ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

26 ตุลาคม 2553

หนังสือแนวทางเดินสู่พระนิพพานโดยหลวงพ่อธี วิจิตตธมฺโมตอนที่6

portee2

                                                                    ใครเป็นผู้ทำผิด (ทำกรรม)
                 อัตตะนา ทุคคะหิเตนะ อัมเหเจวะ อัพภาจิกขะติ     อัตตานัญจะ ขะนะติ พะหุญจะ อะปุญญัง ปะสะวะติ ฯ
อัตตะนา-ผู้มีอัตตา ทุคคะหิเตนะ-ถือเอาสิ่งที่ไม่ดีไม่งามว่าเป็นสิ่งดีงาม อัพภาจิกขะติ-ย่อมติเตียน (กล่าวตู่) อัมเหเจวะ-ตถาคตเสมอ ขะนะติ อัตตานัญจะ-จงขุดรากอัตตาออกเสียให้ได้พะหุญจะ อะปุญญัง-ความไม่ดีไม่งามทั้งหลาย ปะสะวะติ-เจริญงอกงามมามากต่อมากแล้วหมายความว่า สิ่งที่กระทำผิดอยู่ทั้งหลายทั้งปวง ก็คืออัตตานอกจากอัตตานี้แล้ว ไม่มีสิ่งใดที่จะกระทำผิดได้ เพราะคำว่าอัตตานี้หมายถึงผู้เห็นผิด หากเห็นผิดแล้ว วาจาก็ผิด การกระทำก็ผิดตามบรรดาธรรมทั้งหมด พระพุทธองค์ทรงตำหนิอัตตาเพียงตัวเดียวเท่านั้นเพราะว่าบาปกรรม และอกุศลทั้งหลายทั้งปวงเกิดจากอัตตาหรือมีเหตุมาจากอัตตาทั้งสิ้น ดังนั้น จงขุดรากถอนโคน กำจัดอัตตาออกเสียให้ได้

                                                                          หมู่สัตว์ล้วนถูกจองจำ
                 ใครสามารถหลุดรอดไปได้สมัยที่พระพุทธองค์ประทับอยู่เมืองสาวัตถี เทวดาตนหนึ่งเข้าเฝ้าแล้วทูลถามว่า เครื่องร้อยรัดผูกพันสัตว์ทั้งภายในและภายนอกมีลักษณะเป็นเหมือนแร้วรึงรัดผูกมัดไว้ ใครเป็นผู้ตัดทำลายเครื่องร้อยรัดเหล่านั้นแล้วหลีกไป พระเจ้าข้า พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่าสีเลนะ ปะติฏฐาย นะโร สะปัญโญ จิตตัง ปัญญัญจะ ภาวะยังอาตาปี นิปะโก ภิกขุ โส อิมัง วิชะฏะเย ชะฏัง ฯโย นะโร-นรชนทั้งเทวดาและมนุษย์ สะปัญโญ-ผู้มีปัญญาคือองค์แห่งมรรคที่หนึ่งและที่สอง ปะติฏฐายะ-ตั้งมั่นอยู่อย่างไม่ขาดสาย อาตาปีโน-พากเพียรต่อสู้กิเลสอยู่โดยไม่ถดถอย ภิกขุ-ผู้เห็นภัยแห่งการเกิดแก่เจ็บตายซึ่งจะปรากฏในภายหน้า นิปะโก-มีปัญญาสังเกตพิจารณาเป็น สีเลนะ-มีศีลเจ็ดข้อ (กายกรรม 3 วจีกรรม 4)จิตตัญจะ-มีสมาธิสามประการ (ความพยายาม สติ และสมาธิ)ปัญญัญจะ-และปัญญาทั้งสองประการคือ สัมมาทิฐิและสัมมา-สังกัปปะ ภาวะยัง-ทำให้เจริญมาก ๆ อยู่ วิชะฏะเย-พึงตัดทำลายอิมัง ชะฏัง-เครื่องร้อยรัดผูกพัน (กิเลส) เปรียบเหมือนแร้วนี้ให้ขาดแล้วหลุดพ้นออกไปได้ขยายความว่า เทพบุตรกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญเครื่องร้อยรัดผูกพัน (กิเลส) เปรียบดังแร้ว ดักเอาหมู่สัตว์แล้วรึงรัดไว้อยู่ทั้งภายในและภายนอกนี้ ใครเป็นผู้ตัดทำลายเครื่องผูกอันนี้ได้พระเจ้าข้า"พระพุทธองค์ตรัสว่า "ดูกรเทพบุตร เทวดาหรือมนุษย์ใดก็ตามผู้มีปัญญาสัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้อง กล่าวคือเห็นว่ารูปนามนี้ มิใช่เรามิใช่ของเรา และคิดพิจารณาว่ารูปนามที่มีลักษณะเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยงทุกขังเป็นความทุกข์นี้ มิใช่เรา มิใช่ของเรา เป็นอนัตตา ผู้เห็นภัยแห่งการเกิดแก่เจ็บตาย พึงใช้ศีล 3 ประการ และสมาธิ 3 ประการโดยมีปัญญา 2 ประการนำหน้า สังเกตพิจารณาอย่างต่อเนื่องยาวนานผู้นี้แหละ จักเป็นผู้สามารถตัดทำลายเครื่องผูกหมู่สัตว์ไว้ในวัฏสงสารให้ขาดสะบั้นลงแล้วหลุดรอดออกไปได้อย่างอิสระ"

                  ธรรมใดประเสริฐที่สุดมัคคานัฏฐังคิโก มัคโค เสฏโฐ ปะทานัง จะตุโร ปะทาธัมมานัง วิราโค เสฏโฐ ทวิปะทานัญจะ จักขุมา ฯมัคคานัง-บรรดาหนทางทั้งหลาย อัฏฐังคิโก มัคโค-หนทางประกอบด้วยองค์ 8 เสฏโฐ-ประเสริฐที่สุดปะทานัง-บรรดาบทแห่งธรรมทั้งหลาย จะตุโร ปะทา-อริยสัจ 4 เสฏฐา-ประเสริฐที่สุดธัมมานัง-บรรดาธรรมทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ วิราโค-พระนิพพานที่ปราศราคะ เสฏโฐ-ประเสริฐที่สุดทวิปะทานัง-บรรดาสัตว์สองเท้าทั้งหลาย จักขุมา-บุคคลผู้มีปัญญาสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะ เสฏโฐ-ประเสริฐที่สุดหมายความว่า "มรรคคือหนทาง" อันได้แก่อริยมรรคมีองค์ 8เป็นหนทางที่ประเสริฐที่สุด เพราะผู้ที่เดินตามทางสายนี้จะบรรลุถึงพระนิพพาน ในธรรมะที่มี 4 บททั้งมวลนั้น อริยสัจ 4 ประเสริฐที่สุดในพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์นั้น พระนิพพานประเสริฐที่สุดในสัตว์สองเท้าทุกชนิดนั้น บุคคลผู้มีปัญญาสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะประเสริฐที่สุด

                  วิราคธรรม เป็นธรรมประเสริฐที่สุดบรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรมคือธรรมเป็นเครื่องสำรอกราคะเป็นธรรมประเสริฐที่สุด พระธรรมทั้งหมดมี 84,000พระธรรมขันธ์ แยกออกเป็นพระวินัย 21,000 พระสูตร 21,000และพระอภิธรรม 42,000 ว่าโดยสังเขป พระวินัยมี 5 คัมภีร์ พระสูตรมี 3 คัมภีร์ และพระอภิธรรมมี 7 คัมภีร์ รวม 15 คัมภีร์ แต่เมื่อว่าอย่างย่อ ก็มีเพียงปรมัตถธรรม 4 ประการ กล่าวคือ จิต เจตสิก รูปและนิพพานเท่านั้น วิราคธรรมอันได้แก่นิพพานนี้เองเป็นยอดแห่งธรรมทั้งปวง สิ่งยอดเยี่ยม 8 ประการมนุษย์ในโลกนี้มีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องของความยอดเยี่ยม แต่ละคนก็กล่าวโดยอาศัยความชอบพอของตนเองเป็น
พื้นฐาน จึงไม่มีความเป็นมาตรฐานสากลได้ พระพุทธองค์ตรัสถึงสิ่งยอดเยี่ยมไว้ 8 ประการ
                 1. สัพพะระตีนัง ธัมมะระติ วะ ปะระมาในบรรดาความยินดีทั้งปวง ความยินดีในวิปัสสนาเท่านั้น เป็นความยินดีที่ยอดเยี่ยมที่สุด
                 2. สัพพะทานานัง ธัมมะทานัง วะ ปะระมังในบรรดาการให้ทั้งปวง การถวายธรรมกล่าวคือขันธ์ แด่พระรัตนตรัยเท่านั้น เป็นการให้ที่ยอดเยี่ยมที่สุด
                 3. สัพพะระสานัง ธัมมะระโส วะ ปะระโม ฯบรรดารสทั้งปวง รสแห่งวิปัสสนาญาณ มรรคญาณ ผลญาณเท่านั้น เป็นรสที่ยอดเยี่ยมที่สุด
                 4. สัพพะคันธานัง ธัมมะคันโธ วะ ปะระโมบรรดากลิ่นทั้งปวง กลิ่นแห่งวิปัสสนาญาณ มรรคญาณผลญาณเท่านั้น เป็นกลิ่นที่ยอดเยี่ยมที่สุด
                 5. สัพพะลาภานัง ธัมมะลาโภ วะ ปะระโมบรรดาลาภทั้งปวง การได้วิปัสสนาญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
เท่านั้น เป็นลาภที่ยอดเยี่ยมที่สุด
                 6. สัพพะมิตตานัง ธัมมะมิตโต วะ ปะระโมบรรดามิตรทั้งปวง มิตรคือวิปัสสนาญาณ มรรคญาณ ผลญาณ
เท่านั้น เป็นมิตรที่ยอดเยี่ยมที่สุด
                 7. สัพพะทุกขานัง ขันธะทุกขัง วะ ปะระมังบรรดาทุกข์ทั้งปวง ทุกข์คือการบริหารขันธ์ เป็นความทุกข์
ที่หนักหน่วงที่สุด
                8. สัพพะสุขานัง นิพพานะสุขัง วะ ปะระมังบรรดาความสุขทั้งปวง ความสุขคือพระนิพพาน เป็นความสุขที่ยอดเยี่ยมที่สุดผู้มีอำนาจเหนือเทวดา มนุษย์ พรหมครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ ณ เมืองสาวัตถีเทพบุตรตนหนึ่งได้ทูลถามพระพุทธองค์ว่าเกนัสสุ นียะติ โลโก เกนัสสุ ปะริกิสสะติกิสสะสุ เอกะธัมมัสสะ สัพเพ วะ วะสะมันวะคูติ ฯภันเต-ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นียะติ โลโก-การที่เทวดา มนุษย์พรหมจมปลักอยู่ในโลกนี้ คือต้องหมุนวนตายเกิด ๆ อยู่อย่างไม่สิ้นสุดนี้ เกนัสสุ-เป็นเพราะธรรมใดทำให้เป็นปะริกิสสะติ-การที่เทวดา มนุษย์ พรหมติดตรึงอยู่ในโลกนี้เกนัสสุ-เป็นเพราะธรรมใดทำให้เป็นกิสสะสุ เอกะธัมมัสสะ-ธรรมประการหนึ่งอะไรหนอ สัพเพวะ- ที่เทวดา มนุษย์ พรหมทั้งมวล วะสะมันวะคู-ตกอยู่ในอำนาจและติดตามไปดังเงาเทพบุตรทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การที่เทวดามนุษย์และพรหมจมปลักอยู่มั่นคง และไม่สามารถออกไปจากโลกกล่าวคือการเกิดแก่เจ็บตายนี้ได้ เป็นเพราะธรรมข้อใดที่ทำให้เขาติดอยู่อย่างนี้พระเจ้าข้า""สิ่งรึงรัดผูกพันหมู่สัตว์ทั้งเทวดามนุษย์และพรหมให้จมอยู่
จนไม่สามารถหลีกออกไปจากการเกิดแก่เจ็บตายนี้ได้ เป็นเพราะธรรมข้อใด พระเจ้าข้า""สิ่งที่ติดสอยห้อยตามหมู่สัตว์ไปอย่างไม่เหินห่างเหมือนดังเงาคือ ธรรมข้อใด พระเจ้าข้า"พระพุทธองค์ตรัสตอบว่าตัณหายะ นียะติ โลโก ตัณหายะ ปะริกิสสะติตัณหายะ เอกะธัมมัสสะ สัพเพ วะ วะสะมันวะคูติ ฯนียะติ โลโก-การที่เทวดา มนุษย์ พรหมจมปลักอยู่ในโลกนี้คือ ต้องหมุนวนตายเกิด ๆ อยู่อย่างไม่สิ้นสุดนี้ ตัณหายะ-เป็นเพราะตัณหาทำให้เป็นปะริกิสสะติ-การที่เทวดา มนุษย์ พรหมติดตรึงอยู่ในโลกนี้ตัณหายะ-เป็นเพราะตัณหาทำให้เป็นตัณหายะ เอกะธัมมัสสะ-เพราะตัณหาประการเดียว สัพเพวะ- ที่เทวดา มนุษย์ พรหมทั้งมวล วะสะมันวะคู-ตกอยู่ในอำนาจและติดตามไปดังเงาดูกรเทพบุตร การที่เทวดา มนุษย์ และพรหมจมปลักอยู่มั่นคงและไม่สามารถออกไปจากโลก กล่าวคือการเกิดแก่เจ็บตายนี้ได้เป็นเพราะตัณหา ความอยากเป็นผู้ชักใยนำไป ซึ่งมี 3 ประการด้วยกันคือ
                 1. กามตัณหา ความอยากที่ทำให้จมปลักอยู่ในภาวะตายเกิดคือกามาวจร 11 ภูมิ
                 2. รูปตัณหา ความอยากที่ทำให้จมปลักอยู่ในรูปภพ 11 ภูมิ
                 3. อรูปตัณหา ความอยากที่ทำให้จมปลักอยู่ในอรูปภพ 4 ภูมิเพราะคำว่า "ตัณหา" นั้น หมายถึง (1) โลภะ-ความอยาก
(2) มานะ-ความยึดถือว่า "เรามีหรือตนมี" (3) ทิฐิ-ความเห็นผิดว่า"มีเราหรือมีตน" ตัณหานี้แหละเป็นเครื่องร้อยรัดผูกมัดหมู่สัตว์ไว้ในโลกแห่งการเกิดแก่เจ็บตาย มิยอมให้หลุดรอดออกไปจากโลก ตัณหานี้เองเป็นผู้ติดสอยห้อยตามหมู่สัตว์เหมือนดังเงาเราก็เป็นอย่างเขาเป็นพ่อค้า ขายน้ำมัน กินแต่ไขผู้ขายยา ไอไม่หยุด ดุจคนไข้ขายกระเบื้อง แต่บ้านรั่ว ลำเค็ญใจอยู่พงไพร ล่าแต่เนื้อ กลับกินผักคนขายหมวก สวมใบไม้ ช่างน่าหัวกลองตัวมี กลับเคาะไม้ ไม่ตระหนักตัดต้นสน เหลือตอไว้ ใครก็ทักตัวปลามี ไม่ยักกิน เอาแต่ขี้นักธุรกิจ คิดการณ์ไกล กลับหนี้มากสถาปนิก พักบ้านผุ รั่วทั้งปีเป็นช่างเหล็ก พร้ากลับทื่อ ใช้ไม่ดีคนเลี้ยงโค มีนมอยู่ ไม่รู้ชิม

              น้ำผึ้งมี แต่ไว้ขาย ไม่ลิ้มลองคนขายเนื้อ ชิมแต่น้ำ ต้มกระดูกคนโม้มัก ไม่มีงาน คนดูถูกหญ้าชุมชุก กลับไม่กิน เก้งโง่เขลาเกิดเป็นลิง ไม่อยากกิน ผลไม้ขอฝากไว้ ให้ช่วยคิด อย่าเหมือนเขารอยนกปลา ไม่ปรากฏ เหมือนดังเงาวัฏฏะเล่า ก็ไม่เที่ยง อย่าประมาทอันบุคคล ผู้เกิดมา พบพระพุทธประเสริฐสุด เหลือคณา อย่าเสียชาติอยู่กับเพชร ให้รู้ค่า สมโอกาสจงอาจหาญ ประพฤติธรรม ทำนิพพาน ฯผู้ไม่รู้ กับ ผู้รู้อันบุคคล ผู้ไม่รู้ สัจจะสี่ทางออกมี แต่ไม่เห็น เป็น "มิจฉา"ชีวิตเขา เฝ้าวัฏฏะ วนไปมาถูกตัณหา ผูกมัดไว้ ทุกชาติไปส่วนบัณฑิต ผู้คิดเป็น เห็นความจริงว่าทุกสิ่ง คือผลลัพธ์ สมุทัยจึงพินิจ ฆ่าเหตุทุกข์ หลุดพ้นไปละเยื่อใย ได้นิพพาน สงบเย็น ฯ

             ลักษณะธรรมส่ง มรรครับ
โอปนยิโก คือธรรมที่เป็นปรมัตถ์หรือนาม ซึ่งประกอบรวมอยู่กับขันธ์คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม สิ่งดังกล่าวนี้เรียกว่า"รูปธาตุ" นามธาตุคือใจที่รู้อาการที่แสดงออกของรูปธาตุดังกล่าวนี้เรียกว่า "มโนวิญญาณธาตุ" ส่วนเจตสิกที่รับอาการที่ปรากฏของรูป
และใจทั้งสองนี้เรียกว่า "เวทนา"รูป มโนวิญญาณธาตุ และเจตสิกทั้ง 3 ประการนี้ เรียกว่า"รูปนาม" เป็นตัวทุกข์ คำว่า "รูป" แปลว่าเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง คำว่า "นาม" ก็คือสิ่งที่รู้รูปนั่นเอง คำว่า "โอปนยิโก"นี้ทำหน้าที่รับเอาธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวมาแล้วนี้ยื่นส่งให้มรรค เมื่อมรรครับเอาแล้วก็ตัดอัตตาขาดไปเกิดเป็นผลขึ้นมาวิถีแห่งชวนะตรงนี้ นานสุดไม่เกินการดีดนิ้วสามครั้ง กล่าวให้ชัดก็คือโอปนยิโก อนุโลมญาณหรือสัจจานุโลมญาณนี้ รับธรรมแล้วส่งให้มรรคนั่นเอง การแสดงอาการของธาตุทั้ง 4 ในขณะที่เกิดโอปนยิโกธรรมนั้น มีดังนี้หากแสดงออกในอาการธาตุไฟ จะเกิดอาการร้อนระอุอย่างรุนแรงและรวดเร็วเหมือนไฟฟ้าช๊อต หรือเหมือนถูกไฟเผารนอย่างร้อนแรง เป็นต้น แล้วหายไปอย่างรวดเร็ว หากแสดงออกในอาการเย็น ก็จะเย็นอย่างรุนแรงเหมือนโดนน้ำแข็งหรือหิมะเทลงตรงศีรษะเกิดอาการเย็นยะเยือกไปทั้งตัว แล้วหายไปอย่างรวดเร็ว เป็นต้นหากแสดงออกในอาการของธาตุดิน ก็เกิดอาการหนักอึ้งหรือเบาหวิวไปทั้งตัว แล้วหายไปอย่างรวดเร็ว หากแสดงออกในอาการของธาตุลม ก็จะเกิดอาการเจ็บปวดอย่างรุนแรง เหมือนถูกแทงด้วยหอก หรือสิ่งแหลมคม หรือเกิดอาการเหน็บชาไปหมดทั้งตัวอย่างรุนแรง แล้วหายไปอย่างรวดเร็ว เป็นต้น ในกรณีที่แสดงออกในอาการของธาตุน้ำนั้นไม่ค่อยปรากฏมากนัก เพราะธาตุน้ำเป็นสุขุมธาตุคือเป็นธาตุละเอียด หากว่ารูปธาตุส่งยื่นให้มรรคญาณรับเอาแล้วก็ตัดอัตตทิฐิ วิจิกิจฉาลงไป จึงเกิดเป็นโสดาปัตติผลขึ้นมาในทันที

        ลักษณะอาการหลังเกิดสภาวธรรม
        1. สุญญตะ กายใจว่างเปล่า โล่งอยู่ ไม่มีอะไรเหลือเป็นกลวงอยู่
        2. ปัสสัทธิ เบาอยู่ เบากาย เบาใจอยู่
        3. สันติ สงบอยู่ กิเลสที่หลงเหลืออยู่นั้นสงบเย็นอยู่ชั่วคราวไม่แสดงอาการใด ๆ ให้ปรากฏ
        4. สุขะ สุขอยู่ เสวยความสุขอยู่ เหมือนดังพระเจ้าจักรพรรดิเสวยสุขอยู่บนราชบัลลังก์
       5. ปีติ อิ่มเอิบใจอยู่ เกิดความอิ่มเอิบใจอยู่ไม่รู้จักสิ้นสุดหากการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาดำเนินมาถึงจุดนี้ และมีอาการครบทั้ง 5 ประการ ปรากฏออกมาชัดเจนอย่างพร้อมเพรียงกันนั้นเรียกว่า "เกิดมรรคเกิดผล" แล้ว และหลังจากนั้นในคืนถัดไปจะเกิดอาการนอนไม่หลับ ไม่ง่วงไม่อ่อนเพลีย

        ลักษณะหลังเกิดสภาวธรรมอีกอย่างหนึ่ง
        1. พุทธศรัทธา มีศรัทธาเกิดขึ้นในพระพุทธเจ้าอย่างเต็มเปี่ยม
        2. ธรรมศรัทธา มีศรัทธาเกิดขึ้นในพระธรรมอย่างเต็มเปี่ยม
        3. อริยศรัทธา มีศรัทธาเกิดขึ้นในพระอริยเจ้าอย่างเต็มเปี่ยม
        4. สีลวิสุทธิ ศีลของเขาก็กลายเป็นศีลบริสุทธ์ิขึ้นมาเอง โดยไม่ต้องไปรับหรือสมาทานจากที่อื่นลักษณะอาการทั้ง 4 อย่างดังกล่าวนี้ เป็นลักษณะของการบรรลุเป็นพระโสดาบัน จิตของพระโสดาบันนี้ยังคงเหมือนจิตของปุถุชนอยู่ แต่สิ่งที่พิเศษแตกต่างจากปุถุชนก็คือไม่มีอัตตทิฐิวิจิกิจฉา และเป็นผู้มีศรัทธาอันมั่นคงในพระรัตนตรัย ไม่เอนเอียงไปนับถือสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง หากบรรลุเป็นพระสกทาคามีก็ทำให้กิเลสอีก 8ตัวเหี่ยวแห้งอ่อนแรงลงไป เป็นเหมือนคนอ่อนเปลี้ยเพลียแรงเพิ่งหายป่วยใหม่ ๆ จิตของผู้บรรลุเป็นพระสกทาคามีนี้ มีอาการแตกต่างจากปุถุชนแล้ว หากบรรลุเป็นพระอนาคามี ความติดใจในกามารมณ์ทั้งหลายก็หมดไป หรือไม่มีใจกามแล้ว จิตของผู้บรรลุเป็นพระอนาคามีจึงไม่เหมือนปุถุชน ส่วนผู้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วจิตใจประเสริฐยิ่งนัก เพราะกิเลสทั้ง 10 ประการถูกกำจัดให้หมดไปโดยถึงอาการสงบเย็นแล้ว พระโสดาบัน 7 องค์คำว่า "โสดาบัน" แปลว่าไม่กลับคืนข้างหลัง ดังสายน้ำไม่ไหลย้อนกลับ ธรรมดาว่าน้ำมีแต่มุ่งไปข้างหน้า ไม่ไหลกลับหลัง ข้างหลังของเทวดามนุษย์และพรหมคืออบายภูมิสี่หมายความว่า พระโสดาบันเป็นผู้ไม่ไปสู่อบายภูมิสี่ พระอริยบุคคลขั้นโสดาบันนี้ มี 7 ประเภท

      1. เอกพีชีโสดาบัน บรรลุเป็นพระโสดาบันในชาตินี้ ชาติหน้าก็บรรลุเป็นพระอรหันต์

      2. โกลังโกลโสดาบัน บรรลุเป็นพระโสดาบันในชาตินี้แล้วไปเกิดเป็นเทวดา หรือพรหมอย่างใดอย่างหนึ่งอีกสามชาติก็บรรลุ
เป็นพระอรหันต์
      3. สัตตักขัตตุปรมโสดาบัน บรรลุเป็นพระโสดาบันในชาตินี้แล้วไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมอีกเจ็ดชาติจึงบรรลุเป็นพระอรหันต์
รวมกับ พระศรัทธาโสดาบันอีก 4 องค์ คือ ผู้ได้ยินข่าวผู้ได้เห็นรูป ผู้ได้ยินเสียง และผู้ได้ฟังและได้เห็น พระโสดาบัน 4ประเภทนี้ เมื่อได้ยิน ได้เห็น หรือได้ฟังแล้วก็ใช้ศรัทธาตัดวิจิกิจฉาอัตตาก็ดับลงพร้อมกัน ผู้ได้ยินข่าว เช่น นางกาฬีเป็นต้น เพียงได้ยินข่าวพระพุทธองค์ก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน ผู้ได้เห็นพระรูป เช่นพระราชามหากัปปินะ พร้อมเสนาอำมาตย์บริวารสองพัน เพียงแต่ได้เห็นพระพุทธองค์ก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน ผู้ได้ยินเสียง เช่นมิคารเศรษฐีพ่อสามีของนางวิสาขา ได้ยินเสียงพระพุทธองค์ก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน ผู้ได้ฟังและได้เห็น เช่น พระสารีบุตรได้เห็นพระอัสสชิเถระและได้ฟังธรรมก็บรรลุเป็นโสดาบัน พระโสดาบัน

          ประเภทนี้มีมากมาย เช่น นางวิสาขา อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้นพระอริยเจ้า 4 องค์ดังกล่าวมานี้ เรียกว่า "ศรัทธาโสดาบัน"
การที่ต้องลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังแล้วจึงบรรลุธรรมเรียกว่า "ทัสสนโสดาบันหรือวิปัสสนาโสดาบัน" โดยใช้สัมมาทิฐิ-ความเห็นอันถูกต้อง คือเห็นจิตที่ทุกข์อยู่และเห็นเวทนาที่ทุกข์อยู่แล้วใช้สัมมาสังกัปปะ พิจารณาวางอัตตา คำว่า "วางอัตตา"ก็คือการคิดพิจารณาว่าเป็นอนัตตา มิใช่ของตน คำว่า "หา เห็น ตัดถึง" หมายความว่า "หา" คือใช้สัมมาสังกัปปะพิจารณาว่าเป็นอนัตตามิใช่ของตน "เห็น" คือใช้สัมมาทิฐิเห็นสภาวะปรมัตถ์อยู่ ซึ่งมิใช่สัตว์บุคคล มิใช่เทวดาหรือมนุษย์ เป็นเพียงรูปธาตุ นามธาตุ "ตัด"คือธรรมที่เห็นสภาวะรูปนามอยู่อย่างนี้นั้น เป็นโอปนยิโกธรรม คืออนุโลมญาณ สัจจานุโลมญาณ นำเอาธาตุ 4 คือดิน น้ำ ไฟ ลมยื่นส่งให้มรรค มรรครับเอาแล้วก็ตัดกิเลส คือ อัตตทิฐิ วิจิกิจฉา เป็นต้นให้ขาดไป "ถึง" คือเมื่ออัตตทิฐิ วิจิกิจฉาถูกตัดขาดตกไปแล้วก็บรรลุเป็นพระโสดาบัน เรียกว่าถึงนิโรธ หรือนิพพานนั่นเองใจที่เกิด แก่ เจ็บ ตายจิตที่อยู่ในระบบวัฏสงสาร คือเกิด แก่ เจ็บ ตาย มีหลาย
ลักษณะ จิตบางดวงตายมาก (ตายเกิดบ่อย) จิตบางดวงตายปานกลาง จิตบางดวงตายน้อย โดยขึ้นอยู่กับภพภูมิที่ไปเกิด1. ใจที่ตายมากที่สุด คือใจอกุศลวิบาก อเหตุกวิบาก ซึ่งได้แก่ใจของสัตว์ผู้บังเกิดในอบายภูมิ 4 มีนรกเป็นต้น เพราะว่าสัตว์นรกบางประเภทตายเกิดทุกอาทิตย์ บางประเภทตายเกิดทุกวันบางประเภทตายเกิดทุกชั่วโมง หรือตายเกิดชั่วโมงละหลาย ๆ ครั้ง2. ใจตายน้อยกว่าอกุศลวิบาก คือ ใจมหาวิบาก 8 ดวงและอเหตุกกุศลวิบาก 1 ดวง ได้แก่ ใจมนุษย์ เกิดตายเริ่มตั้งแต่หนึ่งวันจนถึง 100 ปี 3. ใจเกิดตายน้อยกว่ามนุษย์ คือ ใจมหากุศลวิบาก 8 ดวงได้แก่เทวดาในสวรรค์ 6 ชั้น เช่น สวรรค์ชั้นแรก คือ ชั้นจาตุมมหาราชิกามีอายุ 500 ปีเทวดา เท่ากับ 9 ล้านปีมนุษย์ และชั้นสูงสุดคือ ชั้นปรนิมมิตวสวัตตีมีอายุ 16,000 ปีเทวดา เท่ากับ 9,216ล้านปีมนุษย์4. ใจตายเกิดน้อยกว่าเทวดา คือ ใจรูปวิบาก 5 ดวง ได้แก่รูปพรหม5. ใจตายเกิดน้อยกว่าใจรูปวิบาก คือ ใจอรูปวิบาก 4 ดวงได้แก่อรูปพรหม มีอายุสองแสนกัปจนถึงแปดหมื่นสี่พันกัป6. ใจตายเกิด หนึ่งชาติถึงเจ็ดชาติ คือ ใจพระโสดาบัน7. ใจตายเกิด หนึ่งชาติถึงสามชาติ คือ ใจพระสกทาคามี  8. ใจตายเกิด ชาตินี้ชาติเดียว คือ ใจพระอนาคามี  9. ใจไม่ตาย คือ ใจพระอรหันต์ ได้แก่ พระพุทธเจ้า  พระสารีบุตร และพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย การที่จะได้ใจไม่ตาย พระพุทธเจ้าทรงใช้เวลาในการแสวงหา4 อสงไขย 101,437 กัป พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระเขมาเถรี พระอุบลวัณณาเถรี ใช้เวลาในการแสวงหา 1 กัป กับ101,426 กัป พระอานนท์ พระมหากัสสปะ พระปฏาจาราเถรีพระธัมมทินนาเถรีใช้เวลาในการแสวงหา 101,426 กัป ส่วนพระปกติสาวก หรือพระสาวกทั่วไป เช่น เรา ท่านทั้งหลายนั้นไม่มีขีดกำหนดขั้นแต่ประการใด ขึ้นอยู่กับการได้มีโอกาสเกิดมาพบพระพุทธศาสนาเป็นประการสำคัญ หากเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้วก็มีโอกาสได้ใจตายไม่เกิน 7 ชาติ (พระโสดาบัน) จนกระทั่งได้ใจไม่ตาย (พระอรหันต์) ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลที่จะแสวงหา และทำความเพียร

         จิตพระอรหันต์ จิตของผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์มีลักษณะดังนี้
         1. ไม่กลัว 2. ไม่ตกใจ
         3. ไม่เกียจคร้าน 4. ไม่ง่วง
         5. ไม่หลง 6. ไม่ฟุ้งซ่าน
         7. ไม่หิว 8. ไม่หายใจไม่ตาย
         9. ถูกว่าร้ายด่าทอไม่ขุ่นเคือง
         10. ถูกสรรเสริญเยินยอไม่ดีใจพระอริยเจ้า 2 ประเภทพระอริยเจ้ามี 2 ประเภท ประเภทหนึ่งเรียกว่าอาคาริกหมายถึงผู้บรรลุเป็นพระอริยเจ้า แต่ยังคงเป็นฆราวาสอยู่ครองเรือนอยู่ประเภทที่สองเรียกว่าอนาคาริก หมายถึงผู้บรรลุเป็นพระอริยเจ้าที่เป็นพระภิกษุ อนึ่ง การที่จะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เป็นเรื่องที่ไม่ยาก แต่การที่จะรู้และเข้าใจนี้สิยากยิ่งนัก ดังนั้น จึงต้องมีครูอาจารย์ผู้สอน หรือต้องพึ่งพิงครูอาจารย์ด้วยกันทั้งนั้น แม้แต่พระสารีบุตรมีปัญญามาก ยังต้องอาศัยครูจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้ ส่วนผู้ที่ไม่ต้องมีครูเลยนั้น มีแต่พระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียวพระอริยเจ้า 108 จำพวกในรตนสูตรกล่าวไว้ว่าเย ปุคคะลา อัฏฐะสะตัง ปะสัฏฐา,
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ ฯเปฯเย ปุคคะลา-พระอริยบุคคลทั้งหลาย จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ-มี 4 คู่ 2 กลุ่ม อัฏฐะสะตัง-รวมแล้วมี 108 องค์ ปะสัฏฐา-พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญอย่างยิ่งพระอริยบุคคลนี้ ว่าโดยย่อมี 8 องค์ คือ1. โสดาปัตติมรรค ตัดกิเลสแล้วมุ่งไปข้างหน้าไม่ถอยกลับ2. โสดาปัตติผล รับเสวยผลที่อัตตทิฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพต-ปรามาสดับไป แล้วมุ่งหน้าเดินไปไม่กลับหลัง ไปนิพพานในสวรรค์หรือพรหมโลก 3. สกทาคามิมรรค ตัดกิเลสแล้วทำให้กิเลสอีก 8 ประการ  เหี่ยวแห้งไป ไม่มีเรี่ยวแรง 4. สกทาคามิผล รับเสวยผลแห่งกิเลสที่เหี่ยวแห้ง  5. อนาคามิมรรค ตัดกิเลส 6 ประการ และกิเลสอีก 2  ประการ อย่างละครึ่ง (มานะครึ่งหนึ่ง ถีนะครึ่งหนึ่ง) ไม่หวนกลับสู่กามาวจรภูมิ 11 ชั้น   6. อนาคามิผล รับเสวยผลแห่งการตัดกิเลส 6 ประการ และอีก 2 ครึ่งดังกล่าว ไม่กลับมาสู่กามาวจรภูมิ จะไปนิพพานในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส  7. อรหัตตมรรค ตัดกิเลสอีกสองครึ่งที่เหลือ หมดจดจากเหตุธรรมทั้งหลาย คือโลกิยกุศล 17 และอกุศล 128. อรหัตตผล รับเสวยผลแห่งการไม่มีใจอกุศล อกุศลเจตสิกและใจกุศล กุศลเจตสิก คือรับเสวยอรหัตตผล ใจไม่ตาย เสวยสอุปาทิเสสนิพพานและอนุปาทิเสสนิพพานพระอริยบุคคลดังกล่าวมานี้ เรียกว่า "พระอริยบุคคล 8จำพวก" แต่เมื่อกล่าวโดยละเอียดแล้วมี 108 จำพวก คือ
        1. พระอาจารมรรคอริยเจ้า 4 องค์
        2. พระมรรคอริยเจ้า 4 องค์
        3. พระผลอริยเจ้า 4 องค์
รวม 12 องค์ คูณด้วยพระสาวก 3 องค์เป็น 36 องค์ แล้วคูณด้วยพระสาวกที่เป็นประเภทปณีตะ มัชฌิมะ และหีนะ จึงรวมเป็นพระอริยบุคคล 108 องค์ พระอริยบุคคลมีมากมายถึงเพียงนี้หากว่า ตัวเราเองเกิดมาพบพระพุทธศาสนาอย่างนี้แล้ว กลับไม่ได้เข้าเป็นหนึ่งในจำนวนพระอริยเจ้าเหล่านี้ ถือว่าเกิดมาเสียโอกาสมากจริง ๆผลสมาบัติการเสวยผลของผู้เห็นธรรมคำว่า "ผลสมาบัติ" เป็นผลที่เกิดจากการที่กิเลสได้ถูกขจัดออกไปแล้วเกิดเป็นความสงบเย็นขึ้นมา โดยแยกศัพท์ออกเป็น 3 ศัพท์ คือผะละ+สะมะ+อาปัตติ แปลว่า ผะละคือผล สะมะคือสงบเย็นอาปัตติคือบรรลุถึง ได้แก่การบรรลุถึงผลที่สงบเย็น หรือเสวยผลที่สงบเย็น หมายความว่า เจตสิกที่เกิดร่วมกับใจผลนั้นหยุดการทำงานไม่ปรุงแต่งแล้ว เหลือเพียงชีวิตินทรีย์เจตสิกเท่านั้นผลสมาบัตินี้เป็นการเสวยผลที่สงบเย็นของจิต ผู้ที่ได้เสวยผลสมาบัตินี้ได้แก่ พระอริยบุคคลทั้ง 4 จำพวก พระอริยบุคคลผู้ได้จตุตถฌานก็ใช้จตุตถฌานเป็นฐานแล้วเข้าผลสมาบัติ พระอริยบุคคลผู้ไม่ได้จตุตถฌานมาก่อนก็ใช้สังขารุเบกขาญาณเป็นฐานแล้วเข้าผลสมาบัติพระโสดาบันกับพระสกทาคามีสามารถเข้าผลสมาบัติได้เช่นกันคือเข้าได้แต่ไม่ทุกองค์ ส่วนพระอนาคามีกับพระอรหันต์สามารถเข้าได้ทุกองค์ผลสมาบัติที่สูงกว่านี้เรียกว่า "นิโรธสมาบัติ" แยกออกเป็นนิโรธะ-ดับ สะมะ-สงบเย็น อาปัตติ-บรรลุถึง คือการบรรลุถึงความดับสงบเย็น นิโรธสมาบัตินี้ พระอนาคามีและพระอรหันต์ปกติทั่วไปไม่สามารถเข้าได้ แต่พระอนาคามีและพระอรหันต์ประเภทพิเศษ เช่น พระอัครสาวก และพระมหาสาวกทั้งหลายเท่านั้นสามารถเข้านิโรธสมาบัติได้ เพราะท่านเหล่านั้นได้อภิญญาญาณจึงเข้า

           ทางอภิญญาญาณ หากเข้านิโรธสมาบัติแล้วสามารถอยู่ได้ 3 วันหรือ7 วัน นั่งสงบนิ่งอยู่โดยไม่หายใจ ไฟเผาไม่ไหม้ ตกน้ำก็ไม่ตายเป็นความจริงหรือไม่ ?อยากรู้ให้ศึกษา อยากดีให้ฟัง อยากฉลาดให้ไถ่ถาม อยากงามให้พิจารณา อยากหลุดพ้นให้ปฏิบัติ เพราะว่า ความรู้อยู่ที่การศึกษาความดีอยู่ที่ได้ยินได้ฟัง ความฉลาดอยู่ที่การไถ่ถาม ความงามอยู่ที่การพิจารณา ความหลุดพ้นอยู่ที่การปฏิบัติสมบัติ 5 ประการนี้ ผู้ใดสั่งสมให้มีครบก็เจริญ อันการศึกษาสุตะ และการไถ่ถาม สามประการนี้เป็นเบื้องต้นขั้นพื้นฐานของคนที่เกิดมาแล้วไม่เสียศูนย์ ข้อวัตรปฏิบัติที่สูงกว่าเรียกว่า "ปัญญาศีล สมาธิ" ต้องใช้ปัญญามัชฌิมาขจัดทุกข์และอัตตา ทำลายวงจรแห่งวัฏฏะ เข้าสู่วิวัฏฏะอันยอดเยี่ยม วิธีการก็คือให้ตัดตัณหาตรงหัวตัวอวิชชาให้ตายพร้อม และใช้มรรคบดจนละเอียด นิพพานจะเกิดเอง ผู้เห็นภัยการตายเกิด อย่าเพิ่งท้อแท้และถดถอย จงดูให้เห็น พิจารณาให้ทัน รู้ไม่ต้องมากหากเข้าใจ เพชรน้ำเอกไม่จำเป็นต้องใหญ่ ราคาและคุณค่าจะสูงขึ้นเอง ความรู้หากถูกต้องมีค่าอนันต์ผู้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา อันปัญญาดังกล่าวมานี้ จงฝึกฝนให้ได้ผลอย่าไปหวัง เมื่อลงมือทำ ไม่ต้องรอคอย เมื่อทำเหตุ

           สัจจะ กับ วัฏฏะอันความทุกข์ เป็นผล สมุทัยนิโรธไซร้ เป็นผล แห่งมรรคสี่หมั่นศึกษา พากเพียรไป ให้จงดีสัจจะสี่ เป็นทางเดิน สู่นิพพานตัวตัณหา ทั้งมานะ และทิฐิเป็นกิเลส ที่ทำวุ่น ของหมู่มารคอยดักสัตว์ ผูกมัดไว้ ในสงสารก่อสังขาร สร้างทุกข์ให้ ไม่หยุดเอย ฯปฏิจจสมุปบาทปฏิจจสมุปบาท เป็นจักรที่หมุนวน มีองค์ทั้ง 12 เริ่มต้นด้วยอวิชชา สังขารพาปรุงแต่ง วิญญาณสิ่งรับรู้ ส่งผลมีรูปนาม ตามมาด้วยผัสสะ อายตนะทั้งหก จึงเกิดมีเวทนา ตัณหาตามมาติด อุปาทานยึดถือ ยื่นส่งให้เป็นภพ ชาติจึงเกิดขึ้นปรากฏมา ชราร่วมตามติดช่วยหามส่งมรณา ตายแล้วเป็นภังคะ แล้วกลับไปเริ่มอีกทีอันสรรพสัตว์ทั้งเทวดาและมนุษย์ ล้วนวกวนในวัฏฏะอยู่ภายใต้การบัญชาของอวิชชา เพราะมีอวิชชาจึงมีการเกิดตายเวียนว่ายอยู่ในภพภูมิต่าง ๆ อย่างเหนื่อยล้าโดยไม่มีที่สิ้นสุด หมู่สัตว์เป็นส่วนใหญ่ถูกชักนำให้กระทำแต่กรรมชั่ว จึงไปเกิดในอบายภูมิมากกว่าสุคติ ผู้ที่มีโอกาสได้มาเกิดเป็นมนุษย์ จงเพียรแสวงหาสัจจะ4 แล้วใช้มรรคตัดกิเลสที่รากแก้ว อันได้แก่ อวิชชา ตัณหา และทิฐิซึ่งเป็นสมุทัย คือ เป็นต้นเหตุที่ก่อให้เกิดความทุกข์ เมื่อตัดกิเลสนี้ออกไป ก็ได้พบพระนิพพานที่สงบเย็น

           ชาติหนึ่งที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ชั่วกาลเวลาหนึ่ง มีโอกาสได้มาเกิดเป็นมนุษย์ เริ่มตั้งแต่ในท้องตั้งอยู่นานประมาณ 7 เดือนเป็นอย่างต่ำ จึงได้ก่อเกิดเปิดตามาดูโลกแม่เลี้ยงอย่างเอ็นดู อุ้มใส่เปลไกวแกว่งไปมา หนึ่งขวบปีบรรจบครบเริ่มหัดคลานไปมา คลานแล้วมาหัดนั่ง นั่งเป็นแล้วหัดก้าวเดินแต่ละขั้นตอนแสนลำบาก ทั้งล้มลุกและคลุกคลาน เจริญเติบโตมาเป็นเด็ก หัดศึกษาด้วยพากเพียร เรียนรู้ อยู่ร่วมมิตร อะไรผิดหรือชั่วดีไม่จัดแจ้ง เมื่อเจริญและเติบโต เริ่มรู้จักช่วยกิจช่วยทำงาน ความมีจนคืออะไร ยังไม่คิด ถึงคราววัยที่ก้าวสู่ความหนุ่มสาว ใจก็เริ่มใฝ่ฝันหาเรื่องความรัก พออายุ 17-18 ปี ก็อยู่ร่วมกันเป็นคู่ในเรือนหอ ตามคติประเพณีที่มีมา หนึ่งขวบปีผ่านพ้นไป ก็ได้เป็นพ่อแม่คน หน้าที่และครอบครัว ยุ่งยากปนกันไป อยู่ไม่นาน ชราก็มาเยือน ผมที่เคยดกดำกลับขาวโพนหมดทั้งหัว ฟันเคยงามก็หลุดหาย เนื้อก็เหี่ยวหนังก็ย่น ปากก็ว่าบ่นพึมพำ อนิจจา สังขารไม่เที่ยงเป็นความจริงเมื่อแก่เฒ่าเข้าชรา ความป่วยไข้เริ่มถามหา ถูกพาส่งโรงพยาบาลก็บ่อยนัก เจ็บป่วยหนัก จึงเข้าพักให้รักษา แต่อนิจจาหมอรักษาไม่ได้ ลูกหลานต่างโศกเศร้า เฝ้าร้องไห้คร่ำครวญหาอันกายาของเขา เน่าน่าเกลียด ขึ้นอืดพองเป็นกองเหม็น เป็นศพแล้วหาประโยชน์ที่ไหน ไม่เห็นมี วันสุดท้ายเมื่อมาถึง ถูกมัดขึงให้นอนบนกองฟืน เผาทิ้งไปให้มอดไหม้ เหลือไว้เพียงกระดูกที่เป็นเศษเพียงเท่านี้นั่นแหละ..."คน"โปรดพิจารณาดูเห็นให้เข้าใจธรรมเครื่องหลุดพ้นจากตายเกิดนั้นมีอยู่ จงเฝ้าดูเฝ้าพิจารณา รีบค้นหาเร่งบำเพ็ญวิปัสสนา
ผลแห่งอวิชชาในชายรูปร่างที่งดงามของชาติชาย ประดับด้วยเครื่องทรงต่าง ๆ เช่นนาฬิกา และสร้อยแหวน มีความเย่อหยิ่งอยู่เต็มอก จะพูดจาก็พูดด้วยความจองหองพองตัว เห็นคนอื่นก็เกิดความดูถูกหรือรังเกียจด้วยเชื้อชาติตระกูลหรือฐานะ หากได้แต่งตัวดีก็มีใจพอง มีรถที่โก้หรูกว่าคนอื่น คล้ายมหาเศรษฐี ยิ่งมีมานะก็ยิ่งหยิ่งเกินตัว ไม่รู้วิธีการพัฒนาจิต ประพฤติอยู่อย่างนี้เรื่อยไป จนมาถึง ณ วันหนึ่ง ผมเริ่มหงอกความชราก็แก่กล้า พาหลังค่อม มีไม้เท้ายันไปข้างหน้า นานวันเข้าสังขารไม่อำนวย หลงลืมตน นอนอยู่บนเตียงช่วยเหลือตนเองก็ไม่ได้กายที่เคลื่อนไหวไม่ได้ก็ส่งกลิ่นเหม็นฟุ้งไป ใครต่อใครมิชอบ แล้วหลับตาตายจากไปเพียงคนเดียว นี่แหละชีวิตคน จะมีจนก็จบลงเป็นอย่างนี้

           ผลแห่งอวิชชาในหญิงรูปร่างกายของนวลนาง สุดงามเลิศดังนางฟ้า ทั้งทรวดทรงผิวพรรณก็ผุดผ่องสุดแสนงาม ยิ่งประดับด้วยเครื่องทรง ก็ยิ่งเพิ่มความงดงามเป็นหลายเท่า สวยสดยิ่งสนมเอกแห่งราชา ความงามเธอไม่อาจเอื้อมเปรียบปานด้วยหญิงใด แต่เมื่อหลายปีผ่านพ้นไปเป็นอะไรฤๅ ความงามของเธอเริ่มหดหาย ผิวพรรณเคยงดงามกลับเหี่ยวย่นดังลิงกัง สิ่งน่าชมหายไปไหน ไม่เห็นมี จะลุกนั่งก็ลำบากแสนยากเย็น ส่งเสียงร้องโอดครวญว่ากลัวตาย แต่....อนิจจา ความตายนะฤๅ จะสงสาร ณ เวลาใด ลมหายใจของเธอได้หยุดลง ชีวิตเจ้าหญิงที่แสนงามก็จบสิ้นผลแห่งอวิชชา และตัณหาอันความงามอยู่ตรงไหน ใครบอกได้ หากว่าใช้ปัญญาคอยเฝ้าดูและคิดเป็น จะเห็นทาง ได้หลุดพ้นจากความทุกข์ ความงามนี้ เป็นแต่เพียงโวหารสิ่งสมมติ ร่างกายนี้ ตั้งแต่หัวจรดเท้า ตั้งแต่เท้าจรดหัวหากพิจารณาดูให้ดี จะพบว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว อันร่างกายเป็นเพียงสิ่งที่เส้นเอ็นผูกรัดท่อนแห่งกระดูก แล้วหุ้มห่อไว้ด้วยเนื้อ เลือดทำหน้าที่ไหลเวียนและหล่อเลี้ยง ฉาบทาปิดบังด้วยผิวหนัง สิ่งปรุงแต่งสมมตินี้ เรียกกันว่าเป็นมนุษย์ ยืน เดิน นั่ง นอน ประกอบกิจ กิน ดื่มทำ พูด คิด อาหารที่กินดื่มเข้าไปก็ไหลซึม และถ่ายออก ทำอย่างนี้อยู่เรื่อยมาไม่หยุดหย่อน ถ้าใส่เข้าแล้วไม่ขับออก ก็จะเกิดเป็นโรคภัยและไข้เจ็บ นานวันเข้าก็เข้าสู่ความชรา เมื่ออาการปรากฏเป็นดังนี้ จึงต้องหามส่งหมอช่วยรักษา อันชรานี้ไม่มียาจะรักษา ความตายจึงเวียนมาตามกำหนด มนุษย์และหมู่สัตว์ล้วนประสบอย่างเดียวกันวิปัสสนาคือทางหลุดพ้นการตายเกิด ผู้พากเพียรปฏิบัติจะได้ผลหากไม่รู้ก็ต้องวนอยู่ต่อไปในวัฏฏะกามตัณหา ภัยน่ากลัวอารมณ์ 5 อย่าง เปรียบเหมือนดังช้างเฒ่าที่ตายลอยน้ำแห่งวัฏสงสาร ตัณหาเป็นดังอีกาบินมากินศพช้างที่ลอยอยู่กลางน้ำอีกานึกคิดว่า "อร่อยก็อร่อย สนุกก็สนุก อาหารก็มี เรือก็ได้ขี่เนื้อก็ได้กิน น้ำก็ได้อาบ ไม่ได้ยากลำบากอะไรเลย" ศพช้างเฒ่าไหลไปไม่นานก็ถึงทะเล เมื่อศพช้างเน่าเละไม่มีที่จับ อีกาจึงบินหลงไปมา ดูทางซ้ายแลทางขวาก็ไม่เห็นต้นไม้ที่จะเกาะ อีกาเหนื่อยล้าปีกที่กล้าก็หมดแรง จึงร่วงหล่นลงในน้ำ กลายเป็นอาหารให้ปลากินอีกาตัวนี้ สุดโง่เง่า พวกเราเล่าอย่าได้หลงโง่เง่าดังอีกา ศพช้างเฒ่านี้คือกามคุณทั้ง 5 ประการ อีกาคืออัตตทิฐิ ความเห็นผิดว่าเป็นตัวตนความชื่นชอบและสนุกคือโมหะที่ลุ่มหลงและเห็นผิด ธรรม 2 ประการนี้เป็นสมุทัย น้ำคือวัฏสงสาร ปลากินคือการไปเกิดในอบายทั้งสี่ขณะที่ช้างลอยตัวอยู่ในแม่น้ำก็ไม่รู้จักบิน เปรียบเหมือนเมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนากลับไม่ทำวิปัสสนาภาวนา จึงไม่สามารถ

           ออกพ้นมหาสมุทรคือวัฏสงสารอันมีแต่ทุกข์ทิฐิ และ อวิชชาอุปมาดังสุนัขจิ้งจอกหิวตายสุนัขจิ้งจอกตัวกำลังหิวโหย แต่เห็นผิด ติดใจในความหิวโหยจึงตายใต้ต้นไม้ จงจำไว้ให้ดี ฤดูร้อนมีลมมาก ใบและดอกร่วงหล่นลงใต้ร่มไม้ ดอกทองกวาวเบ่งบานบนต้น สุนัขมองเห็นก็คิดว่าเป็นเนื้ออยากกินนักหนาด้วยความหิวโหย จึงมุ่งหน้าวิ่งไปคอยอยู่ใต้ต้นไม้เมื่อดอกไม้ร่วงหล่น จึงกัดชิมดู แต่ยังไม่ใช่ ใจจึงจดจ่ออยู่บนต้นรอคอยอีกครา วันคืนผ่านไป คิดแต่เพียงว่าเป็นเนื้อห้อยอยู่บนต้นจึงคอยอยู่อย่างมีหวัง ด้วยความเมื่อยล้าและหิวโหยมาหลายวันจึงขาดใจตายไป นี่แหละทิฐิเป็นอย่างนี้ ทั้งหญิงชายอย่ายึดเดินไปควรหลีกลี้หนีไปให้ไกลสุนัขจิ้งจอกหมายถึงเทวดาและมนุษย์ผู้มีทิฐิ ความอยากกินหมายถึงตัณหากับโลภะ ความเห็นผิดหมายถึง "อัตตทิฐิ"ต้นดอกทองกวาวหมายถึงกามคุณ 5 ตายใต้ต้นไม้หมายถึงตายไปเกิดในอบายสี่ไม่ควรลืม "อนัตตา"เรื่องความแก่ชรา นั่งลุกก็ลำบาก เปรียบดังลิงเฒ่า เนื้อหนังเหี่ยวย่นดังชะนี ร่างกายเคยตรงกลับคดงอ เป็นอย่างนี้พอกัน ไม่มีใครได้รับการยกเว้นเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ 96 อย่าง เดินมุ่งหน้ามาเบียดเบียนขันธ์ไม่มีวันจะหลีกพ้น ต้องนอนกินยาแก้ไข้ ลูกหลานล้อมรอบดูไม่ห่างลมหายใจอ่อนโรยริน เจ็บปวดยิ่งเสียดแทง ใกล้วันมาทุกทีหากโรคามาสู่ขันธ์ ทุกองคาก็ลำบาก หายใจไม่คล่องปอดร้องเจ็บปวดโรยแรง ลูกหลานร้องไห้กันระงม กลิ่นที่เหม็นก็ฟุ้งไปหมดแล้วลมหายใจในชาติหนึ่ง มวลหมู่ญาติมิตรมาประชุมประกอบบุญ ตะวันคล้อยจึงกลบด้วยแผ่นดิน เมื่อกลบสิ้นแล้วต่างคนก็กลัวผีมาหลอกหลอน เด็ก ๆ เล่ายิ่งกลัวและตกใจ เมื่อได้ยินว่า "ผี ๆ" ในราตรีสิ่งที่รักและห่วงหวงในชีวิต แม้สมบัติพัสฐาน จำต้องละทิ้งแล้วจากไป สมบัติแม้สักชิ้นก็นำไปไม่ได้ จึงคล้ายดังท่อนไม้ไร้ประโยชน์ถูกทอดทิ้งไปมีเพียงกรรมเท่านั้นไปเป็นเพื่อน ที่ส่งให้ถึงถิ่นฐานใหม่ หากเป็นกรรมดี ก็คงได้สู่เทวามนุษย์หรือเป็นพรหม แต่หากสั่งสมไว้ซึ่งกรรมชั่ว กรรมนี้ไซร้นำส่งให้ในอบายหรือนรก กรรมนี้แหละเป็นเพื่อนแท้ ที่พึ่งพิงในภายหน้า ทุกชีวี กรรมนี้แหละส่งผลให้ในชาติใหม่อันชายหญิงจะเป็นเด็กหรือแก่เฒ่า โปรดคำนึงให้ประจักษ์ในเรื่องนี้หากประสงค์จะหลุดพ้นข้ามสงสาร ต้องคิดพิจารณาให้ถูกต้องอย่างอาจหาญ

             อนัตตลักขณสูตร  พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์ องค์สมเด็จพระสัมมา ตรัสรู้แล้วเทศนาสั่งสอน ปัญจวัคคีย์ฤๅษีทั้ง 5 ว่ารูปนามนี้อนัตตามิใช่เรา มิให้เกิดก็เกิด มิให้ดับก็ดับจะสั่งการหรือบัญชาก็ไม่ได้ เธอจงทำความเข้าใจให้กระจ่างชัดความเกิดดับมีอยู่ในขันธ์นี้ จงพากเพียรให้เข้าใจในความเป็นอนัตตาโดยเห็นและพิจารณาตรงที่ธาตุทั้งสี่ ที่มิใช่ของตน ทุกคนควรรู้ชัดเมื่อสัมมาทิฐิเห็น สัมมาสังกัปปะพิจารณาให้เข้าใจอนัตตา ปัญญาทั้ง2 นี้เป็นผู้นำ ทำให้กิเลสหาย กลายเป็นมรรคผลขึ้นมาแทน เมื่อมรรคผลเกิดทั้ง 4 ก็ไม่มีการตายเกิด เป็นอริยะผู้เลิศ เสวยสุขคือพระนิพพานจงค้นหาพระนิพพานที่ธาตุ 4อันขันธ์ห้า ของหมู่สัตว์ เป็นเพียงธาตุท่านผู้ฉลาด อย่างไปหลง ว่า "เป็นตน"หากดูเห็น "อนัตตา" ในกมลมรรคและผล จะปรากฏ สุดเลิศนา ฯปุถุชนเป็นเช่นนี้ปุถุชนคือคนบอด ทำอะไรก็คิดว่าตนเองถูก กิเลสมีมากมายปุถุ แปลว่า "หนา" เป็นเหมือนดังแผ่นดินรองรับสรรพสิ่ง เพราะหนาด้วยกิเลส จึงเรียกว่า "ปุถุชน" เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวล่อง วกวนอยู่มิวายในสามภูมิ ตายแล้วเกิด เกิดแล้วตาย หมุนเวียนไม่มีหยุด บางทีก็ไปผุดในอบายทั้งสี่ เพราะมีความเคยชินและคุ้นเคยเป็นพื้นฐานคนโง่4 คนในโอกาสนี้เราได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว หมายความว่า เราได้มาพบสิ่งที่มีคุณค่าหาประมาณมิได้แล้ว คุณค่านี้ไม่สามารถนำสิ่งใดมาประเมินเปรียบเทียบได้เลยแม้แต่น้อย ในฐานะ

            ที่เราได้ประสบโอกาสดีเช่นนี้แล้ว หากเราดูพระศาสนาผิดเหลี่ยมไม่ได้ประโยชน์จากสิ่งที่มีคุณค่า ก็จะเป็นเหมือนกับคนโง่สี่คน กล่าวคือคนตกยาก พระ ผู้ใหญ่ และชาวบ้าน คนทั้งสี่ดังกล่าวนี้เป็นคนไม่ฉลาดคนตกยากอาศัยอยู่ในกระท่อมใบไม้เก่า ๆ กว้างและยาวประมาณห้าศอก ที่นั่งที่นอนและห้องครัวรวมอยู่ในกระท่อมหลังเดียวกันนี้ อยู่ดูแลรักษาสวน ทุกวันก็จะตัดฟืนไปขายเลี้ยงชีวิตตนกับภรรยาอยู่มาวันหนึ่ง เขาไปตัดฟืนเหมือนอย่างที่เคยทำมา เมื่อตัดเสร็จสรรพเรียบร้อยแล้ว จึงแวะอาบน้ำข้างทางเพราะรู้สึกร้อนและเหนียวตัว เมื่อลงไปในลำธารก็ไปเจอทับทิมก้อนหนึ่ง สีแดงฉานดูสวยสดงดงาม เขาคิดว่า "จะนำกลับบ้านไปให้ศรีภรรยาทำเป็นหินขัดเท้า" จึงเก็บใส่ย่ามแล้วไปขายฟืน เมื่อขายเรียบร้อยแล้วก็ซื้อของกินของใช้กลับบ้าน แล้วพูดกับภรรยาว่า "น้อง วันนี้ พี่เก็บหินขัดเท้ามาให้เธอด้วยนะ หินนี้สวยงามมาก" ภรรยาจึงว่า "ขอบคุณมาก พี่วางไว้ตรงกองฟืนนั่นแหละ"หลังกินอาหารเย็นแล้วก็เข้านอน ค่ำคืน ๆ นั้นมืดมิดมากทับทิมที่เขาเก็บมานั้นเกิดเรืองแสงขึ้นมา ทำให้เกิดแสงสว่างโชติช่วงชัชวาลไปทั่ว เมื่อคนตกยากเห็นดังนั้นก็เกิดอาการตระหนกตกใจอย่างรุนแรง ทำอะไรไม่ถูก จึงวิ่งไปยังวัด สอบถามเรื่องนี้กับหลวงพ่อ"หลวงพ่อครับ หลวงพ่อครับ" "มีอะไรเหรอ ทำไมท่าทางรีบร้อนอย่างงั้นละ" เขาจึงเล่าให้หลวงพ่อฟังว่า "วันนี้ผมไปตัดฟืน ระหว่างทางได้ลงไปอาบน้ำในลำธาร แล้วไปเจอหินสีแดงก้อนหนึ่งสวยงามมาก เลยนำกลับมาให้ภรรยา แล้ววางไว้ตรงที่กองฟืน พอแสงตะวันลับฟ้าอากาศมืดแล้ว เกิดแสงสว่างเรืองรองขึ้นมา" หลวงพ่อถามว่า"เกิดอะไรขึ้นหรือ" "หลวงพ่อครับช่วยไปดูที่บ้านด้วยเถอะ เดี๋ยวหลวงพ่อจะทราบเอง" หลวงพ่อว่า "มันมีอะไรหรือ" "ผมก็ไม่ทราบ ผมกลัวมากจึงรีบวิ่งมาหา" หลวงพ่อว่า "เออ…ถ้าอย่างนั้น เอ็งจงรีบไปเรียกผู้ใหญ่ เราไปดูด้วยกัน"ทั้งสามคนจึงรีบเดินมุ่งหน้าไปที่บ้านคนตกยาก ชาวบ้านตื่นตระหนกรู้เรื่องนี้ด้วย จึงพากันกรูไปที่บ้านคนตกยากคนนั้น หลวงพ่อจึงว่า "ไอ้คนยาก อยู่ไหนกัน หินที่เจ้าว่านะ" "นี่ครับ อยู่ในกองฟืนนี่ครับ" หลวงพ่อจึงใช้ไม้เท้าของตนเขี่ยดูแล้วบอกว่า "เออ ใช่แล้ว ๆมีแสงสะท้อนออกมาจากหินก้อนนี้จริง ๆ โยมผู้ใหญ่ โยมคิดว่า นี้มันหินชนิดไหนกัน อาตมาไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อนเลย" ผู้ใหญ่ จึงพูดว่า"ผมว่าหินก้อนนี้เป็นหินประหลาด เป็นหินให้โทษ เป็นกาลกิณีแน่นอนเลยครับ" หลวงพ่อจึงว่า "เออ…ใช่แล้ว ๆ หินชนิดนี้แหละที่เขาว่ากันว่า เป็นหินผีปอบ" หลวงพ่อได้พูดว่า "ผีปอบ ๆ ถึง 3 ครั้ง"เมื่อชาวบ้านที่มามุงดูได้ยินเข้า ต่างคนต่างตกใจกลัววิ่งหนีกันไปคนละทิศละทาง หมาก็เห่าหอนเสียงสนั่นวุ่นวายไปทั่วทั้งหมู่บ้านคนตกยากก็กลัวสุดขีด จึงรีบนำหินไปทิ้งในแม่น้ำเสีย ชาวบ้านก็ตื่นตระหนกเกิดอาการหวาดผวากลัวกันทั้งหมู่บ้าน นอนไม่หลับทั้งคืนพอรุ่งเช้าจึงรีบพากันไปวัดให้หลวงพ่อรดน้ำมนต์ ผูกแขนให้แล้วนำสายสิญจน์ไปเวียนรอบหมู่บ้านจนขาวโพลนไปหมดทุกทิศผู้ใหญ่ก็อาการไม่ดีเช่นกัน จึงนำพระมาชุบน้ำแล้วใช้ดื่ม ใช้อาบตลอดเจ็ดวันเจ็ดคืน เพื่อป้องกันผีปอบมารังควานญาติโยมทุกท่าน เรามีโอกาสได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว อย่าให้เป็นเหมือนคนโง่พบของดีกลับไม่รู้คุณค่า ดังตัวอย่างที่

           กล่าวมานี้เลยนี่แหละ "คน"คนคนเป็นอย่างนี้ อกุศลไม่วาง แล้วต้องการความดี ความทุกข์จะมาไม่คิดถึง ภิรมย์ด้วยบาปกรรม แล้วประสงค์ความสุข ประกอบแต่สิ่งใฝ่ต่ำ แต่ปากก็อ้อนวอนขอให้ดี ทำเหตุแห่งนรก แล้วมุ่งผลแห่งสวรรค์ ปากพูดจามุสา แต่อธิษฐานให้ได้พบพระพุทธ ไม่คิดถึงความตาย แต่ใจขอพระนิพพาน ความรู้ไม่แสวงหา แต่ไหว้อ้อนวอนอยากฉลาด นิพพานเห็นได้ด้วยปัญญา มิใช่เป็นสิ่งอื่น นิพพานไม่ต้องขอ จงหาหลักที่ถูก ญาณจะพบเห็นเอง ทั้งที่วิชชาไม่แสวงหาแต่วาจากลับกล่าวร้องขอ ยิ่งขอก็ยิ่งไกลห่าง จะกระจ่างได้ต้องลงมือทำจงค้นหาให้พบวิชชา สิ่งเกิดดับมีอยู่ ดูให้ดีมิใช่ของกู นิพพานก็จะปรากฏแจ้งในญาณ ผู้ต้องการพระนิพพาน ต้องศึกษาหาวิชชาให้แจ้งในสัจจะสี่ เพราะมรรคาพาหญิงชายสู่นิพพาน แล้วไม่ต้องตายเกิดอีกทำไมคนจึงเป็นเช่นนี้ชมชอบบาปอกุศล เลี้ยงชีพด้วยการขายชีวิตผู้อื่น อยากได้ดีกลับทำชั่ว จึงตกนรกหมกไหม้ ตัวเองทำบาปกรรม แต่ประสงค์นิพพานคบแต่คนทิฐิ อเวจีจึงถามหา พากันไปอบาย ไม่มีสุขมีแต่ทุกข์ สวรรค์มีอยู่ แต่ไม่ชวนกันไป ทางเดินไปจึงรกชัฏ มีแต่ขวากหนามที่ขวางกั้น

            นี่แหละเรียกว่า "คนโมฆะ" หรือคนเปล่า การเดินทางสู่เบื้องต่ำนี้แสนง่าย ทุกวันมัวสะสมแต่เหตุชั่วอย่างสนุกใจ ทางไปนิพพานมีอยู่มิรู้หาเมื่อโลภะ โทสะ โมหะมีอยู่ครบ จึงพบแต่ความทุกข์ ทุกวันคืนควรตระหนักถึงความหลุดพ้น แล้วค้นหาผู้แนะนำเพื่อกำจัดอัตตาสาเหตุแห่งทุกข์ให้หายไปจุดต่างระหว่างอวิชชากับวิชชาคำว่า "อวิชชา" คือการที่รูปนามเกิดดับอยู่ แต่ไม่รู้ไม่เห็นจึง
เรียกว่า "เป็นอวิชชา" อันอวิชชานี้ปิดบังไว้มิให้เห็นมรรคผลนิพพานแห่งอริยะคำว่า "วิชชา" ก็คือความรู้รูปธาตุนามธาตุปรมัตถ์ในขันธ์ห้าว่า "มิใช่ของตน" เมื่อขจัดอวิชชาให้หายไป จึงกลายเป็นพุทธบุตรได้ผลเป็นอริยะรับเสวยนิโรธที่สงบเย็น จงดูและพิจารณาให้เห็นรูปนามเกิดขึ้นมาแล้วเป็นทุกข์ไม่เที่ยง เป็นอนัตตา อาการเหล่านี้ปรากฏอยู่ จงดูและพิจารณาให้ทันท่วงที ผู้ยังหลงติดค้างอยู่ในวัฏฏะอย่าประมาทลืมดูพิจารณา หากประสงค์เป็นบุตรพระชินสีห์จงดูให้ดี พิจารณาให้เห็นว่า "รูปนามเป็นอนัตตา" เมื่อประจักษ์แจ้งในอนัตตา อวิชชาความไม่รู้ก็อยู่ไม่ได้ ต้องละลายหายไป

ไม่พ้นอวิชชา ไม่พ้นวัฏสงสารอวิชชาคือไม่รู้เห็น เป็นเหมือนดังหนอนในแผลเน่า พลุกพล่านอยู่รวมกันในเนื้อที่เน่าเหม็น เห็นเป็นของหอมยิ่ง เกลือกกลั้วอยู่ด้วยตัณหา อุปาทานตามยึดถือ จึงกลายเป็นหนอนสามตัว คือ อะตัณ อุ ชมชอบวกวนอยู่ในอารมณ์ห้า เรียกว่า "เดินตามรอยตัณหา"อวิชชาพาหลง วกวนเป็นสังขาร ทุกคนที่เกิดมาจะไม่ตายไม่มี จึงควรเร่งพากเพียรตัดสังขารให้ขาด เข้าสู่ความสงบเย็น ซึ่งเป็นการหมดทุกข์ ไม่ตายเกิดอีกโทษแห่งกามคุณ 12 ประการ
           1. เป็นเหมือนดังไอ้ด่างคาบกระดูกคด
           2. เป็นเหมือนดังชิ้นเนื้อเปื่อย
           3. เป็นเหมือนดังป่าหญ้าแห้งใกล้ไฟ
           4. ร้อนระอุลุกโชนดังถ่านเพลิง
           5. สิ่งใดก็ไม่เที่ยงแท้แน่นอนเปรียบดังความฝัน
           6. เป็นเหมือนดังสิ่งของที่ยืมเขามา
           7. เป็นเหมือนดังขุยไม้ไผ่ ที่กลับทำลายต้นของตน
           8. เป็นเหมือนนายพรานสับเนื้อ
           9. เป็นเหมือนดังเหล็กแหลมที่เสียบทะลุหัวใจ
          10. ทุกคืนวันเป็นเหมือนดังการจับคองูเห่า
          11. คุณค่าจริงไม่มี ไม่พบเจอ
          12. มีแต่ส่งโทษให้ได้รับ
โทษแห่งกามคุณนับรวมได้ 12 หญิงชายล้วนได้รับโทษแห่งกามคุณดังกล่าว ขณะนี้ถึงเวลาที่จะปลดแอกแสวงหาอิสระ โอกาส
เหมาะที่เกิดมาประสบพบพระพุทธศาสนาอันอำไพ สิ่งที่ตัด คืออริยสัจสี่ พระชินสีห์ตรัสมอบไว้ให้ อย่าประมาทหลงมัวเมากันเลย
ทั้งหญิงชาย จงพากเพียรเร่งตัด ขจัดเหตุออกไปให้เร็วไวการที่ต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจของกามคุณห้า เปรียบเหมือนไอ้ด่างแทะกระดูกไม่อิ่มท้อง ได้แต่ความเมื่อยล้าแล้วกลืนกินน้ำลายของตนเองกามคุณห้าประการเปรียบเหมือนชิ้นเนื้อเปื่อย ต่างคนต่างอยากลิ้มอยากลองกามคุณห้าประการ หากพบเจอแล้ว จิตที่ประกอบด้วยกิเลสจะเกิดอาการกระตุ้นร้อนรนขึ้นหมดทั้งตัว เหมือนดังหญ้าแห้งใกล้ไฟหากเจอไฟก็จะถูกเผาไม้ลุกโชนขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็วหากรับกามคุณห้าประการแล้ว (หากติดกามคุณ) จะร้อนรน
อยู่ตลอดเวลา ไม่มีว่างสงบเย็นได้ เปรียบดังถ่านติดไฟการหลงอยู่กับกามคุณห้าประการนี้ เปรียบเหมือนคนนอนฝันตื่นขึ้นมาแล้วก็ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่การหลงอยู่กับกามคุณห้าประการนี้ ทั้งข้างในและข้างนอกเหมือนดังของที่ยืมเขามา ถ้าวันนัดมาถึงแล้ว แม้ไม่คืน เจ้าของก็มาเอาเองอวิชชาและตัณหาที่รับอารมณ์ทั้งภายในและภายนอกนี้ปรากฏอยู่ที่จิตหรือนาม ที่เป็นตัวสังขารขันธ์ แล้วก่อความทุกข์ลำเค็ญให้ แม้ตนเองก็โดนด้วย แต่ไม่รู้ เหมือนดังขุยไผ่กลับทำลายต้นของตนอารมณ์แห่งกามคุณห้าเหล่านี้ เปรียบเหมือนดังชิ้นเนื้อ ตัณหาเปรียบเหมือนดังมีด เทวดามนุษย์เปรียบเหมือนดังเขียงสับเนื้อการผูกพันในกามคุณ ก็เปรียบเหมือนเหล็กแหลมเสียบที่หัวใจ การที่จะถอนออกให้ได้นั้น มิใช่เป็นเรื่องง่ายเลยการหลงอยู่กับกามคุณ ก็เปรียบเหมือนการจับคองูเห่าจะปล่อยฤๅ งูก็รัดตนอยู่ จะจับต่อไปฤๅ ก็ลำบากประโยชน์แห่งความสงบเย็นที่ตนจะได้รับเสวยในชาติหน้าหรือชาติไหนนั้นไม่มีมีแต่โทษเท่านั้นที่มีให้ หากทำผิดกฎหมายบ้านเมืองก็ถูกปรับโทษ หากทำผิดกฎแห่งศีลธรรมก็ได้รับโทษในนรกอวิชชา และตัณหาเปรียบดังตัวหนอนที่ผูกใยพันตนเองอวิชชาและตัณหา อุปมาดังหนอนตัวลาย ใครก็หนีไม่รอดรึงรัดผูกใยพันตนเอง จึงรับผลแห่งโทษที่ตนก่อ ประสบทุกข์อยู่แต่ไม่รู้คิดว่า เป็นสุขมัวสนุกอยู่อย่างเพลิดเพลิน โดนใยตนเองรึงรัดยิ่งชักก็ยิ่งแน่น จงดูให้เห็นจะประจักษ์แก่ตนเอง โทษที่ประสบใครนะหรือเป็นคนก่อ เพราะไม่รู้จึงไม่มีการคิดแก้ หนอนพริกเผ็ดเอย(หนอนที่เกิดในเมล็ดพริก=สรรพสัตว์) อยากปล่อยวางกันบ้างไหมโยคีทั้งหลาย ทั้งหญิงและชาย มรรคสี่ที่ประเสริฐมีอยู่อย่างครบถ้วนโปรดจงเพียรค้นหาให้ได้พบเจอ โยคีทุกคน จงฟังทางนี้แล้วจดจำไว้ให้ดี ความเพียรที่มี จงเร่งให้ทันท่วงที เพื่อบรรลุถึงที่ไม่มีตัณหาสิ่งที่น่าเกรงขาม 10 ประการ
             1. ความไม่รู้ ไม่เห็น คือ "อวิชชา"
             2. สิ่งที่มี ไม่อยากได้, สิ่งไม่มี กลับต้องการ คือ "ตัณหา"
             3. ความจริงไม่เชื่อ กลับเชื่อความเท็จ คือ "วิจิกิจฉา"
             4. ความจริงไม่เห็น กลับไปเห็นความเท็จ คือ "ทิฐิ"
             5. สิ่งที่ทำให้จม มิให้ลอย คือ "โอฆะ"
             6. สิ่งที่ทำให้มึนเมา คือ "อาสวะ"
            7. สิ่งรึงรัดให้อยู่กับที่ ทั้งเทวดาและมนุษย์ตัดไม่ขาด คือ"สังโยชน์"
            8. สิ่งปิดบังขวางกั้นมิให้ลุถึงที่ปลอดภัย คือ "นิวรณ์"
            9. สิ่งที่ปิดกั้นมิให้ออกไปจากทุกข์ได้ คือ "กิเลส"
            10 .สิ่งหนักหน่วงที่รับมนุษย์และเทวา คือ "ขันธ์ห้า"ในภพภูมิทั้ง 3 อยู่ภายใต้สิ่งน่าเกรงขามทั้ง 10 อย่าหวังว่า"เป็นความสุขน่าสนุกนักหนา" หากหลุดพ้นไปจากเขาทั้งสิบ มรรคผล นิพพานก็เกิดขึ้นมา นี่แหละ คือบรมสุขพระนิพพานไม่ต้องอ้อนวอนขอ ได้แน่นอนหากทำพระพุทธองค์ทรงเห็นจึงฝากไว้ อย่าประมาทไขว้เขวจงศึกษาแล้วเพียรทำตามพระพุทธเมตตาท่านผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญา นิพพานที่สงบเย็น ผู้พบเห็นคือมรรคสัจ ตามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ เรื่องนี้เป็นกรณียกิจที่ควรทำการทำกายวาจาใจให้บริสุทธ์ิ เป็นหน้าที่ของใคร ใครควรทำ"เป็นคนพึงอาจหาญ กายวาจาดี จิตเลอเลิศบริสุทธ์ิ ใจนำพาว่าง่าย กายจิตอ่อนโยน มานะลดหดหาย สมบัติไม่สะสม หาเลี้ยงพอชีวี มีกิจขวนขวายน้อย ทำจิตให้ว่างเบา ไม่ประมาทธรรมสัจไม่ทิ้งการเฝ้าระวังทวาร ปัญญาน้อยให้เพิ่ม ใจไม่พัวพันสกุล ทุจริตคือสิ่งที่บัณฑิตตำหนิ แม้เล็กน้อยก็ไม่ทำ"รวมเป็น "พรหมธรรมสิบห้า"เป็นสิ่งดีที่ต้องทำตามพระนิพพาน ไม่ต้องอ้อนวอนขอ ได้แน่นอนหากทำ พระพุทธองค์ทรงเห็นจึงฝากไว้ อย่าประมาทไขว้เขว จงศึกษาแล้วเพียรทำตาม

              คุณแห่งพระธรรมสวากขาโต-พระพุทธองค์ตรัสไว้ จิต เจตสิก รูป นิพพานเป็นปรมัตถ์แท้ ๆ สันทิฏฐิโก-องค์แห่งมรรคหนึ่งคู่ของพระอริยเจ้าคือปัญญา 2 ประการ อกาลิโก-ไม่รอคอยวันเวลาที่จะส่งผลให้แก่พระอาจารมรรค 4 องค์ เอหิปัสสิโก-กวักร้องเรียกให้เฝ้าดูเฝ้าพิจารณา รูปธาตุนามธาตุที่เกิดขึ้นกลายเป็นเวทนา โอปนยิโก-จิตเจตสิก รูป เป็นเวทนายื่นส่งให้มรรคสี่รับเอา ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ-มรรคสี่รับเอาแล้วตัดกิเลส อยู่กันตามลำพัง เป็นผลอริยะทั้งสี่คุณแห่งพระสงฆ์สุปฏิปันโน-ท่านผู้ทรงศีลแห่งอริยมรรค 3 องค์ อุชุ-ปฏิปันโน-ใจสงบเย็นด้วยมรรคอาจาระ 3 อย่าง ญายปฏิปันโน-ปัญญาอาจารมรรค 2 อย่าง เฝ้าดู เฝ้าพิจารณา สามีจิปฏิปันโน-มรรคสี่เกิดขึ้นมาตัดกิเลสให้ แล้วรับเสวยผลทั้งสี่ อาหุเนยโย,ปาหุเนยโย, ทักขิเนยโย, อัญชลีกรณีโย, ปุญญักเขตตัง โลกัสส-ควรน้อมนำเครื่องสักการะสัมมานะ และทักษิณา มาบูชากราบไหว้ปลูกไว้ในท่านผู้เป็นเนื้อนาบุญของโลก ข้าพเจ้าขอเทิดไว้เหนือกระหม่อม กราบนอบน้อมบูชา

              คำอนุโมทนาท้ายเล่ม
เอตตาวะตา จะ อัมเหหิ ปุญญัง สัมปัตตัง, สัพเพ เทวาสัพเพ มะนุสสา อะนุโมทันตุ ฯเอตตาวะตา จะ-ด้วยหนังสือที่เขียนชื่อว่า "ทางเดินสู่พระนิพพาน" นี้ อัมเหหิ-ข้าพเจ้าผู้เขียนหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม ปุญญังสัมปัตตัง-ได้บุญที่เป็นธรรมสากัจฉาและธัมมัสสวนะเต็มบริบูรณ์แล้ว สัพเพ เทวา สัพเพ มะนุสสา-เทวดาและมนุษย์ทั้งมวลอะนุโมทันตุ-โปรดอนุโมทนาปีติยินดีด้วยกันทุกท่านทุกคนเทอญ ฯด้วยการเขียนหนังสือชื่อว่า "ทางเดินสู่พระนิพพาน" นี้ ข้าพเจ้าหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม ได้บุญที่เป็นธรรมสากัจฉาและธรรมสวนะเต็มบริบูรณ์แล้ว ขอเทวดามนุษย์ทั้งหลายโปรดร่วมอนุโมทนาโดยทั่วกัน(หลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม)                          

ประวัติหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม หรือราชวังสะ (ภาษาไต)
           ชาติภูมิเดิมชื่อ โยย ต่อมาได้ชื่อว่า จเรธี บิดาชื่อ นายแกง มารดาชื่อนางทอน นามสกุล กอนเจิง เกิดเมื่อ จุลศักราช 1284 ตรงกับ พ.ศ2466 ณ บ้านฮายแสง ตำบลหินแฮ่ อำเภอเมืองหนอง จังหวัดต่องกีรัฐฉานตอนใต้ หลังการคลอดใหม่ ๆ ทั้งแม่และลูกไม่สมบูรณ์นักจึงเกิดอาการเจ็บป่วยอยู่ตลอด และไม่ได้ทำบุญฉลองอายุครบหนึ่งเดือนตามประเพณีไทยใหญ่ พ่อแม่จึงแก้เคล็ดโดยการนำไปให้เพื่อนบ้านแล้วซื้อกลับคืน มีพี่น้อง 9 คน คือพี่ชาย 3 พี่สาว 2 น้องสาว 1และน้องชาย 2 หลวงพ่อเป็นคนที่ 6การศึกษา และเหตุการณ์สำคัญในชีวิตพ.ศ.2478 ถูกควายชน หมดสติสลบไป 1 วันพ.ศ. 2478 -2483 เข้าฝากตัวเป็นศิษย์วัดหินแฮ่ เมืองหนองพ.ศ. 2486 บรรพชาเป็นสามเณร ได้ชื่อว่า "วิเจยยะ"พ.ศ. 2487 ไปเรียนภาษาพม่าที่เมืองเหม่เมี่ยวพ.ศ. 2488 อุปสมบทเป็นพระภิกษุ แล้วไปศึกษาธรรมะกับหลวงพ่ออานันทะ วัดส่วยฉิ่น เมืองเหม่เมี่ยว (เวียงป๋างอู๋) ได้ฉายาว่า"ราชวังโส"ศึกษาพระสูตร 1 ฉบับ สัตตะใหญ่ 1 ฉบับ สังคหะ 9 ตอนและวินัย 3 ฉบับพ.ศ. 2491 เกิดเหตุการณ์พลิกผันทางการเมือง จึงเข้ามายังเมืองไทย โดยเข้ามาพักอยู่ที่วัดกาญจนนันทาราม (ไทยใหญ่)อำเภอเชียงคำ จ.เชียงรายพ.ศ. 2492 กลับรัฐฉานแล้วศึกษาต่อที่ประเทศพม่า ไปอยู่ที่วัดตอยะ เมืองหย่องลิเปน ได้ศึกษาพระอภิธรรม ณ ที่นี่พ.ศ. 2493-2496 ไปอยู่เมืองย่างกุ้ง เรียนพระปัฏฐาน เรียน
พระอภิธรรมทั้ง 5 ได้เข้าฝึกปฏิบัติธรรมกับอาจารย์ญาณส่ากี 1 เดือนและไปปฏิบัติธรรมกับฤาษีอูเหม่น 7 วันพ.ศ. 2496 กลับมารัฐฉาน (ไทยใหญ่) ไปอยู่เมืองแสนหวีใต้ทำหน้าที่เป็นครูสอนหนังสือพ.ศ. 2498 กลับไปอยู่ที่วัดหินแฮ่ เมืองหนอง ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส ได้สร้างวัดหินแฮ่จนสำเร็จพ.ศ. 2499 ย้ายไปอยู่บ้านนาสาน เมืองลายค่า ไปทำหน้าที่ครูสอนหนังสือได้สร้างวัดนาสานจนเสร็จเริ่มปฏิบัติธรรมเข้มข้นขึ้นโดยได้ไปฝึกอานาปานสติ ที่ถ้ำเปียงลาง และนำไปฝึกปฏิบัติต่อเนื่องถึง 12 เดือนพ.ศ. 2501 หลวงพ่อปัญญาโภคะ (อดีตพระสังฆาราชไทยใหญ่) แห่งวัดยุมป่อง เมืองสู้ รัฐฉานเหนือ เป็นประธานจัดทำพระไตรปิฏกฉบับภาษาไทยใหญ่ โดยมีเจ้าส่วยแต๊ก เจ้าฟ้าแห่งเมืองยองห้วย เป็นผู้อุปถัมภ์ หลวงพ่อธีถูกทาบทามให้ไปช่วยงานนี้ โดยไปช่วยงานอยู่ ณ วัดจ๊อกมอง เมืองย่างกุ้ง สำหรับการทำงานเกี่ยวกับพระไตรปิฏกในครั้งนี้ ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจชำระพระสูตร และพระวินัยในช่วงเวลาดังกล่าวก็ได้เข้าฝึกปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ที่สำนักเปียนปะโกเมืองย่างกุ้ง 17 วันพ.ศ. 2501-2504 ไปรับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดเมืองนางได้ไปฝึกกรรมฐานแบบสติปัฏฐาน 4 ณ สำนักจ๊อกแม ฝึกที่สำนักมังกุงอีก 7 วัน และสำนักโขหมักก่ำ เมืองนาย 7 วันพ.ศ. 2505 เกิดเหตุความพลิกผันทางการเมือง ในรัฐฉานและพม่าจึงลาสิกขาบท มาร่วมงานกับขบวนการกู้ชาติไทยใหญ่สมัยหนุ่มศึกหาญ โดยมีเจ้าน้อย ซอหยั่นต๊ะ (เจ้าน้อย มังกร) เป็นผู้นำได้แต่งงานกับนางจิ่ง อยู่ด้วยกันได้ 5 ปี นางจิ่งถึงแก่กรรม มีบุตรชาย 1คนพ.ศ. 2506-2508 ช่วยสร้างวัดบ้านซาง เมืองลายค่า สร้าง เจดีย์9 องค์ และเพราะได้ถวายฉัตรยอดพระเจดีย์ จึงได้นามว่า "จเรธี"นอกจากนี้ในช่วงเวลาที่อยู่เมืองทา (รัฐฉานใต้) ก็ได้สร้างพระเจดีย์ไว้ที่เมืองทา และที่บ้านห้วยยาว ปางยาง 3 องค์พ.ศ. 2509 จัดงานบวชลูกแก้ว (ส่างลอง) 128 องค์ ริเริ่มเครื่องแต่งกายส่างลองเป็นแบบฉบับของไทยใหญ่เป็นคนแรกของเมืองไทยใหญ่ เดิมใช้แบบของพม่ามาตลอดพ.ศ. 2510-2539 มาช่วยงานกองทัพกู้ชาติไทยใหญ่ ภายใต้การนำของเจ้ากอนเจิง (นายพลกอนเจิง ชนะศึก) ช่วยงานกองทัพอยู่ถึง 29 ปี โดยทำหน้าที่ฝ่ายศาสนาเป็นอนุศาสนาจารย์ประจำ กองทัพได้นำสร้างเจดีย์ถึง 14 องค์ ในที่ต่าง ๆ ทั่วเมืองไทยใหญ่ในช่วงเวลา 29 ปีดังกล่าวได้เดินทางเข้าออกเมืองไทย ตั้งรกรากอยู่บ้านหลักแต่งและบ้านเปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่เมื่อมีโอกาสก็เดินทางไปศึกษาและปฏิบัติธรรมในเมืองไทยหลายที่หลายแห่งดังต่อไปนี้1.สำนักจิตภาวันวิทยาลัย จ.ชลรี เป็นเวลา 1 เดือน เรียนสติปัฏฐาน 4 (พองหนอ ยุบหนอ)2. วัดธรรมนิมิต จ.ชลบุรี เป็นเวลา 7 วัน เรียนสติปัฏฐาน 43. สำนักสุญญตาราม จ.กาญจนบุรี 20 วัน เรียน ภาวนา พุทโธ4. สำนักไทรงาม จ.สุพรรณบุรี 7 วัน เรียนสติปัฏฐาน 45. วัดสวนแก้ว อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี 10วัน เรียนสติปัฏฐาน 4ในช่วงเวลา 29ปีนี้ ได้ตั้งครอบครัวอยู่ที่บ้านหลักแต่งต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ มีภรรยาชื่อนางเมี๊ยะทวย ชาวเมืองต้อ บ้านป๋างก้ำก่อ ตำบลปางยาง รัฐฉาน อยู่ห่างจากชายแดนไทยตรงบ้านหลักแต่ง ต.เปียงหลวงประมาณ 1 กิโลเมตร มีลูกสาว 2คน ชาย 1 คน ได้แก่ นางคำน้อย นางเปาหอม และนายเกี๋ยงวันความทุกข์เจียนตายในชีวิตเกิดขึ้น 5 ครั้ง1. อายุ 29 ปี ถูกทหารกระฉิ่นจับตัวไปขัง เตรียมประหารแต่หนีรอดมาได้2. ถูกทหารจีนฮ่อกองทัพนายพลเลาลี (ก๊กมินตั๋ง) จับที่เมืองกว๋าวโหลง แล้วถูกปล่อยตัวในเวลาต่อมา3. เมื่ออายุ 40 ปี เจ้าน้อย (ซอหยั่นต๊ะ) ผู้นำกองทัพ หนุ่มศึกหาญจับจะประหารชีวิต แต่มีผู้สูงอายุเกิน 60 ปี จำนวน 40 คนมารับรองค้ำประกัน จึงถูกปล่อยตัว เนื่องจากถูกทหารพม่าจับตัวไปแล้วถูกปล่อยตัวกลับมาในเวลาอันสั้นจึงถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็นสาย4. ถูกจับโดยทหารรัฐบาลพม่า 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ถูกตัดสินจำ คุก3 ปี แต่ขังได้ 1 เดือน 18 วัน ก็ปล่อยตัว ครั้งที่สองถูกจับจำคุก 13 เดือน5. ถูกยิงที่โคนขา 1 ครั้งประสบการณ์การปฏิบัติธรรมครั้งสำคัญพ.ศ. 2543 เดือนสิงหาคม ตรงกับวันแรม 4 ค่ำ เกิดธรรมสังเวชโดยได้นั่งพิจารณาลูกแมวที่ถูกกัดมาดิ้นตายต่อหน้า ท่าน ได้นั่งดูอาการตั้งแต่เริ่มถูกกัดดิ้นทุรนทุรายด้วยความเจ็บปวดทรมาน อุจจาระปัสสาวะเรี่ยราด จนสิ้นลมขาดใจตายไปต่อหน้าต่อตา แล้วเกิดธรรมสังเวชจึงพิจารณาเข้าไปในตัวตน จนเกิดความกลัวตาย นอนไม่หลับตลอดเวลา 5-6 คืน จนเกิดแรงบันดาลใจขึ้นในคืนวันแรม 9 ค่ำ เดือน 8(สิงหาคม) ในเวลาประมาณ 23 นาฬิกา ได้ลุกขึ้นแต่งกายชุดขาวเตรียมสิ่งของนำกลดออกมาเพื่อจะหนีออกไปบวชเป็นฤาษีปฏิบัติธรรมเพื่อทำพระนิพานให้แจ้งทันก่อนตาย ภรรยาได้ยินเสียงเข้า จึงลุกขึ้นมาสอบถามและร้องไห้ห้ามมิให้ออกบวช ท่านก็ได้ ชี้แจงให้ทราบความประสงค์และบอกว่า จะขอไปปฏิบัติธรรมอย่างเข้มข้นต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือนภรรยาจึงยินยอม ขณะนั้นภรรยาอายุ 45 ปี ตัวท่านอายุ 75 ย่าง 76 ปี
เวลาประมาณตีหนึ่ง จึงได้ออกเดินเท้าจากบ้านป๋างก้ำก่อ รัฐฉานตรงข้ามฝั่งไทย ผ่านด่านพม่า ด่านไทย เข้ามาที่บ้านหลักแต่ง บ้านเปียงหลวง เดินขึ้นไปบนพระธาตุดอยแสง อยู่ทางทิศตะวันตกของ

         ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโมบ้านเปียงหลวง ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักปฏิบัติธรรมที่ท่านได้ร่วมก่อตั้งและเป็นวิปัสนาจารย์สอนกรรมฐานมาเป็นเวลาหลายปี โดยระยะทางจากบ้านมาถึงสำนักปฏิบัติธรรมนี้ ประมาณ 7 กิโลเมตร ท่านเดินทางถึงยอดดอยพระธาตุแสงขาว เมื่อเวลาประมาณตีสาม เมื่อถึงแล้วก็นั่งลงทำสมาธิภาวนาเป็นเวลา 1 ชั่วโมงแล้วจึงลืมตาขึ้น มาตั้งจิตอธิษฐานว่า"ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันเพ็ญเดือน 9 (กันยายน) ข้าพเจ้าจะขอบวชเป็น ฤาษีค้นหาธรรมะที่พระพุทธองค์ทรงค้นพบที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธ์ิแล้วนำมาสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้รู้และปฏิบัติตาม ข้าพเจ้าจะปฏิบัติดังนี้1. จะรับประทานอาหารเป็นขนมเพียงวันละ 3 ก้อนกับนม 1 แก้วจนกว่าจะออกพรรษา2. ถ้าออกพรรษาแล้วยังไม่บรรลุธรรม จะนำข้าวสาร 1 ถังกับเกลือ 3 กิโลติดตัวแล้วเดินทางขึ้นเขาเข้าป่าลึกไปสู่ดอยไม้ยมเหม็นหัวห้วยผักเลิน (ห่างจากบ้านเปียงหลวงไปทางทิศตะวันตก) ข้าวสาร1 กระป๋องนมจะหุงกิน 3 วัน ถ้าหากข้าวสารหมด 1 ถังแล้ว จะปลงสังขาร กินเปลือกไม้ ใบไม้ หัวเผือกหัวมันเป็นอาหารแทนข้าวประพฤติปฏิบัติธรรมไปจนกว่าจะบรรลุธรรมหรือตายไปการอธิษฐานดังกล่าวได้ประกาศให้ลูกศิษย์ลูกหาเดิมที่รู้ข่าวและตามขึ้นไปส่งบนเขาประมาณ 14-15 คนได้ทราบด้วย ในวันนั้นเองบรรดาลูกศิษย์ต่างพากันขนไม้ สังกะสี วัสดุที่พอหาได้ขึ้นไปสร้างกุฎิชั่วคราวแบบเร่งด่วนให้ 1 หลัง บนยอดเขา อยู่ทางทิศใต้ของพระธาตุแสงขาว เย็นวันนั้น (แรม 9 ค่ำ เดือน 8 สิงหาคม) ท่านจึงปลงผมแล้วนุ่งผ้าขาวย้อมน้ำฝาด อธิษฐานบวชเป็นฤาษีรักษาศีล 8 ประพฤติธรรมปฏิบัติสมาธิภาวนา วิปัสสนาภาวนา ตามแนวทาง ที่เคยศึกษาและฝึกปฏิบัติมาจากหลาย ๆ สำนัก โดยยึดเอาอานาปานสติภาวนาพิจารณาลมหายใจเข้าออก กำหนดรู้ที่การพองยุบของท้อง เอาสติสมาธินำหน้า เอาคำสอนทุกอย่างทุกสำนัก ที่ได้ฝึกหัดร่ำเรียนมามาพิจารณา ค้นคว้าปฏิบัติ หาสัจธรรม โดยไม่หลับไม่นอนตลอดเวลา อยู่ในอิริยาบถเพียง3 คือ นั่ง ยืน เดิน จนถึงวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 9 (กันยายน) รวมเวลา 14 วันพอถึงวันขึ้น 7 ค่ำ เดือน 9 ท่านเรียกนายตานหลู่ ซึ่งเป็นลูกศิษย์และเคยเป็นอาจารย์ช่วยสอนกรรมฐานของท่านมาพบแล้วบอกว่า "วิธีปฏิบัติที่เราได้ตั้งใจปฏิบัติมาหลาย 10 ปี และมาปฏิบัติอย่างจริงจังตลอดระยะเวลา 14 วันนี้ ถ้าเป็นวิธีที่จะทำให้เข้าถึงมรรค ผล นิพพาน ได้จริง เราก็น่าจะได้พบเห็น มรรค ผล นิพพาน บ้างแล้ว แต่นี่ยังไม่สามารถทำพระนิพพานให้แจ้งได้ แสดงว่าวิธีปฏิบัติที่เล่าเรียนฝึกหัดมาทั้งหมดนั้น อาจมีอะไรที่ไม่ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงไม่สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติตามประสบความสำเร็จ""ดังนั้น นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเราจะทิ้งปริยัติ และรูปแบบวิธีการปฏิบัติที่เคยทำมาทั้งหมด" จากนั้นจึงกรวดน้ำทิ้งของเก่าที่เคยร่ำเรียนมาให้หมด พร้อมกับเสียใจร้องไห้ออกมา ลูกศิษย์และญาติโยมที่เห็นท่านร้องไห้กรวดน้ำ ก็กล่าวกันว่า "ฤาษีท่านนี้เป็นบ้าไปแล้ว" นายตานหลู่จึงถามว่า "ท่านจะเอาอสุภกรรมฐานหรือ"ฤาษีจเรธีตอบว่า "ไม่เอาอสุภกรรมฐาน" "ที่เราต้องการคือพระนิพพานเราจะเอาธรรมะที่ทำให้ถึงพระนิพพาน" นายตานหลู่ก็ถามว่า "ธรรมอันใดหรือที่จะทำให้ถึงพระนิพพาน" ท่านจึงว่า "เมื่อสามารถทำได้แล้วค่อยบอก ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หากเราได้พบธรรมแล้วก็จะมา แสดงให้ท่าน

           ทั้งหลายฟัง หากยังไม่พบธรรมเราจะไม่พูดอะไรอีกต่อไป ธรรมที่เราปฏิบัติมาอย่างเข้มข้นตลอด 14 วัน โดยไม่หลับไม่นอน ไม่สามารถทำพระนิพพานให้แจ้งแก่เราได้"จากนั้นฤาษีจึงกลับมาใคร่ครวญพิจารณาถึงพระสูตรต่าง ๆเพื่อหาแนวทางเข้าถึงพุทธธรรม เมื่อทบทวนแล้วจึงเข้าใจว่า ที่เราปฏิบัติมาโดยตลอดหลายสิบปี และตลอดทั้ง 14 วันที่ผ่านมานี้เราเอาสติและสมาธินำหน้า จึงไม่สามารถเห็นถึงปรมัตถธรรมที่พบเห็นเป็นได้ก็เป็นเพียงอุคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตเท่านั้นมรรคผลนิพพานนั้นไม่มีนิมิต เราจะต้องเอาปัญญานำหน้าเพื่อให้บรรลุถึงพระนิพพานซึ่งเป็นอนิมิตตะ อปนิหิตะและสุญญตะ แล้วปฏิบัติตามอนัตตลักขณสูตรที่พระองค์ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์การปฏิบัติในเวลาที่เหลือต่อมา เป็นเวลาอีกประมาณ 62 ชั่วโมงฤาษีจเรธีได้เอามรรคข้อที่ 1 และ 2 นำหน้า คือเอาปัญญาสัมมาสังกัปปะอันเป็นปรมัตถ์นำหน้า ดำริ คิดค้น เสาะแสวงหาธรรมจนละบัญญัติได้เหลือแต่สภาวะอันเป็นปรมัตถ์ล้วน ๆ สติอยู่กับปรมัตถ์ล้วนๆณ ปัจจุบันขณะ จึงเป็นสัมมาทิฐิที่สมบูรณ์ วิปัสสนา ญาณก็เกิดขึ้นทันทีเป็นสังขารุเปกขาญาณ (ความสงบรำงับไปจนวางเฉย หยุดความนึกคิดปรุงแต่ง) พ้นจากสมมติบัญญัติเข้าสู่สภาวะที่เป็นปรมัตถ์ล้วน ๆตัดทิ้งอนิจจะ ทุกขะ เหลือแต่สภาวะที่เป็นอนัตตา ธรรมสมดังพุทธดำรัสที่ว่า"สัพเพ สังขารา อนิจจา, สัพเพ สังขารา ทุกขา, สัพเพธัมมา อนัตตา" สังขารคือร่างกาย จิตใจหรือรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ทนอยู่ไม่ได้ ธรรมทั้งปวง ทั้งที่เป็นสังขารและมิใช่สังขารทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ ถือเอาเป็นของเราไม่ได้ ตอนที่ความปรุงแต่งเป็นอุเบกขาไปแล้วนั้น หลวงพ่อเล่าอาการให้ฟังว่า "เวลานั้น ได้ยินและรู้สึกแต่เสียงหัวใจที่เต้นดังต๊อก ๆ ๆ เป็นจังหวะช้าๆ ไม่มีความนึกคิด ปรุงแต่ง (สังขาร) หรือเวทนาใด ๆ ปรากฏ เหลืออยู่แต่ผู้รู้อันบริสุทธ์ิกับสภาวะเต้นตอดของหัวใจที่กำลังดำเนินไปเท่านั้น เมื่อจดจ่อต่อเนื่องอยู่กับสภาวะ อันเป็นปรมัตถ์อนัตตาธรรมนี้ไปไม่นานณ เวลา 21.00 น. ตรงกับเดือน 9 ขึ้น 9 ค่ำ ปรากฏอาการดุจดังไฟฟ้าช็อตตั้งแต่หัวจรดเท้าบังเกิดขึ้น โดยเกิดและดับลงไปในชั่วพริบตาเดียว หลังจากนั้นแล้ว ทรัพย์สิน ศฤงคาร สมบัติ พัสถานลูก ภรรยา ญาติ บริวาร ทุกสิ่งทุกประการ ก็ขาดสะบั้น ความเป็นฉันก็พลันหายตายขาดไปจากกมลสันดาน บังเกิดความสุขเย็นดุจการปลดแอก วางของหนัก พักผ่อนเพราะถึงบ้านที่แท้จริงแล้ว สิ้นสุดการเดินทางแล้วหลังจากเสวยความสุขสงบเย็นเช่นนั้นอยู่เป็นเวลาพอสมควร จิตยินดียินร้ายอย่างละเอียดอ่อนในสัมผัสต่าง ๆ กลับปรากฏผุดขึ้นมา ทำให้รู้ว่ายังไม่ถึงความหมดจด ท่านจึงเจริญ สัมมาสังกัปปะและเข้าถึงสัมมาทิฐิอันสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่ง อาการครั้งที่สองเกิดขึ้น เมื่อเวลา 05.00 น. โดยได้ยินเสียงคล้ายรถแล้วเกิดอาการไฟร้อนที่ท้องแล้วปะทุร้อนไปทั่วทั้งตัวแล้วก็หายไปอย่างรวดเร็ว เกิดความสงบเย็นขึ้นมาจากครั้งที่สอง มาเป็นเวลาพอสมควร จึงได้บำเพ็ญต่อ มีอาการอย่างนี้เกิดขึ้นมาอีกหนึ่งครั้ง จึงเกิดความคิดว่า จากปัญญาความรู้ที่ได้ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโมมา ฉันจะขึ้นธรรมาสน์แสดงธรรมโปรดผู้คนให้ได้รู้ธรรม (มานะเกิดขึ้น)โอ้...ความคิดอย่างนี้ยังมีอยู่หนอ ท่านจึงทำความพิจารณาด้วยสัมมาสังกัปปะต่อไปอีก ต่อจากนั้นมาอีก 4 วัน คือวันแรม 14 ค่ำ เดือน9 เวลา 05.00 น. มีอาการดุจมีของแหลมทิ่มแทงตรงหัวใจ เจ็บแปล๊บชั่วพริบตาเดียว ซ่านไปทั้งตัวแล้วก็ดับไป หลังจากนั้น ท่านก็ได้รู้ประจักษ์ชัดโดยสมบูรณ์ในคำสอนของพระพุทธบิดา ท่านได้รับผลอันพระองค์ทรงตรัสไว้โดยสมบูรณ์ จนเปล่งวาจาออกมาว่า "ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนี้น่าอัศจรรย์จริง ๆ หนอ พระปัญญาธิคุณ พระกรุณาธิคุณพระบริสุทธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าช่างเลิศล้ำยิ่งพระเมตตาอันเอกของพระองค์ที่ทรงสั่งสอนแจกแจงธรรม ซึ่งข้าพระองค์ได้ทำให้แจ้งประจักษ์แก่ใจตนเองแล้ว"
           พิสูจน์ธรรม
         เครื่องพิสูจน์ความเข้าถึงสัจธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้มีอยู่ คือผลสมาบัติและนิโรธสมาบัติ ผลสมบัติการเสวยผลของผู้ทำกิจเสร็จสิ้นแล้ว ท่านจึงพิสูจน์ตามแนวทางที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้และก็เป็นไปแจ่มแจ้งประจักษ์จริงตามนั้น หลวงพ่อบอกว่าครั้งแรกจะทำยากหน่อยเพราะไม่ชำนาญ แต่เมื่อรู้ทางแล้ว เขาก็เป็นไปเองโดยธรรมชาติ ทุกครั้งหรือแม้แต่กระทั่งหากไม่มีกิจเกี่ยวข้องใด ๆกับโลก ภาวะนั้นก็บังเกิดขึ้นเองเป็นปกติวิสัยภาวะที่เกิดขึ้นจริง และหลวงพ่อธีได้แสดงเป็นธรรมะให้ลูกศิษย์ ฟังเพื่อให้รู้ว่าผู้เอาปัญญามรรคคือสัมมาสังกัปปะและสัมมาทิฐินำหน้า แทนการเอาสติและสมาธินำหน้าได้ชื่อว่า227ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโมเป็นลูกศิษย์ที่ปฏิบัติตามคำสอนของพุทธบิดา คือปฏิบัติธรรมตามลำดับที่ถูกต้อง โดยเอาปัญญานำหน้า ให้ปัญญาอบรมศีลมรรค และสมาธิมรรค ให้ศีลและสมาธิ เป็นกองหนุนคอยค้ำจุนปัญญาสัมมาสังกัปปะค้นคว้าเสาะแสวงหาจนพบต้นเหตุแห่งทุกข์คืออัตตา อันอวิชชาหรือโมหะครอบบังไว้ เมื่อเห็นอัตตาชัดด้วยอำนาจสัมมาสังกัปปะ สติก็จับอัตตาตัวจริงได้ ณปัจจุบันขณะเป็นสัมมาทิฐิ อนุโลมญาณก็จะปรากฏขึ้นมาทำหน้าที่รับจับตัว อัตตานั้นส่งให้มรรคญาณประหารความเป็นตัวเป็นตนก็ขาดสะบั้นลง เกิดผลขึ้นรองรับในชั่วพริบตาเดียว กันนั้นเองคือนิพพานธาตุ อมตะธาตุ ที่สุดแห่งการเวียนว่าย ไม่เกิดไม่ตายอีกต่อไป เมื่อสังขารยังไม่ดับ ทำลายก็ได้เสวยสุขอยู่กับสอุปาทิเสสะนิพพาน มีอุเบกขาญานและผลสมาบัติให้เสวยอยู่เป็นนิจ โดยธรรมชาติเป็นปกติวิสัยของอเสขะบุคคล ตราบจนเมื่อสังขารร่างกายอันนี้หมดอายุขัย ตั้งอยู่ต่อไปไม่ได้ก็จักถึงวาระแห่งการดับสูญสู่ธรรมธาตุ อันเรียกว่าอนุปาทิเสสะนิพพาน หมดงาน หมดกิจ โดยสิ้นเชิง และบริบูรณ์ปรากฏการณ์ดังที่กล่าวนี้ท่านอาจสามารถพิสูจน์ความจริงได้ทุกเมื่อ เมื่อท่านได้ไปพบปะกับ หลวงพ่อธีแล้วลงมือปฏิบัติจริง ด้วยตนเองตามคำแนะนำของหลวงพ่อ ผู้มีปัญญาที่อัตตมานะเบาบาง และมีความตั้งใจจริงที่จะทำพระนิพพานให้แจ้งใน ปัจจุบันชาตินี้เมื่อธรรมทุกอย่างประจักษ์ชัดแก่ตนสิ้นหมดแล้ว หลวงพ่อธีก็มาพิจารณาว่า เครื่องครองฤาษีนี้มิอาจแบกรับน้ำหนักอันยิ่งใหญ่ นี้ได้หากไม่เปลี่ยนสู่เพศอันอุดมแล้ว ยากที่จะรักษารูปขันธ์นี้ไว้ได้ จึงได้ไป

           ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโมพบกับพระครูธีรกิจโกศล เจ้าคณะตำบลเมืองแหง เจ้าอาวาสวัดห้วย
ไคร้ ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้ท่านฟัง ท่านเจ้าคณะตำบลซึ่งก็เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมตามแนวทาง สติปัฏฐานสี่อยู่ประจำ ได้ทราบก็พลอยกราบอนุโมทนายินดีแล้ว จึงประสานนิมนต์หลวงพ่ออายุ 82 พรรษา 62 อำเภอเชียงดาว พร้อมหมู่สงฆ์อีก 4รูปมาทำการบอกสมมติให้ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมของคณะสงฆ์รับรองหลวงพ่อเป็นพระสงฆ์องค์หนึ่งของเมืองไทย ที่วัดเจ้าคณะอำเภอเวียงแหงเผยแผ่ธรรมและสร้างสำนักวิปัสสนาภาวนาจากนั้นหลวงพ่อได้จาริกไปโปรดญาติโยมที่บ้านหมอกจ๋ามอ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 7 เดือน ไปช่วยงานเขียนธรรมที่วัดป่าเป้า อ.เมืองจ.เชียงใหม่ประมาณ 1 เดือน ไปโปรดที่วัดเมืองนะ ต.เมืองนะอ.เชียงดาว ระยะหนึ่ง ก็กลับมาพักอยู่กับท่านเจ้าคณะตำบลเวียงแหงที่วัดห้วยไคร้ จนกระทั่งมีคณะปลัดอำเภอหลายอำเภอ และท่านนายอำเภอเวียงแหง ได้มาพบปะสนทนาธรรมกับท่าน จนเกิดศรัทธาจึงนิมนต์ท่านอยู่จำพรรษาที่พระธาตุเวียงแหงอยู่บนเนินกลางหมู่บ้านเวียงแหง ไม่ไกลจากที่ว่าการอำเภอเวียงแหงมากนัก หลังจากนั้น มีโยมจากอำเภอฝาง ชื่อวีระ สุริวงค์ ได้มากราบสนทนาธรรมกับหลวงพ่อแล้วเรียบเรียงเรื่องที่สนทนาทำเป็นหนังสือแจกไปในที่ต่าง ๆ จนมีนายแพทย์ทิพย์กับภรรยาเกิดศรัทธานิมนต์หลวงพ่อไปแสดงธรรม โปรดญาติโยมในตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เป็นเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ จนเกิดดำริกันว่าจะทำอย่างไรให้หลวงพ่อออกไปจำพรรษาอยู่ในเมือง เพื่อให้ญาติโยมได้

มาฟังธรรมสะดวกกว่าการเดินทางไปหาหลวงพ่อที่ อ.เวียงแหงปรึกษาหลวงพ่อแล้ว หลวงพ่อบอกว่า เรื่องนี้ต้องพูดกับท่านนายอำเภอเวียงแหง เพราะหลวงพ่อรับคำนิมนต์ของท่านไว้ก่อนแล้ว คณะญาติโยมจึงไปเรียนขอร้องท่านนายอำเภอฯด้วยเล็งเห็นประโยชน์เพื่อชนหมู่มาก ท่านนายอำเภอฯ จึงกรุณาถอนนิมนต์ คณะญาติโยมจึงได้นิมนต์ท่านมาจำพรรษาอยู่ที่วัดร้าง ชื่อพระธาตุห้วยบอนเก่า เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2545พระธาตุห้วยบอนเก่าและบ้านห้วยบอน ตั้งอยู่ที่ ม. 13 ต.เวียง อ.ฝางจ.เชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวอำเภอฝางไปทางตะวันตกประมาณ 4 กม.จากนั้นจึงมีญาติโยมจากสถานต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกลมาปฏิบัติธรรมที่พระธาตุห้วยบอนเก่านี้มากขึ้นเป็นลำดับ และหลวงพ่อก็ได้รับนิมนต์เดินทางไปอบรมวิปัสสนาภาวนาในจังหวัดอื่น ๆ อีกด้วยต่อมาก่อนเข้าพรรษาปี 2549 หลวงพ่อได้มาสร้างสำนักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานขึ้นอีกแห่งที่บ้านเจียจันทร์ ตำบลเมืองนะอำเภอเชียงดาว เนื่องจากในบริเวณนี้มีคนท้องถิ่นที่เป็นชาวไทยใหญ่จำนวนมาก และมีสถานที่เป็นถ้ำเหมาะสำหรับใช้เป็นสถานที่ในการปฏิบัติธรรม พร้อมกันนี้ หลวงพ่อเองก็มีวัตถุประสงค์เพื่อโปรดญาติโยมชาวไทยใหญ่ในบริเเวณนี้ด้วยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม เป็นนักคิดนักเขียนมีความรู้ทาง
พระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมมากจนได้รับนามว่า "จเร" คำว่า จเรในภาษาไทยใหญ่ ก็คือผู้ทรงความรู้ หรือเป็นบัณฑิตนั่นเอง ก่อนหน้านี้หลวงพ่อได้เขียนหนังสือไว้มากมาย และมีนามปากกาหลายชื่อ เช่นจายสามแหลม จเรสามมอง จเรหลั่นฝึก จเรกอนเฮือง หลาวเมืองจเรสานคัด แซวลั่นเถื่อน เพ่อเถื่อน ตาแหลวเมือง ขวานวโร ก๋ำจักจ่าอ้ายเฒ่าปากปี๋ เขียวคำเจ้ามห่อนับตั้งแต่หลวงพ่อได้ออกมาจากป่าแล้ว ก็ได้เปิดอบรมวิปัสสนากรรฐานทั้งที่วัดพระธาตุห้วยบอน สำนักปฏิบัติวิปัสสนาอนัตตารามและเดินทางไปเปิดอบรมวิปัสสนากรรมฐานตามสถานที่ต่าง ๆ มาโดยตลอด และได้เขียนหนังสือจากประสบการณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาเป็นภาษาไทยใหญ่และได้รับการแปลเป็นภาษาไทยแล้ว4 เล่ม
1. หนังสือ “การรีดนมจากเขาวัว” พ.ศ. 2545
2. หนังสือ “ทางเดินสู่พระนิพพาน” พ.ศ.2550
3. หนังสือ “ทางเดินสู่พระนิพพาน” ฉบับย่อ พ.ศ.2551
4. หนังสือ “โพธิปักขิยธรรรม 37 ปีกธรรมพระอริยเจ้าบินเข้า
พระนิพพาน” พ.ศ.2551

ทางเดินสู่พระนิพพาน โดยหลวงพ่อธี วิจิตฺตธมฺโม จบบริบูรณ์

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013