มัคคะวิภังคะสุตตัง
เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ
เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู
อามันเตสิ ภิกขะโวติ. ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง
ภะคะวา เอตะทะโวจะ อะริยัง โว ภิกขะเว อัฏฐังคิกัง มัคคัง เทสิสสามิ
วิภะชิสสามิ ตัง สุณาถะ สาธุกัง มะนะสิกะโรถะ ภาสิสสามีติ. เอวัม-
ภันเตติ โข เต ภิกขู ภะคะวะโต ปัจจัสโสสุง. ภะคะวา เอตะทะโวจะ.
กะตะโม จะ ภิกขะเว อะริโย อัฏฐิงคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ
สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม
สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ.
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ ยัง โข ภิกขะเว ทุกเข ญาณัง
ทุกขะสะมุทะเย ญาณัง ทุกขะนิโรเธ ญาณัง ทุกขะนิโรธะคามินิยา
ปะฏิปะทายะ ญาณัง อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาทิฏฐิ.
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป โย โข ภิกขะเว เนกขัมมะ-
สังกัปโป อัพยาปาทะสังกัปโป อะวิหิงสาสังกัปโป. อะยัง วุจจะติ
ภิกขะเว สัมมาสังกัปโป.
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาวาจา ยา โข ภิกขะเว มุสาวาทา
เวระมะณี ปิสุณายะ วาจายะ เวระมะณี ผะรุสายะ วาจายะ เวระมะณี
สัมผัปปะลาปา เวระมะณี. อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวาจา.
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต. ยา โข ภิกขะเว
ปาณาติปาตา เวระมะณี อะทินนาทานา เวระมะณี อะพรัหมะจะริยา
เวระมะณี อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมากัมมันโต.
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว. อิธะ ภิกขะเว อะริยะ-
สาวะโก มิจฉาอาชีวัง ปะหายะ สัมมาอาชีเวนะ ชีวิกัง กัปเปติ
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาอาชีโว.
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาวายาโม อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
อะนุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง อะนุปปาทายะ
ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคัณหาติ
ปะทะหะติ. อุปปันนานัง ปาปะกานัง อะกุสะลานัง ธัมมานัง
ปะหานายะ ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ จิตตัง
ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ อะนุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง
อุปปาทายะ ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ จิตตัง
ปัคคัณหาติ ปะทะหะติ. อุปปันนานัง กุสะลานัง ธัมมานัง ฐิติยา
อะสัมโมสายะ ภิยโยภาวายะ เวปุลลายะ ภาวะนายะ ปาริปูริยา
ฉันทัง ชะเนติ วายะมะติ วิริยัง อาระภะติ จิตตัง ปัคคัณหาติ
ปะทะหะติ. อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาวายาโม.
กะตะมา จะ ภิกขะเว สัมมาสะติ. อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ
โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ
อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง
จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ อาตาปี สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ
โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง. ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ อาตาปี
สัมปะชาโน สะติมา วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง, อะยัง
วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะติ.
กะตะโม จะ ภิกขะเว สัมมาสะมาธิ อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ
วิวิจเจวะ กาเมหิ วิวิจจะ อะกุสะเลหิ ธัมเมหิ สะวิตักกัง สะวิจารัง
วิเวกะชัมปีติสุขัง ปะฐะมัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
วิตักกะวิจารานัง วูปะสะมา อัชฌัตตัง สัมปะสาทะนัง เจตะโส
เอโกทิภาวัง อะวิตักกัง อะวิจารัง สะมาธิชัมปีติสุขัง ทุติยัง ฌานัง
อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ ปีติยา จะ วิราคา อุเปกขะโก จะ วิหะระติ
สะโต จะ สัมปะชาโน สุขัญจะ กาเยนะ ปะฏิสังเวเทติ ยันตัง
อะริยา อาจิกขันติ อุเปกขะโก สะติมา สุขะวิหารีติ ตะติยัง ฌานัง
อุปสัมปัชชะ วิหะรติ สุขัสสะ จะ ปะหานา ทุกขัสสะ จะ ปะหานา
ปุพเพ วะ โสมะนัสสะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมา อะทุกขะมะสุขัง
อุเปกขาสะติปาริสุทธิง จะตุตถัง ฌานัง อุปะสัมปัชชะ วิหะระติ
อะยัง วุจจะติ ภิกขะเว สัมมาสะมาธีติ. อิทะมะโวจะ ภะคะวา
อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุนติ.
คำแปล มัคคะวิภังคะสุตตัง
ข้าพเจ้า(พระอานนทเถระ) สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้วกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระองค์ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ด้วยพระดำรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุเหล่านั้นกราบทูลรับแล้วพระองค์จึงตรัสคำต่อไปนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงจำแนกทางอันประเสริฐ มีองค์ ๘ ขอพวกเธอจงตั้งใจฟังให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลรับแล้วพระองค์จึงตรัสต่อไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางอันประเสริญมี องค์ ๘ เป็นไฉน คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การงานชอบ อาชีพชอบ การพรยายามชอบ การระลึกชอบ การตั้งใจชอบ
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเป็นไฉน ญาณ คือความรู้ในทุกข์ ในสมุทัย เหตุเกิดทุกข์ในทุกขนิโรธ ความดับทุกข์ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อันใด นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
๒. ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ เป็นไฉน ความดำริออกจากกาม ความดำริในการไม่เบียดเบียนอันใด นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ
๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวาจา การเจรจาชอบ เป็นไฉน เจรจาเว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดหยาบคาย พูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา
๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมากัมมันตะ การงานชอบ เป็นไฉน เจตนาเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ลักขโมย การประพฤติล่วงพรหมจรรย์ (คือเสพกามอันใด) นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ
๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ เป็นไฉน พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละอาชีพผิด สำเร็จชีวิตด้วยอาชีพชอบ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ
๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทำความพอใจให้เกิดเพียรพยายามริเริ่มความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตเพื่อละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ทำความพอใจให้เกิด เพียรพยายามริเริ่มความเพียร ประคองจิต ตั้งจิตเพื่อความดำรงอยู่ เพื่อความไพบูลย์ยิ่งขี้น แห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว นี้เรียกสัมมาวายามะ
๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสติ การระลึกชอบ เป็นไฉน ภิกษในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนีองๆอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา (ความโลภอยากได้) และโทมนัส(ความทุกข์ทางใจ) ในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาเนืองๆอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนีองๆอยู่ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ นี้เรียกว่า สัมมาสติ
๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัมมาสมาธิ การตั้งใจมั่นชอบ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้นไร้วิตก วิจาร เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกายเพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ปลอดทุกข์ และสุข เพราะละสุขและทุกข์ ดับโสมนัสและโทมนัสก่อนๆได้มีอุเบกขาและความบริสุทธิ์แห่งสตินี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระดำรัสนี้แล้ว พวกภิกษุเหล่านี้นพอใจ จึงชื่นชมภาษิตของพระองค์ด้วยประการฉะนี้
0 comments :
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น