ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

24 ตุลาคม 2553

ประวัติพระกัมมัฏฐานยุกแรก - วัดพุทธบูชา บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร

 

พระพุทธศาสนามีธุระสำคัญ ๒ ประการ คือ

๑. คันถธุระ ได้แก่การศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์ ให้มีความรู้พระธรรมพระวินัย เพื่อดำรงรักษาตำราไว้มิให้ เสื่อมสูญ จะได้เป็นแบบแก่ผู้ต้องการปฏิบัติ

๒. วิปัสสนาธุระ ได้แก่การศึกษาอบรมจิตใจตามหลักสมถะและวิปัสสนา เพื่อให้รู้แจ้งธรรมและกำจัดกิเลส ออกจากจิตใจ

     ธุระทั้งสองนี้ได้มีมาตั้งแต่แรกตั้งพระพุทธศาสนาพระบรมศาสดาได้ทรงแสดงธรรมและบัญญัติวินัยขึ้นแต่อย่างใด พระสาวกย่อมเอาธุระจดจำและสังวัธยาย บ่อยๆขณะเดียวกันก็เอาธุระปฏิบัติตามพระธรรมวินัยนั้น จนสามารถรู้แจ้งธรรม และกำจัดกิเลสจากจิตใจได้เด็ดขาด โดยเอกเทศบ้าง โดยสิ้นเชิงบ้าง

     ท่านผู้กำจัดกิเลสได้เด็ดขาดสิ้นเชิงแล้ว เรียกว่าพระอรหันต์ ย่อมเอาธุระจดจำพระพุทธวจนะ และช่วยพระ บรมศาสดาทำการอบรมสั่งสอนประชาชน

     ครั้นพระบรมศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว พระอรหันต์ทั้งหลาย มีพระมหากัสสปะเถระ เป็นต้น จำนวน ๕๐๐ รูป ล้วนแต่ผู้สำเร็จอภิญญา และปฏิสัมภิทาญาณได้ชุมนุมกัน

     รวบรวมพระธรรม พระวินัยที่พระบรมศาสดาทรงแสดงและทรงบัญญัติไว้ มาร้อยกรองจัดเข้าระเบียบ หมวดหมู่

     สำเร็จเป็นคัมภีร์พระไตรปิฏก เป็นตำราของพระพุทธศาสนานำสืบกันมาจนตราบเท่าปัจจุบันนี้

     พระพุทธศาสนาได้มาประดิษฐานในประเทศของเรา เมื่อประมาณ พ.ศ. ๓๐๐-๔๐๐ โดยการนำของพระเถระ ๒ รูป คือ พระโสณเถระ และพระอุตตรเถระ

     สมณวงศ์ในประเทศของเรา ไม่เคยปรากฏว่าขาดสูญ พระมหากษัตริย์ทรงเอาพระราชธุระ บำรุงพระพุทธศาสนาตลอดมาทุกสมัย

     ครั้นปรากฏว่าสมณวงศ์ในประเทศอื่นประพฤติดีงามน่าเลื่อมใส ก็เอาพระราชธุระอาราธนา มาซ่อมแปลง สมณวงศ์ในประเทศให้ดีงามขึ้น

เช่น ในสมัยสุโขทัย พระร่วง เจ้าทรงอาราธนาพระสงฆ์ชาวลังกามาไว้ในพระราชอาณาจักร

กุลบุตรผู้เลื่อมใสก็ได้บรรพชาอุปสมบทในพระสงฆ์ชาวลังกา แม้พระภิกษุสามเณรบางองค์ ก็ได้บวชแปลง ใหม่ในพระสงฆ์ลังกาด้วย

     ในสมัยอยุธยาก็เช่นเดียวกัน ปรากฏว่าพระสงฆ์แบบลังกา ได้รับพระราชูปถัมภ์ไว้ในพระราชอาณาจักร

     มีกุลบุตรเลื่อมใสศรัทธาบรรพชาอุปสมบทในคณะสงฆ์นั้นสืบมา ตั้งแต่แรกตั้งกรุงศรีอยุธยาจนถึงเสียกรุง

     การคณะสงฆ์ในสมัยโบราณของประเทศเรา ได้แบ่งงานออกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายคันถธุระ เรียกว่า คามวาสี เอาธุระทางศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์ มีพระสังฆราชเป็นประมุข และมีสังฆนายก ผู้รับสนอง พระบัญชาบริหารหมู่คณะในฝ่ายนั้น

     ส่วนฝ่ายวิปัสสนาธุระ เรียกว่า อรัญญวาสี บ้าง วนวาสี บ้าง เอาธุระศึกษาอบรมทางสมถะ และวิปัสสนา มีพระสังฆราชเป็นประมุข และมีสังฆนายกผู้รับสนองพระบัญชาบริหารหมู่คณะในฝ่ายนั้นเช่นเดียวกัน

     ระเบียบนี้ได้ดำเนินมาจนถึงสมัยปลายกรุงศรีอยุธยาจึงเปลี่ยนแปลง

     ให้มีพระสังฆราชเพียงองค์เดียว แต่คงให้มีสังฆนายกสองฝ่าย คือ ฝ่ายคามาวาสีและอรัญญวาสี หรือเรียก อีกอย่างว่าฝ่ายขวาและฝ่ายซ้าย ต่างก็รับสนองพระบัญชาของสมเด็จพระสังฆราชไปบริหารงานในฝ่ายของ ตน

     ระเบียบนี้ได้มีมาถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ) เพิ่งเลิกล้มไปเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕

     ทรงออกพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ (พ.ศ. ๒๔๔๕) โดยจัดการปกครองอนุโลมฝ่ายบ้านเมือง

     เจ้าคณะผู้บริหารการคณะในท้องถิ่น ย่อมมีหน้าที่บริหารทั้งทางคันถธุระ ทั้งทางวิปัสสนาธุระ

     เมื่อความเปลี่ยนแปลงทางฝ่ายบริหารเป็นอย่างนี้ ธุระทั้ง ๒ จึงได้รับความเอาใจใส่ไม่เท่ากัน

     งามฝ่ายคันถธุระได้เจริญก้าวหน้าไปมาก แต่งานฝ่ายวิปัสสนาธุระได้ซบเซาลง

     การที่ยังคงมีอยู่ก็โดยอุปนิสัยของพระเถรานุเถระ ผู้เห็นความสำคัญของงานฝ่ายนี้ ได้เอาใจใส่ปฏิบัติแนะนำ ศิษยานุศิษย์ในทางนี้สืบๆ กันมา

ภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุติกาชั้นแรก เอาธุระทั้งสองอย่าง หน้าฝนซึ่งเป็นฤดูกาลจำพรรษา ได้เอาธุระศึกษาเล่าเรียนพระคัมภีร์ พอตกหน้าแล้งมักเอาธุระทางวิปัสสนา ออกแสวงหาที่วิเวกบำเพ็ญสมณธรรม

แม้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ผู้ทรงสถาปนาคณะธรรมยุติกาขณะยังทรงผนวชอยู่ ก็ทรงเอาธุระทาง วิปัสสนาด้วย ได้เสด็จธุดงค์ไปถึงหัวเมืองเหนือ เช่น เมืองสุโขทัย เป็นต้น

พระบาทสมเด็จ
พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระเถระผู้ใหญ่ในคณะธรรมยุติการุ่นแรก มีชื่อเสียงทางวิปัสสนาธุระหลายรูป เช่น

 

สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ)
วัดโสมนัส พระนคร

พระอมรา ภิรักขิต (เกิด)
วัดบรมนิวาส พระนคร

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี) วัดสัมพันธวงศ์ พระนคร

พระอมรา ภิรักขิต (เกิด) วัดบรมนิวาส พระนคร

พระครูศิริปัญญามุนี (อ่อน) วัดเทพนิมิตร ฉะเชิงเทรา

ญาท่านพระพนฺธุโล (ดี) วัดสุปัฏน์ อุบลราชธานี

และญาท่านพระเทวธมฺมี (ม้าว) วัดศรีทอง อุบลราชธานี

รุ่นต่อมามีสมเด็จพระพุฒาจารย์ ญาท่านเจ้า (เขียว) วัดราชาธิวาส และสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) วัดโสมนัส พระนคร เป็นต้น

พูดเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉัยงเหนือ ญาท่านพระพนฺธุโล (ดี) ปุราณสหธรรมมิก และญาท่านเจ้าพระ เทวธมฺมี (ม้าว) สัทธิวิหาริกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าสมัยทรงผนวช

........ ท่านทั้งสองได้นำแบบแผนการปฏิบัติพระธรรมวินัย ตามแบบคณะธรรมยุติขึ้นมาเผยแพร่ ได้ตั้งการศึกษาอบรมทั้งทางคันถธุระ ทั้งทางวิปัสสนาธุระ ณ วัดสุปัฏน์ และวัด ศรีทอง จ. อุบลราชธานี และขยายไปยังจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายจังหวัด มีจังหวัดอุดรธานี และขอนแก่น เป็นต้น โดยลำดับ

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
( สิริจันทเถระ  จันทร์ )

........ สมัยต่อมา เจ้าพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันทเถระจันทร์) สัทธิวิหาริกของญาท่านพระเทวธมฺมี (ม้าว) ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้มาเป็นผู้อำนวยการศึกษา และเป็นเจ้าคณะมณฑลอีสาน ท่านก็ได้เอาธุระทั้งสองอย่าง แม้องค์ท่านเอง ก็ออกเดินธุดงค์แสวงหาวิเวกบำเพ็ญภาวนา ภายหลังท่านเข้าไปอยู่ในกรุงเทพฯ ก็เอาธุระทั้งสองตลอดชีวิต มีชื่อเสียงเด่นทางวิปัสสนาธุระองค์หนึ่ง เป็น ที่รู้จักและเคารพนับถือของพุทธบริษัททั่วไป สมัยต่อมาอีก เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสเถระ อ้วน) เป็นเจ้าคณะมณฑลอีสานสืบต่อจากเจ้า พระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
( ติสสเถระ  อ้วน )

........ ได้มีพระอาจารย์สองรูป คือ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ และเจ้าคุณพระปัญญาพิสาลเถระ (หนู) เอาธุระ ทางวิปัสสนาธุระ เป็นกำลังของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทางด้านวิปัสสนาธุระ

พระครูวิเวกพุทธกิจ
( พระอาจารย์เสาร์ กันตสีลเถระ )

........ ครั้นเจ้าคุณพระปัญญาพิสาลเถระได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้เข้าไปเป็นเจ้าอาวาสวัดปทุมวันแล้ว ก็ยังเหลือแต่พระอาจารย์เสาร์ เพียงองค์เดียวนำหมู่คณะทางวิปัสสนาอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สมัยนั้นพระอาจารย์เสาร์ได้ศิษย์สำคัญองค์หนึ่ง คือ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ทำให้ได้กำลังในการเผย แพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระมากขึ้น และพระอาจารย์มั่น ได้ศิษย์สำคัญอีกองค์หนึ่ง คือ พระญาณวิศิษฏ์ (พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม) ทั้งสามท่านได้ร่วมจิตใจกันเอาธุระทางวิปัสสนาอย่างเต็มกำลัง

........ ครั้นมาเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๗๕ เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสสเถระ อ้วน) เล็งเห็นความ สำคัญของงานด้านนี้ยิ่งขึ้น จึงมีบัญชาให้เจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์ (พระอาจารย์สิงห์) มาอยู่จังหวัดนครราชสีมา ให้ดำเนินงานวิปัสสนา ในความอำนวยการของท่าน ในฐานะที่ท่านเป็นเจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา

พระครูวินัยธรภูริทัตโต
( พระอาจารย์มั่น  ภูริทัตตมหาเถร )

........ เจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์ได้เอาธุระในการนี้  เป็นกำลังของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ  กำลังหนึ่ง ครั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯ  ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้เข้าไปเป็น เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาสแล้ว ท่านก็ได้บัญชาสั่งให้ เจ้าคุณญาณวิศิษฏ์ (พระอาจารย์สิงห์)  และพระมหาปิ่น ปัญญาพโลเปรียญโท อาจารย์ วิปัสสนา ไปช่วยเป็นธุระในการให้การศึกษา  อบรมทางวิปัสสนาแก่พุทธบริษัท   ในวัดบรมนิวาสคนละ ๑ ปี

พระญาณวิศิษฏ์
( พระอาจารย์สิงห์  ขันตตยาคโม )

........ จากนั้นงานด้านนี้ได้เผยแพร่ไปในภาคกลางหลายจังหวัด โดยการนำของเจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์ และศิษยานุศิษย์ของท่าน งานเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนา ได้เผยแพร่ไปยังจังหวัดต่างๆ ในภาคกลาง ภาคเหนือ และภาค ใต้โดยลำดับ นับได้ว่างานพระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ   ได้เผยแพร่ไปทั่วทุกภาคของประเทศ มีพุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต สนใจบำเพ็ญภาวนาฝึกฝนจิตใจมากขึ้นอย่างน่าปิติ.

พระอาจารย์มหาปิ่น  ปัญญาพโล

........ พระภิกษุ ศิษยานุศิษย์ของเจ้าคุณพระญาณวิศิษฏ์ ผู้ได้ศึกษาอบรมทางสมถะวิปัสสนามีความรู้พอเป็นครูบา อาจารย์ได้ ท่านเหล่านั้นได้เอาธุระอบรมสั่งสอนพุทธบริษัททางสมถะวิปัสสนาตามสติกำลัง บางท่านมีความรู้ความสามารถ ทางการฝ่ายบริหารได้แต่งตั้งให้มีตำแหน่งฝ่ายบริหารด้วย และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะบ้าง เป็นพระครูสัญญาบัตรบ้าง บางท่านก็ได้เป็นพระครู ฐานานุกรมบ้างตามฐานานุรูป ในสมัยปัจจุบัน พระเถรานุเถระฝ่ายบริหาร ได้เล็งเห็นความสำคัญของวิปัสสนาธุระยิ่งกว่าแต่ก่อน

........ จึงเอาใจใส่บำเพ็ญวิปัสสนาธุระและอำนวยการให้งานฝ่านนี้ดำเนินไปด้วยดีเป็นที่น่าโมทนาความที่เคยเข้าใจแตก ต่าง ซึ่งเป็นอุปสรรคของงานนี้ค่อยๆ ได้อันตรธานไป หวังว่าในเวลาต่อไป งานนี้จะได้รับความเอาใจใส่ และอุปถัมภ์บำรุงให้เจริญก้าวหน้ากว้างขวางกว่าปัจจุบัน และหวังว่าความเข้าใจดีต่อกันและเอกีภาพของสงฆ์จะพึงบังเกิดขึ้นในกาลต่อไปด้วย

หลวงปู่เสาร์

หลวงปู่มั่น

พระครูวิเวกพุทธกิจ
( หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล )

พระครูวินัยธรภูริทัตโต
( หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต )

พระญาณวิศิษฏ์
(หลวงปู่สิงห์ ขนฺตยาคโม)

สามเสนาธิการกองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนาธุระของประเทศไทยยุคปัจจุบัน

ที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด จะเห็นได้ว่ากองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนาธุระภายใต้การนำของสามเสนาธิการ คือ พระอาจารย์เสาร์ พระอาจารย์มั่น และพระอาจารย์สิงห์ ได้วางแผนอย่างมีระเบียบวินัยและอาจหาญ

นำพระในคณะออกเผยแพร่พุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตในภาคต่างๆให้พากันสนใจและบำเพ็ญภาวนาฝึกฝนจิตใจกันมากขึ้น

เรื่องราวที่จะปรากฏต่อไปนี้จะชี้ให้เห็นถึงการแผ่ขยายของกองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ขยายออกไปทุก ภาคของประเทศ

โดยพระญาณวิศิษฏ์ (สิงห์ ขนฺตยาคโม) ศิษย์เอกของพระอาจารย์มั่น และเป็นผู้นำที่สำคัญในการเผยแพร่ครั้ง นั้นด้วย เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นเองโดยตลอดว่า

พระอาจารย์ท่านใดเป็นผู้นำไปเผยแพร่ในภาคใด จังหวัดไหน...

( ในที่นี้ทางผู้จัดทำเว็บไซร์ได้ปรับปรุงข้อมูลบางประการเพิ่มเติม  เช่น  สมณศักดิ์  วันที่มรณภาพ  สถานที่จำพรรษาครั้งสุดท้าย  เพิ่มเติมไว้ภายในเครื่องหมายวงเล็บ )

กรุงเทพมหานคร

๑. พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ปธ.๕ ได้รับบัญชาสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) แล้วได้ไปเผยแพร่ พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ

ท่านพักที่วัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ ๑ พรรษา มีพุทธบริษัทสดับตรับฟังเป็นอันมาก

มรณะภาพแล้ว ( ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๙ ณ วัดป่าแสนสำราญ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี )

พระมหาปิ่น
ปญฺญาพโล

๒. พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ได้รับบัญชาสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) แล้วได้ไปเผยแพร่ พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระในภาค ๑ กรุงเทพฯ

ท่านพักที่วัดบรมนิวาส ๑ พรรษา ได้ฝึกสอนพุทธบริษัทวัดบรมนิวาสให้นั่งสมาธิภาวนาและได้ไปฝึกสอนพุทธ บริษัท วัดสัมพันธวงศ์ให้นั่งสมาธิภาวนา

มีประชาชนพุทธบริษัทมาสดับตรับฟังและฝึกหัดนั่งสมาธิเป็นอันมากทั้ง ๒ สำนัก

ท่านได้มรณะภาพเมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๐๔ ( ณ วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา )

พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม

ลพบุรี

พระอาจารย์ปทุม ธนปาโล ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่จังหวัดลพบุรีท่านพักอยู่ที่วัดป่านิคมสามัคคีชัย บ้านบ่อหด จังหวัดลพบุรีท่านได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีพระนามว่า พระครูญาณวิโรจน์

ปราจีนบุร

๑. พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระในภาค ๒ จังหวัดปราจีนบุรีก่อนแต่เมื่อยังไม่ตั้งสำนักสงฆ์วัดป่าทรงคุณ ท่านพักที่สวนมะม่วงของอาจารย์พร บรรลือคุณ ตะวันออก วัดป่าทรงคุณ ในดงพระราม จังหวัดปราจีนบุรีและได้ไปช่วยแก้ไขวัดปากพอกที่เลิกร้าง ให้กลับเป็นวัดดีมีพระคณะธรรมยุต อยู่ประจำตลอดจนทุกวันนี้

๒. พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ปธ.๕ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระภาค ๒ จังหวัดปราจีน บุรีอีกท่านพักที่สำนักสงฆ์ วัดป่าทรงคุณ ตำบล ดงพระราม อำเภอ เมือง จังหวัดปราจีนบุรี ๕ พรรษา

เมื่อกลับจากจังหวัดปราจีนบุรีแล้ว ท่านป่วยได้นำไปพยาบาลรักษาตัว ที่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินทร์-
ชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ๒ พรรษา ไม่หายได้ถึงแก่มรณะภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙

จันทบุร

๓. พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร และ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร พระอาจารย์ ไสว โสภิโต ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ฝ่ายวิปัสสนาธุระในภาค ๒ จังหวัดจันทบุรี และได้แยกกันอยู่องค์ ละสำนัก คือ

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร พักอยู่ที่สำนักสงฆ์วัดป่าคลองกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงได้ ๒๔๙๒ พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระใน ภาค ๑ กรุงเทพฯ ท่านพักอยู่ที่วัดบรมนิวาส จังหวัดพระนคร

พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

ต่อมาท่านอยู่ที่วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีพระนามว่า พระสุทธิธรรม รังสีคัมภีร์เมธาจารย์

ท่านมรณะภาพเมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๐๔

พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ท่านพักอยู่ที่สำนักสงฆ์ วัดป่าทรายงาม บ้านหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัด จันทบุรี

เมื่อกลับจากจังหวัดจันทบุรีภาค ๒ แล้ว คณะสงฆ์ได้จัดส่งให้ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาภาค ๔ จังหวัดสกลนคร

ท่านพักอยู่ที่วัดดอยธรรมเจดีย์ บ้านนาสีนวน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

ท่านมรณะภาพเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม ๒๕๐๕

พระอาจารย์วิริยังค์ สิธินฺธโร ท่านพักอยู่ที่สำนักสงฆ์ วัดป่าดำรงธรรมาราม

และได้ขออนุญาตสร้างอุโบสถผูกพันธสีมา เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๐ ชื่อว่าพันจากความเป็นสำนักสงฆ์แล้ว ได้เป็นวัด ดำรงธรรมารามโดยสมบูรณ์ด้วยกฏหมาย อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามว่า พระครูญาณวิริยะ

ปัจจุบันคือ พระราชธรรมเจติยาจารย์ เจ้าอาวาสธรรมมงคล ซอยสุขุมวิท ๑๐๑ พระโขนง กรุงเทพฯ

พระอาจารย์ไสว โสภิโต ท่านพักอยู่ที่วัดเจดีย์แก้ว ตำบลหนองซิ้ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี

ได้รับสมณศักดิ์ เป็นฐานานุกรมของเจ้าคุณ พระเทพสุทธิโมลี วัดจันทนาราม เจ้าคณะธรรมยุต จังหวัด จันทบุรี มีนามว่า พระครูปลัดไสว โสภิโต

นครราชสีมา

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๔๗๔ สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ เป็นพระราชา คณะ ชั้นเจ้าคณะรอง (หิรัญญบัตร) มีนามว่า เจ้าคณะ พระพรหมมุนี (ติสฺโส อ้วน) เจ้าคณะมณฑลนคร ราชสีมา วัดสุทธจินดา

พระอุบาลีคุณูปมาจารย์

ท่านได้บังเกิดมีความสังเวชสลดใจ โดยได้ทัศนาการเห็นเจ้าพระคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดบรมนิวาส จังหวัดพระนคร ป่วยหนักระลึกถึงตัวว่าไม่มีกัลยาณมิตรที่ดีทางฝ่ายวิปัสสนา ใคร่จะหาที่พึ่งอันประเสริฐต่อไป

จึงตกลงใจต้องไปเอาพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ซึ่งกำลังออกเที่ยวธุดงค์ไป
จังหวัดขอนแก่นมาเป็นกัลยาณมิตรที่ดีให้จงได้

เมื่อตกลงใจแล้วก็ไปโดยฐานะเป็นเจ้าคณะตรวจการ

ครั้นไปถึงจังหวัดขอนแก่นแล้ว ถามได้ทราบว่า พระอาจารย์สิงห์ พระมหาปิ่น กำลังออกไปเทศนาสั่งสอน ประชาชนอยู่อำเภอน้ำพอง

ก็โทรเลขถึงนายอำเภอให้ไปอาราธนา พระอาจารย์สิงห์ พระมหาปิ่น เอารถยนต์มาส่งถึงจังหวัดขอนแก่นใน
วันนั้น

เมื่อมาถึงจังหวัดขอนแก่นแล้ว ท่านบอกว่า

จะเอาไปอยู่ด้วยที่จังหวัดนครราชสีมา เพื่อปรึกษาหารือกันด้านวิปัสสนาและอบรมสมถวิปัสสนาแก่พุทธบริษัท ทั้งหลายด้วย เพราะได้เห็น เจ้าคุณพระอุบาลี คุณูปมาจารย์ป่วยขาหักเสียแล้ว เราสลดใจมาก

เมื่อมาถึงจังหวัดนครราชสีมาแล้ว เจ้าคุณพระพรหมมุนีพักอยู่วัดสุทธจินดา พอสมควรแล้ว ก็นำพระอาจารย์ สิงห์ พระมหาปิ่น ออกไปหาวิเวก ที่ป่าช้าที่ ๓

คุณหลวงชาญนิคม คุณหลวงนรา ได้ถวายที่ดินให้เห็นเป็นพื้นที่สร้างวัดป่าสาลวัน

แล้วท่านก็นำไปหาเจ้าพระคุณ พระอุบาลี คุณูปมาจารย์ ที่วัดบรมนิวาสกรุงเทพฯ

ครั้นเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๗๕ กลับจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดนครราชสีมาแล้ว เจ้าพระคุณพระพรหมมุนี ไปพักวัดสุทธจินดา

พระอาจารย์สิงห์ พระมหาปิ่น ไปพักที่วัดป่าสาลวัน ซึ่งคุณหลวงชาญนิคม ได้เริ่มสร้างมาตั้งแต่เดือนกุมภา พันธ์ ๒๔๗๔ ได้กุฏิ ๑ หลัง ศาลายังสร้างไม่เสร็จ ๑ หลัง

พรรษาแรก ได้แยกกันอยู่จำพรรษา ดังนี้คือ

๑. พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
๒. พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ
๓. พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ

เผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วักป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา มีพระ ภิกษุ ๓๘ รูป สามเณร ๑๒ รูป

๑. พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ปธ.๕กับ
๒. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร

เผยแพร่พระพุทธศาสนาอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ ป่าช้าที่ ๒ เรียกว่าป่าศรัทธารวม ตำบลหัวทะเล อำเภอ เมือง จังหวัดนครราชสีมา มีพระภิกษุ ๑๐ รูป สามเณร ๔ รูป

ครั้นปีต่อไป ก็ได้แยกกันอยู่จำพรรษา เป็นหลายสำนักมากขึ้น โดยลำดับ คือ

๑. ท่านพระอาจารย์ภุมมี จิตรธมฺโม พร้อมด้วยพระภิกษุ ๕ รูป เผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าท่าช้าง จังหวัดนครราชสีมา

ท่านมรณะภาพประมาณปี ๒๕๐๖


พระอาจารย์อ่อน
ญาณสิริ


พระอาจารย์ฝั้น
อาจาโร


พระอาจารย์กงมา
จิรปุญโญ

๒. พระอาจารย์อ่อน ญาณสิรพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ ให้ไปเผยแพร่พระ พุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ใขเขตอำเภอสี่คิ้ว จังหวัดนครราชสีมา

นายอำเภอมีความเลื่อมใสอาราธนาไปพักสำนักสงฆ์ วัดป่าสว่างอารมณ์ บ้านใหม่สำโรง อำเภอสี่คิ้ว จังหวัด นครราชสีมา

๓. พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร พร้อมทั้งพวกไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่อำเภอโชคชัย

ขุนอำนาจ นายอำเภอมีศรัทธาเลื่อมใสมากได้อาราธนาให้ท่านพักที่สำนักสงฆ์วัดป่าธรรมนิการาม อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา

๔. พระอาจารย์บุญ พระอาจารย์พรหม พรหมสโร ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระที่กิ่งอำเภอ บำเหน็ดณรงค์

ท่านพักจำพรรษาอยู่ที่สำนักสงฆ์วัดป่าสำราญจิต ตำบลบ้านชวน กิ่งอำเภอบำเหน็ดณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ

๕. พระอาจารย์คำตา พร้อมพระภิกษุ ๕ รูป สามเณร ๒ รูป ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่อำเภอปักธงชัย

ท่านพักอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าเวฬุวัน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา

เมื่อพระอาจารย์คำตาจากไปแล้ว ต่อมามีพระอาจารย์ตู้ เป็นผู้อยู่ปกครองสืบมา

๖. พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พร้อมด้วยพระภิกษุ ๕ รูป สามเณร ๒ รูป ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่อำเภอจตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

ท่านพักที่สำนักสงฆ์วัดป่าสุวรรณไพโรจน์ อำเภอจตุรัส จังหวัดชัยภูมิ

อยู่ต่อมา คณะสงฆ์ได้ให้พระอาจารย์ทองอยู่ ฐิตธมฺโม ปกครองวัดสืบมา และได้ขอพระบรมราชานุญาต สร้างอุโบสถผูกพันทธสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒

พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม

๗. พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พร้อมด้วยพระภิกษุ ๕ รูป สามเณร ๒ รูป ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ฝ่ายวิปัสสนาธุระ อำเภอจักรราช

ท่านพักอยู่ที่สำนักสงฆ์วัดป่าจักรราช อำเภอจักรราช จังหวัดนครราชสีมา

ต่อมา คณะสงฆ์ได้จัดให้ พระอาจารย์สำราญ ปกครองอยู่สำนักสงฆ์วัดป่าจักรราช

ได้รับสมณศักดิ์ เป็นฐานานุกรมของเจ้าคุณพระธรรมปิฏก เจ้าคณะธรรายุตภาค ๓-๔-๕ มีนามว่า พระครู ธรรมธรสำราญ

และได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต วิสุงคามสีมาสร้างอุโบสถเสร็จแล้ว ผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ ๒-๓ ๔-๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๓

อุบลราชธานี

พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถระ และ พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถระ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์สามเณรเป็นอัน มาก เผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระในท้องที่จังหวัดอุบลราชธานี


พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ

๑. พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถระ พักอยู่ที่วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี และได้จัดการสร้างสำนักสงฆ์ขึ้น หลายสำนัก คือ

สำนักสงฆ์วัดภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร สำนักสงฆ์วัดดอนธาตุ อำเภอพิบูลมังสาหาร

สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านสวนงัว อำเภอม่วงสามสิบ

สำนักสงฆ์วัดบ้านเหล่าเสือโกก อำเภอขุหลุ

สำนักสงฆ์วัดบ้านด่าน อำเภออำนาจเจริญ

สำนักสงฆ์วัดป่าท่าหัวดอน อำเภอเขื่องใน

ท่านป่วยเป็นโรคชรา มรณะภาพล่วงไปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕

๒. พระอาจารย์มั่น ภูริทัตฺตเถระ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ภาค ๔ จังหวัดสกลนคร

ท่านพักอยู่ที่สำนักสงฆ์วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร แล้วไปอยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าบ้านหนองผือ อำเภอ พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

ป่วยด้วยโรคชราอาพาธถึงแก่มรณะภาพ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒

๓. พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เผนเพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดป่าภูเขาแก้ว อำเภอพิบูลสาหาร และ สำนักสงฆ์วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินทร์ชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งสำนักสงฆ์ วัดป่าด่าน อำเภอ อำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี

ท่านป่วยเป็นโรคเส้นโลหิตในสมองแตก มารักษาอยู่สำนักสงฆ์วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินทร์ชำราบไม่หายถึงแก่มรณะภาพ เมื่อวันที่ ๘ เมษายน ๒๕๐๒

๔. พระอาจารย์บุญสิงห์ อยู่จำพรรษาสำนักวัดสร่างโศก เปลี่ยนเป็นวัดศรีธรรมาราม ได้รับสมณศักดิ์ เป็น พระครูสัญญาบัตรมีนามว่า พระครูพิศาลศีลคุณ

๕. พระอาจารย์ฝั่น ปาเรสโก อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดบ้านหนองไค่ อำเภอยโสธร จังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาท่านได้มาอยู่ที่สำนักสงฆ์ถ้ำเอราวัณ จังหวัดเลย

สุรินทร์

พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล พระมหาโชติ พระอาจารย์น้อย อรินฺทโม ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในท้องที่จังหวัดสุรินทร์


หลวงปู่ดูลย์ อตุโลกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๑. พระอาจารย์ดูลย์ อตุโล ท่านพักอยู่วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ ได้รับสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญา บัตร มีนามว่า พระครูรัตนากร เจ้าคณะธรรมยุต จังหวัดสุรินทร์ และเป็นพระอุปัชฌาย์

ต่อมาคือ พระราชวุฒาจารย์ และมรณะภาพเมื่อ ๒๕๒๖

๒. พระอาจารย์มหาโชติ คุณสัมฺปนฺโน พักอยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าโยธาประสิทธิ กรมทหาร จังหวัดสุรินทร์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ มีนามว่า พระธรรมฐิติญาณ

ต่อมาท่านอยู่วัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา เป็นเจ้าคณะธรรมยุตจังหวัดนครราชสีมา และได้เลื่อน สมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช มีนามว่า พระราชสุทธาจารย์ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๒

ต่อมาคือ พระเทพสุทธาจารย์ (พระมหาโชติ คุณสมฺปนฺโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดวชิราลงกรณ์วรารามวิหาร ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา มรณะภาพเมื่อ ๒๔ มีนาคม ๒๕๑๗

พระอาจารย์น้อย อรินฺทโม พักอยู่สำนักสงฆ์ วัดป่านิมิตรมงคลสถานี จังหวัดสุรินทร์

ศรีษะเกษ

พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ จังหวัดศรีษะเกษ

เมื่อไปถึงจังหวัดศรีษะเกษแล้ว ท่านได้พักอยู่สำนักสงฆ์วัดป่าสำราญ ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมือง จังหวัด ศรีษะเกษ

ต่อมาท่านไปอยู่ วัดโนนพระนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี

อุดรธานี

พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พระอาจารย์อ่อน ญาณสิรพระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปน์โน พร้อมด้วยพระ ภิกษุและสามเณรหมวดละ ๗ องค์ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่านวิปัสสนาธุระ ในท้องที่จังหวัดอุดรธานี

เมื่อไปถึงจังหวัดอุดรธานีแล้ว

พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พักอยู่สำนักวัดป่าโนนพระนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี ได้รับสมณศักดิ์เป็นฐานานุกรม ของเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ เจ้าคณะธรรมยุติ ผู้ช่วยภาค ๓-๔-๕ รูปที่ ๓ มีนามว่าพระครูวินัยธรภุมมี ฐิตธมฺโม

พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ ท่านพักอยู่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านหนองบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

มรณะภาพแล้ว


พระอาจารย์มหาบัวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ท่านพักอยู่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

( ปัจจุบันมีสมณศักดิ์ที่ พระธรรมวิสุทธิมงคล )

สกลนคร

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์สิลา อิสฺสโร พระอาจารย์แว่น พระอาจารย์หอม พระอาจารย์ทองคำ พร้อมด้วยพระภิกษุและสามเณรหมวดละ ๗ รูป ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ฝ่ายวิปัสส นาธุระ ในท้องที่จังหวัดสกลนคร

เมื่อไปถึงจังหวัดสกลนครแล้ว เวลานี้เผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ อยู่ในสำนักต่างๆ ดังต่อไป
นี้คือ

๑. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าถ้ำผาขาม จังหวัดสกลนคร

๒. พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พักอยู่สำนักสงฆ์ยอดเขา เรียกว่า วัดป่าดอยธรรมเจดีย์ จังหวัดสกลนคร

๓. พระอาจารย์สิลา อิสฺสโร อยู่สำนักสงฆ์ วัดโพธิชัย หรือวัดป่าอิสรารามก็เรียก ตำบลวาใหญ่ อำเภอวานร นิวาส จังหวัดสกลนคร

๔. พระอาจารย์กว่า สุมโน อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

มรณะภาพเมื่อ ๑๔ มกราคม ๒๕๑๙

๕. พระอาจารย์แว่น ธนปาโล อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าบ้านบัว อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

ต่อมาเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร

ปัจจุบันพำนักจำพรรษาที่วัดถ้ำพระสบาย อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง

( มรณภาพแล้วเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๔๔ )

๖. พระอาจารย์หอม อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าบ้านอุ่มเม่า อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

๗. พระอาจารย์ทองคำ อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าฝั่งโคน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

นครพนม

พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺโต พระอาจารย์บุญมา มหายโส พระอาจารย์ทอง อโสโก พระอาจารย์สนธิ์ พระอาจารย์ คำ คมฺภีโร พระอาจารย์จรัส พร้อมด้วยภิกษุและสามเณรหมวดละ ๗ องค์ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่าย วิปัสสนาธุระ ในท้องที่จังหวัดนครพนม

เมื่อไปถึงจังหวัดนครพนมแล้ว ท่านได้แยกกันอยู่ตามสำนักต่างๆ ดังนี้

๑. พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺโต อยู่สำนักวัดโพธิชัย ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้ รับตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌาย์

๒. พระอาจารย์บุญมา มหายโส อยู่สำนักวัดอรัญญิกาวาส จังหวัดนครพนม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร มีนามว่าพระครูไพโรจน์ ปัญญาคุณ

๓. พระอาจารย์ทอง อโสโก อยู่สำนักสงฆ์วัดป่าเกาะแก้ว อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

๔. พระอาจารย์สนธิ์ อยู่สำนักสงฆ์วัดถ้ำบ้านนาโสก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม

๕. พระอาจารย์คำ คมฺภีโร อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าสิลาวิเวก อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม

๖. พระอาจารย์จรัส อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าท่าควาย อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

หนองคาย

พระอาจารย์หนูพูล พระอาจารย์หล้า พร้อมด้วยภิษุและสามเณร ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในท้องที่จังหวัด หนองคาย

เมื่อไปถึงจังหวัดหนองคายแล้ว ท่านได้แยกกันอยู่สำนักต่างๆ ดังต่อไปนี้

๑. พระอาจารย์หนูพูล อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่า อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย

๒. พระอาจารย์หล้า อยู่สำนักสงฆ์ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

ขอนแก่น

เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๒-๒๔๗๔ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญพโล ปธ.๕ พระ อาจารย์อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พระอาจารย์อุ่น พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺโต พระอาจารย์สิลา อิสฺสโร พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พร้อมพระภิกษุสามเณร ประมาณรวม ๓๐ รูป ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่านวิปัสสนาธุระ ในท้องที่จังหวัดขอนแก่น

เมื่อไปถึงจังหวัดขอนแก่นแล้ว ได้แยกกันอยู่จำพรรษาตามสำนักสงฆ์ต่างๆ ดังต่อไปนี้

๑. พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม พระอาจารย์ภุมมี ฐิตธมฺโม พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ พระอาจารย์หลุย อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าวิเวกธรรม ตำบลโนนทัน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

๒. พระมหาปิ่น ปญฺญาพโล ปธ.๕ พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านพระ คือ อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

๓. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านผือ ตำบลโนนทัน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

๔. พระอาจารย์กิ่ง อธิมุตฺโต พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าชัยวันบ้านสีฐาน อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

๕. พระอาจารย์สิลา อิสฺสโร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านคำไฮ ตำบลเมืองเก่า อำเภอพระลับ จังหวัด ขอนแก่น

๖. พระอาจารย์อุ่น พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านทุ่ง อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น

๗. พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านโคกโจด อำเภอพระ ลับ จังหวัดขอนแก่น

๘. พระอาจารย์ซามา อุจุตฺโต พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าบ้านยางคำจังหวัด
ขอนแก่น

๙. พระอาจารย์นิน อยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าสุมนามัย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

เมื่อออกพรรษาแล้ว ได้พร้อมด้วยเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล และพระอุปัชฌาย์ในท้องที่ อำเภอพระลับ จังหวัดขอนแก่น ออกเทศนาสั่งสอนประชาชนให้ละมิจฉาทิฐิ เลิกจากการถือภูติผีปีศาจ ตั้ง อยู่ในพระไตรสรณคมน์ทุกปีตลอดมาทั้ง ๓ ปี

ครั้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๔ กำลังออกเทศนาสั่งสอนประชาชนไปในท้องที่อำเภอน้ำพอง เจ้าพระคุณ พระพรหมมุนี เจ้าคณะมณฑลนครราชสีมา มีบัญชาอาราธนาให้ไปจังหวัดนครราชสีมา จึงได้ย้ายจากจังหวัด ขอนแก่นไปอยู่จำพรราที่จังหวัดนครราชสีมา

กาฬสินธุ์

พระอาจารย์แดง พร้อมด้วยหมู่คณะ ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในท้องที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ท่านอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าประชานิยม ตำบลเมือง อำเภอ เมือง จังหวัดกาฬสินธุ์

ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร มีนามว่า พระครูกาฬสินธุ์จรัสคุณ และเป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าคณะธรรมยุต อำเภอ จังหวัดกาฬสินธุ์

มหาสารคาม

พระอาจารย์คูณ อธิมุตฺตโก พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ท่าน พักอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ ป่าพูนไพบูลย์ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ป่วยเป็นโรคฝีประคำร้อย ถึงแก่ มรณภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗

ร้อยเอ็ด

พระอาจารย์สีโห เขมโก พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร เผนแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ จังหวัดร้อย เอ็ด ท่านพักอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์วัดป่าศรีไพวัน ตำบลเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

ต่อมาท่านได้มาอยู่สำนักสงฆ์วัดป่าทรงคุณ ตำบลดงพระราม อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี

เลย

พระอาจารย์คำดี ปภาโส พระอาจารย์ชอบ พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัส สนาธุระ ในท้องที่จังหวัดเลย

เมื่อไปถึงจังหวัดเลยแล้ว ท่านได้แยกกันอยู่จำพรรษา ตามสำนักต่างๆ ดังต่อไปนี้


พระอาจารย์คำดี ปภาโส

๑. พระอาจารย์คำดี ปภาโส พักอยู่สำนักสงฆ์วัดป่าถ้ำผาปู่เขานิมิตร จังหวัดเลย ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร มีนามว่า พระครูญาณทัสสี

ปัจจุบันมรณภาพแล้ว

๒. พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม ท่านพักอยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าถ้ำเขาเมืองเลย จังหวัดเลย

ปัจจุบันอยู่จำพรรษาที่วัดป่าสัมมานุสรณ์ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

( มรณภาพ ๘ มกราคม ๒๕๓๘ )


หลวงปู่ชอบกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เชียงใหม่

พระอาจารย์ตื้อ พระอาจารย์สิม พระอาจารย์หลุยไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระในท้องที่จังหวัด นครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย

เมื่อไปถึงจังหวัดนครเชียงใหม่แล้ว ท่านได้แยกกันอยู่คนละสำนักดังนี้


พระอาจารย์ตื้อ อาจาลธัมโม

๑. พระอาจารย์ตื้อ อาจลธมฺโม อยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าดาราภิรมย์ ตำบลค่ายรัศมี อำเภอแม่ริม จังหวัดนครเชียง ใหม่

มรณภาพเมื่อ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๔

๒. พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร พักอยู่สำนักสงฆ์ วัดป่าสันติธรรม จังหวัดนครเชียงใหม่ ได้รับพระราชทาน สมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ฝ่านวิปัสสนาธุระ มีนามว่า พระครูสันติวรญาณ

ปัจจุบันอยู่วัดถ้ำผาปล่อง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

( ต่อมาได้รับสมศักดิ์ที่พระญาณสิทธาจารย์ มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๓๕ )


พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร
กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ


พระอาจารย์หลุยกับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

๓. พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร พักอยู่สำนักสงฆ์ วัดป่า จังหวัดเชียงราย

ปัจจุบัน อยู่วัดถ้ำผาบิ้ง ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

( มรณภาพเมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๒ )

ลำปาง

พระอาจารย์แว่น พร้อมหมู่ภิกษุสามเณร ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในท้องที่จังหวัดลำปาง เมื่อไปถึงแล้วพักอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ วัดป่าสำราญนิวาส อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง

ต่อมาท่านอยู่วัดป่าบ้านบัว อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

นครสวรรค์

พระอาจารย์ทรงชัย (แข) พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในท้องที่ จังหวัดนครสวรรค์ ภาค ๖ ท่านพักอยู่จำพรรษา ที่สำนักสงฆ์วัดป่าเทวาสถาพร ตอนทางบ้านแดน จังหวัดนคร สวรรค์

ภูเก็ต พังงา

พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี พระอาจารย์จันทร์ จนฺทสิริ พร้อมพระภิกษุสามเณร ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนา ฝ่ายวิปัสสนาธุระในภาคใต้ คือ ภาค ๗ จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดพังงา

เมื่อไปถึงภาคใต้แล้ว ท่านได้แยกกันอยู่สำนักต่างๆ ดังนี้คือ

๑. พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี อยู่จำพรรษาสำนักสงฆ์ วัดป่าไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต ได้รับสมณศักดิ์เป็นพระรา าคณะชั้นสามัญฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามว่า พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์ เจ้าคณะธรรมยุตอำเภอ จังหวัด ภูเก็ต และพังงา เป็นพระอุปัชฌาย์


พระอาจารย์เทสก์ กับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

ปัจจุบันอยู่วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย

( มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๓๗ )

๒. พระอาจารย์จันทร์ จนฺทสิริ อยู่สำนักสงฆ์วัดป่า............ จังหวัดกระบี่

จากเรื่องราวที่กล่าวมา บรรดาพระอาจารย์ในกองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนาธุระ เฉพาะองค์ที่ปรากฏชื่อเสียงขจร ขจายมาจนกระทั่งทุกวันนี้

ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มรส่วนสำคัญมากที่เป็นกำลังใจให้ท่านเหล่านี้ได้รับธรรมอันลึกซึ้งสามารถทำให้ เกิดประโยชน์แผ่ขยายไปมากมายหลายแห่งในทุกภาคของประเทศ

ถึงแม้ว่าปัจจุบันท่านจะมรณภาพ แต่ชื่อเสียง เกียรติคุณของพระอาจารย์มั่น ยังคงอยู่เป็นที่เคารพสักการะ ของหมู่ชนโดยทั่วไปไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าครั้งที่ท่านยังดำรงชีวิตอยู่

การที่ได้นำ กองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนาธุระ มาลงพิมพ์ เพื่อที่จะได้เป็นตัวอย่างที่ดี เป็นแนวความคิดให้ปรากฏ แก่ กองทัพธรรมฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในยุคปัจจุบัน ที่ตกทอดสืบต่อมาจากพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล พระ อาจารย์มั่น ภูริทัตฺโต และพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม

ซึ่งจักได้ช่วยกันทำนุบำรุงเผยแพร่งานด้านวิปัสสนาธุระ ให้ขจรขจาย แก่ผู้คนที่นับวันก็ยิ่งจะสนใจการปฏิบัติ ธรรมสมาธิภาวนากันมากขึ้นต่อๆ ไป

ประวัติพระกัมมัฏฐานยุกแรก - วัดพุทธบูชา บางมด ทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013