ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

13 ธันวาคม 2553

บทสวดและคำแปล พระปุคคะละบัญญัติ

DSC08302 

พระปุคคะละปัญญัติ

        ฉะ  ปัญญัตติโย  ขันธปัญญัติ  อายะตะนะปัญญัตติ  ธาตุ-
ปัญญัตติ  สัจจะปัญญัติ  อินทริยะปัญญัติ  ปุคคะละปัญญัติ ฯ
กิตตาวะตา  ปุคคะลานัง  ปุคคะละปัญญัติ  ฯ  สะมะยะวิมุตโต
อะสะมะยะวิมุตโต  กุปปะธัมโม  อะกุปปะธัมโม  ปะริหานะธัมโม
อะปะริหานะธัมโม เจตะนาภัพโพ  อะนุรักขะนาภัพโพ  ปุถุชชะโน
โคตระภู  ภะยูปะระโต  อะภะยูปะระโต  ภัพพาคะมะโน  อะภัพ-
พาคะมะโน นิยะโต  อะนิยะโต  ปะฏิปันนะโก  ผะเลฏฐิโต  อะระหา
อะระหัตตายะ  ปะฏิปันโน ฯ

คำแปล พระปุคคะละบัญญัติ

  บัญญัติ คือการแสดงประกาศแต่งตั้ง ๖ ประการ  คือ บัญญัติว่าขันธ์ บัญญัติว่าอายตะ บัญญัติว่าธาตุ  บัญญัติว่าสัจจะ  บัญญัติว่าอิทรีย์ บัญญัติว่าบุคคล  บัญญัติว่าเป็นบุคคล ด้วยข้อกำหนดอย่งไร

         บุคคลผุ้พ้นชั่วคราว  บุคคลผู้พ้นตลอดกาล  บุคคลผู้มีธรรมยังกำเริบ  คือผู้ได้รูปสมาบัติหรืออรูปสมาบัติ  ยังไม่คล่องแคล่ว  มีโอกาสเสื่อมได้  บคคลผู้มีธรรมอันไม่กำเริบได้ คือ ผู้ได้รูปสมาบัติ  หรืออรูปสมาบัติคล่องแคล่ว  ไม่เสื่อมจากสมาบัตินั้น  บุคคลผู้มีธรรมยังเสื่อมได้  บุคคลผู้ไม่มีธรรมเสื่อมได้  บุคคลผู้ไม่ควรเสื่อม ทั้งนี้เพราะมีคุณธรรมคือเจตนา  บุคคลผู้ควรเสื่อม ทั้งนี้  เพราะมีคุณธรรมคือการอยู่รักษา  เพื่อถึงความไม่เสื่อม ด้วยคอยรักษาไว้

         บุคคลผู้เป็นปุถุชน  มีกิเลสหนาแน่น  บุคคลผู้ถึงญาณครอบโคตร (โคตรภูญาณ) คือผู้ประกอบด้วยธรรม  ก่อนก้าวสู่อริยธรรม อยู่ในภาวะกึ่งกลางระหว่างปุถุชนและอริยชน  บุคคลผู้งดเว้นเพราะความกลัว  คือพระเสขบุคคล  ๗ และปุถุชนผู้มีศีล  บุคคลผู้งดเว้นเพราะความไม่กลัว  ได้แก่พระอรหันต์

        บุคคลผู้ควรเพื่อมาแน่แท้ในกุศลธรรมทั้งหลาย  บุคคลผู้ไม่ควรเพื่อมาแน่ในกุศลธรรมทั้งหลาย บุคคลผู้เที่ยงแน่แท้  บุคคลผู้ไม่เที่ยงแน่แท้  บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว  บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล  บคคลผู้เป็นพระอรหันต์  บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013