ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

14 ธันวาคม 2553

บทสวดและคำแปล คิริมานันทะสุตตะปาโฐ

vlcsnap-144877

คิริมานันทะสุตตะปาโฐ


        เอวัมเม  สุตัง ฯ  เอกัง  สะมะยัง ภะคะวา  สาวัตถิยัง
วิหะระติ  เชตะวะเน  อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม เตนะ  โข ปะนะ
สะมะเยนะ  อายัสมา  คิริมานันโท  อาพาธิโก โหติ  ทุกขิโต
พาฬหะคิลาโน  อะถะโข  อายัสมา  อานันโท  เยนะ  ภะคะวา
เตนุปะสังกะมิ  อุปะสังกะมิตวา  ภะคะวันตัง อะภิวาเทตวา เอกะมันตัง
นิสีทิ  เอกะมันตัง  นิสินโน โข  อายัสมา  อานันโท  ภะคะวันตัง
เอตะทะโวจะ ฯ
        อายัสมา  ภันเต  คิริมานันโท  อาพาธิโก ทุกขิโต  พาฬหะคิลาโน
สาธุ  ภันเต  ภะคะวา  เยนายัสมา  คิริมานันโท  เตนุปะสังกะมะตุ
อะนุกัมปัง  อุปาทายาติ  ฯ  สะเจ  โข  ตวัง  อานันทะ  คิริมานันทัสสะ
ภิกขุโน  อุปะสังกะมิตวา  ทะสะ สัญญา  ภาเสยยาสิ  ฐานัง  โข
ปะเนตัง  วิชชะติ  ยัง  คิริมานันทัสสะ  ภิกขุโน ทะสะ  สัญญา
สุตวา  โส  อาพาโธ ฐานะโส  ปะฏิปปัสสัมเภยยะ ฯ กะตะมา  ทะสะ ฯ
อะนิจจะสัญญา  อะนัตตะสัญญา  อะสุภะสัญญา  อาทีนะวะสัญญา
ปะหานะสัญญา  วิราคะสัญญา  นิโรธะสัญญา  สัพพะโลเก
อะนะภิระตะสัญญา  สัพพะสังขาเรสุ  อะนิจจะสัญญา  อานาปานัสสะติ ฯ
        กะตะมา  จานันทะ อะนิจจะสัญญา  ฯ  อิธานันทะ  ภิกขุ
อะรัญญะคะโต  วา รุกขะมูละคะโต  วา สุญญาคาระคะโต วา
อิติ  ปะฏิสัญจิกขะติ  รูปัง  อะนิจจัง เวทะนา  อะนิจจา  สัญญา  อะนิจจา
สังขารา  อะนิจจา  วิญญาณัง  อะนิจจันติ  ฯ อิติ อิเมสุ ปัญจะสุ
อุปาทานักขันเธสุ อะนิจจานุปัสสี  วิหะระติ  ฯ อะยัง  วุจจะตานันทะ
อะนิจจะสัญญา ฯ
        กะตะมา  จานันทะ  อะนัตตะสัญญา ฯ  อิธานันทะ  ภิกขุ
อะรัญญะคะโต  วา  รุกขะมูละคะโต  วา สุญญาคาระคะโต  วา  อิติ
ปะฏิสัญจิกขะติ  จักขุง อะนัตตา  รูปา  อะนัตตา  โสตัง  อะนัตตา
สัททา  อะนัตตา  ฆานัง  อะนัตตา  คันธา  อะนัตตา  ชิวหา  อะนัตตา
ระสา อะนัตตา  กาโย อะนัตตา  โผฏฐัพพา  อะนัตตา  มะโน
อะนัตตา  ธัมมา อะนัตตาติ ฯ อิติ  อิเมสุ  ฉะสุ  อัชฌัตติกะพาหิเรสุ
อายะตะเนสุ   อะนัตตานุปัสสี  วิหะระติ ฯ  อะยัง  วุจจะตานันทะ
อะนัตตะสัญญา ฯ
        กะตะมา  จานันทะ  อะสุภะสัญญา  ฯ  อิธานันทะ  ภิกขุ
อิมะเมวะ  กายัง  อุทธัง  ปาทะตะลา  อะโธ  เกสะมัตถะกา
ตะจะปะริยันตัง  ปูรันนานัปปะการัสสะ  อะสุจิโน  ปัจจะเวกขะติ  อัตถิ
อิมัสมิง  กาเย  เกสา  โลมา  นะขา  ทันตา  ตะโจ  มังสัง นะหารู
อัฏฐี  อัฏฐิมิญชัง  วักกัง  หะทะยัง  ยะกะนัง  กิโลมะกัง  ปิหะกัง
ปัปผาสัง  อันตัง อันตะคุณัง  อุทะริยัง  กะรีสัง  ปิตตัง  เสมหัง  ปุพโพ
โลหิตัง  เสโท  เมโท  อัสสุ วะสา  เขโฬ  สิงฆาณิกา  ละสิกา
มุตตันติ  ฯ  อิติ  อิมัสมิง  กาเย อะสุภานุปัสสี  วิหะระติ  ฯ  อะยัง
วุจจะตานันทะ  อะสุภะสัญญา ฯ
        กะตะมา  จานันทะ  อาทีนะวะสัญญา  ฯ อิธานันทะ  ภิกขุ
อะรัญญะคะโต  วา รุกขะมูละคะโต  วา สุญญาคาระคะโต  วา อิติ
ปะฏิสัญจิกขะติ  พะหุทุกโข  โข  อะยัง  กาโย  พะหุอาทีนะโวติ  ฯ อิติ
อิมัสมิง  กาเย  วิวิธา  อาพาธา  อุปปัชชันติ ฯ  เสยยะถีทัง  ฯ  จักขุโรโค
โสตะโรโค  ฆานะโรโค  ชิวหาโรโค กายะโรโค  สีสะโรโค  กัณณะโรโค
มุขะโรโค  ทันตะโรโค  กาโส สาโส ปินาโส ฑะโห ชะโร  กุจฉิโรโค
มุจฉา ปักขันทิกา  สุลา วิสูจิกา  กุฏฐัง  คัณโฑ  กิลาโส  โสโส
อะปะมาโร ทันทุ  กัณฑุ  กัจฉุ  ระขะสา วิตัจฉิก โลหิตัง  ปิตตัง
มะธุเมโห  อังสา  ปิฬะกา ภะคัณฑะลา ฯ  ปิตตะสะมุฏฐานา  อาพาธา
เสมหะสะมุฏฐานา  อาพาธา  วาตะสะมุฏฐานา  อาพาธา  สันนิปาติกา
อาพาธา อุตุปะริณามะชา  อาพาธา  วิสะมะปะระหาระชา  อาพาธา
โอปักกะมิกา อาพาธา  กัมมะวิปากะชา  อาพาธา สีตัง  อุณหัง ชิฆัจฉา
ปิปาสา  อุจจาโร  ปัสสาโวติ ฯ  อิติ  อิมัสมิง กาเย อาทีนะวานุปัสสี
วิหะระติ ฯ  อะยัง  วุจจะตานันทะ  อาทีนะวะสัญญา ฯ
        กะตะมา  จานันทะ  ปะหานะสัญญา ฯ อิธานันทะ  ภิกขุ
อุปปันนัง  กามะวิตักกัง  นาธิวาเสติ  ปะชะหะติ  วิโนเทติ  พยันตีกะโรติ
อะนะภาวัง คะเมติ  อุปปันนัง  พยาปาทะวิตักกัง  นาธิวาเสติ ปะชะหะติ
วิโนเทติ พยันตีกะโรติ  อะนะภาวัง  คะเมติ  อุปปันนัง  วิหิงสาวิตักกัง
นาธิวาเสติ ปะชะหะติ  วิโนเทติ  พยันตีกะโรติ  อะนะภาวัง  คะเมติ
อุปปันนุปปันเน  ปาปะเก  อะกุสะเล  ธัมเม  นาธิวาเสติ ปะชะหะติ
วิโนเทติ  พยันตีกะโรติ  อะนะภาวัง คะเมติ ฯ  อะยัง วุจจะตานันทะ
ปะหานะสัญญา ฯ
        กะตะมา  จานันทะ  วิราคะสัญญา  อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต  วา รุกขะมูละคะโต  วา  สุญญาคาระคะโต  วา อิติ
ปะฏิสัญจิกขะติ  เอตัง  สันตัง  เอตัง ปะณีตัง  ยะทิทัง  สัพพะสังขา
ระสะมะโก  สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค  ตัณหักขะโย  วิราโค  นิพพานันติ ฯ
อะยัง วุจจะตานันทะ  วิาคะสัญญา ฯ
        กะตะมา  จานันทะ  นิโรธะสัญญา ฯ  อิธานันทะ  ภิกขุ
อะรัญญะคะโต  วา รุกขะมูละคะโต  วา สุญญาคาระคะโต  วา อิติ
ปะฏิสัญจิกขะติ  เอตัง  สันตัง เอตัง  ปะณีตัง  ยะทิทัง
สัพพะสังขาระสะมาโถ สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค  ตัณหักขะโย  นิโรโธ
นิพพานันติ ฯ อะยัง  วุจจะตานันทะ นิโรธะสัญญา ฯ
        กะตะมา  จานันทะ  สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญา ฯ
อิธานันทะ ภิกขุ  เย โลเก   อุปายุปาทานา  เจตะโส  อะธิฏฐานาภินิเวสา-
นุสะยา เต  ปะชะหันโต  วิระมะติ  นะ อุปาทิยันโต  อะยัง
วุจจะตานันทะ  สัพพะโลเก  อะนะภิะระตะสัญญา ฯ
        กะตะมา  จานันทะ  สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจะสัญญา ฯ
อิธานันทะ  ภิกขุ  สัพพะสังขาเรหิ  อัฏฏิยะติ หะรายะติ  ชิคุจฉะติ ฯ
อะยัง  วุจจะตานันทะ  สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจะสัญญา ฯ
        กะตะมา  จานันทะ  อานาปานัสสติ  อิธานันทะ  ภิกขุ
อะรัญญะคะโต  วา  รุกขะมูละคะโต  วา สุญญาคาระคะโต  วา นิสีทะติ
ปัลลังกัง  อาภุชิตวา  อุชุง กายัง  ปะณิธายะ  ปะริมุขัง  สะติง
อุปัฏฐะเปตวา ฯ โส  สะโต  วะ อัสสสะสะติ  สะโต  ปัสสะสะติ ฯ
        ทีฆัง วา อัสสะสันโต  ทีฆัง  อัสสะสามีติ  ปะชานาติ
        ทีฆัง วา ปัสสะสันโต  ทีฆัง ปัสสะสามีติ   ปะชานาติ
        รัสสัง  วา  อัสสะสันโต   รัสสัง          อัสสะสามีติ           ปะชานาติ
        รัสสัง  วา  ปัสสะสันโต   รัสสัง         ปัสสะสามีติ           ปะชานาติ
        สัพพะกายะปะฏิสังเวที                   อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        สัพพะกายะปะฏิสังเวที                   ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        ปัสสัมภะยัง      กายะสังขารัง          อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        ปัสสัมภะยัง      กายะสังขารัง          ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        ปีติปะฏิสังเวที                              อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        ปีติปะฏิสังเวที                              ปัสสะสิสสามีติ       สิกขะติ
        สุขะปะฏิสังเวที                            อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        สุขะปะฏิสังเวที                            ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที                อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที                ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        ปัสสัมภะยัง        จิตตะสังขารัง       อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        ปัสสัมภะยัง         จิตตะสังขารัง      ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        จิตตะปะฏิสังเวที                          อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        จิตตะปะฏิสังเวที                          ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        อะภิปปะโมทะยัง        จิตตัง          อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        อะภิปปะโมทะยัง        จิตตัง          ปัสสะสิสสามิติ        สิกขะติ
        สะมาทะหัง   จิตตัง                      อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        สะมาทะหัง   จิตตัง                      ปัสสะลิสสามีติ        สิกขะติ
        วิโมจะยัง จิตตัง                          อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        วิโมจะยัง จิตตัง                  ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        อะนิจจานุปัสสี                    อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        อะนิจจานุปัสสี                    ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        วิราคานุปัสสี                       อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        วิราคานุปัสสี                       ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        นิโรธานุปัสสี                       อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        นิโรธานุปัสสี                       ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        ปะฏินิสสัคคานุปัสสี            อัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        ปะฏินิสสัคคานุปัสสี            ปัสสะสิสสามีติ        สิกขะติ
        อะยัง  วุจจะตานันทะ           อานาปานัสสะติ ฯ
                   สะเจ  โข  ตวัง  อานันทะ  คิริมานันทัสสะ  ภิกขุโน
อุปะสังกะมิตวา  อิมา  ทะสะ สัญญา ภาเสยยาสิ  ฐานัง  โข ปะเนตัง
วิชชะติ ยัง  คิริมานันทัสสะ  ภิกขุโน  อิมา ทะสะ สัญญา สุตวา
โส  อาพาโธ  ฐานะโส ปะฏิปปัสสัมเภยยาติ ฯ
                อะถะโข  อายัสมา  อานันโท  ภะคะวะโต สันติเก  อิมา  ทะสะ
สัญญา  อุคคะเหตวา  เยนายัสมา  คิริมานันโท  เตนุปะสังกะมิ
อุปะสังกะมิตวา อายัสมะโต  คิริมานันทัสสะ  อิมา  ทะสะ  สัญญา
อะภาสิ ฯ
                อะถะโข  อายัสมะโต  คิริมานันทัสสะ อิมา ทะสะ  สัญญา
สุตวา  โส อาพาโธ  ฐานะโส ปะฏิปัสสัมภิ ฯ  วุฏฐะหิ  จายัสมา
คิริมานันโท  ตัมหา  อาพาธา  ตะถาปะหีโน  จะ ปะนายัสมะโต
คิริมานันทัสสะ  โส อาพาโธ  อะโหสีติ ฯ

คำแปล คิริมานันทะสูตร

           อันข้าพเจ้า (คือ พระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับในพระวิหารเชตวัน  อันเป็นอารามของอนาถบิณฑิกคหบดีสร้างถวาย  ใกล้เมืองสาวัตถี  ก็โดยสมัยนั้นแล  พระคิริมานนท์ผู้มีอายุเป็นผู้อาพาธ  ประกอบด้วยทุกขเวทนา  เป็นไข้หนักครั้งนั้นและ พระอานนท์ผู้มีอายุได้เข้าไปเฝ้า  โดยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่  ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว  จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า  นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง  เมื่อพระอานนท์นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว จึงกราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

          พระเจ้าข้า  พระคิริมานนท์ผุ้มีอายุอาพาธ ประกอบด้วยทุกขเวทนาเป็นไข้หนัก  พระเจ้าข้า ดีแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปไกล้โดยที่พระคิริมานนท์อยู่  เพื่อได้ทรงอนุเคราะห์  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อานนท์ ถ้าท่านแลพึงเข้าไปหาภิกษุคิริมานนท์แล้ว  แสดงสัญญา ๑๐ ข้อนี้เป็นเหตุให้อาพาธนั้นของภิกษุคิริมานนท์ระงับไปโดยฐานะ  เพราะฟังสัญญา ๑๐

         สัญญา ๑๐ เป็นอย่างไร  ความกำหนดหมายว่าไม่เที่ยง  ความกำหนดว่าไม่ใช่ตัวตน  ความกำหนดว่าไม่งาม  ความกำหนดหมายว่าเป็นโทษ  ความกำหนดหมายในกาละ  ความกำหนดหมายในธรรมอันปราศจากราคะ  ความกำหนมายในธรรมเป็นที่ดับ  ความกำหนดหมายในความไม่ยินดีในโลกทั้งปวง  ความกำหนดหมายในความไม่ปรารถนาในสังขารทั้งปวง  สติกำหนดลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์

          ๑. ดูก่อนอานนท์  อนิจจสัญญาเป็นอย่างไร  ดูก่อนอานนท์ภิกษุในธรรมวินัยนี้  ไปในป่าก็ดี  ไปที่โคนไม้ก็ดี  ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี  เธอย่อมเป็นผู้พิจารณาอย่างนี้ว่า  รูปไม่เทียง เวทนาไม่เที่ยง  สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง เธอย่อมเป็นผู้พิจารณาเนื่องๆว่า  โดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขั้นธ์ทั้ง ๕ นี้อย่างนี้ ดูก่อนอานนท์อันนี้เรา (ผู้ตถาคต) กล่าวว่าอนิจจสัญญา

         ๒.  ดูก่อนอานนท์  อนัตตสัญญาเป็นอย่างไร  ดูก่อนอานนท์ภิกษุในธรรมวินัยนี้  ไปในป่าก็ดี  ไปที่โคนไม้ก็ดี  ไปที่เรือนว่างเปล่าก็ดี  เธอย่อมเป็นผู้พิจารณาอย่างนี้ว่า  นัยน์ตาไม่ใช่ตัวตน   รูปไม่ใช่ตัวตน  หูไม่ใช่ตัวตน  เสียงไม่ใช่ตัวตน จมูกไม่ใช่ตัวตน  กลิ่นไม่ใช่ตัวตน  ลิ้นไม่ใช่ตัวตน  รสไม่ใช่ตัวตน    กายไม่ใช่ตัวตน  สิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกายไม่ใช่ตัวตน  มนะ(ใจ) ไม่ใช่ตัวตน  ธรรมมารมณ์ไม่ใช่ตัวตน  เธอย่อมพิจารณาเนื่องๆ  โดยความเป็นของไม่ใช่ตัวตน  ในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอก  ๖ นี้ อย่างนี้ ดูก่อนอานนท์  อันนี้เรา (ผู้ตถาคต)กล่าว่ว่าอนัตตสัญญา

         ๓. ดูก่อนอานนท์ อสุภสัญญาอย่างไร  ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เธอย่อมพิจารณานี้นี่แหละ  เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป  เบื้องล่างปลายผมลงมา  มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบเต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ  มีอยู่ในกายนี้  ผม ขน เล็บ ฟัง หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก  เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส่ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี เสลด  น้ำเหลือง  เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร  เธอย่อมเป็นผู้พิจารณาเนืองๆ โดยความไม่งามแห่งกายนี้  อย่างนี้ดูก่อนอานนท์  อันนี้เรา (ตถาคต) กล่าวว่าเป็นอสุภสัญญา

          ๔. ดูก่อนอานนท์  อาทีนวสัญญาเป็นอย่างไร  ดูก่อนอานนท์ภิกษุในธรรมวินัยนี้  ไปในป่าก็ดี  ไปที่โคนไม้ก็ดี  ไปที่เรือนว่าง ก็ดี เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า  อาพาธเหล่านี้คืออะไรบ้าง  คือ โรคนัยน์ตา โรคหู  โรคจมูก  โรคในลิ้น โรคในกาย โรคในศรีษะ โรคในปาก  โรคทีฟัน ไอ หืด  หวัด ไข้พิษ ไข้เชื่อมมัว โรคในท้อง ลมจับ (สลบ อ่อนหวิว สวิงสวาย) โรคบิด (ลงท้อง) จุกเสียด (ปวดท้อง) โรคลงราก  โรคเรื้อน ฝี โรคกลาก มองคร่อ ลมบ้าหมู หิดเปื่อย หิดด้าน คุดทะราด หูด  ละลอก  คุดทะราดบอน อาเจียนโลหิด  โรคดีพิการ  โรคเบาหวาน  ริดสีดวง พุพอง  ริดสีดวงลำไส้ ความเจ็บเกิดแต่ดีให้โทษ  ความเจ็บเกิดแต่เสมหะให้โทษ  ความเจ็บเกิดแต่ลมให้โทษ  ไข้สันนิบาต (คือความเจ็บเกิดแต่ดี เสมหะ และลมทั้ง๓ เจือกัน) ให้โทษ  ความเจ็บเกิดแต่ฤดูแปรปรวน  ความเจ็บเกิดแต่ลมให้โทษ  ไข้สันนิบาต ความเจ็บเกิดแต่การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถไม่เสมอ  ความเจ็บเกิดแต่ความเพียร ความเจ็บเกิดแต่วิบากของกรรม  เย็น ร้อน หิวข้าว กระหายน้ำ อุจจาระ ปัสสาวะ เธอย่อมเป็นผู้พิจารณาเนื่องๆโดยความเป็นโทษในกายนี้อย่างนี้  ดูก่อนอานนท์ อันนี้เรา (ผู้ตถาคต) กล่าวว่า อาทีนวสัญญา

           ๕. ดูก่อนอานนท์  ปหานสัญญาเป็นอย่างไร ดูก่อนอานนท์ภิกษุในธรรมวินัยนี้  เธอย่อมไม่รับย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้พินาศ  ย่อมทำไม่ให้เกิดอีกต่อไป ซึ่งกามวิตก  (ความตรึกในกามารมณ์) ที่เกิดขึ้นแล้ว เธอย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้พินาศ  ย่อมทำไม่ให้เกิดอีกต่อไป  ซึ่งพยายาทวิตก  (ความตรึกในการแซ่งสัตว์ให้ถึงความพินาศ) ที่เกิดขึ้นแล้ว เธอย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้พินาศ  ย่อมทำไม่ให้เกิดอีกต่อไป ซึ่งวิหาสาวิตก (ความตรึกในการเบียดเบียนสัตว์) ที่เกิดขึ้นแล้ว  เธอย่อมไม่รับ ย่อมละเสีย  ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้พินาศ  ย่อมทำไม่ให้เกิดอีกต่อไป ซึ่งเหล่าธรรมอันเป็นบาป  เป็นอกุศล ที่เกิดขึ้นแล้วและเกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนอานนท์อันนี้เรา (ตถาคต) กล่าวว่าปหานสัญญา

            ๖ ดูก่อนอานนท์  วิราคสัญญาเป็นอย่างไร  ดูก่อนอานนท์ภิกษุในธรรมวินัยนี้  ไปในป่าก็ดี  ไปที่โคนไม้ก็ดี  ไปที่เรือนว่าง ก็ดี เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า  ธรรมชาตินั่นละเอียด ธรรมชาตินั่นประณีตคือ ว่า ธรรมเป็นเครื่องระงับสังขารทั้งปวง  เป็นเครื่องละกิเลสทั้งปวงเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา  เป็นที่ดับสนิท ออกจากตัณหา เป็นเครื่องร้อยรัดดูก่อนอานนท์  อันนี้เรา (ผู้ตถาคต)กล่าวว่าวิราคสัญญา

           ๗.ดูก่อนอานนท์  นิโรธสัญญาเป็นอย่างไร  ดูก่อนอานนท์ภิกษุในธรรมวินัยนี้  ไปในป่าก็ดี  ไปที่โคนไม้ก็ดี  ไปที่เรือนว่าง ก็ดี เธอย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่า  ธรรมชาตินั่นละเอียด ธรรมชาตินั่นประณีตคือ ว่า ธรรมเป็นเครื่องระงับสังขารทั้งปวง  เป็นเครื่องละกิเลสทั้งปวงเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา  เป็นที่ดับสนิท ออกจากตัณหา เป็นเครื่องร้อยรัดดูก่อนอานนท์  อันนี้เรา (ผู้ตถาคต)กล่าวว่านิโรธสัญญา

            ๘ ดูก่อนอานนท์  สัพพโลเก อนภิรตสัญญาเป็นอย่างไร  ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อุบายละ อุบายเป็นเหตุถือมั่นเหล่านี้นเสีย ไม่ถือมั่น ย่อมงดเว้นเสีย ดูก่อนอานนท์ อันนีเรา (ผู้ตถาคต) กล่าวว่าสัพพโลเกอนภิรตสัญญา

            ๙. ดูก่อนอานนท์ สัพพสังขาเรสุ อนิจจสัญญา เป็นอย่างไร  ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเบื่อหน่าย ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง  แต่สังขารทั้งปวง  ดูก่อนอานนท์ อันนี้เรา (ผู้ตถาคตกล่าวว่าสัพพสังขาเรสุอนิจฉสัญญา)

            ๑๐ .ดูก่อนอานนท์  อานาปานัสสติเป็นอย่างไร  ดูก่อนอานนท์  ภิกษุในธรรมวินัยนี้  ไปไม่ป่าก็ดี  ไปที่โคนไม้ก็ดี ไปที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์  (นั่งขัดสมาธิ)  ตั้งกายให้ตรงแล้ว  ตั้งสติไว้มั่นเฉพาะหน้า  เธอย่อมเป็นผู้มีสติหายใจเข้า ย่อมเป็นผู้มีสติหายใจออก  เมื่อเธอหายใจเข้ายาว  ก็รู้ชัดว่าบัดนี้เราหายใจเข้ายาว  หรือเมื่อหายใจออกยาว  ก็รู้ชัดว่าบัดนี้เราหายใจออกยาว  หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า  บัดนี้เราหายใจเข้าสั้น  หรือเมื่อหายใจออกสั้น  ก็รู้ชัดว่า บัดนี้เราหายใจออกสั้น

          เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า

          เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวงหายใจออก

          เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร  (คือลมอัสสาสะ ปัสสาสะ)หายใจออก

          เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจออก

          เธอย่อมศึกษาว่า  เราจักเป็นผู้รู้แจ้งปีติ (คือความอิ่มกายอิ่มใจ) หายใจเข้า

         เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้รู้แจ้งปีติหายใจออก

         เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตตสังขาร(คือเวทนาและสัญญา)หายใจเข้า

         เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตตสังขาร(คือเวทนาและสัญญา)หายใจออก

         เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักระงับจิตตสังขาร(คือเวทนาและสัญญา)หายใจเข้า

        เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักระงับจิตตสังขาร(คือเวทนาและสัญญา)หายใจออก

        เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจเข้า

        เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก

        เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า

       เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก

        เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักตั้งจิตไว้ หายใจเข้า

        เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักตั้งจิตไว้ หายใจออก

        เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเปลื่องจิต หายใจเข้า

        เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเปลื่องจิต หายใจออก

        เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้พิจารณาเนืองๆ โดยความเป็นของไม่เที่ยง  หายใจเข้า

        เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้พิจารณาเนืองๆ โดยความเป็นของไม่เที่ยง  หายใจออก

        เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้พิจารณาเนืองๆ ซึ่งธรรมอันปราศจากราคะ  หายใจเข้า

        เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้พิจารณาเนืองๆ ซึ่งธรรมอันปราศจากราคะ หายใจออก

       เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้พิจารณาเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นที่ดับสนิท   หายใจเข้า

       เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้พิจารณาเนืองๆ ซึ่งธรรมเป็นที่ดับสนิท   หายใจออก

       เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้พิจารณาเนืองๆ ซึ่งความสละคืน   หายใจเข้า

       เธอย่อมศึกษาว่า   เราจักเป็นผู้พิจารณาเนืองๆ ซึ่งความสละคืน   หายใจออก

                 ดูก่อนอานนท์  อันนี้เรา (ผู้ตถาคต) กล่าวว่าอานาปานัสสติ  ดูก่อนอานนท์ ถ้าว่าท่านแลพึงเข้าไปแสดงสัญญา ๑๐ ประการเหล่านี้แก่ภิกษุศิริมานนท์ไซร์  ข้อนี้ เป็นเหตุให้อาพาธของภิกษุคิริมานนท์ระงับ ไปโดยฐานะ  เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการ เหล่านี้  ลำดับนั้น  พระอานนท์ผู้มีอายุเรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไป  หาโดยที่ที่พระคิริมานนท์ผู้มีอายุอยู่  ครั้นเข้าไปหาแล้ว ได้แสดงสัญญา ๑๐ ประการเหล่านี้  แก่พระคิริมานนท์ผู้มีอายุด  ลำดับนั้นแล อาพาธของพระคิริมานนท์ผู้มีอายุ ระงับไปแล้วโดยฐานะ  เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ พระคิริมานนท์ผู้มีอายุก็หายจากอาพาธนั้น  ก็อาพาธนั้นเป็นอันพระคิริมานนท์ผู้มีอายุได้ละเสียแล้ว  ด้วยการที่ได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการ ที่พระอานนท์ได้แสดงแล้ว ฉะนั้นด้วยประการฉะนี้แล

 

         

         

         

วัดพุทธบูชา

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013