พระมะหาปัฏฐาน
เหตุปัจจะโย อารัมมะณะปัจจะโย อะธิปะติปัจจะโย อะนัน-
ตะระปัจจะโย สะมะนันตะระปัจจะโย สะหะชาตะปัจจะโย อัญญะมัญ-
ญะปัจจะโย นิสสะยะปัจจะโย อุปะนิสสะยะปัจจะโย ปุเรชาตะปัจจะโย
ปัจฉาชาตะปัจจะโย อาเสวะนะปัจจะโย กัมมะปัจจะโย วิปากะปัจจะโย
อาหาระปัจจะโย อินทริยะปัจจะโย ฌานะปัจจะโย มัคคะปัจจะโย
สัมปะยุตตะปัจจะโย วิปปะยุตตะปัจจะโย อัตถิปัจจะโย นัตถิปัจจะโย
วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย ฯ
คำแปล มหาปัฏฐาน
เหตุปัจจัย อารมณ์เป็นปัจจัย อธิบดีธรรมเป็นปัจจัย ธรรมที่เกิดเป็นลำดับไม่มีระหว่างคั่นเป็นปัจจัย ธรรมที่เกิดเป็นลำดับสืบต่อกันเรื่อยไป ไม่มีธรรมอื่นคั่นระหว่างเลย ทีเดียวเป็นปัจจัย ธรรมที่เกิดร่วมกันเป้นปัจจัย ธรรมแต่ละอย่างต่างต้องอาศัยกันและกันเป็นปัจจัย
ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นที่อาศัย ธรรมเป็นปัจจัยโดยเป็นอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า ธรรมที่เกิดก่อนเป็นปัจจัย ธรรมที่เกิดภายหลังเป็นปัจจัย ธรรมที่ทำหน้าที่เสพอารมณ์บ่อยๆ เป็นปัจจัย กรรมคือ เจตนาความจงใจเป็นปัจจัยปรุงแต่งจัดแจงจิต วิบากคือธรรมเป็นผลของกุศล และอกุศลเป็นปัจจัย อาหารเป็นปัจจัย อินทรีย์เป็นปัจจัย ฌานเป็นปัจจัย มรรคเป็นปัจจัย ธรรมที่สัมปยุตกันเป็นปัจจัย ธรรมที่วิปยุตกันเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอยู่เป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่มีเป็นปัจจัย ธรรมที่ปราศจากไปเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่ปราศจากไปเป็นปัจจัย
0 comments :
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น