิวาทายะ สามัคคิยา เอกีภาวายะ สังวัตตันติ. กะตเม ฉะ.
๑. อิธะ ภิกขะเว ภิกขุโน , เมตตัง กายะกัมมัง ปัจจุปัฏฐิตัง โหติ, สะพรัหมะจารีสุ อาวิเจวะ ระโห จะ. อะยัมปิ ธัมโม สาราณีโย ปิยะกะระโณ คะรุกะระโณ , สังคะหายะ อะวิวาทายะ สามัคคิยา เอกีภาวายะ สังวัตตะติ.
๒. ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุโน , เมตตัง วะจีกัมมัง ปัจจุปัฏฐิตัง โหติ, สะพรัหมะจารีสุ อาวิเจวะ ระโห จะ. อะยัมปิ ธัมโม สาราณีโย ปิยะกะระโณ คะรุกะระโณ , สังคะหายะ อะวิวาทายะ สามัคคิยา เอกีภาวายะ สังวัตตะติ.
๓. ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุโน , เมตตัง มะโนกัมมัง ปัจจุปัฏฐิตัง โหติ, สะพรัหมะจารีสุ อาวิเจวะ ระโห จะ. อะยัมปิ ธัมโม สาราณีโย ปิยะกะระโณ คะรุกะระโณ , สังคะหายะ อะวิวาทายะ สามัคคิยา เอกีภาวายะ สังวัตตะติ.
๔. ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ , เยเต ลาภา ธัมมิกา ธัมมะลัทธา. อันตะมะโส ปัตตะปะริยาปันนะมัตตัมปิ, ตะถารูเปหิ ลาเภหิ อัปปะฏิวิภัตตะโภคี โหติ, สีละวันเตหิ สะพรัหมะจารีหิ สาธาระณะโภคี. อะยัมปิ ธัมโม สาราณีโย ปิยะกะระโณ คะรุกะระโณ , สังคะหายะ อะวิวาทายะ สามัคคิยา เอกีภาวายะ สังวัตตะติ.
๕. ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ , ยานิ ตานิ สีลานิ อะขัณฑานิ อะฉิททานิ อะสะพะลานิ อะกัมมาสานิ , ภุชิสสานิ วิญญูปะสัตถานิ อะปะรามัตถานิ สะมาธิสังวัตตะนิกานิ, ตะถารูเปสุ สีเลสุ สีละสามัญญะคะโต วิหะระติ, สะพรัหมะจารีหิ อาวิ เจวะ ระโหจะ. อะยัมปิ ธัมโม สาราณีโย ปิยะกะระโณ คะรุกะระโณ , สังคะหายะ อะวิวาทายะ สามัคคิยา เอกีภาวายะ สังวัตตะติ.
๖. ปุนะ จะปะรัง ภิกขะเว ภิกขุ , ยายัง ทิฏฐิ อะริยา นิยยานิกา. นิยยาติ ตักกะรัสสะ สัมมาทุกขักขะยายะ , ตะถารูปายะ ทิฏฐิยา ทิฏฐิสามัญญะคะโต วิหะระติ, สะพรัหมะจารีหิ อาวิ เจวะ ระโหจะ. อะยัมปิ ธัมโม สาราณีโย ปิยะกะระโณ คะรุกะระโณ , สังคะหายะ อะวิวาทายะ สามัคคิยา เอกีภาวายะ สังวัตตะติ.
อิเม โข ภิกขะเว ฉะ ธัมมา สาราณียา ปิยะกะระณา คะรุกะระณา , สังคะหายะ อะวิวาทายะ สามัคคิยา เอกีภาวายะ สังวัตตันตีติ. อิทะมะโวจะ ภะคะวา. อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง, อะภินันทุนติ.
คำแปล สาราณียะธัมมะสุดตัง
ข้าพเจ้า(พระอานนทเถระ) สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ณ.ที่นั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกเหล่านั้นกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์จึงตรัสคำต่อไปนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ เป็นสาราณียธรรม ธรรมเครื่องระลึกถึงกัน สร้างความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อการสงเคราะห์กัน เพื่อการไม่ทะเลาะวิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม ธรรมเครื่องระลึกถึงกัน สร้างความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อการไม่ทะเลาะวิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
๒.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งวจีกรรม ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม ธรรมเครื่องระลึกถึงกัน สร้างความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อการไม่ทะเลาะวิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
๓.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งมโนกรรม ประกอบด้วยเมตตา ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม ธรรมเครื่องระลึกถึงกัน สร้างความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อการไม่ทะเลาะวิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
๔. อีกประการหนึ่ง ภิกษุแบ่งปันลาภที่ประกอบด้วยธรรม ได้มาอย่างถูกต้อง แม้อาหารบิณฑบาต ไม่จำเพาะเจาะจงผู้นี้ แต่บริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม เครื่องระลึกถึงกัน สร้างความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อการไม่ทะเลาะวิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
๕.อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีศีลไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร่อย เป็นไท อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฏฐิแตะต้องไม่ได้ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ มีศีลเสมอกัน กับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม เครื่องระลึกถึงกัน สร้างความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อการไม่ทะเลาะวิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
๖. อีกประการหนึ่ง ทิฏฐิอันประเสริฐใดเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ ย่อมนำผู้กระทำตามออกไปเพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์โดยชอบ ภิกษุผู้มีทิฏฐิเช่นนั้น เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง แม้ข้อนี้ก็เป็นสาราณียธรรม เครื่องระลึกถึงกัน สร้างความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อการไม่ทะเลาะวิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม๖ ประการนี้เหล่านี้ เป็นธรรมเครื่องระลึกถึงกัน สร้างความรัก ก่อความเคารพ เป็นไปเพื่อสงเคราะห์กัน เพื่อการไม่ทะเลาะวิวาท เพื่อความสามัคคี เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
วัดพุทธบูชา บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ~ สวดมนต์วัดพุทธบูชา
0 comments :
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น