ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

23 ตุลาคม 2553

ประวัติพระกัมมัฎฐานสายหลวงปู่มั่น ภริทัตโต

 

๔  พระธาตุ

หลังองค์หลวงปู่มั่นลาขันธ์เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ จึงได้มี การจัดถวายพระเพลิงศพหลวงปู่ ณ วัดป่าสุทธาวาส  จ.สกลนครในวันอังคารที่ ๓๑  มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เมื่อถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว อัฐิขององค์หลวงปู่ได้ถูกแบ่งแจกไปตามจังหวัดต่างๆ และประชาชนได้เถ้าอังคารไป

คลิกที่นี่ เพื่อชมประมวลภาพงานถวายเพลิงศพหลวงปู่มั่น

งานถวายพระเพลิงศพองค์หลวงปู่มั่น  ภูริทัตตมหาเถร  ณ  วัดป่าสุทธาวาส  จ.สกลนคร
วันอังคารที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ ( ขึ้น ๑๓ ค่ำ  เดือน ๓ ปีขาล )

        ต่อมาปรากฏว่าอัฐิธาตุขององค์หลวงปู่ที่แจกจ่ายไปยังที่ต่างๆ  ก็กลายเป็น พระธาตุไปหมด แม้แต่เส้นผมของท่านที่มีผู้เก็บไปบูชาในที่ต่างๆ ก็กลายเป็นพระธาตุ ได้เช่นเดียวกับอัฐิของท่าน

            ปัญหาเรื่องอัฐิหลวงปู่มั่นกลายเป็นพระธาตุนี้ พระธรรมวิสุทธิมงคลหรือหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี  ศิษย์ขององค์หลวงปู่ รูปหนึ่งได้อธิบายไว้ว่า

บุษบก

พระธาตุหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าสาลวัน

พระบุษบกที่บรรจุพระธาตุหลวงปู่มั่น
ณ  วัดป่าสาละวัน  อ.เมือง  นครราชสีมา

พระธาตุหลวงปู่มั่น
ประดิษฐาน  ณ  วัดป่าสาละวัน

           "อัฐิพระอรหันต์ก็ดี ของสามัญชนก็ดี ต่างก็เป็นธาตุดินเช่นเดียวกันการที่อัฐิกลายเป็นพระธาตุได้นั้น  ขึ้นอยู่กับใจหรือจิตเป็นสำคัญ อำนาจจิตของพระอรหันต์ท่านเป็นอริยจิตเป็นจิตที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสเครื่องโสมมต่างๆอำนาจซักฟอกธาตุขันธ์ให้เป็นธาตุบริสุทธิ์ไปตามส่วนของตน อัฐิจึงกลายเป็นพระธาตุไปได้ แต่อัฐิหรือกระดูกสามัญชนทั่วไป  แม้จะเป็นธาตุดินเช่นเดียวกัน  แต่จิตสามัญชนทั่วไปเต็มไปด้วยกิเลส      จิตไม่มีอำนาจและคุณภาพที่จะซักฟอกธาตุขันธ์ของตนให้บริสุทธิ์ได้

พระธาตุปู่มั่น

พระธาตุ
ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร

           อัฐิจึงจำต้องเป็นสามัญธาตุไปตามวิสัยจิตของคนมีกิเลส  จะเรียกไปตามภูมิของจิตภูมิของธาตุว่า อริยจิต  อริยธาตุ และสามัญจิต  สามัญธาตุก็คงไม่ผิดเพราะคุณสมบัติของจิตของธาตุระหว่างพระอรหันต์กับสามัญชนย่อมแตกต่างกันอย่างแน่นอน  ดังนั้นอัฐิจึงจำเป็นต้องต่างกันอยู่ดี

              ผู้สำเร็จอรหันต์ทุกองค์เวลานิพพาน  อัฐิต้องกลายเป็นพระธาตุด้วยกันหมดทั้งสิ้นหรือเปล่านั้นข้อนี้ยังเป็นเรื่องน่าสงสัยไม่แน่ใจว่าจะเป็นไปได้อย่างนั้นทุกๆ องค์  เพราะว่าระหว่างกาลเวลาที่บรรจุอรหันต์จนถึงวันนิพพานนั้นพระอรหันต์แต่ละองค์มีเวลาสั้นยาว
แตกต่างกันพระอรหันต์ที่บรรลุธรรมวิเศษแล้วมีเวลาทรงขันธ์อยู่นานปีเวลานิพพานนาน  ถึงอัฐิย่อมมีทางกลายเป็นพระธาตุได้โดยไม่มีปัญหาเพราะระยะเวลาที่ทรงขันธ์อยู่นาน

พิพิธภัณฑ์บริขานหลวงปู่มั่น
ณ  วัดป่าสุทธาวาส  อ.เมือง สกลนคร

พระธาตุหลวงปู่มั่น
ประดิษฐาน ณ พิพิธภัฑ์บริขานหลวงปู่มั่น

           เช่นเดียวกันกับความสืบต่อแห่งชีวิต  ด้วยการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย  มีลมหายใจเป็นต้น  มีการเข้าสมาบัติประจำอริยาบถเสมอ  ซึ่งเป็นการซักฟอกธาตุขันธ์ให้บริสุทธิ์ไปตามส่วนของตนทุกวันทุกคืนโดยลำดับ

           ครั้นถึงเวลานิพพานอัฐิจึงกลายเป็นพระธาตุไป  เมื่อผสมกันเข้ากับธาตุดิน น้ำ  ลม  ไฟ  ซึ่งแผ่กระจายอยู่ทุกอณูบรรยากาศของโลก

           ส่วนพระอรหันต์ที่บรรลุอรหัตผลแล้วมิได้ทรงขันธ์อยู่นานเท่าที่ควร  เมื่อถึงเวลานิพพานอัฐิจะกลายเป็นพระธาตุเหมือนพระอรหันต์ที่ทรงขันธ์อยู่นานหรือไม่นั้น  ยังเป็นปัญหาที่ตอบไม่สนิทใจ

พระธาตุ

พระธาตุของหลวงปู่มั่น

            พระอรหันต์ที่เป็นทันธาภิญญา  คือผู้รู้ได้ช้าค่อยเป็นค่อยไป  เช่น  บำเพ็ญไปถึงขั้นอนาคามิผลแล้วติดอยู่นาน
กว่าจะก้าวขึ้นอรหัตภูมิได้  ต้องพิจารณาท่องเที่ยวไปมาอยู่ในระหว่างอรหัตมรรคกับอรหัตผล  จนกว่าจิตจะชำนิชำนาญและมีกำลังเต็มที่จึงผ่านไปได้

             ในขณะที่กำลังพิจารณาอยู่ในขั้นอรหัตมรรคเพื่ออรหัตผลนี้เป็นอุบายวิธีซักฟอกธาตุขันธ์ไปในตัวด้วย  เวลานิพพานอัฐิอาจกลายเป็นพระธาตุได้ ส่วนพระอรหันต์ที่เป็นขิปาภิญญาคือ  รู้ได้เร็ว  บรรลุอรหันต์ได้เร็ว  และนิพพานไปเร็วพระอรหันต์ประเภทนี้  ไม่แน่ใจว่อัฐิาจะเป็นพระธาตุได้หรือไม่ประการใดเพราะจิตบริสุทธิ์ของท่านเหล่านี้  ไม่มีเวลาทรงและซักฟอกธาตุขันธ์อยู่นานเท่า

หลวงปู่มั่น
๕ ปฏิปทาท่านพระอาจารย์มั่น

"ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ

๑. บังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา

จึงได้พักผ่อนให้คหบดีจีวรบ้างเพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย

๒. บิณฑบาตกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารวัตรเที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธไปในละแวก

บ้านไม่ได้ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉันจนกระทั่งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัยจึงงดบิณฑบาต

๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาตรใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธหนักจึงงด

๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ตลอดมา แม้ถึงอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยก็มิได้เลิกละ

ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราวที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ ถืออยู่  เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัยเมื่อถึงวัยชราจึงอยู่ใน เสนาสนะ ป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลังที่จะภิกขาจารบิณฑบาตเป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนยำเกรงไม่รบกวน นัยว่าในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยวแสวงวิเวกไปในดงพงลึกจน สุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์ จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่นในคราวไปอยู่ทางภาคเหนือเป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอร์ ยังชาวมูเซอร์ซึ่งพูดไม่รู้เรื่องกันให้บังเกิดศรัทธาในพระศาสนาได้"

พระอริยคุณคุณาธาร  วัดเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น เรียบเรียง


"...พ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ท่านพาดำเนินอย่างถูกต้องแม่นยำ ถือเอาธุดงควัตร ๑๓ ("...ธุดงค์ 13แต่ละข้อมีความหมายในการปราบปรามกิเลสทุกประเภทได้อย่างอัศจรรย์ยากที่คาดให้ทั่งถึงได้ดังนี้ 1.บิณฑบาตเป็นวัตร 2.บิณฑบาตตามลำดับบ้าน 3.ไม่รับอาหารที่ตามส่งทีหลัง 4.ฉันในบาตร 5.ฉันหนเดียวในวันหนึ่งๆ 6.ถือผ้าสามผืน 7.ถือผ้าบังสกุล 8.อยู่รุกขมูลร่มไม้ 9.อยู่ป่า 10.อยู่ป่าช้า 11.อยู่กลางแจ้ง 12.อยู่ในที่เขาจัดให้ 13.ถือไม่อยู่อิริยาบถนอน...")นี้เป็นพื้นเพในการดำเนิน และการประพฤติปฏิบัติจิตใจของท่านก็เป็นไปโดยสม่ำเสมอ ไม่นอกลู่นอกทางทำให้ผู้อื่นเสียหาย และริจะทำเพื่อความเด่นความดังอะไรออกนอกลู่นอกทางนั้นไม่มี เป็นแนวทางที่ราบรื่นดีงามมาก นี่ละเป็นที่นอนใจ เป็นที่ตายใจยึดถือไว้ได้โดยไม่ต้องสงสัยก็คือปฏิปทาเครื่องดำเนินของท่าน
          นี่ครูบาอาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่านก็มีจำนวนมากพากันดำเนินมายึดถือหลักนั้นแหละมาปฏิบัตได้แพร่หลายหรือกระจายออกไปแก่บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายเป็นแขนงๆ หรือแผลงๆ อะไรออกไปให้เป็นที่สะดุดตา ไม่แน่ใจอย่างนี้ไม่มี ท่านดำเนินอะไรเป็นที่เหมาะสมทั้งนั้น คือมีแบบมีฉบับเป็นเครื่องยืนยันไม่ผิดเพี้ยนไปเลย
          นี่เพราะเหตุไร เพราะเบื่องต้นท่านก็ตะเกียกตะกายก็จริง แต่ตะเกียกตะกายตามหลักธรรมหลักวินัย ไม่ได้นอกเหนือไปจากหลักธรรมหลักวินัย หลักวินัยคือกฏของพระระเบียบของพระ ท่านตรงเป๋งเลย และหลักธรรมก็ยึดธุดงค์๑๓ ข้อนี้เป็นทางดำเนิน ไม่ได้ออกนอกลู่นอกทางนี้ไปอย่างทางอื่นบ้างเลย นี่จึงเป็นที่น่าอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งมาตั้งแต่ขั้นเริ่มแรกของท่าน
          ต่อจากนั้นท่านก็ปรากฏเห็นผลขึ้นมาโดยอันดับอำดา ดังเคยเขียนไว้แล้วในประวัติของท่านจนกระทั้งเป็นผู้ทรงมรรคทรงผลโดยสมบูรณ์ในหัวใจท่าน แล้วก็ประกาศสั่งสอนธรรมแก่บรรดาศิษยทั้งหลายพร้อมทั้งปฏิปทาเครื่องดำเนินด้วยความองอาจกล้าหาญ ไม่มีคำว่าสะทกสะท้านแม้นิดหนึ่งเลย นี่เพราะความแน่ใจในใจของท่านเอง ทั้งฝ่ายเหตุทั้งฝ่ายผล ท่านเป็นที่แน่ใจทั้งสองแล้ว
           พวกบรรดาลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลายที่เข้าไปศึกษาอบรมกับท่าน จึงได้หลักได้เกณฑ์จากความถูกต้องแม่นยำที่ท่านพาดำเนินมา มาเป็นเครื่องดำเนอนของตน แล้วถ่ายทอดไปโดยลำดับลำดา ไม่มีประมาณเฉพาะอย่างยิ่งภิกษุบริษัท มีกว้างขวางอยู่มากสำหรับลูกศิษย์ของพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นแตกกระจายออกไปการที่ได้ปฏิปทาเครื่องดำเนินจากท่านผู้รู้ผู้ฉลาดพาดำเนินมาแล้วเช่นนี้ เป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก นี่ละเป็นที่ ให้ตายใจนอนใจ อุ่นใจได้ ผิดกับเราเรียนมาโดยลำพัง และปฏิบัติโดยลำพังเป็นไหนๆ
           ยกตัวอย่างไม่ต้องเอาที่อื่นไกลที่ไหนเลย ผมเองนี่แหละเรียน จะว่าอวดหรือไม่อวดก็ตามก็เรียนถึงมหา แต่เวลาจะหาหลักหาเกณฑ์มายึดเป็นเครื่องดำเนินด้วยความอุ่นแน่ใจตายใจสำหรับตัวเอง ไม่มีจะว่ายังไงนั่น มันเป็นอย่างนั้น จิตเสาะแสวงหาแต่ครูอาจารย์อยู่ตลอดเวลาเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ครูอาจารย์มั่น..."

พระธรรมวิสุทธิมงคล(หลวงตามหาบัว  ญาณสัมปันโน) วัดป่าบ้านตาด  จ.อุดรธานี
( จากหนังสือ"หยดน้ำบนใบบัว")


"...ที่ผมได้ความรู้ความฉลาด จนได้มาแบ่งปันพวกท่านทั้งหลายนั้น ก็เพราะผมได้ ไปกราบครูบาอาจารย์มั่น...ไปพบท่าน แล้วก็เห็นสภาพวัดวาอารามของท่าน ถึงจะไม่สวยงาม แต่ก็ สะอาดมาก พระเณรตั้งห้าสิบหกสิบ เงียบ! ขนาดจะถากแก่นขนุน (แก่นขนุนใช้ต้มเคี่ยว สำหรับย้อมและซักจีวร) ก็ยังแบกเอาไปฟันอยู่โน้น.. ไกล ๆ โน้น เพราะกลัวว่าจะ ก่อกวนความสงบของหมู่เพื่อน... พอตักน้ำทำกิจอะไรเสร็จ ก็เข้าทางจงกรม ของใครของมัน ไม่ได้ยินเสียง อะไร นอกจากเสียงเท้าที่เดินเท่านั้นแหละ
บางวันประมาณหนึ่งทุ่ม เราก็เข้าไปกราบท่านเพื่อฟังธรรม ได้เวลาพอ สมควรประมาณสี่ทุ่มหรือห้าทุ่มก้กลับกุฏิ เอาธรรมะ ที่ได้ฟังไปวิจัย... ไปพิจารณา
เมื่อได้ฟังเทศน์ท่าน มันอิ่ม เดินจงกรมทำสมาธินี่... มันไม่เหน็ดไม่เหนื่อย มันมีกำลังมาก ออกจากที่ประชุมกันแล้วก็เงียบ! บางครั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน เพื่อนเขาเดิน จงกรมอยู่ตลอดคืนตลอดวัน จนได้ย่องไปดูว่าใครท่านผู้นั้นเป็นใคร ทำไมถึงเดิน ไม่หยุดไม่พัก นั่น... เพราะจิตใจมันมีกำลัง..."

พระโพธิญาณเถร ( หลวงปู่ชา สุภัทโธ ) วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี
จากอัตตโนประวัติหลวงปู่ชา "ใต้ร่มโพธิญาณ"

มุตโตทัย แนวทางปฏิบัตให้ถึงความหลุดพ้น
พระธรรมเทศนา  ขององค์หลวงปู่

ขันธะวิมุติ บทประพันธ์ขององค์หลวงปู่
โอวาทครั้งสุดท้าย บันทึกโดยหลวงปู่หล้า

โอวาทธรรม บันทึกโดยหลวงปู่หลุย จันทสาโร
พระธรรเทศนา ที่แสดงแด่หลวงปู่ฝั้นเป็นครั้งแรก

หลวงปู่มั่นตอบปํญหาธรรมะ

  ตอบปัญหาชาวโคราช 
  ตอบปัญหาพระมหาเถร 
  ตอบปัญหาชาวกรุงเทพ 

" ....ท่านทั้งหลายจงอย่าทำตัวเป็นตัวบุ้งตัวหนอนคอยกัดแทะกระดาษแห่งคัมภีร์ใบลานเปล่าๆ
โดยไม่สนใจพิจารณาสัจธรรมอันประเสริฐที่มีอยู่กับตัว  แต่มัวไปยึดธรรมที่ศึกษามาถ่ายเดียว
ซึ่งเป็นสมบัติของพระะพุทธเจ้า  มาเป็นสมบัติของตน  ด้วยความเข้าใจผิด
ว่าตนเรียนรู้และฉลาดพอตัวแล้ว  ทั้งที่กิเลสยังกองเต็มหัวใจยิ่งกว่าภูเขาไฟ  มิได้ลดน้อยลงบ้างเลย

จงพากันมีสติคอยระวังตัว  อย่าให้เป็นคนประเภทใบลานเปล่าๆ เรียนเปล่าและตายทิ้งเปล่า
ไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริงติดตัวบ้างเลย"

....นี่คือคำสอนที่องค์หลวงปู่มั่นเคยพูดอยู่เสมอๆ


ปกิณกะ

ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร ประวัติความเป็นมาและปฏิปทา
ของพระธุดงคกรรมฐาน - วิปัสสนาธุระของประเทศไทย จากเว็บกองทัพธรรมพระกรรมฐาน

กองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนาธุระในสมัยพระบุรพาจารย์แห่งยุค เล่าถึงประวัติของคณะสงฆ์ธรรมยุต ความเป็นมาของพระธุดงคกรรมฐานในประเทศไทย และการเผยแผร่ธรรมของคณะพระกรรมฐาน โดยพระญาณวิศิษฏ์ ( สิงห์ ขันฺตยาคโม ) พระอริยคุณาธาร ( เส็ง ปุสฺโส ) จากนิตยสารโลกทิพย์ ฉบับที่ ๒๗ ปีที่ ๓ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๒๗

วัดป่าบ้านหนองผือ เล่าถึงประวัติความเป็นมาพร้อมภาพประกอบของวัดป่าบ้านหนองผือ ( ปัจจุบัน วัดป่าภูริทัตตถิราวาส ) คัดจากหนังสือบูรพาจารย์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒

ถ้ำสาริกา : อนุสรณ์แห่งความกล้าหาญในธรรม วัดถ้ำสาริกา อ.เมือง จ.นครนายก

ปกิณกธรรมของท่านพระอาจารย์มั่น เล่าถึงเหตุการณ์ที่น่าสนใจในช่วงที่ท่านจำพรรษา ณ วัดป่าบ้านหนองผือ ช่วง ๕ พรรษาสุดท้าย คัดจากหนังสือบูรพาจารย์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒

เคลื่อนขบวนสู่ความจริง เล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงปัจฉิมสมัยขององค์หลวงปู่ ขณะอาราธนาองค์หลวงปู่จากวัดป่าบ้านหนองผือสู่วัดป่าสุทธาวาส คัดจากหนังสือบูรพาจารย์ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒

ยามปัจฉิมกาลหลวงปู่มั่น พรรณนาถึงเหตุการณ์ในช่วงสุดท้ายของชีวิตหลวงปู่มั่น

อุปนิสัยท่านพระอาจารย์มั่น บันทึกโดยหลวงปู่หลุย จนฺสาโร

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเสด็จมาสืบข้อเท็จจริง ในกรณีเมื่อมีผู้กล่าวหาถึงความประพฤติของพระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ

ตามรอยเส้นทางธรรม ๙ ปีสุดท้ายในสกลนคร ร่วมเดินไปยังดินแดนแห่งธรรม "สกลนคร " เว็บไซต์หลวงปู่มั่นฯ ภูมิใจนำเสนอ

หนังสือ รวมหนังสือที่ผู้จัดทำเว็บไซต์ใช้ในการรวบรวมประวัติ ธรรมะ และรูปภาพหลวงปู่มั่น แนะนำหนังสือที่จะใช้ค้นคว้าประวัติขององค์ท่านต่อไป


หุ่นขี้ผึ้งของหลวงปู่
ประดิษฐาน  ณ
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย  นครปฐม


รูปหล่อของหลวงปู่
ประดิษฐาน  ณ  พิพิธภัณฑ์กรรมฐาน
วัดป่าสุทธาวาส  จ.สกลนคร

ทางผู้จัดทำ  ได้ค้นคว้าหารูปถ่ายที่มีอยู่ตามหนังสือต่างๆให้มากที่สุด
เพื่อเป็นการอนุรักษณ์รูปเก่าไว้
ถ้าหากท่านใดมีรูปถ่ายของหลวงปู่นอกเหนือจากนี้
กรุณาส่งผู้จัดทำจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง

พระธรรมเจดีย์

พระธรรมเจดีย์
หลวงปู่จูม  พนฺธุโล
วัดโพธิสมภรณ์  จ.อุดรธานี

พระญาณวิศิษฏ์
หลวงปู่สิงห์  ขนฺตฺยาคโม
วัดป่าสาลวัน  จ.นครราชสีมา

หลวงปู่ทองรัตน์  กนฺตสีโล
วัดป่าบ้านคุ้ม จ.อุบลฯ

 

ปู่บุญมี

หลวงปู่คำแสน  คุณลงฺกาโร
วัดป่าดอนมูล จ.เชียงใหม่

พระครูญาณโสภิต
หลวงปู่บุญมี ญาณมุนี

วัดป่าสูงเนิน จ.นครราชสีมา

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
หลวงปู่มหาพิมพ์ ธมฺมธโร

วัดพระศรีมหาธาตุ กทม.

ปู่ดุลย์

ปู่กินรี

ปู่เทสก์

พระราชวุฒาจารย์
หลวงปู่ดูลย์  อตุโล
วัดบูรพาราม  จ.สุรินทร์

หลวงปู่กินรี  จนฺทิโย
วัดกันตสีลาวาส  จ.นครพนม

พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์
หลวงปู่เทสก์  เทสรํสี
วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย

ปู่อ่อน

ปู่จันทร์ศรี

ปู่ชอบ

หลวงปู่อ่อน  ญาณสิริ
วัดป่านิโคธาราม จ.อุดรฯ

พระธรรมวราลังการ
หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ

วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย

หลวงปู่ชอบ  ฐานสโม
วัดป่าสัมมานุสรณ์ จ.เลย

ปู่หลุย

ปู่ขาว

ปู่ฝั้น

หลวงปู่หลุย  จันฺทสาโร
วัดถ้ำผาบิ่ง จ.เลย

หลวงปู่ขาว  อนาลโย
วัดถ้ำกองเพล จ.หนองบัวฯ

หลวงปู่ฝั้น  อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลฯ

หลวงปู่แหวน  สุจิณฺโณ

พ่อลี

ปู่กงมา

หลวงปู่แหวน  สุจิณฺโณ
วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่

พระสุทธิธรรมรังสี คัมภีรเมธาจารย์
ท่านพ่อลี  ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ

หลวงปู่กงมา  จิรปุญฺโญ
วัดดอยธรรมเจดีย์  จ.สกลฯ

ปู่ตื้อ

หลวงปู่ตื้อ  อจลธมฺโม
วัดป่าพระอาจารย์ตื้อ  จ.เชียงใหม่

หลวงปู่สาม  อกิญฺจโน
วัดป่าไตรวิเวก จ.สุรินทร์

พระครูญาณทัสสี
หลวงปู่คำดี  ปภาโส
วัดถ้ำผาปู่  จ.เลย

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์
หลวงปู่สนั่น จนฺทปชฺโช

วัดนรนาถสุนทริการาม กทม.

พระญาณสิทธาจารย์
หลวงปู่สิม  พุทฺธาจาโร
วัดถ้ำผาปล่อง จ.เชียงใหม่

พระอุดมญาณโมลี
หลวงปู่จันทร์ศรี จนฺททีโป

วัดโพธิสมภรณ์  จ.อุดรธานี

ปู่เหรียญ

ปู่มหาบัว

ปู่บุญจันทร์

พระสุธรรมคณาจารย์
หลวงปู่เหรียญ  วรลาโภ
วัดอรัญบรรพต  จ.หนองคาย

พระธรรมวิสุทธิมงคล
หลวงตามหาบัว  ญาณสมฺปนฺโน
วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

พระครูศาสนูปกรณ์
หลวงปู่บุญจันทร์  กมโล
วัดป่าสันติกาวาส จ.อุดรธานี

ปู่หลอด

ปู่เฟื่อง

ปู่เจี๊ยะ

พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา
หลวงปู่หลอด ปโมทิโต

วัดสิริกมลาวาส กทม.

พระครูญาณวิศิษฏ์
หลวงปู่เฟื่อง โชติโก

วัดธรรมสถิต จ.ระยอง

พระครูสุทธิธรรมรังสี
หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท

วัดภูริทัตตปฏิปทาราม จ.ปทุมธานี

ปู่ชา

ปู่บัว

ปู่วิริยังค์

พระโพธิญาณเถร
หลวงพ่อชา สุภทฺโท

วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

หลวงปู่บัว  สิริปุณฺโณ
วัดป่าหนองแซง จ.อุดรธานี

พระเทพเจติยาจารย์
หลวงปู่วิริยังค์ สิรินฺธโร

วัดธรรมมงคล กทม.

ปู่สุวัจน์

ปู่วัน

ปู่จันทร์โสม

พระโพธิธรรมาจารย์
หลวงปู่สุวัจน์  สุวโจ
วัดป่าเขาน้อย จ.บุรีรัมย์

พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร
หลวงปู่วัน อุตฺตโม

วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม จ.สกลนคร

หลวงปู่จันทร์โสม กิตฺติกาโร
วัดป่าบ้านนาสีดา จ.อุดรธานี

ปู่พุธ

ปู่จวน

ปู่สิงห์ทอง

พระราชสังวรญาณ
หลวงปู่พุธ ฐานิโย
วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

หลวงปู่จวน  กุลเชฏฺโถ
วัดเจติยาคีรีวิหาร ( ภูทอก ) จ.สกลนคร

หลวงปู่สิงห์ทอง  ธมฺมวโร
วัดป่าแก้ว จ.สกลนคร

ปู่ผาง

หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต
วัดอุดมมงคลคีรีเขต จ.ขอนแก่น

หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต
วัดบรรพตคีรี จ.มุกดาหาร

พระวิสุทธิญาณเถร
หลวงปู่สมชาย  ฐิตวิริโย

วัดเขาสุกิม  จ.จันทบุรี

ปู่บุญจันทร์

ปู่บุญเพ็ง

ปู่หลวง

หลวงปู่บุญจันทร์  จนฺทวโร
วัดถ้ำผาผึ้ง  จ.เชียงใหม่

หลวงปู่บุญเพ็ง  เขมาภิรโต
วัดถ้ำกลองเพล จ.หนองบัวลำภู

พระครูการุณย์ธรรมนิวาส
หลวงปู่หลวง กตปุญฺโญ

วัดสำราญนิวาส จ.ลำปาง

ประวัติพ่อแม่ครูบาอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนาธุระแห่งกรุงรัตนโกลินทร์

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013