วัดพุทธบูชา

เลขที่ 181 หมู่ 3 ถ.พุทธบูชา ซอย 30 ริมคลองบางมด แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140 โทร. 02-426-3667, 02-874-8108

พระประธานในอุโบสถ

พระพุทธชินราชจำลอง ของวัดพุทธบูชานี้ มีขนาดเท่าองค์จริง มีหน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว (๒.๘๗๕ เมตร) สูง ๗ ศอก หล่อด้วย ทองสัมฤทธิ์ (เป็นโลหะผสมระหว่างทองเหลืองและดีบุก) น้ำหนัก ๓ ตัน (๓,๐๐๐ กิโลกรัม) มีพุทธลักษณะที่งดงาม มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ เรือนแก้ว (ลวดลายคล้ายตัวพญานาค ดุจรัศมีล้อมรอบองค์พระ) ยักษ์ (มีลักษณะกึ่งนั่งกึ่งยืนมือขวาถือกระบองอยู่ปลายเรือนแก้วทางด้านซ้าย) มาร (ลักษณะอยู่ในท่ากำลังเหาะมือทั้งสองข้างจับบ่วงบาศบนศรีษะ อยู่ปลายเรือนแก้วตรงด้านขวา) ฝาผนังด้านหลังขององค์พระ ลงรัก เขียนลวดลายปิดทองเป็นรูปใบไม้และดอกไม้ มีปูนปั้นนูนรูปเทพบูชา (หมู่เทวดา นางอัปสร โปรยดอกไม้เพื่อเป็นพุทธบูชา) พร้อมสมบูรณ์ เหมือนองค์จริงทุกประการ ประดิษฐานในอุโบสถหลังใหม่ ราคาในการก่อสร้างองค์พระ๒๘๑,๐๐๐ บาท

คลื่นพุทธบูชา FM100.25 MHz

สถานีวิทยุกระจายพระพุทธศาสนาแห่งชาติและสังคม

พระราชภาวนาพินิจ พระราชภาวนาพินิจ

หลวงพ่อสนธิ์ อนาลโย ท่านจะดำรงตำแหน่งเป็นเจาอาวาส วัดพุทธบูชา

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

30 สิงหาคม 2554

ปริญญาสามใบหรือปริญญาชีวิตby Dhammasarokikku

ในเอ็นทรี่นั้น กล่าวถึงดาราพิธีกรชื่อดังคนหนึ่ง ผู้มีชีวิตค่อนข้างเพอร์เฟ็ค จบปริญญาเอก มีแฟนเป็นดาวมหาลัย ประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน แต่สุดท้ายต้องมาตายด้วยโรคมะเร็ง ก่อนวัยอันควร (คิดกันไปเอง ครับว่า วัยไหนถึงควรตาย คนเราตายได้ทุกวัยนั่นแล) เพราะความเครียดจากการทำงานทุ่มเทมากไป

ในบทสัมภาษณ์ก่อนเขาจักลาจากโลกนี้ไป เขากล่าวถึง คำสอนของพ่อเขาว่า มีปริญญาอีกใบที่ต้องทำให้สำเร็จ คือ ปริญญาวิชาชีวิต เขาให้ความเห็นว่า เขาไม่ประสบความสำเร็จในการคว้าปริญญาใบที่สอง เขาต้องมานอนให้พ่อแม่เช็ดตัว ดูแลรักษา แทนที่เขาจักเป็นคนดูแลพ่อแม่ แสดงให้เห็นว่า เขาเกลียดตัวเอง ที่ต้องมานอนรอรับความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้อย่างนี้

สำเร็จปริญญาวิชาชีวิตของเขา อาจหมายถึงการที่เขาได้มีชีวิตยืนยาว สุขภาพแข็งแรง ได้ดูแลแทนคุณพ่อแม่ ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ร่ำรวยมหาศาล มีลูกหลานมากมาย แล้วสุดท้ายนอนรอความตายโดยมีญาติพี่น้องลูกหลานคอยประคบประหงม ในเวลาที่ทุกคนลงความเห็นว่า เขาสมควรตายได้แล้ว

นั่นอาจจักเป็นปริญญาวิชาชีวิตทางโลกแต่ถ่ายเดียว ครับ ข้าพเจ้าขออนุญาตเสริมเนื้อหาของปริญญาวิชาชีวิตทางธรรมเพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหา

สำหรับข้าพเจ้าแล้ว วันที่สำเร็จปริญญาวิชาชีวิต คือวันที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ถูกต้องชัดเจนว่า ชีวิตเราิเกิดมาเพื่ออะไร ครับ ไม่ใช่เกิดมาก็ไม่รู้ว่า เกิดมาทำไม จนตายแล้ว ก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่า เกิดมาทำไม อย่างนี้เขาเรียก มืดมา แล้วก็มืดไป

เข้าใจชีวิตแล้ว มันมีความสุขจริง ๆ ครับ มีเป้าหมายชีวิตที่ชัดเจน

เข้าใจชีวิตว่ากระไร? เข้าใจว่า ทั้งความสำเร็จ และความล้มเหลวของชีวิต มันเป็นแค่ของเล่น ครับ สุข ทุกข์ มันก็แค่ของหลอกเด็ก มาแล้วก็ไป มาแล้วก็ไป เหมือนกันหมด ไม่มีแก่นสารสาระกระไรเลย ไม่มีกระไรน่ายึด น่าถือ สักอย่าง

คนเราไม่ได้เกิดมาเพื่อยึด ครับ

กิเลสมันสั่งให้ยึด ไม่ต้องทำกระไร ปล่อยตัวปล่อยใจ คนเราก็มีธรรมชาติยึดโน่นยึดนี่อยู่แล้ว ครับ เช่น พอรู้ความ ก็ยึดว่า เราต้องมีของเล่น ต้องได้กินขนมอร่อย โตมาหน่อย ก็ยึดว่า ต้องเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง โรงเรียนอินเตอร์ ต้องมีแฟนสวยหล่อ โตอีกนิด ก็ต้องเรียนมหาลัยชื่อดัง ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อย ก็ต้องทำงานในบริษัทซึ่งเป็นที่รู้จัก เงินเดือนดี สวัสดิการเยี่ยม ต้องแต่งงานกับคนที่ใช่ ต้องมีลูก ต้องมีรถ ต้องมีบ้านหลังใหญ่ ต้องไม่แก่ ต้องไม่ป่วยไข้ และต้องไม่ตาย เป็นต้น

ความจริงแล้ว คนเราเกิดมาเพื่อ "วาง" ครับ

เพราะการวางจักพาให้เราเข้าถึง ความสุขแท้ ความสุขแท้เป็นยอดปรารถนาของสัตว์โลกทุกหมู่เหล่า

ยึดหน่ะมันง่าย แต่วางหน่ะมันยาก เราจึงต้องมาเกิดซ้ำ ๆ ซาก ๆ เพื่อหาทาง "วาง" เมื่อไหร่วางได้หมด เมื่อนั้นก็ไม่ต้องมาเกิดอีก และนั่นละ คือ ดุษฎีบัณฑิตของชีวิต

ไม่ได้ห้ามไม่ให้ยึด ครับ คนเราหากไม่รู้จักการยึด จักรู้จักการวางได้อย่างไร มันก็ต้องยึดกันไปก่อน ยึดไป ก็ทุกข์ไป ทุกข์มาก ๆ เข้าก็วาง พอคลายทุกข์หน่อย ก็กลับมายึดใหม่ ยึด ๆ วาง ๆ เรียนรู้เพิ่มเติมไปทุกวินาทีในวัฏสงสาร จนสุดท้ายซาบซึ้งถึงอกถึงใจว่า เมื่อไหร่ยึด เมื่อนั้นทุกข์

แต่กว่าเราจักเข้าใจว่า เราเกิดมาเพื่อ "วาง" บางทีก็สายเสียแล้ว ครับ ยึดโลกมาแบกไว้ทั้งใบ

ทำไมภูมิมนุษย์ถึงประเสริฐที่สุดในสังสารวัฏ?

ทำไมภูมิมนุษย์ สัตว์ในสามโลกจึงอยากมาเกิดกันนัก?

และทำไมภูมิมนุษย์ถึงมาเกิดได้ยากเย็นนัก?

เพราะมีขุมทรัพย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสังสารวัฏฝังอยู่ในภูมิของมนุษย์หน่ะซี ขุมทรัพย์ทางปัญญาที่จักทำให้เรารู้จัก "การวาง"

ขุมทรัพย์นั้น องค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นคนขุดเจอ ครับ และทรงเอามาประกาศบอกพวกเรา

ขุมทรัพย์นั้น ชื่อ "ไตรลักษณ์" ครับ

ไตรลักษณ์ นั้น มีอีกชื่อหนึ่งว่า "สามัญญลักษณะ" ชาวพุทธคงไม่มีใครไม่เคยได้ยิน ไตรลักษณ์ หรือ ลักษณะสามัญสามอย่าง ก็คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ฟังกันจนคุ้นหู คุ้นตา เป็นขุมทรัพย์อย่างไรหนอ?

ไตรลักษณ์สำคัญอย่างไร? ไตรลักษณ์คือที่สุดของปัญญา ครับ การวางนั้น พูดง่าย แต่ทำยาก หากยังไม่เห็นไตรลักษณ์ จิตเราจักไม่ยอมวางกระไรง่าย ๆ เด็ดขาด การจะเห็นไตรลักษณ์ได้ ต้องปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ เท่านั้น ครับ

เมื่อปฏิบัติตามมรรคแล้ว มันก็ไม่ยากที่จักเห็นไตรลักษณ์ ในภูมิของมนุษย์ มีไตรลักษณ์ให้เห็นแทบทุกที่ โดยเฉพาะร่างกายของเราเอง

ภูมิอื่น ไม่มีการเกิดมาเป็นเด็กตัวเล็ก ๆ แล้วค่อย ๆ โตขึ้น จนโตเต็มที่ แล้วก็ค่อย ๆ แก่ลง ๆ เจ็บป่วย แล้วก็ตาย ภูมิมนุษย์นั้น มีครบทุกรสชาติของชีวิต ครับ สัตว์นรก หรือเปรตนั้น ทุกข์มากเกินไป ครับ ทุกข์ไม่เว้นวันหยุดราชการ เลยไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง ไม่เห็นอนิจจัง สัตว์เดรัจฉาน มีการเจริญเติบโต แก่ ป่วย ตาย ก็จริง แต่ก็หลงมากเกินไป ศักยภาพสมองน้อยเกินไป เทวดาก็สุขมากไป ไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง พรหมก็ยิ่งนิ่งสนิทไปเลย

โลกมนุษย์ก็เหมือนโรงเรียนขนาดยักษ์ ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เรียนรู้ชีวิต ทั้งการยึด และการวาง ตอนเด็ก ๆ เราก็เรียนรู้ที่จักยึด ต้องเรียนเก่ง ๆ นะ พ่อแม่จักได้พอใจ ต้องสอบเข้ามหาลัยให้ได้นะ จักได้มีหน้ามีตา ต้องรวยนะ ทุกคนจักได้นับถือ ยึดกันจนเต็มปรี่แล้ว ก็มาเรียนรู้ที่จักวาง ร่างกายเรา แก่ลงทุกวัน เสื่อมลงทุกวัน เราห้ามได้ไหม ถ้าห้ามไม่ได้ นั่นละ "อนัตตา" ร่างกายเรามันดีทุกวันหรือเปล่า ก็เปล่า เดี๋ยวมันก็ดี เดี๋ยวมันก็ร้าย ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มันเที่ยงไหม เห็นความไม่เที่ยงไหมล่ะ นั่นละ "อนิจจัง" เวลาแก่แล้ว มันก็เจ็บป่วย ปวดเมื่อยไปทุกอิริยาบถ เห็นหรือยังเล่า นี่ละ "ทุกขัง"

วัยชราเป็นวัยที่ยอดเยี่ยมสำหรับการมองเห็น "ไตรลักษณ์" เลย ครับ แต่ขออำภัย หากเราไม่จบปริญญาวิชาชีวิตทางธรรมที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าวางหลักสูตรไว้ ให้ได้เสียก่อนแก่ ถึงเวลาแก่จริง มันมักจักสายไปแล้ว ครับ เพราะสิ่งที่มาพร้อมความแก่ คือ ความหลงลืม ความเสื่อมถอยของสังขาร ปัญญาก็อ่อนแอ สติสตังก็อ่อนแรง บางทีก็มีอาการเจ็บป่วยเพิ่มเติมขึ้นมาอีก ช่วงวัยชรา เหมือนช่วงสุดท้ายแห่งการเตรียมตัวสอบ ประมวลประสบการณ์ของทั้งชีวิต แล้วต้องเห็นไตรลักษณ์ให้ได้ เห็นไม่ได้ก็กลับมาเกิดใหม่ มาเกิดอีกเพื่อทำความเข้าใจใหม่ พยายามเห็นไตรลักษณ์อีกครั้ง สอบตกก็เวียนมาเกิดอีก เป็นอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

ผู้ที่เข้าใจชีวิต ยิ่งแก่ ก็ยิ่งมีความสุข ครับ แต่ผู้ที่สอบตกปริญญาวิชาชีวิต ยิ่งแก่ ก็ยิ่งเป็นทุกข์ ทุกข์กายยังไม่พอ เพิ่มทุกข์ใจเข้าไปอีก

วัยหนุ่มวัยสาว คือ วัยที่เราจักต้องทำความเข้าใจ กับความหมายที่แท้จริงของชีวิต ครับ แก่ ๆ ไป ไม่ค่อยเหลือปัญญามาศึกษาแล้ว เรียนให้รู้ ครับว่า แท้จริงคนเราเกิดมาเพื่ออะไร รู้ไว้ก่อน ครับ ทำไม่ได้ ทำไม่ถึง ไม่เป็นไร (นี่ละ ครับ สมัยก่อนเข้าถึงให้บวชเรียน ให้รู้อะไรเป็นอะไรก่อน แล้วจักอยากแสวงหาพระนิพพานในเพศสมณะ หรือจะกลับไปใช้ชีวิตฆราวาส ก็เลือกเอา น่าเสียดายที่ประเพณีดีงามเช่นนี้ นับวันก็เหลือน้อยลง ๆ)

การรู้ความหมายของชีวิต เป็นปริญญาวิชาชีวิต ครับ (เขาถึงเรียกคนที่บวชเรียนแล้วสึกว่า "ทิด" แปลว่า ผู้ศึกษาแล้ว) ส่วนถ้าทำได้ถึง เป็นปริญญาใบที่สาม ครับ เป็นปริญญาพิเศษ เรียกว่า ปริญญาทางธรรม ถ้าสอบเข้ามหาลัยทางธรรมได้นี่ เขาเรียกว่า พระเสขะ หมายถึง พระอริยบุคคลที่ยังต้องศึกษา เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ก็คือ ได้โสดาบัน จบปริญญาตรีแล้ว ก็เรียกว่า สกทาคามี จบปริญญาโท ก็เรียกว่า อนาคามี

การเรียนทางโลกไม่มีวันจบ ครับ มีให้เรียนเรื่อย ๆ จนทำให้ข้าพเจ้าเป็นโรค classroomphobia แต่การเรียนทางธรรม มีวันจบ ครับ จบแล้วไม่ต้องเรียนอีก จบด็อกเตอร์ทางธรรม ก็เรียกว่า พระอรหันต์ หรือเรียกอีกอย่างว่า พระอเสขะ หมายถึง พระอริยบุคคลที่ไม่ต้องศึกษาแล้ว หมดกิจที่ต้องทำแล้ว

มหาลัยทางธรรมอยู่ที่ไหน? ก็อยู่ในกาย ในใจ เรานี้นั่นแล มหาลัยทางธรรม เรียนอะไร? ก็เรียนรู้ทุกข์ ทุกข์อยู่ที่ไหน? ก็อยู่ในกาย ในใจ เรานี้ กายใจ หรือขันธ์ห้าของเรานี่เอง คือ "มหาลัยทางธรรม"

อย่างดาราพิธีกรคนนั้น หากเขาทราบสักนิดว่า เป้าหมายแท้จริงของชีวิต คือ การเห็นไตรลักษณ์ แล้วจักได้วาง วางได้แล้วจึงจักมีความสุขไม่ว่าจักเกิดอะไรขึ้น จักหายหรือไม่หาย ก็มีความสุข ตระหนักได้ว่า การสำเร็จปริญญาวิชาชีวิต มิใช่การมีอายุยืนยาว ไม่ป่วยไม่ไข้ เขาก็คงเป็นนักศึกษาได้ไม่ยาก ครับ ร่างกายสมองยังดีอยู่ ศึกษาธรรมะได้ไม่ยาก แต่คนเราเวลาป่วยแล้ว ก็ไม่มีเวลามานั่งคิดถึงไตรลักษณ์หรอก เวลาทั้งหมดไปสนใจอยู่กับทุกขเวทนาจากการป่วย ทำอย่างไรให้พ้นจากทุกขเวทนา ฉะนั้น เราต้องไม่ประมาท ครับ หัดระลึกถึงไตรลักษณ์เสียตั้งแต่ยังไม่ป่วย ยังไม่แก่ ตุนเสบียงไว้ใช้ในเวลาสำคัญของชีวิต

นอกจากขุมทรัพย์ดังกล่าวแล้ว ภูมิมนุษย์ยังประเสริฐกว่าภูมิทั้งหลาย ตรงที่สามารถเลือกที่ไปได้โดยอิสระ ครับ อยากไปเป็นสัตว์นรก ก็โกรธเข้าไป ครับ ล่วงศีล ๕ เข้าไป เดี๋ยวก็ได้เป็น อยากเป็นเปรต ก็โลภเข้าไป อยากเป็นอสุรกาย ก็สะสมมิจฉาทิฏฐิไว้เยอะ ๆ อยากเป็นคนอีก ก็รักษาศีล ๕ เอาไว้ อยากเป็นเทวดา ก็รู้จักกลัวโทษของบาป รู้จักละอายบาปไว้เรื่อย ๆ อยากไปเป็นพรหม ก็ฝึกสมาธิไว้ หรืออยากไปนิพพาน ก็หัด "วาง" เข้า

และภูมิมนุษย์ก็มาเกิดได้ยากเย็นนักหนา เพราะมีโควต้าจำกัด ครับ มีจิตแค่ประมาณหกพันล้านดวงเท่านั้น จักมีสิทธิ์เกิดเป็นมนุษย์ แต่จิตในสกลจักรวาลนี้ มีมากมายจนนับไม่ได้ เราได้เกิดเป็นคนไทย ได้พบศาสนาพุทธ ได้เรียนธรรมะนี่ ก็โชคดีกว่า คนทั้งหลายอยู่อักโขทีเดียว เพราะเราจักมีโอกาสจบปริญญาวิชาชีวิตได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่สนใจศึกษา คนที่มีโอกาสดีอย่างนี้มีเพียงหยิบมือเดียว ครับ ถึงสิบล้านคนหรือเปล่าก็ไม่ทราบ ส่วนคนอีกมากมายกว่าหกพันล้าน ไม่มีโอกาสดีอย่างเรา ครับ ฉะนั้น สมควรอย่างยิ่งทีเดียว ที่จักเร่งจบปริญญาวิชาชีวิตให้อุ่นใจไว้ก่อน และถ้าไม่ประมาท ก็เริ่มปฏิบัติธรรมตั้งแต่วันนี้ เอาปริญญาทางธรรมให้ได้แต่เนิ่น ๆ ถึงเวลา "สอบไล่" วิชาชีวิตแล้ว จักได้ช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่ต้องมาฝันร้ายหวาดกลัวการสอบไล่เพราะเตรียมตัวไม่ทันเช่นข้าพเจ้า และไม่ต้องมาโอดครวญว่า "ข้าพเจ้าสอบตกปริญญาวิชาชีวิต"

เพราะการเจ็บป่วย หรือตายก่อนวัยอันควร มิใช่การสอบตกปริญญาวิชาชีวิต ครับ แต่การตายไปโดยไม่รู้ว่า ชีวิตเกิดมาทำไมนั่นแล คือ การสอบตกปริญญาวิชาชีวิตที่แท้จริง!!!

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ

29 สิงหาคม 2554

บุญกฐินและอานิสงส์กฐิน

 

390202075เผลอแผล็บเดียว ใกล้ออกพรรษาละ เมื่อสองเดือนก่อนมีญาติโยมโทรมาถามหาวัดจักทอดกฐิน รู้สึกสงสัยทำไมเขาแอคทีฟกันจัง ยังไม่ทันเข้าพรรษาเลย เตรียมหาวัดทอดกฐินกันแล้ว เวลาผ่านไปจึงทราบว่า ๓ เดือนนี่ไวเหมือนโกหก และกฐินวัดใหญ่ ๆ ที่เป็น "กฐิน" เขาจองกันแต่เนิ่น ๆ

ที่นำเรื่องนี้มาเขียน ก็เพราะได้รับซองกฐินซองหนึ่งครับ มาจากวัดทางภาคเหนือ เปิดดูฎีกา(ใบบอกบุญในซอง)หน้าตาสวยงามทีเดียว พิมพ์เป็น ๔ สีเสียด้วย ลงทุนจริง ๆ ข้อความบอกบุญก็ดีครับ วัตถุประสงค์ก็ดี ดีทุกอย่างเลยยกเว้น "อานิสงส์กฐิน" ที่อยู่ตอนท้ายใบฎีกา อ่านแล้วแปร๊บหัวใจ

อ่านไม่ออกใช่ม๊า คนสแกนลงเองยังอ่านไม่ค่อยออกเลย ข้อ ๑ - ๔ ไม่ค่อยมีกระไรครับ ประมาณถ้าเป็นชายจักได้รับประทานการบวชแบบ "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" (การตรัสว่า "จงมาเป็นภิกษุเถิด") จากพระพุทธเจ้าโดยตรง (ซึ่งความจริงน่าจักเพี้ยนมาจาก ถ้าเป็นชายไปเกิดทันยุคพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล แม้บวชด้วยวิธี "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" แล้วจักมีจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์มาใส่ทันที) เป็นหญิงก็ได้เครื่องประดับ มหาลดาปสาธน์ (เครื่องประดับของนางวิสาขามหาอุบาสิกา) หรือไปเกิดยุคอื่นก็ได้เครื่องประดับที่เลอค่าอมตะกว่าใคร บลา ๆ ๆ ... เรื่องพวกนี้เป็นไปได้ทั้งสิ้นครับ ไม่จำต้องถวายกฐิน ถวายสังฆทานธรรมดานี่ก็ได้ ขอให้มีไตรจีวรรวมอยู่สักชุดหนึ่ง หรือทำบุญหนัก ๆ สักอย่างหนึ่งแล้วอธิษฐาน (ตั้งใจมั่น) ว่าต้องการเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นไปได้ครับ แต่เมื่อไหร่ไม่รู้ ฉะนั้นข้าพเจ้าไม่ใคร่ใส่ใจนัก

มาข้อ ๕ นี่ละครับ เฮ้ย!!! แอ๊ดว๊านซ์ขิง ๆ

ความว่า "เป็นมหากุศลทาน ผู้มีจิตอนุโมทนาย่อมได้กุศลนั้น แม้อุทิศให้ผู้ตายอันตกอยู่ในทุคติ ย่อมพ้นจากทุคตินั้น" อ่านแวบแรก เฮ้ย... ถวายกฐินแล้วอุทิศให้คนที่ตกนรก ก็พ้นจากนรกงั้นซี????

มาอ่านรอบสองถึงเข้าใจว่า ทุคติที่ท่านว่า หมายถึงภูมิของเปรต แถมเป็นเปรตจำพวกสุดท้ายในเปรต ๑๒ จำพวก ใกล้พ้นวิบากแล้วด้วย ชื่อว่า ปรทัตตูปชีวีเปรต อีก ๑๑ จำพวกที่เหลือ ไม่สามารถรับผลบุญที่ญาติอุทิศให้ได้

คำว่า "ทุคติ" นั้น ความจริงหมายรวมเอาถึง อบายภูมิ ๔ มีนรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉานครับ ไม่ใช่หมายถึงเปรตอย่างเดียว การเขียนไม่ชัดเจนทำนองนี้ อาจพาให้คนเข้าใจผิดได้ว่า แม้ทำบุญแล้วอุทิศให้ญาติที่ไปตกนรกอยู่ เขาก็พ้นจากนรก อุทิศให้ญาติที่เป็นอสุรกายอยู่ เขาก็พ้นจากการเป็นอสุรกาย (ความจริงภูมิของอสุรกายนี่ สูงกว่าภูมิของเปรต แต่อสุรกายนี่มานะทิฏฐิเยอะ ไม่ยอมรับบุญที่ผู้อื่นอุทิศให้ครับ) อุทิศให้ญาติที่เป็นสัตว์เดรัจฉาน เช่น แมว สุนัข เป็นต้น แล้ว เขาจักพ้นจากความเป็นสัตว์เดรัจฉาน

คอมม่อนเซ้นส์ครับ อุทิศบุญให้สุนัข แมว แล้วเขาจักกลายเป็นมนุษย์ เทพบุตร เทพธิดา ขึ้นมาทันทีทันใด เป็นไปไม่ได้เด็ดขาด (แต่ถ้าพ้นจากอัตตภาพนี้แล้ว เป็นไปได้ครับ ถ้าเขาอนุโมทนา) นี่ทำให้ความน่าเชื่อถือลดลงครับ พาลอาจคิดไปได้ว่า ข้อ ๑ - ๔ กลายเป็นโฆษณาชวนเ่ชื่อไปด้วย

อานิสงส์ของการถวายกฐินแท้จริงแล้ว ก็เหมือนกับการถวายสังฆทานนั่นแล เพียงแต่มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น จำกัดกาล (ปีหนึ่งถวายได้หนเดียว) จำกัดเวลา (ต้องถวายภายใน ๑ เดือนหลังออกพรรษา) เป็นต้น เรียกว่า ใช้กำลังใจสูงกว่าการถวายผ้าป่าที่ถวายได้ตลอดปี หรือสังฆทานธรรมดานั่นเอง เลยมีอานิสงส์พิเศษ

bby12คำว่า "อานิสงส์กฐิน" ที่อยู่ตอนต้น ก็ควรเขียนว่า "อานิสงส์การถวายกฐิน" ครับ เพราะอานิสงส์กฐินแท้จริงนั้น เกิดแก่พระภิกษุ ฆราวาสไม่เกี่ยว ดังนี้

๑. เที่ยวไปโดยไม่บอกลา (ออกพรรษา อนุโมทนากฐินแล้ว เที่ยวไม่ยั้งครับ)
๒. จาริกไปไม่ต้องเอาไตรจีวรไปครบชุด (ปกติพระไปไหนต้องพกสังฆาฏิใส่ย่ามไปด้วยครับ)
๓. ฉันคณโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้ (อันนี้แปลคร่าว ๆ ว่า ฉันเป็นหมู่คณะได้)
๔. เก็บอดิเรกจีวรได้ตามปรารถนา
๕. จีวรอันเกิดในที่นั้น (ที่ที่จำพรรษา) เธอมีสิทธิที่จะกรานกฐินและได้รับอานิสงส์ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ และจะได้รับสิทธิพิเศษนี้ไปอีก ๔ เดือน

ไม่มีข้อใดเป็นอานิสงส์ของผู้ถวายเลย เรื่องนี้ทั้งพระครูวิหารกิจจานุการ หรือหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค และพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง เคยพูดไว้เกี่ยวกับอานิสงส์การถวายกฐิน ซึ่งให้ใช้การสังเกตครับ มิได้ยกพระพุทธพจน์ขึ้นอ้าง แสดงว่า พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสถึงอานิสงส์แห่งการถวายกฐินตรง ๆ ท่านว่า ให้สังเกตดูถ้าไปร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินตั้งแต่ ๓ ครั้งขึ้นไป ความเป็นอยู่จักคล่องตัวขึ้น คำว่า "คล่องตัว" นี่ ไม่ได้หมายความว่า "รวย" แต่หมายถึงมีความเป็นอยู่สะดวกสบายขึ้นกว่าแต่ก่อน อันนี้เป็นแค่เศษของความดี

ท่านยกอานิสงส์ที่พระสมณโคดมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันทรงเคยไปเกิดในสมัยของพระปทุมมุตตรพุทธเจ้า มีชื่อว่า มหาทุกขตะ เป็นคนจนมาก แล้วมีโอกาสได้ร่วมถวายกฐินด้วยหลอดด้ายเพียงหลอดเดียว พระปทุมมุตตรพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ถึงการบรรลุพระโพธิญาณของมหาทุกขตะ เป็นพระสมณโคดมพุทธเจ้าในอนาคตกาลนั้นมีการถวายกฐินนี้เป็นปัจจัยแสดงว่า การตั้งใจถวายกฐินนั้นแม้ปรารถนาพระโพธิญาณ ความเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลก็สำเร็จ สำมะหากระไรกับสิ่งอื่น ย่อมต้องสำเร็จตามประสงค์

แล้วกล่าวทิ้งท้ายว่า "บุคคลที่ตั้งใจทำบุญกฐิน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า แม้แต่ทิพยจักษุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งถือว่าเลิศแล้ว ที่สุดยังมองไม่เห็นเลยว่า อานิสงส์นั้นจะไปสิ้นสุดตรงไหน ส่วนใหญ่ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จะเป็นพระมหากษัตริย์ หรือเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี เกิดแล้วเกิดอีกอยู่ในระดับของความดีนี้ตลอดจนกระทั่งไม่สิ้นสุดของอานิสงส์กฐิน ก็จะเข้านิพพานเสียก่อน ฟังดูแล้วน่าทำไหม ร่วมกับเขาบ่อย ๆ"

รู้อย่างนี้แล้ว แม้ฎีกากฐินของวัดนี้จักไม่เข้าตากรรมการไปสักหน่อย แต่ก็ร่วมบุญไปเรียบร้อยแล้วครับ

ก่อนจบขอกล่าวถึงข้อสอบนักธรรมเอกสักข้อหนึ่ง เกี่ยวกับกฐินครับ

ถามว่า วัดมีพระจำพรรษาวัดละ ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ทายกประสงค์จะถวายกฐิน นิมนต์พระมารวมในวัดเดียวกันเพื่อรับกฐิน เป็นกฐินหรือไม่? เพราะเหตุใด?

390202080ตอบว่า ไม่เป็นกฐิน เพราะองค์กำหนดสิทธิของภิกษุผู้จะกรานกฐินนั้นมี ๓ คือ เป็นผู้จำพรรษาถ้วนไตรมาสไม่ขาด ๑, อยู่ในอาวาสเดียวกัน ๑, ภิกษุมีจำนวนตั้งแต่ ๕ รูปขึ้นไป ๑ ฯ

ฉะนั้นพึงทราบไว้เลยว่า่ ที่เขานิมนต์พระต่างวัดมาสวดอนุโมทนากฐินนั่น ไม่เป็นกฐินครับ เป็นผ้าป่าธรรมดา เรื่องนี้แม้อาจารย์สอนนักธรรมเอกบางท่าน ก็มาแบบข้าง ๆ คู ๆ ว่า ทางมหาเถรสมาคมออกหนังสือปกขาว หรือหนังสือเวียนออกมาให้กระทำได้ ทั้งที่หนังสือเรียนก็เขียนอยู่ทนโท่ว่า มติสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงฟันธงเลยว่า ไม่ใช่กฐิน

อีกทางหนึ่ง คือสมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ทรงประทานอำนาจปกครองสงฆ์ให้แก่คณะสงฆ์ครับ ถ้าคณะสงฆ์ในประเทศไทย อนุโลมให้การนิมนต์พระจำพรรษาต่างวัดมารับกฐินแล้วเป็นกฐิน อย่างนั้นก็เป็นกฐินครับ แต่เราคงไม่ใช่นิกาย "เถรวาท" อีกต่อไป เพราะนิกายเถรวาทนี่ ตามศัพท์แปลว่า วาทะของพระเถระ ในที่นี้ก็คือ พระมหากัสสปะ วาทะของท่านคือ "เราจักไม่บัญญัติ สิ่งที่พระองค์ไม่ได้ทรงบัญญัติ เราจักไม่รื้อถอน สิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติแล้ว"

อาจต้องไปตั้งนิกายใหม่ชื่อ "อัตตโนวาท" จักเหมาะสมกว่า 5555+

อีกประการหนึ่งครับ กฐินนี่พระภิกษุไปบอกให้โยมมาถวายกฐินไม่ได้นะครับ ประมาณว่า "โยมจ๋า ปีนี้ที่วัดยังไม่มีใครจองกฐินเลย" อย่างนี้แม้จำพรรษากันครบ ๕ รูป ก็ไม่เป็นกฐิน ผ้ากฐินที่ได้มาเป็นนิสสัคคีย์ปาจิตตีย์ (อาบัติชนิดหนึ่ง ต้องสละผ้าที่ได้มานั้น จึงแสดงอาบัติตก) อีกต่างหาก

ฉะนั้น หากต้องการถวายกฐินจริง ๆ ญาติโยมต้องเป็นฝ่ายปรารภก่อนครับ และถ้าเจอ "กฐินแปลง" ที่องค์กำหนดสิทธิรับกฐินไม่ตรงกับสิ่งที่ข้าพเจ้าบรรยายมา ก็ขอให้พิจารณาโดยถ้วนถี่ครับ เดี๋ยวทำกฐินแล้วจักได้ผ้าป่ามาแทน

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ

ปล. อีกนิดส์ครับ อย่าลืมเลือกเนื้อนาบุญกันด้วยหล่ะ หว่านข้าวลงนาดอนระวังข้าวไม่ขึ้นนะจ๊ะ

ข้อมูลเพิ่มเต็ม ประเภทของกฐิน

ตามพระวินัยแล้ว ไม่ได้จำแนกการทอดกฐิน (การถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์) ออกเป็นชนิด ๆ ไว้แต่อย่างใด คงกล่าวแต่เพียงในส่วนการทำหรือรับผ้ามากรานกฐินของพระสงฆ์เท่านั้น แต่หากพิจารณาจากประเพณีที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน คงพอจำแนกชนิดของการทอดกฐินได้เป็นสองคือ

จุลกฐิน

งานบุญกฐินของชาวเขมรในสหรัฐอเมริกา

จุลกฐิน คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย ตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีกวันหนึ่ง ดังนั้นโบราณจึงนับถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มาก เพราะต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) ภายในระยะเวลาอันจำกัด โดยจุลกฐินนี้ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

ประเพณีการทอดจุลกฐินนี้เป็นประเพณีที่พบเฉพาะในประเทศไทยและลาว ไม่ปรากฏประเพณีการทอดกฐินชนิดนี้ในประเทศพุทธเถรวาทประเทศอื่น สำหรับประเทศไทย มีหลักฐานว่ามีการทอดจุลกฐินมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หน้า 268 ว่า "ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) โปรดให้ทำจุลกฐิน" ปัจจุบันประเพณีการทำจุลกฐินนิยมทำกันเฉพาะชุมชนทางภาคเหนือและอีสานเท่านั้น โดยอีสานจะเรียกกฐินชนิดนี้ว่า "กฐินแล่น" (จุลกฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก)

เค้ามูลของการทำจีวรให้เสร็จในวันเดียว ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้ารับสั่งในคณะสงฆ์ในวัดพระเชตวันร่วมมือกันทำผ้าไตรจีวรเพื่อถวายแก่พระอนุรุทธะผู้มีจีวรเก่าใช้การเกือบไม่ได้แล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นงานใหญ่ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงช่วยการทำไตรจีวรด้วย โดยทรงรับหน้าที่สนเข็มในการทำจีวรครั้งนี้ด้วย[6]

สาเหตุประการหนึ่งที่มีการทำจุลกฐิน เนื่องมาจากกำหนดการกรานกฐินนั้นมีระยะเวลาจำกัด และพระสงฆ์ไม่สามารถขวนขวายดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผ้ากฐินเองได้ (เพราะจะทำให้กฐินเดาะ (สังฆกรรมเสีย) จึงอาจมีบางวัดที่ใกล้กำหนดหมดฤดูกฐินแต่ยังไม่มีผู้นำผ้ากฐินมาถวาย) ทำให้ในสมัยก่อนเมื่อใกล้เดือน ๑๒ (หมดฤดูกฐิน) มักจะมีผู้ศรัทธาตระเวนไปตามวัดต่าง ๆ เมื่อเจอวัดที่ยังไม่ได้รับถวายผ้ากฐิน จึงต้องเร่งรีบขวนขวายจัดการทำผ้ากฐินให้เสร็จทันฤดูกฐินหมด ซึ่งบางครั้งอาจเหลือเวลาแค่วันเดียว จึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนทั้งชุมชน ในการร่วมกันจัดทำผ้าไตรจีวรให้สำเร็จก่อนหมดฤดูกฐิน (เพราะสมัยก่อนไม่มีผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปสำหรับขาย) การร่วมมือกันจัดทำจุลกฐินดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี

มหากฐิน

มหากฐิน เป็นศัพท์ที่เรียกเพื่อหมายความถึงการทอดกฐินที่มีบริวารกฐินมาก ไม่ต้องทำโดยเร่งรีบเหมือนจุลกฐิน มหากฐินคือกฐินที่ทอดถวายตามวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยในปัจจุบัน ที่จะมีการรวบรวมจตุปัจจัยไทยธรรมและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปเป็นเครื่องประกอบในงานกฐินถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อนำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต่อไป (มหากฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก) โดยมหากฐินนั้นอาจเป็นกฐินที่มีเจ้าภาพเพียงคนเดียวหรือกฐินสามัคคีก็ได้

การทอดกฐินในประเทศไทย

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงประทับบนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ทอดบัลลังก์บุษบก เสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินทางชลมารค

                    กฐินหลวง

กฐินหลวง เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือทรงโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสด็จไปพระราชทานแทน กฐินหลวงนี้จัดเครื่องพระราชทานด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และบางครั้งมีการจัดพิธีแห่เครื่องกฐินพระราชทานอย่างใหญ่ โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือกระบวนพยุหยาตราสถลมารถ แล้วแต่พระราชประสงค์ (ในปัจจุบันคงการเสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินอย่างพิธีใหญ่นั้น คงเหลือเพียงโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคเท่านั้น) [7]

กฐินหลวงในปัจจุบันมีเพียง 16 วัดเท่านั้น เช่น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดบวรนิเวศวิหาร วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร เป็นต้น

กฐินต้น

กฐินต้น เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานยังวัดราษฎร์เป็นการส่วนพระองค์

กฐินพระราชทาน

กฐินพระราชทาน เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน และเครื่องกฐินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หน่วยงาน สมาคม หรือเอกชน ให้ไปทอดยังพระอารามหลวงต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร (ในปัจจุบันกรมการศาสนารับผิดชอบจัดผ้าพระกฐินและเครื่องกฐินถวาย)

กฐินราษฎร์

ในปัจจุบัน การถวายผ้ากฐินโดยทั่วไปในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับ "บริวารกฐิน" มากกว่าผ้ากฐินซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการกรานกฐิน

กฐินราษฎร์ คือกฐินที่ราษฏรหรือประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็นจุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) ในปัจจุบันกฐินราษฎร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า กฐินสามัคคี ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพในการทอดกฐินจะให้ความสำคัญกับการรวบรวม (เรี่ยไร) เงินและสิ่งของเพื่อเข้าประกอบเป็นบริวารกฐินมากกว่า เพราะวัดสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้ และเนื่องจากการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทาน จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นงานสำคัญประจำปีของวัดต่าง ๆ โดยทั่วไปในประเทศไทย

                                                                  คำถวายผ้ากฐิน

                                                    คำถวายผ้ากฐินภาษาบาลี แบบเก่า

                                                    บทปุพพภาคนมการ
                            นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ” (๓ จบ)
                                                  กล่าวคำถวายผ้ากฐิน
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
ทุติยมฺปิ อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
ตติยมฺปิ อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ อมฺหากํ หิตาย สุขาย
กล่าวคำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้ในวาระที่สอง
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้ในวาระที่สาม
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งผ้ากฐิน กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ[8]
คำถวายผ้ากฐินภาษาบาลี แบบใหม่
บทปุพพภาคนมการ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธธัสสะ” (๓ จบ)
กล่าวคำถวายผ้ากฐิน
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม,
สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ, อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ,
ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ, อมฺหากํ
ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย
กล่าวคำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งผ้าบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐิน กับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐิน ด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ.[9]

เกร็ดในงานถวายผ้ากฐินในประเทศไทย

ธงจระเข้-นางมัจฉา

 ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้

๑. สมัยโบราณนิยมแห่ผ้ากฐินไปทอดตามวัดต่าง ๆ โดยอาศัยเรือเป็นสำคัญ การเดินทางไปตามลำน้ำมักมีอันตรายจากสัตว์น้ำต่าง ๆ เนือง ๆ เช่น จระเข้ขึ้นมาหนุนเรือให้ล่ม ขบกัดผู้คนบ้าง คนแต่ก่อนหวั่นเกรงภัยเช่นนี้ จึงคิดอุบายทำธงจระเข้ปักหน้าเรือไปเป็นทำนองประกาศให้สัตว์ร้ายในน้ำ เช่น จระเข้ ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่และดุร้ายกว่าสัตว์อื่นๆ ในน้ำ ให้รับทราบการบุญการกุศล จะได้พลอยอนุโมทนาและมีจิตใจอ่อนลง ไม่คิดที่จะทำอันตรายแก่ผู้คนในขบวนซึ่งเดินทางไปประกอบพิธีการทางศาสนา

390202078๒. เนื่องจากถือกันว่าดาวจระเข้เป็นดาวสำคัญ การเคลื่อนขบวนทัพในสมัยโบราณต้องคอยดูดาวจระเข้ขึ้น ซึ่งเป็นเวลาจวนสว่างแล้ว การทอดกฐินเป็นพิธีทำบุญที่มีอานิสงส์ไพศาลเพราะทำในเวลาจำกัด มีความสำคัญเท่ากับการเคลื่อนขบวนทัพในชั้นเดิมผู้จะไปทอดกฐินต้องเตรียมเครื่องบริขารและผ้าองค์กฐินไว้อย่างพร้อมเพรียง แล้วแห่ไปวัดในเวลาดาวจระเข้ขึ้น ไปแจ้งเอาที่วัด ต่อมาจึงมีผู้คิดทำธงจระเข้โดยถือว่า ดาวจระเข้เป็นดาวบอกเวลาเคลื่อนองค์กฐิน

๓. มีเรื่องเล่าว่า มีอุบาสกคนหนึ่งนำองค์กฐินแห่ไปทางเรือมีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญในการทอดกฐิน จึงว่ายน้ำตามเรืออุบาสกนั้นไปด้วย แต่ไปได้พักหนึ่งจึงบอกแก่อุบาสกนั้นว่า ตนตามไปด้วยไม่ได้แล้วเพราะเหนื่อยอ่อนเต็มที ขอให้อุบาสกจ้างช่างเขียนภาพของตนที่ธง แล้วยกขึ้นไว้ในวัดที่ไปทอดด้วยอุบาสกรับคำจระเข้แล้วก็ทำตามที่จระเข้สั่ง ตั้งแต่นั้นมาธงรูปจระเข้จึงปรากฏตามวัดต่าง ๆ ในเวลามีการทอดกฐิน

อนึ่ง มีข้อความในจาตุมสูตรตอนหนึ่ง แสดงภัยที่จะเกิดกับพระไว้ ๔ อย่างด้วยกัน ซึ่งเปรียบด้วยภัยที่เกิดแก่บุคคลที่ลงในแม่น้ำหรือทะเล คือ

๑. ภัยเกิดแต่ความอดทนต่อโอวาทคำสอนมิได้ ท่านเปรียบเสมือนคลื่น เรียกว่า อุมฺมิภยํ

๒. ภัยเกิดแต่การเห็นแก่ปากแก่ท้อง ทนความอดอยากมิได้ท่านเปรียบเสมือนจระเข้ เรียกว่า กุมฺภีลภยํ

๓. ภัยเกิดแต่ความยินดีในกามคุณ ๕ ท่านเปรียบเสมือนวังน้ำวน เรียกว่า อาวฏฺฏภยํ

๔. ภัยเกิดแต่การรักผู้หญิง ท่านเปรียบเสมือนปลาร้ายเรียกว่า สุสุกาภยํ

พิจารณารูปธงที่ช่างประดิษฐ์ขึ้น จะเห็นว่ามีภัย ๔ อย่างอยู่ครบ ต่างแต่ว่าเด่นมาก เด่นน้อย หรือเป็นเพียงแทรกอยู่ในความหมายที่เด่นมาก คือ รูปจระเข้ รองลงไปคือ รูปคลื่น ส่วนอีก ๒ อย่างคือ รูปวังน้ำวนและปลาร้าย ปรากฏด้วยรูปน้ำเป็นสำคัญ บางรายเขาเพิ่มธงปลาร้ายขึ้นอีกธงหนึ่ง เรียกว่า “ธงมัจฉา”

ธงรูปจระเข้หรือธงรูปนางมัจฉานี้ ปักไว้ที่หน้าวัด เพื่อแสดงให้ทราบว่าที่วัดนี้ได้มีการทอดกฐินแล้ว ผู้ที่ผ่านไปมาจะได้พลอยอนุโมทนาด้วย

ซองกฐิน

 ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียไทยได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนนี้ อื่น ๆ

กฐินเดาะ

คำว่าเดาะในภาษาไทยแปลว่าร้าวจนหัก แต่ในความหมายของพระวินัยคือพระสงฆ์ที่ได้รับกฐินแล้วได้สิทธิ์ในการขยายเวลาในการทำจีวรออกไปได้อีก 4 เดือน แต่ในระหว่างนั้นภิกษุออกจากวัดโดยที่ไม่คิดกลับมา และหมดความกังวลจีวรคือทำจีวรเสร็จแล้วหรือยังไม่เสร็จ แต่เกิดเสียหายหรือสูญหายไปจึงหมดหวังที่จะได้ผ้ามาทำจีวรอีก[10]

How to ทำอย่างไรให้ถึงนิพพาน พระธรรมขันธ์ที่ ๔ - จาคะby Dhammasarokikku

images10เอาละครับ ช่วงนี้กำลังไฟแรง อัพให้กระจาย เอ็นทรี่ที่แล้วพูดถึงว่า การทำบุญทำทานของเราทั้งหลาย มีทั้งเพื่อความเกิด และเพื่อความไม่เกิด ก็ในเมื่อตัวอย่างทั้งสองในเอ็นทรี่ก่อน ยังทำทานเพื่อความเกิดอยู่ ก็แล้วทำทานเพื่อความไม่เกิดหน้าตาเป็นอย่างไร

เรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงวิสัชนาถามหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤๅษีลิงดำที่ข้าพเจ้าเคารพเมื่อหลายสิบปีก่อนครับ สมัยนั้นพระองค์ทรงศึกษาธรรมะอย่างเข้มข้น ครูบาอาจารย์ที่ว่าเป็นพระดี อยู่ในป่า ในเขา พระองค์ก็ทรงบากบั่นเข้าไปกราบ เข้าไปขอธรรมะ ทรงศึกษาธรรมะของครูบาอาจารย์หลายสาย ทั้งสายพระป่า และพระบ้าน

ข้อความต่อไปนี้ เป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าคาดเดาเอาเอง อาจจริงหรือไม่จริงก็ได้ ผู้อ่านควรใช้วิจารณญาณพิเคราะห์เอาเอง

จริตของพระองค์หนักไปทางพุทธิจริตครับ เมื่อศึกษาแนวทางการปฏิบัติของครูบาอาจารย์แต่ละสาย ย่อมมีข้อขัดแย้งกันในรายละเอียดการปฏิบัติ ใครก็ทราบครับว่า สายหลวงพ่อฤๅษีลิงดำซึ่งเป็นสายพระบ้านเน้นการให้ทานนำหน้า ส่วนสายพระป่าไม่เน้นการให้ทาน แต่เน้นการภาวนา ดูจิตดูใจของตนเอง

มองเผิน ๆ ก็เหมือนขัดแย้งกัน แต่ศึกษาให้ละเอียดแล้ว ก็คือเรื่องเดียวกัน ไม่มีสายไหนขัดกับสายไหนเลย สุดท้ายก็คือ ทาน, ศีล, ภาวนา

ข้าพเจ้าสังเกตคำถามที่พระองค์ทรงถาม พระองค์มิได้ทรงถามครูบาอาจารย์แค่รูปใดรูปหนึ่ง สายใดสายหนึ่ง แต่ถามหลายรูปหลายสาย แล้วนำคำตอบทั้งหลายไปทรงสังเคราะห์วินิจฉัยอีกที

คำถามธรรมะของพระองค์แต่ละคำถาม มักลึกซึ้ง และมักเป็นข้อที่ดูเผิน ๆ เหมือนขัดแย้งกันในแนวทางการปฏิบัติแต่ละสาย ยากแก่การตอบ คำถามนั้นมีอยู่ว่า "จาคะตัวเดียว ถึงนิพพานไหม?"

อ่านดี ๆ นะครับ "จาคะ" ไม่ใช่ "ทาน" ถ้าคิดดี ๆ นี่เป็นอัจฉริยภาพของผู้ถามด้วย

IMG_3231แล้วจาคะมันแปลว่ากระไรเล่า? เบื้องต้นมันแปลว่า สละออก บริจาค ซึ่งก็ไม่เห็นจักแตกต่างจากคำว่า "ทาน" หรือการให้ เท่าไหร่เลย

หลวงพ่อฤๅษีลิงดำวินิจฉัยคำถามนี้แล้ว ลงความเห็นไว้สั้น ๆ ว่า "ถ้าทำให้ถึงสังขารุเปกขาญาณ จาคะตัวเดียวก็ไปนิพพานได้"

เอาละซี นอกจาก "จาคะ" แล้ว ยังมีบาลียาวเหยียดมาให้เวียนเฮดอีก ๑ คำ คือ "สังขารุเปกขาญาณ" ยิ่งตาลายเข้าไปใหญ่

มาแยกศัพท์กันก่อนครับ สังขารุเปกขาญาณ มาจาก สังขาร(การปรุงแต่ง) + อุเบกขา(วางเฉย) ซึ่งก็คือการวางเฉยในการปรุงแต่ง ศัพท์พวกนี้ศึกษาไป ปฏิบัติไป เดี๋ยวก็เข้าใจไปเองครับ ตอนนี้เอาแค่ความหมายกว้าง ๆ ไปก่อน

ในคำสอนของหลวงพ่อฤๅษีฯ ท่านย้ำเป็นระยะ ๆ ครับว่า "ถ้าฉลาดพอ" ฉะนั้นการฟังคำสอนของท่าน แล้วใช้แต่สัญญา หรือความจำ บางทีไม่ได้ประโยชน์เท่าที่ควร บางทีก็หลงผิดไปเลยก็มี ฉะนั้นต้องพินิจพิจารณาให้รอบคอบ

สำหรับตัวข้าพเจ้าเอง ก็ยึดมั่นในคำสั่งสอนแนวทางการปฏิบัติของท่านมาโดยตลอด สิ่งที่เห็นได้ชัดที่สุดในความเป็นข้าพเจ้า ก็คือ "ความตึ๋งหนืด" นั่นเอง ท่านสอนว่า การให้ทานสามารถบรรเทาความตระหนี่ได้ แต่พรรษาแรก ข้าพเจ้าก็ทำเรื่อยมา

การรบกับกิเลส ต้องเรียกว่า ตายเป็นตายครับ มาเหยาะ ๆ แหยะ ๆ ไม่ได้ กิเลสเอาไปกินหมด

ทำทาน ก็ต้องทำชนิดที่เรียกว่า ทำกันแบบเอาชีวิตเข้าแลก

สมัยแรก ๆ ก็ทุ่มทุนสร้างครับ ถือว่า บวชเข้ามาห่มผ้าเหลืองแล้ว สละหมดทุกสิ่งทุกอย่าง ไฟแรงสุดขีด มีเงินเท่าไหร่ ทำบุญจนหมดตัว ซึ่งเห็นผลรวดเร็วจริง ๆ ครับ แต่ฆราวาสไม่ควรเลียนแบบ เป็นนักบวชนี่ดีอย่าง ไม่ต้องกลัวอดตาย ทำให้รบกับกิเลสได้เต็มมือ ฆราวาสนี่ต้องรบแบบยั้ง ๆ เพราะทำบุญจนเบียดเบียนตัวเอง พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ การทำบุญแบบยั้ง ๆ บางทีก็มาพร้อมกับ "ความกลัวขันธ์ ๕ หรือร่างกายลำบาก"

สำหรับนักบวชนี่ ตัดทิ้งไปเลยครับ แค่ทำทานของนอกกาย จักไปลำบากขันธ์ ๕ กระไรมากมาย ช่วงแค่ไม่กี่เดือนแรกของการบวช ทำบุญไปเป็นแสนครับ เพราะคิดว่า คงบวชไม่นาน ต้องทำบุญให้เต็มที่ และทำบุญในผ้าเหลือง มีอานิสงส์มากกว่านอกผ้าเหลืองเป็นแสน เป็นล้านเท่า

ช่วงนั้นก็ยังแคร์เรื่องอานิสงส์ เรื่องเนื้อนาบุญอยู่ครับ เจอพระดีนี่ทุ่มไม่อั้น ประเภทอื่นก็ลดลงไปตามลำดับ แต่ทำทานชนิดหัวไม่วาง หางไม่เว้น ทำทุกวัน ทำทุกโอกาส ไม่เลือกว่า ทำบุญแบบนี้อานิสงส์มาก ทำเยอะ ๆ ทำบุญแบบนี้อานิสงส์น้อย เพราะฉะนั้นฉันไม่ทำ เช่น ทำทานกับสัตว์เดรัจฉาน อานิสงส์น้อยยิ่งกว่า ทำทานให้ขี้เมา แล้วถ้าเทียบกับถวายทานให้แด่พระอริยะแม้เพียงเบื้องต้น อานิสงส์แตกต่างกันชนิดเทียบไม่ได้ แต่ก็ทำครับ ทำทุกวันด้วย (นี่ไม่ใช่มาคุยโม้ว่า ข้าพเจ้าทำทานมากนะครับ <เพิ่งทำมาแป๊บเดียวน้อยเดียว> แต่เป็นการเล่าประสบการณ์การปฏิบัติ และผลของมันในชีวิตจริงให้อ่านกัน) เพราะคิดว่า เรื่องอานิสงส์นี่ไม่ควรมีอิทธิพลต่อการทำทานมากเกินไป หากคิดแต่จักเอาอานิสงส์ ก็ยังไม่พ้นจากการทำทาน "เพื่อตัวเอง"

IMG_8570อาจแย้งว่า คนเราก็ทำเพื่อตัวเองทั้งนั้น อย่างหยาบก็ทำเพื่อความมั่งมีในชาติต่อ ๆ ไป อย่างละเอียดก็เพื่อให้ตัวเองพ้นทุกข์นิพพานในชาติปัจจุบัน ทั้งนี้ความ "เพื่อตัวเอง" ต้องพอดี ๆ อย่าให้มันเกินไปจนกลายเป็น "เห็นแก่ตัว" อยู่วัดตัวเองอิ่มอ้วนเกษมสำราญ แต่หมาแมวรอบวัดผอมกะหร่อง เพราะทำทานกับสัตว์เดรัจฉานมีอานิสงส์น้อย อย่างนี้ก็เกินไป

และปฏิปทาหลวงพ่อท่านก็มีเมตตาต่อสัตว์รอบวัดมาก ข้าพเจ้าก็เลียนแบบครับ เบื้องแรกคิดเพียงว่า เป็นการฝึีกเมตตาพรหมวิหาร และให้เขาไปดี ไม่นึกเลยว่า จักมีผลดีต่อตนเองในเบื้องปลาย ดีอย่างไร? ข้าพเจ้าจักได้สาธยายต่อไปเบื้องหน้า

ไม่เพียงแต่จักทำบุญไม่เลือกหน้าให้มากแล้ว ซ้ำบางทีข้าพเจ้ายังยอมลำบากเพื่อบุญที่มีอานิสงส์น้อย ๆ เช่นทำทานให้สัตว์เสียอีก ดูเผิน ๆ เหมือนขัดกับสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน แต่ศึกษาให้ดีพระองค์ทรงบอกว่า "อักขาตาโร ตถาคตา" ตถาคตเป็นเพียงผู้บอก เรื่องอานิสงส์นี้ พระองค์ก็ทรงเพียงแจกแจงไว้ว่า ทำบุญอย่างนี้ ได้อานิสงส์อย่างนั้น เท่านั้น แล้วให้เราเป็นผู้เลือกทำเอาเอง

อยากได้อานิสงส์มาก ๆ ก็ทำทานในเนื้อนาบุญที่ดี ที่ประเสริฐ แต่ข้าพเจ้าคิดว่า ถ้ายังทำบุญเพื่อให้อานิสงส์เกิดแก่ตนเองเพียงถ่ายเดียว ยังใช้ไม่ได้ สมมุติว่า ข้าพเจ้ามีเงินอยู่ห้าบาท ต้องเลือกเพียงอย่างเดียวระหว่างทำบุญกับภิกษุอิ่มอ้วนพี กับสุนัขผอมหิวโหยที่วัด ถ้าจักทำทานเพื่ออานิสงส์แก่ตนเองมาก ๆ ก็ต้องปล่อยให้หมาวัดอดตาย เจตนาการทำทานในเนื้อนาบุญที่มีอานิสงส์น้อย ๆ จึงมุ่งสงเคราะห์ผู้อื่นอย่างแท้จริง มิได้มีความหวังในอานิสงส์แอบแฝง

อาจกล่าวได้ว่า อานิสงส์น้อย แต่ได้เมตตาพรหมวิหารมาก

พอมาศึกษาธรรมะจากหลวงพ่อปราโมทย์ ก็เห็นว่า ธรรมะแนบแน่นเป็นเนื้อเดียวกันดี ครับ ท่านเล่าถึงอาการของสังขารุเปกขาญาณว่า เห็นโลกเท่ากันหมด คนดีกับคนเลวก็เท่ากัน เสมอกัน จักเสื้อเหลือง เสื้อแดง เสื้อสีใด ๆ ก็ตาม ก็เท่ากันหมด เสมอกันหมดในความเป็น "ไตรลักษณ์" โลกงี้ราบเป็นหน้ากลอง ทุกอย่างล้วนเสมอกัน

...ผ่าม...

ธรรมะจากสำนักปฏิบัติสองสาย สอดรับกันได้กลมกล่อมเหลือเกินครับ พอมองความสัมพันธ์ออกหรือไม่?

เอาความหมายของสังขารุเปกขาญาณจา่กคำสอนของหลวงพ่อปราโมทย์ ไปแทนลงในคำวินิจฉัยของหลวงพ่อฤๅษีฯ จักได้ว่า "ถ้าทำจนเห็นโลกเท่ากัน จาคะตัวเดียวก็ถึงนิพพานได้"

IMG_8897...ผ่าม...

เห็นอะไรไหมครับ?๋

อาจจักยังเห็นไม่ชัด ลองมาดูพระราชวินิจฉัยของในหลวงเพิ่มกันอีกสักนิดครับ พระองค์ทรงให้ความหมายของคำว่าจาคะไว้เป็น ๓ เลเวลครับ บารมีต้น ท่านทรงใช้ว่า "เสียสละ" คือยังประกอบด้วยความเสียดายมาก "อะ... ฉันตัดใจให้เธอนะ" กระไรเทือกนั้น กำลังใจสูงขึ้นมาอีกหน่อย คำว่า "เสีย" หายไป เหลือแต่คำว่า "สละ" (ไม่ใช่สละไซเดอร์นะ) ความเสียดายน้อยลงไปอีกหน่อย พอขั้นสุดก็ตัด "ส" ออก เหลือแค่ "ละ"

"ละ" นี่เป็นปฏิปทาเพื่อความเป็นพระอรหันต์นะครับ แค่ "ละ" ตัวเดียวก็นิพพานได้

เอาคำว่า "ละ" ไปแทนในคำวินิจฉัย จักได้ว่า "ถ้าละจนเห็นโลกเท่ากัน จาคะตัวเดียวก็ถึงนิพพานได้" โอ้โห... เห็นภาพไหมครับ?

ย้อนกลับมาดูเรื่องอานิสงส์ครับ สำหรับคนที่กำลังใจยังไม่เข้มแข็งก็ "เสียสละ" ทรัพย์เป็นทานใช่ไหม? มีความหวงแหนทรัพย์มาก แต่อะ... เพื่ออานิสงส์ ยอมแลกทรัพย์ตน (แม้จักได้มายากมาก) กับอานิสงส์ ยอมก็ยอม นี่เป็นบารมีต้นครับ

พอเสียสละ(ทรัพย์ภายนอก)ไปมากเข้า ก็เริ่มเห็นว่า การให้ทานนั้นไปทำให้ผู้อื่นมีความสุข การเห็นผู้อื่นมีความสุข ก็พลอยทำให้เรามีความสุขไปด้วย จนบางทียอมตัวลำบากเพื่อให้ผู้อื่นมีความสุข ยอม "สละ" ความสุขความสะดวกสบายส่วนตัวเพื่อให้ผู้อื่นมีความสุขก็ยอม ถึงตอนนี้อานิสงส์จักเป็นอย่างไร ก็ไม่ค่อยสำคัญแล้ว (มีบ้างเหมือนกันตามวาระ และโอกาส)

สละไปมากเข้า ทีนี้อานิสงส์เป็นอย่างไร เริ่มหมดความสำคัญแล้ว ไม่เลือกแล้ว แต่ก่อนความอยากทำบุญกับพระอรหันต์เทียบกับความอยากให้ทานสัตว์เดรัจฉานอาจแตกต่างกันมาก พอถึงขั้น "ละ" แล้ว ปัจจัยภายนอกล้วนเสมอกัน ทั้งในแง่ความเป็นไตรลักษณ์ และแง่อื่น ๆ เพราะ "ละ" นี่มันมุ่งปัจจัยภายใน ทำทานอย่างนี้ไปละ "ความโลภ" ได้สักเท่าไหร่ มากกว่าทำทานอย่างนี้จักได้อานิสงส์แค่ไหน

และ "ละ" ที่ "สุดติ่ง" คือ ละความหลงครับ หลงคิดว่า นี่เป็นของเรา ที่สุดละความเห็นผิดว่า นี่เป็นเรา นั่นเป็นเขา เพราะ "เรา" ก็ไม่มี "เขา" ก็ไม่มี มีแต่ก้อนธาตุ เห็นแบบนี้แล้ว "ชีวิต" เราก็ให้ได้ นี่ไง!!!สังขารุเปกขาญาณ!!!

จักให้หมาวัด หรือพระอรหันต์ ก็เท่ากัน เพราะ "ละ" กิเลส (ในใจเรา) ได้เท่ากัน

ย้อนกลับไปถึงการทำทานให้สัตว์เดรัจฉานที่ข้าพเจ้าว่า มันมีผลดีในเบื้องปลายอย่างคาดไม่ถึง ก็ตรงนี้เอง หากเราทำบุญแล้วมัวแต่นั่งคิดถึงเรื่องอานิสงส์ นั่นเป็นการฝึกกระไรครับ? ฝึกให้เห็นความแตกต่างถูกไหมครับ? เลือกทำบุญกับพระอรหันต์ แต่พวกเนื้อนาบุญอานิสงส์น้อย ๆ อย่างหมาน่อย เมินเสียเถอะ!!!

แล้วสิ่งที่ทำให้เราแยกแยะ "อานิสงส์" จากทานให้หมาวัด กับถวายพระอรหันต์ ก็คือ "ความคิด" ใช่หรือไม่? ความคิดปรุงแต่ง มีชื่อเป็นภาษาแขกว่า "สังขาร" โฮ่... เห็นกระไรไหม?

พูดเป็นภาษาแขก เบื้องต้นท่านให้เราฝึกให้มี "สังขาร" ที่เป็นกุศล ลด ละ เลิก "สังขาร" ที่เป็นอกุศล เบื้องปลายท่านให้เราเห็นว่า "สังขาร" ทั้งหลาย ก็เท่านั้นแหละ!!! วางซะทั้งกุศลและอกุศล

วางได้ก็เข้าถึงสังขารุเปกขาญาณ

พูดเป็นภาษาไทยอีกที เบื้องต้นท่านให้เราฝึกคิดดี พูดดี ทำดี เบื้องปลายท่านให้เราเห็นว่า คิดดี คิดชั่ว ก็เสมอกัน เพราะไอ้ตัวคิด มันไม่ใช่เรา

IMG_3085จากขั้นนี้ (สังขารุเปกขาญาณ) ก็เป็นนิพพิทาญาณครับ ปรีชาเห็นโลกน่าเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และหลุดพ้นตามลำดับ

"จาคะ" ตัวเดียว ก็ถึงนิพพานหรือยังครับ?

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ

ปล.๑ ขอยืนยันครับว่า ทั้งหมดที่เล่ามา ไม่สามารถเข้าถึงได้ด้วยการอ่าน การฟัง หรือการนึกคิดจินตนาการเอา ต้อง "ปฏิบัติ" เองเท่านั้น เป็นปราชญ์พูดจาให้คมแดกแค่ไหน ตัวเองละกิเลสไม่ได้ ก็เท่านั้นครับ พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญ

ปล.๒ ที่นำมาเล่าได้เป็นคุ้งเป็นแคว ก็เพราะเมื่อวานไปกราบหลวงพี่สมปองมาครับ ถามท่านเรื่องของอานิสงส์การไปทำทานให้ชาวเขา เขาทั้งหลายมีจิตบริสุทธิ์น่าจักเป็นเนื้อนาบุญที่ดีหรือไม่?คำตอบของท่านเล่นเอาหงายเก๋ง ไขข้อข้องใจที่ตะขิดตะขวงใจมานานหมดสิ้น ท่านว่า "เราเป็นนักบวช จักไปใส่ใจกระไรตรงนั้น"

นี่เอง!!!การทำทานของนักบวช กับฆราวาส ไม่เหมือนกัน เพราะฆราวาสนั้น เขามีทรัพย์จำกัด ต้องแบ่งสรรปันส่วนให้เหมาะสม ในเมื่อเขามีทรัพย์น้อย จึงต้องใส่ใจกับอานิสงส์มาก ส่วนนักบวชนั้นมีทรัพย์ไม่จำกัดครับ ตามกำลังศรัทธาของญาติโยม และนักบวชไม่มีทรัพย์ก็ไม่เดือดร้อน

ท่านแนะให้ใส่ใจ "ประโยชน์" มากกว่าครับ เพราะทรัพย์นั้นไม่ใช่ของเรา ญาติโยมเป็นคนหามาด้วยความเหนื่อยยาก

อีกประการหนึ่ง การละความตระหนี่ในเบื้องต้นนั้น ยากมากครับ อานิสงส์ก็เป็นตัวช่วย หรือสิ่งจูงใจอย่างหนึ่งที่มีผลมากสำหรับผู้เริ่มต้น แต่เริ่มแล้วอย่ามั่วย่ำอยู่ที่เดิมครับ

ปล.๓ เขียนไปเขียนมา ดูเหมือน "ทาน" จักเน้นไปที่การให้ เน้นไปที่ผู้รับ ส่วน "จาคะ" นี่ดูเหมือนเน้นไปที่ใจคนให้นะ ว่าไหม? by Dhammasarokikku

How to ทำอย่างไรให้ถึงนิพพาน พระธรรมขันธ์ที่ ๓by Dhammasarokikku

a245-200Derrida คืออะไรก็ไม่ทราบครับ เอาเป็นว่า คงหมายถึง การคิดเสียว่า ทุกสิ่งเป็นสิ่งสมมุติ

ก็รู้สึกเห็นด้วยครับ รู้สึกสงสารประชาชนที่กลายเป็นประหนึ่งหมากให้เขาเดิน

สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ เกี่ยวกับการจัดการความทุกข์นั้น ท่านไม่ได้แนะให้ไม่สนใจเสียเลย หรือปิดการรับรู้ทั้งหมด ครับ ในฐานะที่เป็นประชาชนของประเทศนี้คนหนึ่ง เรามีหน้าที่ของเรา ครับ เราต้องทำตามหน้าที่นั้น ในฐานะประชาชน จะหลีกเลี่ยงเสียมิได้ หากจะเลี่ยง คงต้องเลี่ยงไปเป็นนักบวช ครับ และถึงเลี่ยงไปเป็นนักบวชแล้ว เกิดฝ่ายที่เราไม่ได้เชียร์ชนะขึ้นมา ก็ต้องรับสภาพในฐานะนักบวชเช่นกัน ครับ

และท่านก็ไม่ได้สอนให้เราเห็นแก่ตัวนะครับ บางคนศึกษาเพียงผิวเผิน ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด เอาคำว่า เป็นทางของคน คนเดียว ไปแปลว่า อ๋อ... สอนให้เอาตัวรอดไปเพียงคนเดียว ไม่สนใจใคร ไม่แคร์ญาติ มิตร ภรรยา หรือลูก

สิ่งที่ท่านสอน ท่านสอนให้ "วาง" ครับ และวิธีปฏิบัติ เพื่อให้ถึงการวางได้อย่างแท้จริง คือ มรรคมีองค์ ๘ กับมัชฌิมาปฏิปทา-ทางสายกลาง ครับ

การปิดการรับรู้ในข่าวสาร มันเหมือนการหนีปัญหาไป ครับ เมื่อไหร่เปิดการรับรู้ใหม่ มันก็ทุกข์ใหม่ ท่านสอนถึง "ปัญหา" หรือ "ความทุกข์" ที่แท้จริง ไม่ใช่แมวที่ไหน ไม่ใช่ความขัดแย้งที่ไหน ไม่ใช่การแย่งชิงอำนาจที่ไหน ไม่ใช่ปัญหาโลกร้อน ไม่ใช่ปัญหาสึนามิ ไม่ใช่ปัญหาน้ำท่วมโลก หรือ โลกจะแตก แต่ปัญหาอยู่ที่ "การรับรู้" ของเรา ครับ ภาษาบาลีเรียกว่า "ผัสสะ"

ผัสสะ หรือ การกระทบประสาทสัมผัส ของเรา มีเข้ามาได้ ๖ ทาง ครับ ท่านเรียกว่า อายตนะทั้ง ๖ มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทีนี้มันมีวิธีการจัดการกับผัสสะ หลายวิธี ครับ

เอาอย่างพระสูตร อาทิตตปริยายสูตร ว่าด้วยของร้อน ๖ อย่าง ท่านว่า

รูป เมื่อมากระทบ ตา ทำให้เร่าร้อน

เสียง เมื่อมากระทบ หู ทำให้เร่าร้อน

กลิ่น เมื่อมากระทบ จมูก ทำให้เร่าร้อน

รส เมื่อมากระทบ ลิ้น ทำให้เร่าร้อน

โผฏฐัพพะ หรือ สัมผัส เมื่อมากระทบ กาย ทำให้เร่าร้อน

ธรรมารมณ์ เมื่อมากระทบ ใจ ทำให้เร่าร้อน

ยกตัวอย่างเช่น ตาเห็นข่าวทางทีวี หูได้ยินเขารายงานข่าวทางทีวี ใจก็เอาไปคิดปรุงแต่ง แล้วความทุกข์ก็เกิดขึ้น ครับ

ถ้าเราปิดตา ปิดหู ปิดทีวีเสีย ความทุกข์ก็ไม่เกิด ถูกไหมครับ แต่เปิดเมื่อไหร่ ก็ทุกข์เมื่อนั้น

ทีนี้ พระพุทธองค์ ไม่ได้ห้ามไม่ให้รับรู้ หรือ ไม่ให้คิด ครับ แต่ท่านสอนให้รับรู้ ให้สัมผัส ให้คิด แล้วก็ให้ "วาง" ครับ

เชื่อไหมครับว่า พระอรหันต์นั้น ท่าน "วาง" ได้ในชั่วพริบตา ท่านจึงเป็นสุขอย่างยิ่งไงครับ ที่ว่า นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ก็เพราะท่านไม่ติดในอารมณ์ ครับ ตาเห็น หูฟัง ใจคิด เสร็จแล้วพิจารณาว่า มันเป็นสาระหรือไม่ พอทราบว่า มันเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ของโลก ท่านก็วางทันที กระบวนการทั้งสิ้นนี้ เกิดขึ้นภายในเวลาไม่ถึงวินาที ครับ

การติดในอารมณ์ หรือการไปวนเวียนครุ่นคิด บาลีเรียกว่า "อุปาทาน" ครับ

พระอรหันต์ท่านเป็นผู้มีสติบริบูรณ์ ดังนั้นพอทราบว่า อุปาทานเกิดปั๊บ ท่านละทันที ครับ สุขทันทีเหมือนกัน

ทีนี้ นั่นเป็นเรื่องของพระอรหันต์ แล้วเราปุถุชนเล่า จะจัดการเหล่าเหตุแห่งทุกข์เหล่านี้อย่างไร

ท่านสอนว่า ขั้นแรก ต้องเจริญสติสัมปชัญญะ ก่อนครับ เพราะถ้าไม่ฝึกรู้ตัว อุปาทานกินใจตอนไหน ยังไม่รู้ตัวเลยครับ ฟังข่าวปุ๊บ ความเครียดพุ่ง แล้วก็ไปนั่งโซแซด เหงาหงอย เป็นหอยป่วย โดยไม่ทราบเลยครับว่า กระบวนการเกิดความทุกข์นั้น ปาไปเป็นหลายขั้นแล้ว

ถ้าเรามีสติ คอยดูใจอยู่เสมอว่า ขณะนี้ ใจเราเป็นสุข หรือเป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ นั่นเรียกว่า เวทนานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน ครับ เหมาะกับผู้มีปัญญามาก อย่างพระสารีบุตร และท่านที่เป็นพุทธิจริต ชอบคิดเยอะ

ถ้าเรามีสติมากขึ้น เราจะเห็นทุกอย่างรอบกายช้าลง ครับ อะนั่น กำลังเปิดทีวี ... ตู๊ด ๆ ๆ ๆ (กำลังแสดงภาพสโลว์โมชั่น นึกภาพตามไปนะครับ) อะนั่น ผู้รายงานข่าว โผล่หน้าขึ้นมา ... ตู๊ด ๆ ๆ ๆ อะนั่น ผู้รายงานข่าวขยับปากพูด รายงานข่าวการเมือง ... ตู๊ด ๆ ๆ ๆ ตาได้เห็นภาพ หูได้ยินเสียง ... ตู๊ด ๆ ๆ ๆ ใจเริ่มคิด.... อุ๊ยนั่นฝ่ายที่เราเชียร์ กำลังเพลี่ยงพล้ำ ... ตู๊ด ๆ ๆ ๆ ใจคิดว่า "ไม่น่าเลย ไม่น่าเพลี่ยงพล้ำเลย" ปั่ม ป๊าม !!! เห็นไหมครับ จังหวะที่เกิดทุกข์ ทุกข์มันเกิดขึ้น ในวินาทีที่เราคิดว่า "ไม่น่าเลย ไม่น่าเพลี่ยงพล้ำเลย" และสังเกตุนะครับว่า ทุกข์มันไม่ได้เกิดที่ฝ่ายที่เราเชียร์เพลี่ยงพล้ำ แต่เกิดที่เรา "รับรู้" ว่า เพลี่ยงพล้ำ

ไอ้ความรู้ตัวนี่ มันต้องรู้ตัวขึ้นมาในวินาทีที่ความทุกข์เกิดขึ้น หรือไม่ก็ช้าไปไม่กี่วินาทีครับ ถึงจะเรียกว่า ใช้ได้ ยิ่งรู้ตัวเร็วขึ้นเท่าไหร่ ความทุกข์ก็จะน้อยลงมากขึ้นเท่านั้น ครับ

ยิ่งไปกว่านั้น พระอรหันต์บางองค์ เช่น ท่านพาหิยะทารุจิรียะ ผู้เป็นเอตทัคคะด้านบรรลุเร็ว ท่านเจ๋งกว่านั้นอีกครับ พระพุทธเจ้าแสดงธรรมอย่างนี้ครับ ดูก่อน พาหิยะ เธอเห็นรูป จงสักแต่ว่า เห็นรูป นี่ละครับ พอเข้าใจไหมครับ ไอ้เรานี่ กว่าจะจับจังหวะให้รู้ถึงตัวทุกข์ขึ้นมา ก็ปาไปตอนคิดแล้วว่า "ไม่น่าเลย" ท่านพาหิยะนี่ ตัดเสียตั้งแต่ "ตาเห็นภาพ" หรือ "ตาเห็นผู้สื่อข่าว" เลยครับ ท่านรู้สึกว่า เห็นก็สักแต่ว่าเห็น คือไม่เอาไปคิดปรุงแต่งต่อ สุดยอดไหม ครับ

แต่กลไกการเกิดทุกข์นี่ บาลีเขาเรียกว่า "ปฏิจจสมุปปบาท" มี ๑๑ ขั้นตอน ตัดตรงไหนก็ขาด เหมือนกันหมดครับ จะตัดตอนคิดว่า "ไม่น่าเลย" หรือ ตัดตั้งแต่ "ตาเห็นผู้สื่อข่าว" ก็มีค่าเท่ากัน คือ วงจรการเกิดทุกข์ขาด ครับ

คราวนี้ถ้าฝึกฝนไปจนมีสติรู้แล้วว่า ความทุกข์เกิดขึ้นตอนไหน แล้วไงต่อ บางครูบาอาจารย์ก็แนะว่า ความทุกข์จะหายไปเอง แต่ถ้าอิงในตำรา ท่านแนะว่า ให้มองโลกเป็น ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ครับ ภาษาทางการเรียกว่า ไตรลักษณญาณ

a539-200ยกตัวอย่างเช่น รู้ตัวขึ้นมาเมื่อตอนคิดว่า "ไม่น่าเลย" ก็คิดเลยครับว่า มันเป็นทุกขัง จริงไหม การเพลี่ยงพล้ำ มันไม่สามารถทนอยู่ได้นาน จริงไหม แล้วมันก็เป็นทุกข์ จริงไหม การเพลี่ยงพล้ำมันก็เปลี่ยนแปลงไป เดี๋ยวฝ่ายโน้นก็เพลี่ยงพล้ำบ้าง ผลัดกันรุก ผลัดกันรับ ไม่มีความเที่ยง จริงไหม แล้วสุดท้ายทั้งสองฝ่าย ก็ซี้แหง๋แก๋ ตายเรียบ อีกไม่เกินร้อยปี มันจริงไหม กระบวนการคิดยาวเหยียดนี่ คิดซ้ำไปซ้ำมาบ่อย ๆ มันจะสั้นลง และเร็วขึ้นครับ คือ คิดครั้งแรก อาจจะนานนิดหนึ่ง เพราะต้องคิดพิสูจน์ว่ามันจริงไหม พอทำ ๆ ไป มันกลายเป็นความเคยชินครับ มันเป็นความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์ของทุกสิ่งในโลกนี้ เราคิดแล้วคิดอีก เป็นพัน เป็นหมื่นครั้ง ก็จริงทุกที คราวนี้ไม่ต้องคิดแล้วครับ พอชำนาญแล้ว จิตมันจำได้เลยครับว่า มันเป็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ทุกข์เกิดปุ๊บ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา คิดซ้ำ ๆ ไป ซ้ำ ๆ มา วันหนึ่งก็เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง ครับ หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็น zero wait state สภาวะไม่มีการรอคอย เห็นปุ๊บ รู้ด้วยปัญญาทันที(ไม่ใช่รู้จากความจำนะ)เลยว่า มันเป็นไตรลักษณ์ รู้ปุ๊บ"วาง"ปั๊บ ก็จบกิจ เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุด ในพระพุทธศาสนา ครับ

ง่ายไหมครับ จบกิจกันง่าย ๆ เลย แม้ไม่ได้ต้องการถึงจบกิจ แต่ถ้าฝึกไปเรื่อย ๆ ชีวิตก็มีความสุขขึ้นมาก ทีเดียวครับ ถ้าอยากจบกิจ เริ่มที่ฝึกสติ ครับ ดูข่าวไป ฝึกสติไปด้วย ครับ วิธีเจริญสติ ครับ

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ

ปล. ไหน ๆ ก็ว่า เรื่องธรรมะแล้ว ใส่เสียงธรรมลงไปด้วยดีฝ่า อิ อิ ... ห่างหายไปซะนาน ๑๔ นาทีเองครับ ฟังซะหน่อย ประดับสมอง เรื่องอยู่กับงูเห่า ของหลวงพ่ชา สุภัทโท ครับ

27 สิงหาคม 2554

How to ทำอย่างไรให้ถึงนิพพาน พระธรรมขันธ์ที่ ๒By Dhammasarokikku

264464_198001233583759_100001216522700_626048_6460349_nว่าจะเขียนพระธรรมขันธ์ที่ ๒ อยู่หลายเพลาแล้ว ยังหาตัวอย่างเจ๋ง ๆ ไม่ได้ ว่าจะเขียนเรื่อง "สักกายทิฏฐิ" ครับ เป็นเรื่องราวที่อธิบายยากพอควร จำต้องยกตัวอย่างให้เห็นชัด เพราะตัวนี้ตัวเดียว ตัดให้ละเอียด ตัดขาดได้ สำเร็จเป็นพระอรหันต์เลยครับ เป็นเรื่องไม่ธรรมดาเลยครับ ควรศึกษาไว้มาก ๆ ครับ
สักกายทิฏฐิ นี้ มีหลายระดับเชียวแล แปลตามบาลีว่าความเห็นที่ว่านี่คือเรา นี่คือของเรา เรามีในขันธ์ ๕ ขันธ์ ๕ มีในเราซึ่งตามคำสอนของหลวงพ่อ บอกว่า อันนั้นมันของพระอรหันต์ คือถ้าเป็นพระอรหันต์ท่านใช้อารมณ์ระดับนั้นครับ ถ้าเป็นปุถุชน เรา ๆ ท่าน ๆ นี่ ท่านว่า ให้ทรงกำลังใจ เอาพระโสดาบันให้ได้ก่อนครับ แล้วค่อยไต่ขึ้นไปเป็นพระอรหันต์ การปฏิบัติต้องรู้จักประมาณกำลังของเราครับ กำลังเท่ามด ไปยกช้าง ก็ถูกช้างบี้ติดดินเท่านั้นเอง ไม่เกิดประโยชน์

สักกายทิฏฐิ หรือ ตัวตน หรือ อัตตา (อันเดียวกันหมด แค่เรียกต่างกัน)ของพระโสดาบัน แค่เห็นว่า เราตายแน่ ๆ และไม่ประมาทในชีวิต เท่านั้นเองครับ ง่ายไหมครับ
แต่วันนี้เราจะไม่หยุดอยู่แค่พระโสดาบันครับ เพราะพระโสดาบันเคยเขียนไปแล้วในเอ็นทรี่ มาเป็นพระโสดาบันกันดีกว่าวันนี้เราจะลุยกันไปให้ถึงพระนิพพานเลยครับ ให้สมกับหัวข้อเอ็นทรี่

มาเข้าเรื่องกันดีกว่า เรื่องราวของ "ตัวตน" ในศาสนาพุทธ เป็นเรื่องลึกซึ้ง ยากจะหยั่งถึง แต่ก็ไม่ยากเสียจนเข้าใจไม่ได้เลย(เข้าใจได้ก็เรื่องหนึ่ง ทำให้ถึงก็อีกเรื่องหนึ่งนะ แยกกันให้ออก) ก่อนจะเข้าสู่เรื่องราวอันเข้มข้นของ "ตัวตน" ข้าพเจ้าขอออกตัวก่อนว่า ความเข้าใจในเรื่อง "ตัวตน" ของข้าพเจ้า อาจไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ ผู้เสพควรอ่านคำเตือนในฉลาก และไม่ควรดื่มกาแฟธรรมะที่ชงเข้มข้นระดับ ๒ ช้อนโต๊ะ เกินวันละ ๑ เอ็นทรี่ อ๊ะ...ไม่ใช่...การอ่านธรรมะมีความเสี่ยง ผู้สนใจอ่านควรศึกษาให้ถ่องแท้ ลองปฏิบัติให้เห็นจริง ด้วยตัวเอง แล้วค่อยเชื่อ

มีบางคน เข้าใจว่า การที่พระปฏิบัติเคร่ง ฉันมื้อเดียว อยู่ป่าเป็นวัตร นั่งสมาธิเป็นวัน ๆ ฉันในบาตร เทกับข้าวทั้งคาวหวานรวมกัน ลงในบาตร รักษาศีลอย่างเคร่งจัด ไม่จับเงิน หรือ ทรมานร่างกายด้วยวิธีแปลก ๆ เช่น นั่งตากแดด ฝังตัวเองลงในดิน เป็นพระที่ได้มรรค ได้ผล เป็นอริยบุคคล น่าศรัทธา น่าเลื่อมใส

หรือนักบวชนอกศาสนา ที่ทรมานตนแบบต่าง ๆ เช่น นอนบนเตียงตะปู เป็นต้น หรือมีวัตรที่มากไปด้วยเงื่อนไข เช่น กินข้าวในมือ ยืนกิน ไม่ใส่เสื้อผ้า ไม่รับข้าวจากหญิงมีครรภ์ ไม่รับข้าวจากหญิงมีระดู เป็นต้น เป็นบุคคลน่าเลื่อมใส คงได้บรรลุธรรมประการใด ประการหนึ่ง ทำบุญกับท่าน คงได้บุญมาก
หรือกระทั่งศาสนาพุทธเอง ที่แตกนิกายออกไป มีวัตรปฏิบัติที่เข้มข้น ถึงขนาดมีการทดลองตาย เข้าไปปฏิบัติในถ้ำเป็นปี ๆ อดข้าว อดน้ำ คนทั่วไปก็รู้สึกว่า ท่านช่างมีวัตรที่น่าเลื่อมใส ทุ่มเทให้กับการปฏิบัติ น่าเกรงขามอย่างยิ่ง พวกพระไทย โกนหัว ห่มเหลือง และมักจะเป็นข่าวกับสีกา ออกวัตถุมงคล หลอกลวงประชาชน และพฤติกรรมไม่เหมาะสมอีกล้านแปด ไม่มีทางสู้ได้เลย
มาดูกันครับว่า คำสอนของพระในประเทศไทยที่เขาว่า สู้พระต่างประเทศไม่ได้ มีวัตรปฏิบัติที่ไม่น่าเลื่อมใส (ทว่าข้าพเจ้ากลับเห็นว่า น่าจะเป็นประเทศที่มีพระอรหันต์มากที่สุดในโลกแล้วกระมัง) เป็นอย่างไร ก่อนอื่นต้องขออ้างพระธรรมบทสักหน่อยครับ ความจริงถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัตินะครับว่า จักต้องอ้างถึงพระไตรปิฎกเสียก่อน ให้เป็นวัตร จักมีคนอ่าน หรือไม่มีคนอ่าน ก็ไม่สำคัญ เพราะการไม่อ้างอิงถึงพระไตรปิฎกดั้งเดิม ก็เป็นเหตุหนึ่งของความเสื่อมแห่งบวรพระพุทธศาสนา แสดงไว้ใน อาณิสูตรทว่า่ผู้ที่มาอ่านบทความในบล็อก ย่อมมิได้คาดหวังจะอ่านวิทยานิพนธ์ ทั้งการอ่านหนังสือบนหน้าจอคอมฯ ก็ใช้สายตาอยู่ไม่น้อย ผู้อ่านจักข้ามไปก่อน แล้วเมื่อสมัยที่มีความสงสัยในเนื้อหาตอนใด หรือไม่แน่ใจว่าผู้เขียน เข้าใจถูกต้องหรือไม่ ค่อยย้อนกลับมาอ่านพระไตรปิฎกต้นฉบับ ก็ย่อมได้ ข้าพเจ้าจักทำส่วนที่คัดมาจากพระไตรปิฎก เป็นสีเขียว ส่วนที่ครูบาอาจารย์เทศนาสั่งสอนเป็นสีน้ำเงินและความเห็นของข้าพเจ้าเองเป็นสีดำ(แต่คิดดูอีกที ผู้ที่หวังพระนิพพาน แต่กระทั่งเอ็นทรี่ที่อ่านยากสักหน่อย ตัวหนังสือไม่สวย ไม่มีรูปประกอบ หรือยาวสักนิด ยังไม่มีความเพียรจะอ่าน อย่างนี้อ่านไปก็ไลฟ์บอยครับ แค่อ่านยังไม่อ่านเลย จะไปเพียรปฏิบัติได้อย่างไร เสียเวลาเปล่า เลิกอ่านไปเสียตอนนี้เลยดีกว่าครับ เอ็นทรี่แนะนำการปฏิบัติ ไม่ใช่เอ็นทรี่เอาไว้อ่านเล่น เบาสมอง หรือเอาไว้ประดับสมองเพียงเพื่อเอาไว้ถกเถียงกันในวงสนทนาธรรมะ ให้รู้ว่า"กูเก๋า" หรือ "กูรู้มาก" อย่างนั้น นิมนต์ไปอ่านเอ็นทรี่อื่นเลยครับ)

img40อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐หน้าต่างที่ ๕ / ๑๐.
๕. เรื่องพระโปฐิลเถระ [๒๐๘] ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระนามว่าโปฐิละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โยคา เว" เป็นต้น.

รู้มากแต่เอาตัวไม่รอด

ดังได้สดับมา พระโปฐิละนั้นเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกในศาสนาของพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป. พระศาสดาทรงดำริว่า "ภิกษุนี้ ย่อมไม่มีแม้ความคิดว่า 'เราจักทำการสลัดออกจากทุกข์แก่ตน'เราจักยังเธอให้สังเวช."

จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์ย่อมตรัสกะพระเถระนั้น ในเวลาที่พระเถระมาสู่ที่บำรุงของพระองค์ว่า "มาเถิด คุณใบลานเปล่า,นั่งเถิด คุณใบลานเปล่า, ไปเถิด คุณใบลานเปล่า แม้ในเวลาที่พระเถระลุกไป ก็ตรัสว่า "คุณใบลานเปล่าไปแล้ว."

พระโปฐิละนั้นคิดว่า "เราย่อมทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ถึง ๑๘ คณะใหญ่ ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดายังตรัสเรียกเราเนืองๆ ว่า "คุณใบลานเปล่า"พระศาสดาตรัสเรียกเราอย่างนี้ เพราะความไม่มีคุณวิเศษ มีฌานเป็นต้นแน่แท้."

ท่านมีความสังเวชเกิดขึ้นแล้ว จึงคิดว่า "บัดนี้ เราจักเข้าไปสู่ป่าแล้วทำสมณธรรม" จัดแจงบาตรและจีวรเองทีเดียว ได้ออกไปพร้อมด้วยภิกษุผู้เรียนธรรม แล้วออกไปภายหลังภิกษุทั้งหมดในเวลาใกล้รุ่ง.พวกภิกษุนั่งสาธยายอยู่ในบริเวณ ไม่ได้กำหนดท่านว่า "อาจารย์."พระเถระไปสิ้น ๑๒๐ โยชน์แล้ว, เข้าไปหาภิกษุ ๓๐ รูป ผู้อยู่ในอาวาสราวป่าแห่งหนึ่ง ไหว้พระสังฆเถระแล้ว กล่าวว่า"ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม."

พระสังฆเถระ. "ผู้มีอายุ ท่านเป็นพระธรรมกถึก สิ่งอะไรชื่อว่าอันพวกเราพึงทราบได้ ก็เพราะอาศัยท่าน, เหตุไฉน ท่านจึงพูดอย่างนี้?"<---พระธรรมกถึก คือ พระผู้แสดงธรรม หรือพระนักเทศน์นั่นเอง

พระโปฐิละ. ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอย่าทำอย่างนี้ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม.

วิธีขจัดมานะของพระโปฐิละ

ก็พระเถระเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งนั้น. ลำดับนั้น พระมหาเถระส่งพระโปฐิละนั้นไปสู่สำนักพระอนุเถระ ด้วยคิดว่า"ภิกษุนี้มีมานะ เพราะอาศัยการเรียนแท้."แม้พระอนุเถระนั้นก็กล่าวกะพระโปฐิละนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน.ถึงพระเถระทั้งหมด เมื่อส่งท่านไปโดยทำนองนี้ ก็ส่งไปสู่สำนักของสามเณรผู้มีอายุ ๗ ขวบผู้ใหม่กว่าสามเณรทั้งหมด ซึ่งนั่งทำกรรมคือการเย็บผ้าอยู่ในที่พักกลางวัน.พระเถระทั้งหลายนำมานะของท่านออกได้ด้วยอุบายอย่างนี้.

พระโปฐิละหมดมานะ

พระโปฐิละนั้นมีมานะอันพระเถระทั้งหลายนำออกแล้ว จึงประคองอัญชลีในสำนักของสามเณรแล้วกล่าวว่า "ท่านสัตบุรุษ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผม."

สามเณร. ตายจริง ท่านอาจารย์ ท่านพูดอะไรนั่น ท่านเป็นคนแก่ เป็นพหูสูต เหตุอะไร ๆ พึงเป็นกิจอันผมควรรู้ในสำนักของท่าน

พระโปฐิละ. ท่านสัตบุรุษ ท่านอย่าทำอย่างนี้ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผมให้ได้.

สามเณร. ท่านขอรับ หากท่านจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้ไซร้ ผมจักเป็นที่พึ่งของท่าน.

พระโปฐิละ. ผมเป็นได้ ท่านสัตบุรุษ, เมื่อท่านกล่าวว่า "จงเข้าไปสู่ไฟ" ผมจักเข้าไปแม้สู่ไฟได้ทีเดียว.

พระโปฐิละปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสามเณร

ลำดับนั้น สามเณรจึงแสดงสระ สระหนึ่งในที่ไม่ไกล แล้วกล่าวกะท่านว่า"ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มตามเดิมนั่นแหละ จงลงไปสู่สระนี้."

จริงอยู่ สามเณรนั้น แม้รู้ความที่จีวรสองชั้นซึ่งมีราคามาก อันพระเถระนั้นนุ่งห่มแล้ว เมื่อจะทดลองว่า"พระเถระจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้หรือไม่" จึงกล่าวอย่างนั้น.

แม้พระเถระก็ลงไปด้วยคำๆ เดียวเท่านั้น.

ลำดับนั้น ในเวลาที่ชายจีวรเปียก สามเณรจึงกล่าวกะท่านว่า "มาเถิด ท่านขอรับ" แล้วกล่าวกะท่านผู้มายืนอยู่ด้วยคำๆ เดียวเท่านั้นว่า"ท่านผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ ๖ ช่อง, ในช่องเหล่านั้น เหี้ยเข้าไปภายในโดยช่อง ๆ หนึ่ง บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง ๕ นอกนี้ ทำลายช่องที่ ๖ แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง,บรรดาทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว จงเริ่มตั้งกรรม*นี้ไว้ในมโนทวาร."

ด้วยนัยมีประมาณเท่านี้ ความแจ่มแจ้งได้มีแก่ภิกษุผู้เป็นพหูสูต ดุจการลุกโพลงขึ้นแห่งดวงประทีปฉะนั้น.

img51พระโปฐิละนั้นกล่าวว่า "ท่านสัตบุรุษ คำมีประมาณเท่านี้แหละพอละ" แล้วจึงหยั่งลงในกรชกาย** ปรารภสมณธรรม.

____________________________
* คำว่า กรรม ในที่นี้ ได้แก่ บริกรรม หรือกัมมัฏฐาน.
** แปลว่า ในกายบังเกิดด้วยธุลี มีในสรีระ.

ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งปัญญา

พระศาสดาประทับนั่งในที่สุดประมาณ ๑๒๐ โยชน์เทียว ทอดพระเนตรดูภิกษุนั้นแล้วดำริว่า "ภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา (กว้างขวาง)ดุจแผ่นดินด้วยประการใดแล, การที่เธอตั้งตนไว้ด้วยประการนั้นนั่นแล ย่อมสมควร." แล้วทรงเปล่งพระรัศมีไป ประหนึ่งตรัสอยู่กับภิกษุนั้น

ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๕. โยคา เว ชายตี ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย
เอตํ เทฺวธา ปถํ ญตฺวา ภวาย วิภวาย จ
ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.
ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล,

ความสิ้นไปแห่งปัญญาเพราะการไม่ประกอบ,

บัณฑิตรู้ทาง ๒ แพร่งแห่งความเจริญ และความเสื่อมนั่นแล้ว

พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญาจะเจริญขึ้นได้.

แก้อรรถ
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยคา ความว่า เพราะการกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายในอารมณ์ ๓๘.
คำว่า "ภูริ" นั่น เป็นชื่อแห่งปัญญาอันกว้างขวาง เสมอด้วยแผ่นดิน. ความพินาศ ชื่อว่า ความสิ้นไป.
สองบทว่า เอตํ เทวฺธา ปถํ คือ ซึ่งการประกอบและการไม่ประกอบนั่น.
บาทพระคาถาว่า ภวาย วิภวาย จ คือ แห่งความเจริญและความไม่เจริญ.
บทว่า ตถตฺตานํ ความว่า บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ โดยประการที่ปัญญา กล่าวคือภูรินี้จะเจริญขึ้นได้.
ในกาลจบพระคาถา พระโปฐิลเถระตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้.
เรื่องพระโปฐิลเถระ จบ.
------------------------
มาจากเว็บนี้ครับ http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=30&p=5

ใครอ่านพระไตรปิฎกออริจินอลแล้วมึนบ้าง ลองมาอ่านสำนวนของหลวงพ่อชา สุภทฺโท ดูบ้าง อาจจะอ่านง่ายขึ้น

img61ในสมัยก่อน ครั้งพุทธกาล มีสาวกองค์หนึ่งชื่อว่าตุจโฉโปฏฐิละตุจโฉโปฏฐิละนี้มีปัญญามาก แตกฉานในคัมภีร์ แตกฉานในพระไตรปิฎก มีวัดสาขาตั้ง ๑๘ แห่ง เป็นครูเป็นอาจารย์จนประชาชนศิษยานุศิษย์ทั้งหลายนับหน้าถือตาโดยทั่วถึง ถ้าใครได้ยินชื่อว่าตุจโฉโปฏฐิละก็กลัวเกรง ไม่กล้าพูดไม่กล้าเถียง เมื่อท่านอธิบายธรรมะ กลัวอำนาจที่ท่านได้เรียนมากจนแตกฉานในพระไตรปิฎก ฉะนั้นท่านตุจโฉโปฐิละจึงเป็นพระเถระผู้ยิ่งใหญ่ ในครั้งพุทธกาลเพราะการเรียน วันหนึ่งท่านไปกราบทูลถามพระพุทธเจ้า ขณะท่านกำลังกราบลงสาธุการ พระพุทธองค์ตรัสว่า "มาแล้วหรือ พระใบลานเปล่า?"

...ซึ้งในใจ แล้วก็เลยพูดกันไป พอท่านจบประโยคพอสมควรแล้วจะลาพระพุทธองค์กลับวัด... "กลับอาวาสแล้วหรือ พระใบลานเปล่า?" จะกลับก็ "กลับแล้วหรือพระใบลานเปล่า?"ไม่ได้หน้าได้หลัง ท่านเทศน์อยู่เท่านั้นตุจโฉโปฏฐิละเป็นอาจารย์ใหญ่ก็คิดในใจว่า"เอ...ทำไมพระพุทธองค์จึงรับสั่งอย่างนั้น? เป็นอะไรหนอ..."คิดไปคิดมาคิดตามการศึกษาย้อนไปพิจารณาไป จนเห็นว่า"เออ...มันจริงที่พระองค์ว่า พระใบลานเปล่า" คือพระเรียนเฉยๆ ไม่ได้ปฏิบัติ เมื่อมาดูจิตใจของตนก็เหมือนกัน กับฆราวาส อยากได้อะไรก็อยากได้เหมือนเขา ฆราวาสยินดีอย่างไรก็ยินดีอย่างเขา ความเป็นสมณะไม่มี ไม่มีธรรมะอันซึ้งบังเกิดขึ้นในใจ ที่จะมาข่มจิตของตน ให้สงบระงับด้วยการอบรมทั้งหลายได้ จึงเกิดความสนใจอยากจะออกปฏิบัติ แต่ว่าการจะออกปฏิบัตินั้น ไม่มีทางที่จะไป ไปหาอาจารย์นั่นอาจารย์นี่ ล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ของท่านทั้งหมด เขาก็เลยไม่รับ ธรรมดาคนเราเห็นครูบาอาจารย์ ก็เคารพเกรงกลัวไม่กล้าพูด ก็เลยไม่กล้ารับให้ท่านมาปฏิบัติด้วย ไปสำนักผู้ใดก็ตามไม่กล้ารับ ท่านมีความรู้มาก มีปัญญามาก ใคร ๆ ก็ไม่กล้าตักเตือน ไม่กล้าสอน ถึงแม้ว่าท่านนั่งอยู่ที่นั้น จะเทศนาว่ากล่าว ก็ยังเกรงกลัวอำนาจของท่าน

ท่านจึงไปหาสามเณรน้อยซึ่งเป็นอริยบุคคล ท่านตุจโฉโปฏฐิละก็ไปขอปฏิบัติกับสามเณรน้อย เณรบอกว่า"พระคุณเจ้าจะมาปฏิบัติกับผม ถ้าทำจริงก็มาได้ แต่ถ้าทำไม่จริงมาไม่ได้"ตุจโฉโปฏฐิละจึงมอบกายถวายชีวิต สามเณรให้ห่มผ้า เมื่อห่มผ้าเรียบร้อยแล้ว เผอิญมีหนองอยู่ใกล้ ๆ ที่เป็นเลน เณรก็บอกว่า "เอ้าให้วิ่งเข้าไปในหนองนี่ วิ่งลงไป ถ้ายังไม่บอกให้หยุดอย่าหยุดนะ ถ้ายังไม่บอกให้ขึ้น อย่าขึ้นนะ...เอ้า วิ่ง" ตุจโฉโปฏฐิละห่มผ้าดี ๆ แล้วก็วิ่งลงไปในหนอง ต่ำลง ๆ ๆ เณรน้อยไม่ได้บอกให้หยุดท่านก็ลงไปจนตัวเปียกหมด เปื้อนตมเลอะขี้เลนหมด สามเณรจึงบอกว่า "เอาล่ะ หยุดได้" ท่านจึงหยุด สามเณรว่า "เอาละขึ้นมา"ท่านจึงขึ้นมา แสดงให้เห็นว่าท่านละทิฏฐิของท่านแล้ว จึงยอมรับ ถ้าไม่ยอมรับจะไม่ยอมลงขึ้ตมหรอก คนผู้ใหญ่ขนาดนั้น แต่ว่าท่านยอมไป สามเณรเห็นแล้วรู้อุปนิสัยแล้ว ว่าตุจโฉโปฏฐิละเอาจริง

เมื่อท่านขึ้นมาแล้วสามเณรจึงสอนให้ โดยใช้วิธีกำหนดอารมณ์จับอารมณ์ให้รู้จักจิตของตน ให้รู้จักอารมณ์ของตน เณรก็ยกอุบายอันหนึ่งขึ้นมาว่า ให้ใช้วิธีที่บุรุษทั้งหลายจะจับเหี้ย เหี้ยตัวหนึ่งเข้าไปในโพรงจอมปลวกซึ่งมีรูอยู่หกรู ถ้าเหี้ยเข้าไปในที่นั้นจะทำอย่างไร เราจึงจะจับมันได้ จะต้องปิดไว้สักห้ารู เอาอะไรมาปิดมันไว้ให้เหลือแค่รูเดียวสำหรับให้เหี้ยออก นอกนั้นปิดไว้หมด แล้วให้นั่งจ้องมองอยู่ที่รูนั้น ครั้นเหี้ยวิ่งออกก็จับ อันนี้ฉันใด การกำหนดจิตก็ฉันนั้น ตาก็ปิดไว้ หูก็ปิดไว้ จมูกก็ปิดไว้ ลิ้นก็ปิดไว้ กายก็ปิด เหลือแต่จิตอันเดียว ตา หู จมูก ลิ้น กาย ปิดมันไว้ คือสำรวมสังวร ให้กำหนดจิตอย่างเดียว

การภาวนาก็เหมือนกัน กับบุรุษจับเหี้ย อย่างเราจะกำหนดลมหายใจให้มีสติ สติ คือ ความระมัดระวังรู้อยู่ว่า เดี๋ยวนี้เราทำอะไรอยู่ สัมปชัญญะ คือ รู้ตัวว่าเรากำลังทำอันนั้นอยู่ ผู้รู้ รู้ว่ามันเป็นอย่างนั้นอยู่ ให้กำหนดลมหายใจเข้าด้วยการมี สติ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว การที่ว่าระลึกได้คือความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิต ไม่ใช่การที่เราไปศึกษาที่ไหนมา ให้รู้จักแต่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นมา จิตมันอยู่เฉย ๆ มันก็มีความรู้สึกขึ้นมา อันนี้แหละเป็นความรู้สึก สตินี้ควบคู่กันกับความรู้สึก มีสติอยู่ คือความระลึกได้ว่า เราพูดอยู่ หรือเราทำอยู่ หรือเราไปเดินอยู่ หรือเรานั่งอยู่ จะไปจะมาก็รู้ นั่นเรียกว่าสติ ระลึกได้ สัมปชัญญะคือความรู้ตัวว่า บัดนี้เรากำลังเดินอยู่ เรานั่งอยู่ เรานอนอยู่ เรารับอารมณ์อะไรอยู่เดี๋ยวนี้ สองอย่างนี้ ทั้งสติความระลึกได้ และสัมปชัญญะความรู้ตัว ในการที่เราระลึกได้อยู่เสมอนั้น เราก็จะสามารถรู้ใจของเราว่า ในเวลานี้มันคิดอย่างไร เมื่อถูกอารมณ์ชนิดนั้นมามันคิดอย่างไร อันนี้เราจะรู้จัก

มาจากเว็บนี้ครับ http://gotoknow.org/blog/2etc/183294

เป็นอย่างไรบ้างครับ อ่านแล้วพอเข้าใจไหมครับ ของหลวงพ่อชานี่ดีมาก ๆ นะครับ ความจริงยังมีการแนะนำถึงการปฏิบัติต่อจากนี้ด้วย ว่าง ๆ แวะไปอ่านเวอร์ชั่นเต็มกันได้ ถ้าเผื่อยังไม่เข้าใจ จะลองอธิบายซ้ำให้ดูอีกสักรอบหนึ่ง ลองนึกภาพตามไปนะครับ ลองจินตนาการไปถึงสำนักเรียนปริยัติธรรมสมัยก่อน เอาเป็นว่า เป็นวิทยาลัยละกันครับ ที่มีแต่พระสงฆ์ไปเรียน ก็คือวิทยาลัยสงฆ์ พระอาจารย์โปฐิละนี้ เป็นเจ้าสำนักอยู่ถึง ๑๘ สำนัก ถ้าเทียบกับสมัยนี้ ท่านก็ครองอยู่ ๑๘ คณะ ใคร ๆ ก็เคารพนับถือท่าน ในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ คงจะเทียบได้กับ อธิบดี หรือผู้อำนวยการวิทยาลัย ท่านทรงพระไตรปิฎก และมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย สั่งสอนจนท่านทั้งหลาย บรรลุมรรคผลไปก็มาก แต่ที่ไหนได้ครับ ตัวท่านเอง กลับไม่บรรลุมรรคผลใดใด ยังเป็นพระปุถุชน หรือ สมมุติสงฆ์นั่นเอง อุปมาก็เหมือนอาจารย์ที่สอนให้ลูกศิษย์ทำวิทยานิพนธ์ แต่ตนเองไม่ได้ทำวิทยานิพนธ์ของตัวเอง หรือเป็นผู้ดีแต่สอนคนอื่นสร้างผลงาน ตัวเองไม่มีผลงานนั่นละครับ

img34พระพุทธเจ้าในขณะนั้น ถ้าเทียบกันก็คงเทียบกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา เวลาประชุมสงฆ์กัน แล้วพระอาจารย์โปฐิละนี่เข้าร่วมด้วย พระองค์ก็ทรงเรียกท่านโปฐิละนี้ว่า "คุณเถรใบลานเปล่า"ก็เหมือนตบหน้ากันฉาดเบ้อเร่อละครับ ลองนึกภาพดูว่า อธิบดี หรือผู้อำนวยการสถาบันการศึกษา ก็เป็นผู้มีศักดิ์ศรีใหญ่แล้ว เจอท่านรัฐมนตรีเรียกว่า "คุณอาจารย์ไม่มีน้ำยา" หรือ"คุณอาจารย์ไม่มีผลงาน" ต่อหน้าธารกำนัล ต่อหน้าลูกศิษย์ลูกหา แต่ที่พระองค์ทำ ก็ไม่ได้มีเจตนาให้ครูใหญ่ได้อาย เพียงต้องการให้สำนึก แล้วเร่งการปฏิบัติของตน

พระอาจารย์โปฐิละ ก็ใช่ย่อย เป็นคนธรรมดา เรา ๆ ท่าน ๆ อย่างนี้ เจอแบบนี้เข้าไป พรุ่งนี้เช้า คงรีบไปลาออกจากตำแหน่ง อธิบดี หรือ ผู้อำนวยการกันทีเดียว ทว่าพระอาจารย์ท่านก็มีดีครับ พอถูกเตือนสติเข้า ก็ระลึกได้ หันกลับมาตั้งใจบำเพ็ญสมณธรรม อุปมาก็เหมือนเริ่มเขียนวิทยานิพนธ์ของตัวเองนั่นละครับ

อีตอนเริ่มเขียนวิทยานิพนธ์นี่แหละ ที่สำคัญ พระอาจารย์ก็ไปหาพระเถระอาวุโสก่อน ซึ่งบางองค์ก็เคยเป็นลูกศิษย์ของท่านเอง ให้ช่วยสอนวิธีเขียนวิทยานิพนธ์ ก็เหมือน อธิบดี ไปขอให้คนจบปริญญาเอก สอนวิธีเขียนวิทยานิพนธ์นั่นละครับ เหล่าพระปริญญาเอกทั้งหลาย เห็นว่า ท่านอธิบดี ถึงจะมีความรู้มาก แต่ก็มีมานะ เพราะถือว่า ตนรู้ทฤษฎีมาก จึงให้ไปหาพระอนุเถระ ซึ่งพรรษาอ่อนกว่า (พระมหาเถระ คือ ๒๐ พรรษาขึ้นไป พระเถระ ๑๐ พรรษาขึ้นไป พระที่บรรลุอรหันต์ แม้จะเป็นเด็กอายุแค่ ๗ ขวบ พระพุทธเจ้าก็ทรงเรียกว่า พระมหาเถระ หรือ พระผู้ใหญ่แล้วทั้งนั้น) ก็เหมือนคนจบปริญญาเอก โบ้ยให้อธิบดี ไปถามวิธีัเขียนวิทยานิพนธ์จากนักศีกษาปริญญาโท นั่นละครับ อู๊ย...เป็นเราคงอายแทบแทรกแผ่นดินหนี แต่รู้ไหมครับ ไอ้ตัวอายนี่แหละ คือ สักกายทิฏฐิเพราะที่มันอาย มันอายเพราะเราสร้างตัวตนของเราขึ้นมาว่า เราเป็นผู้่มีศักดิ์ศรีใหญ่ เป็นเจ้าสำนักถึง ๑๘ สำนัก ซึ่งความจริงแล้ว ไม่ว่า ภาพพจน์ที่ตัวเราสร้างขึ้นมา หรือคนอื่นรับรู้ว่า เราเป็นอย่างนี้ มันเป็นสิ่ง "สมมุติ" ทั้งสิ้นละครับ ทีนี้ท่านก็แก้ "ทิฏฐิมานะ"ของอาจารย์ใหญ่ของเรา โดยนักศึกษาปริญญาโท ก็โบ้ยให้ไปหา นักศึกษาปริญญาตรี ไล่ไปถึง ม.ปลาย ม.ต้น และสุดท้าย ให้ไปกราบขอเป็นลูกศิษย์เด็กประถม ซึ่งก็คือ สามเณรอายุ ๗ ขวบ แต่ท่านบรรลุอรหันต์แล้วนะ เท่านั้นยังไม่พอนะ พระมหาเถระอายุเท่าเด็กประถมยังสั่งให้อธิบดีเดินลงน้ำไป ให้เปื้อนโคลนเล่นอีกต่างหาก

โอ้โห...ถึงตอนนั้น คงไม่เหลือคราบอธิบดี แล้วละครับ พอทำลายทิฏฐิมานะลงได้ คราวนี้ก็เหมือนแก้วน้ำเปล่า ๆ แล้วครับ จะรินน้ำอะไรลงไป ก็รับได้หมด พระเถระสามเณรจึงสอนให้ดูอายตนะทั้งหก มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจให้เปรียบเหมือนการดูเหี้ย พวกเหี้ยนี่มันจะอาศัยในรูครับ ท่านเปรียบว่า คนเราก็เหมือนมีรูอยู่ ๖ รู ถ้าเราจับจ้องดูทั้ง ๖ รู ว่าเหี้ยมันจะออกมาตอนไหน มันดูยาก ท่านเลยแนะให้ปิดรูทั้ง ๕ เสีย เหลือแค่รูเดียว คือ ใจ แล้วก็เพียรดูอยู่อย่างนั้น ไม่นานก็บรรลุอรหัตตผล

อ่านดูแล้วรู้สึกไกลตัวไหมครับ โห...เรื่องราวตั้งสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว เอามาเล่าเป็นนิทานปรำปรา ไม่เห็นน่าสนใจ สมัยนี้ไม่มีแล้ว คิดอย่างนั้นก็ผิดไปครับ ธรรมะของพระพุทธองค์ เป็น "อกาลิโก" ครับ ไม่ขึ้นอยู่กับกาลเวลา

สมัยปัจจุบันนี้ และไม่ต้องเป็นพระภิกษุสงฆ์ด้วย เป็นฆราวาส เรา ๆ ท่าน ๆ นี่ละครับ สักกายทิฏฐิตัวนี้ ก็ติดตัวกับเรามาตั้งแต่เกิดแล้วครับ และก็แนบแน่น แนบเนื้อเข้าไปทุกที ๆ เรื่องนี้ก็หาตัวอย่างอยู่นานว่า จะยกตัวอย่างเป็นอะไรดี ที่สุดก็ได้ตัวอย่างมาครับ น่าจะช่วยให้เข้าใจง่ายมั่ก ๆ

ตัวอย่างคือ ภาพยนตร์เรื่อง the devil wears prada*ครับ คนที่มีสักกายทิฏฐิเหนียวแน่นมาก ก็คือ เจ๊บรรณาธิการนิตยสารนั่นละครับ เธอทำงานอย่างหนักหน่วงแทบทั้งชีวิตเพื่ออะไรครับ เพื่อความมีชื่อเสียง เพื่อการยอมรับ เพื่อให้คงสถานภาพของ "ผู้นำ" ในวงการแฟชั่น นั่นแล ตัวสักกายทิฏฐิ ความเห็นว่า นี่เป็นเรา นี่เป็นของเรา

*ภาพยนตร์เรื่อง the devil wears prada

ฝรั่งเขา คงเรียกว่า ego กระมัง แต่ทางพุทธนี่มันละเอียดกว่านั้นอีกนะครับ และมันยากตรงมัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลางนี่ละครับ อีโก้นั้น แปลออกเชิง มีความมั่นใจสูง ไม่ฟังความเห็นใคร แต่ทางพุทธนี่ท่านให้มั่นใจครับ แต่ไม่ถือตัว ฟังดูเผิน ๆ เหมือนขัดแย้งกัน แต่จริง ๆ มันจะมีเส้นแบ่งบาง ๆ คั่นระหว่างความมั่นใจ กับความไม่ถือตัว และเส้นแบ่งนั้นชื่อ มัชฌิมาปฏิปทาหน้าที่เราคือ ต้องประคองตัวให้อยู่บนเส้นแบ่งบาง ๆ นี่ละครับ มั่นใจมากเกินไป ก็ถือว่าตนเก่ง ตนเลิศ อย่างที่เคยมีผู้มาประกาศเขียนเม้นท์ไว้ละครับว่า เขาเป็นคนถือศีล ๕ ครบบริบูรณ์ และทำบุญให้บ้านเด็กกำพร้าทุกเดือน นั่นเป็นตัวอย่างของคนที่มั่นใจมากเกินไป จนกลายเป็นมานะถือตัวไป หรือไม่มั่นใจ ก็กลายเป็นเคอะ ๆ เขิน ๆ เอียง ๆ อาย ๆ ไม่กล้าคิด ไม่กล้าทำอะไรไป ก็ไม่ได้อยู่บนทางสายกลางอีกครับ

ข้อสังเกตุว่า เราเดินอยู่บนทางสายกลางหรือไม่ ก็ดูง่าย ๆ ครับว่า เรายังพูดพล่ามอวดความดีของตัวเองอยู่หรือเปล่า หากยังยกตนข่มท่านอยู่ นั่นก็แสดงว่า ความมั่นใจมันล้นจนเกินออกมาทางปากครับ มานะทิฏฐิมันเยอะจัดแล้วไม่มีที่ออก มันก็พร่างพรูล้นออกมาทางปาก หรือการเขียน การพิมพ์ ก็จัดเป็น การพล่ามทั้งสิ้น หรือแม้กระทั่งการตำหนิผู้อื่น ก็เช่นกัน การที่เราจะตำหนิผู้อื่นได้ แน่นอนเลยว่า ต้องมีความรู้สึกว่า ชั้นดีกว่าเธอ ทำไมเธอไม่ทำอย่างชั้น ทำไมเธอไม่เป็นอย่างชั้น เป็นต้น ยกเว้นการตำหนิ เพื่อตักเตือน เพื่อไม่ให้เกิดโทษ

อย่างในภาพยนตร์เรื่องนี้ จะเห็นออกมาเป็นรูปธรรมชัด ๆ เลยว่า คนเราวิ่งแสวงหาตัวตน แสวงหาการยอมรับไป แล้วก็คิดว่า นั่นเป็นความสุข เป็นที่สุดของโลก ได้่ไปปารีส ได้ใช้ของมียี่ห้อ ไฮโซ ซึ่งเขามองไม่เห็น ความทุกข์ ที่ต้องมาทำงานหนักเกือบทั้งชีวิต เพื่อประคับประคองภาพพจน์ให้คงเดิม พยายามอย่างหนัก เพียงเพื่อวินาทีที่เดินลงจากรถ แล้วมีนักข่าวล้อมหน้าล้อมหลัง เข้าไปในปาร์ตี้ ที่มีแต่คนในวงการ ให้การชื่นชม นั่นนะหรือ ที่เขาว่ากันว่า คือความสุข หลวงพ่อชาบอกว่า ที่เขาว่ากันว่า มีความสุขนั้น แท้จริงมันคือทุกข์ที่ละเอียดขึ้น เท่านั้นเอง หรือแม้กระทั่ง ตอนที่หย่ากับสามี ก็ต้องมาเป็นทุกข์เป็นร้อน ที่จะต้องถูกเม้าท์อย่างหนัก จากเพื่อนฝูงวงการนิตยสารเหมือนกัน

ย้อนกลับไปดูพระธรรมขันธ์ที่ ๑ครับ จะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องเดียวกัน ที่ท่านสอนให้เฉยต่อคำนินทา หรือ สรรเสริญ ความสุข หรือ ความทุกข์ ทั้งหลายแหล่นี้ อิงกับสักกายทิฏฐิอิงกับตัวตน อิงกับภาพพจน์ ทั้งนั้นเลยครับ ท่านสอนให้ทำใจประดุจคนตายแล้วครับ คนตายจะไปใส่ใจคำสรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์ ไหมครับ นั่นละ ทำใจให้ได้อย่างนั้น อย่างนั้นก็เรียกว่าทำใจให้เป็นเหมือนแผ่นดิน

และตอนที่นางเอก พยายามอย่างสุดความสามารถ เพื่อสนองความต้องการเจ้านาย ที่ต้องการจับเครื่องบินในวันที่พายุเฮอริเคนเข้า นั่นก็ใกล้เคียงกับการปฏิบัติธรรม ตามแนวคิริมานนทสูตรมากเลยครับ นางเอกพยายามทำความดี แต่ผลตอบรับคือ คำด่า ด่าชนิดไม่ให้ผุดไม่ให้เกิดเลย แล้วนางเอกก็ผิดหวังอย่างแรง เดินน้ำตาซึมออกไป ซึ่งก็ได้รับข้อคิดจากเพื่อนร่วมงานว่า เธอยังไม่ได้ทุ่มเทให้กับงานเพียงพอเลย จะมาโวยวายทำไม

ตรงนี้ถ้าเปลี่ยนความคิดนิดเดียว จะกลายเป็นการปฏิบัติธรรมที่เพอร์เฟ็คมาก นั่นก็คือ ให้เห็นความเป็นจริงว่า ร่างกาย หรือขันธ์ ๕ นี้ไม่ใช่เรา เขาไม่ได้ด่าเรา เขาด่าร่างกาย หรือขันธ์ ๕ ของเราต่างหาก ก็ร่างกายนี้มันทำได้แค่นี้ แม้ร่า่งกายมันจะติดต่อจนครบทุกสายการบินแล้ว มันก็ได้แค่นี้ ร่างกายของเรา มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นเงา เป็นสิ่งที่บีบคั้นให้ร่างกาย ทำตามกิเลส (ซึ่งก็คือความอยากจะได้รับคำชม หรือการยอมรับ จากเจ้านาย) และเขาก็เช่นกัน ถูกกิเลสบังคับอยู่เช่นกัน เพราะกิเลสของเขา เขาถึงมาด่าเรา(ซึ่งก็คือความอยากจะจับเครื่องบินในคืนนั้นให้ได้) หากจะโกรธให้ถูกตัว ก็ต้องโกรธไปที่กิเลสของเขา อ้าว...แล้วทีเราบ้างเล่า เราก็มีกิเลสเหมือนกัน ดังนั้น ถ้าโกรธที่เขามีกิเลส ก็เหมือนกับเราโกรธที่ตัวเองมีกิเลสนั่นละครับ พอเรามีกิเลส ทำอย่างเขาบ้าง ทำไมเราให้อภัยตัวเองได้ครับ ทำไมกับคนอื่นเราถึงไม่ให้อภัย คิดได้ดังนี้แล้ว เราจะไปใส่ใจทำไม เราเองนั้นคือ "จิต" ครับ เวลาตายแล้ว พวกคำด่า ทั้งหลาย ก็ไม่มีผลอะไรครับ ตัวตน ภาพพจน์ใด ๆ ตายแล้วก็เอาไปไม่ได้สักอย่างเดียว คิดได้อย่างนี้ เป็นวิปัสสนาเลยครับ ทำไปเรื่อย ๆ ก็จะพบกับความสุขที่แท้จริง

img33แต่ในภาพยนตร์พอนางเอกได้ข้อคิด(ว่ายังไม่ได้ทุ่มเทกับงานให้เพียงพอ)ก็จัดการไปเปลี่ยนตัวเอง และทุ่มเทให้กับงานยิ่งกว่าเดิม ซึ่งความจริงแล้ว กลายเป็นว่า ปัญญาที่จะเห็นโลกอย่างเป็นจริง ด้อยไปกว่าเดิม เป็นการก้าวข้ามจากตัวตนหนึ่ง ไปเป็นอีกตัวตนหนึ่ง ซึ่งก็ยังหนีไม่พ้น"ตัวตน" เสียที เห็นไหมครับว่า มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยาธรรมใด ๆ ล้วนมีใจเป็นใหญ่ มีใจประเสริฐสุด และสำเร็จที่ใจ เหตุการณ์เดียวกัน แต่คนมองกันไปคนละทาง ใจคิดกันไปคนละอย่าง ก็ส่งผลให้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ทางหนึ่งเรียกว่า การปฏิบัติธรรม อีกทางกลายเป็นไปหลงในโลกมากขึ้น ทุกข์มากขึ้น

หรือ คนที่เคยถูกข้าพเจ้าว่ากล่าวกระทบตัวตนอย่างรุนแรง ถ้าเขาอ่านพระธรรมขันธ์ที่ ๑ และ ๒ จนเข้าใจ และปฏิบัติให้ได้ คำกล่าวของข้าพเจ้า จะไม่มีค่าอะไรกับเขาเลยครับ เป็นเพียงลมผ่านมาแล้่วก็ผ่านไป ทั้งความสนใจในแนวทางการปฏิบัติของพระต่างประเทศที่เคร่งนัก เคร่งหนา ก็ไม่ได้สลักสำคัญ หรือดีเด่ไปกว่า พระที่นั่งปฏิบัติอยู่ในห้องแอร์เย็นฉ่ำ เพราะเนื้อแท้ของการปฏิบัติ คือ การเข้าถึงจุดที่ถอดถอนตัวตน หรือทำลายตัวตนทิ้งไป ซึ่งการปฏิบัติอย่างเข้มข้นนั้น บางส่วนก็มีผลให้รูป กับนาม แยกออกจากกัน เพื่อเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติ ซึ่งก็เป็นไปเพื่อให้รู้ว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา

กล่าวคือ การปฏิบัติอันยากเย็นเข้มข้น พอปฏิบัติไปถึงจุดหนึ่ง จักสามารถถอดจิตได้ พอถอดจิตได้ ก็ออกมานั่งดูตัวเรา ว่าไอ้ตัวที่มันกำลังหายใจอยู่นั่น มันใช่เราหรือไม่ แม้มันหยุดหายใจตายไปเสียตอนนี้ เรา หรือ "จิต"ก็ไม่ได้ตายไปกับร่างกายด้วย ประโยชน์ของมันอยู่ตรงนี้ครับ ไม่ใช่พยายามทรมานร่ายกายให้ถึงที่สุด แล้วจักเผาผลาญกิเลสหมดสิ้น พระพุทธเจ้าก็ทำมาตั้ง ๖ ปี ทำชนิดที่คนอื่นทำคงตายไปนานแล้ว แต่ก็ไม่ได้บรรลุมรรคผลอะไร

การปฏิบัติอันเคร่งครัดนั้น ดีไม่ดีก็ยังมีส่วนช่วยให้เราเกิด อัตตา เกิดตัวตน เกิดสักกายทิฏฐิอีกครับว่า โอ้เรานี้หนอ...ช่างเป็นผู้ประเสริฐ ปฏิบัติธรรมอันบุคคลอื่นปฏิบัติได้ยากยิ่ง โอ้โห...ถ้าความคิดตัวนี้โผล่ขึ้นมา พังเลยครับ หลวงพ่อสอนว่าเมื่อไหร่ที่คิดว่าตัวเองดี เมื่อนั้นก็เลวที่สุด ครับ เพราะเมื่อคิดว่าตัวเองดีปุ๊บ ความประมาทมันจะตามมาปั๊บเลยครับ เมื่อประมาทก็เตรียมตัวไปอบายภูมิได้เลยครับ ไม่มีที่อื่น พระพุทธเจ้าตรัสไว้เลยครับว่า ปมาโท มัจจุโน ปทัง แปลว่า ความประมาท เป็นหนทางแห่งความตาย

แต่ก็ไม่ใช่ว่า จะปฏิเสธไม่นิยมการปฏิบัติอันเคร่งครัดเข้มข้นนะครับ บนเส้นทางการปฏิบัตินี้ ครูบาอาจารย์บอกว่า ต้องยึดครับ ไม่ใช่เอาแต่จะวางมาแต่ต้น ถ้าคุณไม่ยึด คุณจะวางอะไรครับ จะมีอะไรให้วาง คำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ฟังแล้วต้องคิดให้ลึกซึ้งนะครับ บางท่านท่านแนะว่าให้วาง การปฏิบัติไม่มีอะไร ให้วางเพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่ครูบาอาจารย์ท่านก็เอาประสบการณ์การปฏิบัติของตัวเองเป็นบรรทัดฐานละครับ พอปฏิบัติจนถึงที่สุดแล้ว ก็ไม่เห็นมีอะไร มีแต่ "วาง" เพียงตัวเดียว แต่ทีนี้ก่อนที่ท่านจะวางได้อย่างนั้น ท่านก็ต้องยึดมาก่อนแหละครับ และการยึดนั้น ก็จะมีการสั่งสอนอบรมกันในสำนัก เช่น ยึดพระพุทธเจ้า ยึดพระธรรมวินัย ยึดพระอริยสงฆ์ หรือครูบาอาจารย์ที่เป็นพระอริยะ เป็นต้น

ส่วนที่เรามักได้ยินได้ฟังได้อ่านกัน เป็น "ผล" ของการปฏิบัติแล้วครับ ถ้าจะศึกษาให้ดี ต้องไปศึกษาปฏิปทาของท่านทั้งหลายครับ ไปดูว่าท่านมีวิธีปฏิบัติอย่างไร แล้วเอามาปรับให้เข้ากับตัวเรา ไม่ใช่ไปเอาปลายทาง ที่ท่านเอามาเทศน์ มาทำความเข้าใจ แล้วก็ยึดว่า ฉันเข้าใจแล้ว ฉันดีแล้ว บางคนยึดไปถึงขนาดที่ว่า ฉันบรรลุแล้ว อันนั้นยึดผิดไปครับ ไปยึดเอาผลของการปฏิบัติของคนอื่น ที่ให้ยึด คือ ยึดแนวทางการปฏิบัติครับ ไม่ใช่ไปยึดเอา "ผล" ที่ถ้าไม่ปฏิบัติ ก็ไม่มีวันเข้าใจ ไม่มีวันรู้ซึ้ง

อย่างตัวอย่างท่านตุจโฉโปฏฐิละเถระนี้ ก็เห็นได้ชัดครับว่า พระพุทธเจ้าได้ปล่อยให้ท่านยึดติดยึดมั่น สร้างตัวตนขึ้นมา ถ้าพระพุทธเจ้าสอนให้วางตั้งแต่ต้น ทำไมท่านไม่ไปสอนให้ท่านโปฏฐิละเถระ วางเสียตั้งแต่แรกล่ะครับ ปล่อยให้ท่านสร้างตัวตนอันเหนียวแน่นขึ้นมาทำไม ทำไมพระพุทธเจ้าถึงมาสอนเอาตอนท้ายสุด ก็นี่ไงครับ เราต้องยึดเสียก่อน แต่ให้รู้ว่า ปลายทาง เราจะต้องวาง อย่างที่ครูบาอาจารย์สอนไว้ละครับว่า ถ้าไม่ยึด แล้วคุณจะวางอะไร

วิธีทำลายสักกายทิฏฐิที่เข้าใจง่ายอีกประการหนึ่ง ท่านแนะให้ทำลายคำว่า "กว่า" หรือ "เสมอกัน" เสียครับ ตามปกติแล้ว คนเรามักจะรู้สึกเปรียบเทียบอยู่ตลอดเวลาครับ เดินเข้าออฟฟิส อุ๊ย...นี่เธอไปทำผมมา สวย "กว่า" ชั้น อุ๊ย...ยัยเลขา ดำ"กว่า"ชั้น เจ้านายไปชอบมันได้อย่างไร อุ๊ย...แผนกการเงิน โง่ "กว่า" ชั้น ทำไมเจ้านายไม่ไล่เธอออกไปเสียที ต้องนี่สิ...คนในแผนกฉัน เริ่ด "เสมอกัน" กับชั้น ท่านว่า การเปรียบเทียบนั้น เป็นการสร้าง สักกายทิฏฐิ ครับ เอ...แล้วจะทำลายอย่างไรดี ท่านแนะว่า ให้คิดเสียว่า เดี๋ยวก็สูญสลายหมดครับ เขาสวยกว่า ขาวกว่า อึ๋มกว่า เอ็กซ์กว่า เอ๊าะกว่า สุดท้ายก็ตายหมดครับ จะไปเปรียบเทียบกันทำไม หากทำลายการเปรียบเทียบนี้ได้ อรหัตตผล ครับ ที่คู่ควรกับท่าน แม้ยังทำไม่ถึง แต่ทำเรื่อย ๆ ชีวิตก็มีความสุขเพิ่มขึ้นครับ

ขอฝากถึงผู้ที่มี "ผู้มีพระคุณ" เป็นพระ ด้วยครับว่า เพียงการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ ต่อมนุษยชาติ เป็นคนดีของสังคม ไม่เพียงพอครับ เพราะสิ่งเหล่านั้น เป็นเพียงครรลอง เป็นเพีียงสะพาน เป็นเพียงทางเดิน เป็นเพียงคลอง ไปสู่พระนิพพานซึ่งเป็นปลายทางเท่านั้น หากผู้มีพระคุณของท่าน เป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ท่านย่อมไม่พอใจ แค่เห็นเราทำงานเพื่อประโยชน์สุขของชาวโลกเท่านั้น ท่านย่อมพอใจ ที่จะเห็นเราทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ โดยชอบ หรือ ถอดถอนตัวตนหมดสิ้น หรือ ทำใจให้เป็นประหนึ่งแผ่นดิน หรือ ถึงพระนิพพาน หรือ เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก หรือ เป็นที่พึ่งอันยอดเยี่ยม ให้แก่คนทั้งหลายในโลก มากกว่า เพียงการทำความดีเล็กน้อย แล้วก็คิดว่า เราเป็นคนดี ของสังคมและคิดว่านั่นเป็นการตอบแทน "ผู้มีพระคุณ" ที่ดีที่สุดแล้ว ครับ

เพราะพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ย่อมไม่เห็นอะไรดีเท่า พระนิพพาน ครับ หากจะแทนคุณท่าน ให้ดีที่สุด เลิศที่สุด ควรค่าที่สุด เหมาะสมที่สุด ต้องทำตัวเองให้ถึงพระนิพพานครับ เมื่อนั้นก็ไม่ต้องมาพร่ำเพ้อว่า ดิฉันเป็นหนี้บุญคุณท่านมากมายจนมิรู้จะชดใช้อย่างไรหมด เพราะท่านสามารถชดใช้หมดได้ ด้วยการทำตัวเองให้ถึงพระนิพพานครับ

ยกเว้นอย่างเดียวว่า พระรูปนั้นไม่ใช่พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก็อาจมีความเห็นเป็นอย่างอื่น

อุ๊ย...รู้สึกกาแฟธรรมะของข้าพเจ้าจะขมไปอีกแล้ว บางคนเขาก็ไม่กินกาแฟขม ๆ แฮะ ชอบกินแต่โกโก้ร้อน เพราะมันหวานหู แต่ระวังโกโก้ลวกปาก หรือเป็นโรคความดันทุเรียนสูง เพราะโบราณเขาว่า หวานเป็นลม ขมเป็นยา

ก่อนลาจากพระธรรมขันธ์ ที่ ๒ อันดุเดือดเลือดพล่าน ลองมาดูผ้าขี้ริ้วอีกผืนหนึ่งครับ ผ้าขี้ริ้วผืนนี้ ไม่ได้เป็นเสียงธรรมเช่นในพระธรรมขันธ์ที่ ๑ แต่แขวนอยู่บนต้นไม้ และเป็นอาจารย์ของพระรูปหนึ่งในสมัยพุทธกาลครับ

img14บาลีว่า ดังได้สดับมา บุรุษผู้เข็ญใจคนหนึ่ง ทำการรับจ้างของบรรดาประชาชนเหล่าอื่นเลี้ยงชีพ ภิกษุรูปหนึ่งเห็นเขานุ่งผ้าท่อนเก่า ๆ มันขาดแล้วขาดอีก แบกคันไถชื่อเป็นภาษาบาลีว่า “นังคละ”เดินมา เช้าแบกออก บ่ายแบกเข้า แบกกันอยู่อย่างนั้นแหละ ก็เป็นลูกจ้างเขานี่

พระจึงกล่าวว่า “นี่พ่อคุณ เธอจะบวชเสียไม่ได้หรือ ถ้าบวชเธอคิดว่าดีกว่านี้ หรือว่าไม่บวช รับจ้างเขาอยู่อย่างนี้เป็นของดี”
มนุษย์ผู้เข็ญใจคนนั้นฟังพระว่าก็ชื่นใจ จึงได้กล่าวว่า“พระคุณเจ้าขอรับ แล้วคนจนอย่างผมนี่ใครเขาจะให้ผมบวช ผมบวชได้หรือขอรับ”
พระองค์นั้นก็บอกว่า “ถ้าหากเธอจะบวช ฉันก็จะบวชให้”
มนุษย์ผู้เข็ญใจจึงกล่าวว่า “ดีแล้วขอรับ ถ้าอย่างนั้นก็จะบวช ขอพระคุณท่านโปรดให้กระผมบวชเถิดขอรับ”
ท่านกล่าวว่า ลำดับนั้นพระเถระนำเข้าไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร ให้อาบน้ำแล้วด้วยมือของตน พักไว้ที่โรง แล้วให้บวช
เป็นอันว่าสมัยนั้นเป็นพระให้บวชด้วย ติสรณคมนูปสัมปทาคือสมาทานไตรสรณคมน์ทั้งสามประการใช้ได้ ให้เขาเก็บไถพร้อมกับผ้าท่อนเก่าที่เขานุ่ง ให้เก็บไว้ที่กิ่งไม้ใกล้เขตแดนแห่งโรงนั้น
ในเวลาอุปสมบท เธอได้นามว่า “นังคลกูฏเถระ” แหม..ชื่อเพราะนะ เอาคันไถเข้าไปใส่ไว้ด้วย เป็นพระไถ อาตมาให้นามว่า“พระอรหันต์ผ้าขี้ริ้ว”
พระนังคลกูฏเถระนั้น อาศัยลาภสักการะที่เกิดขึ้นเพื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย อาศัยเลี้ยงชีพอยู่ หมายความว่า ในที่นั้นลาภสักการะมันจะเข้ามาได้ก็อาศัยความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
อย่างกับสถานที่ ที่พระอยู่เหมือนกัน จะสร้างสักกี่หลังพร้อม ๆ กัน ขึ้นคราวละ 10 หลัง 10 หลังเศษเป็นเงินนับเป็นล้าน ๆ เราก็ทำกันได้ นี่ไม่ใช่ความดีของเรา เป็นความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พวกเรานำมาประพฤติปฏิบัติ อย่านึกว่าเป็นความดีของเราเลย ถ้านึกว่าเป็นความดีของเรา ท่านก็จะไปอยู่กับพระเทวทัต
ที่เรามีที่กินที่อาศัย มีผ้าใช้มียารักษาโรค มีอาหารกิน มีเวลาประพฤติปฏิบัติ ได้สดับฟังความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน ก็เพราะว่าเป็นบุญบารมีของพระพุทธเจ้า
ที่เรากำลังนั่งกินนั่งนอนอยู่ในเวลานี้ ถ้าใครทำตนเป็นคนน่าบัดสี อกตัญญูไม่รู้คุณองค์สมเด็จพระมหามุนีนั้น เลวเต็มที
ท่านกล่าวว่า เมื่อเขาได้อาหารอยู่มาก มีลาภสักการะเกิดขึ้นแล้ว เพราะอาศัยความดีของพระพุทธเจ้า ต่อมาเมื่อไม่สามารถที่จะบรรเทาได้ ไอ้ความกระสันมันเกิดขึ้น ความกระสันความคึกมันเกิดขึ้น เพราะอาหารดี ลาภดีพอ ไม่สามารถจะทนความกระสันได้ ไม่สามารถจะบรรเทาได้ จึงตกลงใจว่า
บัดนี้ เราจะไม่ห่มผ้ากาสาวพัสตร์ต่อไปแน่ เพราะอะไร ก็เพราะว่าผ้ากาสาวพัสตร์ที่ได้มาจากศรัทธาของบุคคลอื่น เราจะไปละ จะสึกดีกว่า อย่าไปติดดีกว่า ได้มามันไม่แน่นัก อยู่ดีกินดี เขาก็คิดว่าจิตกำเริบทะนงตนว่าเป็นผู้วิเศษ หลงระเริงตนว่าเป็นผู้วิเศษ องค์นี้ตอนต้นนะ อย่าไปด่าท่านนะ ท่านเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่พวกเราก็จำไว้เชียวนะ ไอ้อยู่ดีกินดีอย่านึกว่าเป็นผู้วิเศษ “อัตตนา โจทยัตตานัง” จงเตือนตนด้วยตนเอง

อ่านเรื่องของท่านต่อไป

ท่านบอกว่าคิดอย่างนี้แล้วก็ไปโคนไม้ ไปดูผ้าผืนที่มันขาดรุ่งริ่ง ๆ เก่าแสนเก่า ดูผ้าสบงที่นุ่ง แหม...มันเท่กว่าตั้งเยอะ จึงได้ให้โอวาทแก่ตนเองว่า

“เจ้าผู้ไม่มีหิริ (ผู้ไม่มีหิริคือ ความไม่ละอาย)เจ้าหมดความละอายเสียแล้วหรือ เจ้าอยากจะนุ่งผ้าขี้ริ้วผืนนี้หรือ สึกไปทำการรับจ้างเลี้ยงชีพอย่างนี้หรือ เจ้าลืมความชั่วที่ตัวสะสมมาแล้ว ทำไมเจ้าจึงทำอย่างนี้”
เมื่อท่านให้โอวาทแก่ตนเองอยู่อย่างนี้นั่นแหละ จึงถึงความเป็นธรรมดา ในบาลีบอกจิตขึ้นถึงธรรมชาติเบา ไม่ใช่ธรรมดานะ ธรรมชาติเบาก็หมายถึง ความกระสัน แล้วท่านก็กลับ
โดยกาลล่วงไป 2-3 วัน ก็กระสันเข้ามาอีก “กระสัน” หมายถึง“อยากจะสึก” มันมีแรงนี่ กินดีอยู่ดี จึงสอนตนเองเหมือนอย่างนั้น
ตอนเย็นก็ย่องไปที่โคนไม้ ดูผ้าขาดผืนนั้นสอนตนเองว่า“ไอ้เจ้าเองที่จะมานุ่งผ้าขาดเป็นขี้ข้าเขาต่อไปอย่างนั้นหรือ”
สอนพอใจของท่านสบาย ท่านก็ตัดใจได้อีก ก็เลิกไม่สึกแล้ว กลับมาใหม่ ในเวลากระสันขึ้นมาเมื่อไรท่านก็ไปที่นั่น ให้โอวาทแก่ตนเองทำนองนั้นเสมอ
แต่ความจริงก่อนที่ท่านจะให้โอวาทแก่ตนเอง ท่านจะดูภาพพิจารณา ดูผ้าเก่าผืนนั้นที่เราทรงชีพอยู่ อาศัยผ้าผืนนี้นุ่งอยู่ทั้งปีทั้งเดือนทั้งวัน จะผลัดอาบน้ำก็ไม่มี เวลานี้มาบวชในพระพุทธศาสนา มีศักดิ์ศรีดี ใครเขาไปก็ลา มาเขาก็ไหว้เคารพนบนอบ เมื่อสมัยที่ตนเป็นฆราวาส มีแต่คนเขาโขกเขาสับเพราะความจน นี่อาศัยความจนของตนเอง คนเขาดูถูกดูแคลน วันนี้ เป็นคนใหญ่คนโต เป็นพระแล้ว ไม่ว่าใครเขามาก็ไหว้กัน เคารพนับถือ เอ็งจะทะนงตนไปทำไม ถ้าจะสึกไปก็กลายเป็นขี้ข้าของชาวบ้านเขาต่อไป
เจ้าอย่าสึกเลยไอ้หนู ว่าแล้วท่านก็กลับมา
ท่านกล่าวว่า ครั้งนั้นบรรดาภิกษุท้งหลาย เห็นท่านไปอยู่ที่นั้นเนือง ๆ จึงถามว่า
“ท่านนังคลกูฏเถระ เหตุใดท่านจึงไปที่นั่นบ่อย ๆ “
ท่านตอบว่า “ผมไปยังสำนักอาจารย์ขอรับ” ท่านกล่าวดังนี้แล้ว ต่อมาอีก2-3 วัน ท่านก็บรรลุอรหัตตผล
เห็นไหม...นี่เขาฟังอะไร แค่ไปดูผ้าเท่านั้น ก็ได้บรรลุอรหัตผล
บรรดาภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะทำการล้อเล่นกับท่าน จึงกล่าวว่า“ท่านนังคละ ท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ ทางที่เที่ยวไปของท่านเป็นปะหนึ่งหารอยไม่ได้ ชะรอยท่านจะยังไม่ได้ไปยังสำนักอาจารย์ของท่านกระมัง”

img01นี่พระล้อนะ ว่าทางที่เดินไปบ่อย ๆ เวลานี้ไม่มีรอยเดิน น่ากลัวจะลืมอาจารย์เสียแล้ว
ฝ่ายพระเถระจึงกล่าวว่า “ไม่ขอรับ เมื่อกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องยังมีอยู่ ผมได้ไปแล้ว แต่บัดนี้เครื่องเกี่ยวข้องไม่มีผมตัดเสียแล้วเพราะฉะนั้น ผมจึงไม่ต้องไปหาอาจารย์”
เอาละซิ อีตอนนี้ถ้าเป็นเวลานี้เป็นยังไง ก็โจทพระองค์นี้ว่าอวดอุตตริมนุสธรรมว่าเป็นพระอรหันต์<---อวดอุตตริมนุสธรรมนี้เป็นอาบัติหนัก ถ้าไม่มีจริง ต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระเลย ถ้ามีจริง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บรรดาพระภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ฟังคำนั้นแล้วก็เข้าใจว่า ภิกษุรูปนี้พูดไม่จริง พยากรณ์ตนเป็นพระอรหันต์ ดังนี้แล้ว จึงกราบทูลเรื่องความนั้นต่อองค์พระประทีปแก้ว โดนฟ้อง
องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย นังคละบุตรเราเตือนตนด้วยตนเองนั่นแหละ แล้วจึงถึงที่สุดแห่งกิจของบรรพชิต”

ดังนั้นแล้ว เมื่อจะทรงแสดงพระธรรม ได้ทรงภาษิตนี้ว่า

“เธอจงเตือนตนด้วยตนเอง พิจารณาดูตนของตนด้วยตน ตนนั่นแหละเป็นคติของตน

เพราะฉะนั้น เธอจงสงวนตน ให้เหมือนอย่างพ่อค้าม้า สงวนม้าตัวประเสริฐเช่นนั้น”

แหม...อ่านแล้วรู้สึกว่าหนักใจ ที่องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสอย่างนี้ แต่ว่าอ่านเรื่องของพระอรหันต์คันไถ ซึ่งมีอาจรย์เป็นผ้าขี้ริ้ว ท่านทั้งหลายมีความรู้สึกเป็นอย่างไร นี่คำเตือนของท่านองค์นั้นเป็นยังไง ท่านไปเจอะผ้าขี้ริ้วนี่ พวกพระก็นึกดู ว่าเราก่อนที่จะเข้ามาบวชหรือบรรพชาในพระพุทธศาสนา ศักดิ์ศรีอย่างนี้เคยมีแก่เราบ้างหรือเปล่า คนเสมอกันก็ดี คนแก่คนเฒ่าก็ดี เจอะหน้าเราเขาก็ยกมือไหว้ เมื่อสมัยเป็นฆราวาสเป็นอย่างนี้บ้างไหม
เวลานี้เรามีอย่างนี้เป็นปกติ สมัยเป็นฆราวาสเป็นอย่างนี้บ้างหรือเปล่า หาไม่ได้ซินะ ที่เขาไหว้น่ะ เขาไหว้ด้วยอะไร เขาไหว้เราเพราะเราทรงผ้ากาสาวพัสตร์ อันนี้เป็นธงชัยของพระอรหันต์ แต่ว่าเราบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนา ถ้าเป็นฆราวาสไม่มีใครเขาไหว้ ก็จงเตือนใจไว้เสมอ

“อัตตนา โจทยัตตานัง”
ว่านี่เราเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา พระสงฆ์มีอะไรบ้างที่จะต้องปฏิบัติ

soros1มาถึงตรงนี้ สงสัยชาว ปฏิบัติธรรม ทั้งหลาย ต้องรีบเข้าครัว ไปหาผ้าขี้ริ้วเก่า ๆ มานั่งดู นั่งพิจารณาเสียแล้ว เพราะ ๒ พระธรรมขันธ์มาแล้ว มีผ้าขี้ริ้วเป็นพระอาจารย์เสียทั้งคู่ เผื่อจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ผ้าขี้ริ้วกับเขาบ้าง ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่าลืมนะครับ ไม่ว่าผ้าขี้ริ้วที่นำมาพิจารณา จะเยิน จะเก่า สักแค่ไหน สิ่งสำคัญในการประหัตประหารตัวตน ก็คือ สติสัมปชัญญะ ซึ่งได้เขียนวิธีปฏิบัติไว้แล้วใน How to ทำอย่างไรให้ถึงนิพพาน พระธรรมขันธ์ที่ ๑ (ในเอ็นทรี่นี้ ก็อยู่ตรงคำสอนของหลวงพ่อชา สุภัทโท) หากไร้ซึ่ง สติสัมปชัญญะ เสียแล้ว จะรู้ได้อย่างไรว่า ตัวตน หรือ อัตตา หรือ สักกายทิฏฐิ แหยมหน้า โผล่มาตอนไหน จะละมันได้อย่างไร การอ่าน ก็เพียงทราบ เพียงเข้าใจละครับว่า ตัวตน หรือ อัตตา หรือ สักกายทิฏฐิ หน้าตาเป็นอย่างไร แต่พอถึงตอนปฏิบัติ ต้องมีสติสัมปชัญญะที่ไวพอ จึงจะทราบว่า ตัวตน โผล่ขึ้นมาตอนไหน

ขอให้ทุกท่านที่มีความเพียร อ่านลงมาจนถึงบรรทัดนี้ โชคดีในการปฏิบัติ บรรลุอรหัตตผล เป็นพระอริยบุคคลกันในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเทอญ ฯ

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้ ฯ

ปล.แม้การศึกษาความตาย ขั้นตอนการตาย อย่างละเอียด ทั้ง ๔ บาร์โด ก็ไม่ใคร่มีประโยชน์เท่าไหร่ครับ คิริมานนทสูตรแสดงไว้ชัดเจนครับว่า หากจะถึงนิพพาน ก็ควรทำให้ถึง ตั้งแต่มีชีวิตอยู่ หากต้องการความสุข ในสวรรค์หรือความสุขใด ๆ ก็ควรขวนขวายทำเสียให้ได้ ตั้งแต่มีชีวิตอยู่

อย่าไปหวังลม ๆ แล้ง ๆ ว่า จะมีการบรรลุธรรม ฟอกจิตให้บริสุทธิ์ในขณะที่เราตายไปแล้วครับ มันประมาทเกินไป(แม้ว่าอาจจะมีจริง ๆ ก็เถอะ)

บุคคลผู้มีปัญญาย่อมเปรียบเทียบได้ครับว่า การประหัตประหาร ถอดถอนตัวตน กับการทรมานร่างกายตน นั่งสมาธิเป็นปี ๆ อย่างไหนยากกว่ากัน ฉลาดกว่ากัน เพราะแม้เราทราบว่า ตัวตนเป็นสิ่งที่ต้องทำลาย ต้องละ จะด่าตัวเอง จะกล่าวโทษตัวเอง จะเห็นว่าตัวเองเลวสักเท่าไหร่ ก็จะมีตัวตนที่ละเอียดกว่าเดิม เกิดขึ้นเสมอครับ อย่างที่ข้าพเจ้าเคยประสบมา เดินจงกรมอยู่ แล้วคิดเรื่องไม่ดี ก็คิดว่า จักออกไปประจานตัว ต่อหน้าคนอื่น ในวันรุ่งขึ้น ตอนแรกก็อาย พออายปุ๊บ ก็รู้ว่า นี่คือ สักกายทิฏฐิ ก็ทำลายความอาย ทิ้งเสีย ตัวตนอีกตัวตนหนึ่ง จะโผล่ขึ้นมาแล้วคิดว่า เห็นไหม...ฉันทำลายความอายได้เสียแล้ว แล้วก็รู้ตัวขึ้นมาอีกครับว่า ตัวตนอีกตัวตนหนึ่ง ที่คิดว่า ตนทำลายความอายลงได้แล้ว โผล่ขึ้นมาอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยไปครับ สรุปก็คุยกับตัวเองทั้งคืน นี่ละครับ จะถอดถอนตัวตน ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ไปทรมานร่างกาย ยังง่ายกว่าเยอะ

บางส่วนของ คิริมานนทสูตร

การรู้จักนรก สวรรค์ แลพระนิพพาน ควรรู้ในเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่

อานันทะ ดูก่อนอานนท์ เมื่ออยากรู้จักนรก สวรรค์ แลพระนิพพาน ก็ควรให้รู้เสียในเวลาก่อน ที่ยังมีชีวิตอยู่ เมื่ออยากพ้นทุกข์ในนรก ก็รีบออกให้พ้นเสีย แต่เมื่อยังไม่ตาย อย่าเข้าใจว่าเมื่อมีชีวิตอยู่ สุขอย่างหนึ่ง เมื่อตายไปแล้ว มีสุขอีกอย่างหนึ่ง เช่นนี้เป็นความที่เข้าใจผิดโดยแท้ เพราะจิตมีดวงเดียว เมื่อมีชีวิตอยู่ก็จิตดวงนี้ เมื่อตายไปแล้วก็จิตดวงนี้ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ได้รับทุกข์ฉันใด แม้เมื่อตายไปแล้ว ก็ได้รับทุกข์ฉันนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่มีความสุขฉันใด แม้เมื่อตายไปแล้ว ก็ได้รับความสุขฉันนั้น (เรื่องราวของคนที่ตายแล้วฟื้น จะพูดเหมือนๆ กันว่า ไม่รู้ตัวว่าตัวเอง ตายไปแล้ว ความรู้สึกมันก็เหมือนกับ ตอนมีชีวิตอยู่ ฉะนั้นจะไปจินตนาการว่า ความสุขในสวรรค์นั้น เป็นแดนเกษม แตกต่างจากชีวิตมนุษย์ โดยสิ้นเชิงนั้น เป็นความเข้าใจผิด สุขมันสุขเพราะ ไม่มีร่างกายเท่านั้น ไม่มีร้อน ไม่มีหนาว ไม่มีเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีแก่ชรา ไม่มีหิว และความเป็นทิพย์ แต่ตัวความสุขแท้ๆนั้น แทบไม่ต่างกัน ลองสังเกตุดู เวลาที่เราได้ทำบุญอะไร ที่ถูกใจมากๆ เช่นบางคนชอบเด็ก ได้ไปเลี้ยงอาหารเด็กกำพร้า แล้วเกิดปีติ ลองดูใจของเรา ที่เป็นสุขในเวลานั้น ตายไปแล้ว ความสุขก็เป็นทำนองนั้น เหมือนกัน ฉะนั้นแล้วใครที่จมอยู่ในกองบาป ละเมิดศีลอยู่เป็นนิจ เมื่อตื่นนอนตอนเช้า ยังไม่ได้ทำการงานอะไรเลย ลองสังเกตุใจตัวเองดู ตื่นมาก็เศร้าหมองหดหู่เอง โดยไม่ต้องมีอะไรกระทบ นี่ก็อาจอนุมานได้ว่า คนคนนั้นจมอยู่ในนรก ตั้งแต่ยังมีชีวิต ครั้นเมื่อไปทำบุญ ทำทานรักษาศีลเหลาะๆ แหละๆ แค่ไม่กี่วัน นั่งสมาธิไม่กี่ชั่วโมง ไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง ก็เหมาว่าการปฏิบัติไม่มีผล ยังทุกข์อยู่เหมือนเดิม ก็แสดงว่าเขา ยังไม่สามารถหลุดขึ้นมา จากนรกได้ หรือมีแนวโน้มจะตกนรกสูงนั่นเอง)

บุคคลที่ปรารถนาพ้นทุกข์ ได้สุขหรือพระนิพพาน ควรให้ได้เมื่อยังมีชีวิตอยู่

อานันทะ ดูก่อนอานนท์ บุคคลทั้งหลายปรารถนาอยากพ้นทุกข์ หรือปรารถนาอยากได้สุขประเภทใด ก็ควรให้ได้ถึงเสียแต่ในชาตินี้ ถ้าถือเอาภายหน้าเป็นประมาณแล้ว ชื่อว่าเป็นคนหลงทั้งสิ้น แม้ความสุขอย่างสูง คือพระนิพพาน ผู้ปรารถนา ก็พึงรีบขวนขวายให้ได้ให้ถึงเสีย แต่เมื่อเป็นคนมีชีวิตอยู่นี้ อานันทะ ดูก่อนอานนท์ อันว่าความสุขในพระนิพพานนั้นมี ๒ ประเภท คือ ดิบ ๑ สุก ๑ ได้ความว่า เมื่อยังเป็นคนมีชีวิตอยู่ ได้เสวยสุขในพระนิพพานนั้น ได้ชื่อว่าพระนิพพานดิบ เมื่อตายไปแล้ว ได้เสวยสุขในพระนิพพานนั้น ได้ชื่อว่าพระนิพพานสุก พระนิพพานมี ๒ ประการเท่านี้ นิพพานโลกีย์ นิพพานพรหม เป็นนิพพานหลง ไม่นับเข้าไปในที่นี้ พระนิพพานดิบนั้น เป็นของสำคัญ ควรให้รู้ ให้เห็น ให้ได้ ให้ถึง เสียก่อนตาย ถ้าไม่ได้พระนิพพานดิบนี้แล้ว ตายไปจักได้พระนิพพานสุกนั้น ไม่มีเลย ยิ่งไม่รู้ไม่เข้าใจก็ยิ่งไม่มีทางได้ แต่รู้แล้ว เห็นแล้ว พยายามจะให้ได้ ให้ถึงก็แสนยาก แสนลำบากยิ่งนักหนา ผู้ใดเห็นว่าพระนิพพาน มีอย่างเดียว ตายแล้วจึงจะได้ ผู้นั้นชื่อว่าคนหลง

ปล.๒ ของแถม ทางสายกลาง ของหลวงพ่อชา สุภัทโท

จบจริงแล้วจ้า ฯ

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013