ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

11 ธันวาคม 2553

บทสวดและคำแปล อาทิตตะปะริยายะสุตตัง

DSC08302_thumb[5] 

อาทิตตะปะริยายะสุตตัง

เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา คะยายัง วิหะระติ
คะยาสีเส สัทธิง ภิกขุสะหัสเสนะ ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ฯ
สัพพัง ภิกขะเว อาทิตตัง ฯ กิญจะ ภิกขะเว สัพพัง อาทิตตัง ฯ
จักขุง ภิกขะเว อาทิตตัง รูปา อาทิตตา จักขุวิญญาณัง อาทิตตัง
จักขุสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ
เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง ฯ
เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง
ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ
อุปายาเสหิ อาทิตตันติ ฯ วะทามิ ฯ
โสตัง อาทิตตัง สัททา อาทิตตา โสตะวิญญาณัง อาทิตตัง
โสตะสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ
เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ
อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา
ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ
อาทิตตันติ วะทามิ ฯ
ฆานัง อาทิตตัง คันธา อาทิตตา ฆานะวิญญาณัง อาทิตตัง
ฆานะสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ
เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง ฯ
เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัส -
เสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ
ชิวหา อาทิตตา ระสา อาทิตตา ชิวหาวิญญาณัง อาทิตตัง ชิวหา-
สัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ
เวทะยิตัง สุขัง ฯ วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง ฯ
เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา
อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ
กาโย อาทิตโต โผฏฐัพพา อาทิตตา กายะวิญญาณัง
อาทิตตัง กายะสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา
อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา
ตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา
โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ
โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ
มะโน อาทิตโต ธัมมา อาทิตตา มะโนวิญญาณัง อาทิตตัง
มะโนสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชะติ
เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง ฯ
เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง
ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ
อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ
เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุตวา อะริยะสาวะโก
จักขุสมิงปิ นิพพินทะติ รูเปสุปิ นิพพินทะติ จักขุวิญญาเณปิ
นิพพินทะติ จักขุสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา
อุปปัชชนะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัสมิงปิ
นิพพินทะติ ฯ
โสตัสมิงปิ นิพพินทะติ สัทเทสุปิ นิพพินทะติ โสตะวิญญาเณปิ
นิพพินทะติ โสตะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะ-
ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ
ฆานัสมิงปิ นิพพินทะติ คันเธสุปิ นิพพินทะติ ฆานะวิญญาเณปิ
นิพพินทะติ ฆานะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะ-
ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ
ชิวหายะปิ นิพพินทะติ ระเสสุปิ นิพพินทะติ ฯ ชิวหาวิญญาเณปิ
นิพพินทะติ ชิวหาสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะ-
ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ
กายัสมิงปิ นิพพินทะติ โผฏฐัพเพสุปิ นิพพินทะติ กายะวิญญา-
เณปิ นิพพินทะติ กายะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะ-
ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง
วา ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ
มะนัสมิงปิ นิพพินทะติ ธัมเมสุปิ นิพพินทะติ มะโนวิญญาเณปิ
นิพพินทะติ มะโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะ-
ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา
ตัสมิงปิ นิพพินทะติ ฯ
นิพพินทัง วิรัชชะติ ฯ วิราคา วิมุจจะติ ฯ วิมุตตัสมิง วิมุตตะมีติ
ญาณัง โหติ ขีณา ชาติ วุสิตา พรัหมะจะริยัง กะตัง กะระณียัง
นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ ฯ
อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต
ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ
อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน ตัสสะ
ภิกขุสะหัสสัสสะ อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ ฯ

 

          บทเริ่มอาทิตตปริยายสูตร

พระพุทธไถงพระบารมีแล้วโดยประการทั้งปวง  ในอุบายฝึกเวไนยสัตว์  มีพระวาจาไม่เปล่าจากประโยชน์  ทรงพร่ำสอนเพื่อความตรัสรู้ยิ่ง  และทรงแนะนำหมู่สัตว์  โดยธรรมตามสมควรแก่อุปนิสัยที่เคยประพฤติมา  ทรงแสดงอาทิคตะปริยายอันใดเป็นเครื่องนำใจ  ของพวกพระโยคีผู้จะตรัสรู้  ซึ่งเป็นชฏิลเคยบำเรอไฟ  ได้ทรงยังพระโยคีผู้สดับเหล่านั้นให้พ้นแล้ว  ด้วยอเสกขวิมุตติเราทั้งหลาย  จงสวดอาทิตตปริยายสูตรนั้น  เป็นอุบายเครื่องกำหนดความทุกข์เพื่อวิญญูชนทั้งหลาย ผู้ปรารถนาเพื่อจะฟัง โดยความใคร่ครวญอย่างนั้นเทอญ

คำแปล อาทิตตะปะริยายะสุตตัง

              อันข้าพเจ้า  (คือพระอานนทเถระ)ได้สดับมาแล้วอย่างนี้  สมัยหนึ่งพระผูมีภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ที่คยาสีสะ  ใหก้แม่น้ำคยา  กับด้วยพระภิกษุพันหนึ่ง  ในกาลนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระภิกษุทั้งหลาย (ให้ตั้งใจฟังภาษิตนี้)ว่า

             ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  จักษุ(คือนัยน์ตา)  เป็นของร้อน รูปทั้งหลายเป็นของร้อน  วิญญาณอาศัยจักษุเป็นของร้อน  สัมผัสอาศัยจักษุเป็นของร้อน  ความรู้สึกอารมณ์นี้เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย  แม้อันใดเป็นสุขก็ดี  ทุกข์ก็ดี  ไม่ใช่สุขก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ก็ดี  แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน  ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟคือราคะ  เพราะไฟคือโทสะ  เพราะไฟคือโมหะ  ร้อนเพราะความเกิด  เพราะความแก่และความตาย  เพราะความโศก เพราะความร่ำไรรำพัน  เพราะความทุกข์  เพราะความเสียใจ  เพราะความคับแค้นใจ  เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน

                โสตะ(คือหู)  เป็นของร้อน เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน  วิญญาณอาศัยโสตะเป็นของร้อน  สัมผัสอาศัยโสตะเป็นของร้อน  ความรู้สึกอารมณ์นี้เกิดขึ้นเพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย  แม้อันใดเป็นสุขก็ดี  ทุกข์ก็ดี  ไม่ใช่สุขก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ก็ดี  แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน  ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟคือราคะ  เพราะไฟคือโทสะ  เพราะไฟคือโมหะ  ร้อนเพราะความเกิด  เพราะความแก่และความตาย  เพราะความโศก เพราะความร่ำไรรำพัน  เพราะความทุกข์  เพราะความเสียใจ  เพราะความคับแค้นใจ  เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน

                ฆานะ (คือจมูก)  เป็นของร้อน กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน  วิญญาณอาศัยฆานะเป็นของร้อน  สัมผัสอาศัยฆานะเป็นของร้อน  ความรู้สึกอารมณ์นี้เกิดขึ้นเพราะฆานะสัมผัสเป็นปัจจัย  แม้อันใดเป็นสุขก็ดี  ทุกข์ก็ดี  ไม่ใช่สุขก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ก็ดี  แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน  ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟคือราคะ  เพราะไฟคือโทสะ  เพราะไฟคือโมหะ  ร้อนเพราะความเกิด  เพราะความแก่และความตาย  เพราะความโศก เพราะความร่ำไรรำพัน  เพราะความทุกข์  เพราะความเสียใจ  เพราะความคับแค้นใจ  เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน

               ชิวหา(คือลิ้น)  เป็นของร้อน รสทั้งหลายเป็นของร้อน  วิญญาณอาศัยชิวหาเป็นของร้อน  สัมผัสอาศัยชิวหาเป็นของร้อน  ความรู้สึกอารมณ์นี้เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย  แม้อันใดเป็นสุขก็ดี  ทุกข์ก็ดี  ไม่ใช่สุขก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ก็ดี  แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน  ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟคือราคะ  เพราะไฟคือโทสะ  เพราะไฟคือโมหะ  ร้อนเพราะความเกิด  เพราะความแก่และความตาย  เพราะความโศก เพราะความร่ำไรรำพัน  เพราะความทุกข์  เพราะความเสียใจ  เพราะความคับแค้นใจ  เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน

               กาย เป็นของร้อน โผฏฐัพพะ(คือสิ่งที่ถูกต้องร่างกาย)  เป็นของร้อน  วิญญาณอาศัยกายเป็นของร้อน  สัมผัสอาศัยกายเป็นของร้อน  ความรู้สึกอารมณ์นี้เกิดขึ้นเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย  แม้อันใดเป็นสุขก็ดี  ทุกข์ก็ดี  ไม่ใช่สุขก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ก็ดี  แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน  ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟคือราคะ  เพราะไฟคือโทสะ  เพราะไฟคือโมหะ  ร้อนเพราะความเกิด  เพราะความแก่และความตาย  เพราะความโศก เพราะความร่ำไรรำพัน  เพราะความทุกข์  เพราะความเสียใจ  เพราะความคับแค้นใจ  เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน

             มนะ(คือใจ)  เป็นของร้อน ธรรมทั้งหลาย(คืออารมณ์ที่เกิดแก่ใจ) เป็นของร้อน  วิญญาณอาศัยมนะเป็นของร้อน  สัมผัสอาศัยมนะเป็นของร้อน  ความรู้สึกอารมณ์นี้เกิดขึ้นเพราะมนะสัมผัสเป็นปัจจัย  แม้อันใดเป็นสุขก็ดี  ทุกข์ก็ดี  ไม่ใช่สุขก็ดี ไม่ใช่ทุกข์ก็ดี  แม้อันนั้นก็เป็นของร้อน  ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟคือราคะ  เพราะไฟคือโทสะ  เพราะไฟคือโมหะ  ร้อนเพราะความเกิด  เพราะความแก่และความตาย  เพราะความโศก เพราะความร่ำไรรำพัน  เพราะความทุกข์  เพราะความเสียใจ  เพราะความคับแค้นใจ  เราจึงกล่าวว่าเป็นของร้อน

              ดูก่อนภิกษทั้งหลาย  อริยสาวกผู้ได้สดับมาแล้วเห็นอยู่อย่างนี้  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูปทั้งหลาย  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณอาศัยจักษุ  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัมผัส อาศัยจักษุ  ความรู้สึกอารมณ์นี้เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้อันใด เป็นสุขก็ดี  เป้นทุกข์ก็ดี  ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในความรู้สึกนั้น

              ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโสตะ  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในเสียงทั้งหลาย  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณอาศัยโสตะ  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัมผัส อาศัยโสตะ  ความรู้สึกอารมณ์นี้เกิดเพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย แม้อันใด เป็นสุขก็ดี  เป้นทุกข์ก็ดี  ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในความรู้สึกนั้น

              ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกลิ่นทั้งหลาย  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณอาศัยฆานะ  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัมผัส อาศัยฆานะ  ความรู้สึกอารมณ์นี้เกิดเพราะฆานะสัมผัสเป็นปัจจัย แม้อันใด เป็นสุขก็ดี  เป้นทุกข์ก็ดี  ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในความรู้สึกนั้น

               ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในชิวหา  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรสทั้งหลาย  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณอาศัยชิวหา  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัมผัส อาศัยชิวหา  ความรู้สึกอารมณ์นี้เกิดเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย แม้อันใด เป็นสุขก็ดี  เป้นทุกข์ก็ดี  ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในความรู้สึกนั้น

              ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในกาย  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในโผฏฐัพพะทั้งหลาย  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณอาศัยกาย  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัมผัส อาศัยกาย  ความรู้สึกอารมณ์นี้เกิดเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย แม้อันใด เป็นสุขก็ดี  เป้นทุกข์ก็ดี  ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในความรู้สึกนั้น

                ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในมนะ  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในธรรมทั้งหลาย  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในวิญญาณอาศัยมนะ  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในสัมผัส อาศัยมนะ  ความรู้สึกอารมณ์นี้เกิดเพราะมนะสัมผัสเป็นปัจจัย แม้อันใด เป็นสุขก็ดี  เป้นทุกข์ก็ดี  ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขก็ดี  ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในความรู้สึกนั้น

              เมื่อเบื่อหน่าย  ย่อมคลายติด  เพราะคลายติดจิตก็พ้น  เมื่อจิตพ้นก็มีญาณรู้ว่าพ้นแล้ว  อริยสาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว  พรหมณ์จรรย์ได้อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว  กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี  พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสธรรมปริยายอันนี้แล้ว  พระภิกษุเหล่านั้นก็มีใจยินดี  เพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ก็แลเมื่อเวยยากรณ์อันนี้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่  จิตของพระภิกษุพันรูปนั้นก็พ้นจากอาสวะทั้งหลาย  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานแล

ดพุทธบูชา บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร ~ สวดมนต์วัดพุทธบูชา

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013