ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา


ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซด์สถานีวิทยุคลื่นพุทธบูชา

FM 100.25 Mhz

มาทำความรู้จักกับเราสิค่ะ

คลื่นพุทธบูชา" FM100.25 Mhz คลื่นแห่งพระธรรมและเสียงธรรม 20 ชั่วโมง

เปิดสถานี เวลา 05.00 น.-24.00 น.ทุกวันเชิญมาฟังกันนะค่ะ

10 พฤศจิกายน 2553

THE BUDDHA3

 

พระมหาบุรุษเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา

loading picture

เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฐกะ เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เพื่อทรงบรรพชา  ในราตรีกาลวันเพ็ญแห่งอาสาฬมาส  ก่อนพุทธศก 51 ปี คือในปีที่พระองค์มีพระชนมายุ 29 พรรษา  ภายหลังจากที่พระองค์ได้เสด็จประพาสอุทยาน และได้ทอดพระเนตรเห็นทูตทั้งสี่ คือคนแก่  คนเจ็บ  คนตาย  และสมณะ แล้วเสด็จกลับพระราชวัง ได้ทรงสดับข่าวการประสูติพระโอรส  ทรงเปล่งอุทานว่า ราหุโล  ซึ่งแปลว่า ห่วง คล้อง แล้ว
ภาพนี้เขียนขึ้นจากความรู้ ความเข้าใจในพระพุทธประวัติ และปฐมสมโพธิกถา ตอนเสด็จออกมหาภิเนษกรม โดยได้ประมวลข้อความนั้น ๆ มาเขียน แสดงถึงการออกจากพระราชวังของเจ้าชายสิทธัตถะ โดยบุคคลาธิษฐานคือมีภาพบุคคลแสดง  เจ้าชายสิทธัตถะประทับบนหลังม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะยึดหางม้าตามไป ข้างหน้ามีเทวดาถือธงนำ ถัดมาเป็นท้าวสักกะเทวราชกำลังจูงม้า เบื้องหลังมีพรหมเชิญเครื่องบวช ท้าวจตุโลกบาลประคองเท้าม้าทั้งสี่ให้เคลื่อนที่ไป และในขณะที่จะพ้นพระราชวังออกไป มีพระยามารวัสวดีผู้ใจบาป  แสดงอาการห้ามไว้มิให้ไป
ถ้าสันนิษฐานโดยธรรมจะได้ใจความจากภาพนี้ว่า  การทำความดีนั้นบรรดาคนดีย่อมมาร่วมกันอนุโมทนาสาธุการและช่วยเหลือ ประดุจที่บรรดาเทวดาได้พากันมาแห่แหนไป  ส่วนพระยามารแสดงถึงคนชั่วที่ไม่ต้องการ ให้ใครทำดีประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง คือความห่วงหาอาลัยของเจ้าชายสิทธัตถะ  จากสภาวะเดิมของพระองค์

เจ้าชายสิทธัตถะปลงพระเกศา

loading picture

เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกจากวัง พร้อมด้วยนายฉันนะและม้ากัณฐกะ  เพื่อแสวงหาโมกขธรรม  เมื่อเสด็จมาถึงฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  พระองค์ก็ทรงเปลื้องเครื่องทรงกษัตริย์ มอบให้นายฉันนะ   และรับสั่งให้นำม้ากัณฐกะ กลับคืนสู่พระนคร  เพื่อแจ้งข่าวแก่พระประยูรญาติและพระราชบิดา  ก่อนจากไป นายฉันนะและม้ากัณฐกะ ได้แสดงความโศกเศร้าโสกาอาดูร ด้วยความจงรักภักดีและอาลัยรัก
เจ้าชายสิทธัตถะ  ผู้ทรงมั่นคงเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ในอุดมคติว่า สาธุ โข ปพฺพชฺชา  ทรงอธิษฐานเพศบรรพชิตได้ประทับนั่งบนแผ่นศิลา บ่ายพระพักตร์สู่ฝั่งชล มีหมู่เทพและพรหมถวายความเคารพ และน้อมถวายสมณบริขาร คือ บาตรและกาสาวพัตร์  พระองค์ทรงตัดพระเมาฬีด้วยพระแสงขรรค์  แล้วทรงรับเครื่องสมณบริขารเหล่านั้น มาครองเพศเป็นบรรพชิต

พระมหาโคดมเข้าศึกษาที่สำนักอุทธกะรามบุตรดาบส

loading picture

พระมหาบุรุษได้ทรงศึกษาอยู่ในสำนักของอุทธกะรามบุตร  ซึ่งอยู่ ณ แขวงเมืองพาราณสี จนสำเร็จวิชาชั้นสมาบัติแปด คือ  รูปฌาณสี่และอรูปฌาณสี่  ซึ่งเป็นวิชาชั้นสูงสุดของอุทธกะรามบุตร  พระมหาบุรุษเห็นว่า ยังไม่ใช่ทางตรัสรู้โลกุตรธรรมชั้นสูงสุด  จึงทรงอำลาอุทธกะรามบุตร  เพื่อไปค้นคว้าเพื่อความบรรลุ  พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ  ด้วยลำพังพระองค์เองต่อไป

พระมหาโคดมทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา

loading picture

หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จออกบรรพชาแล้ว ได้ทรงศึกษาค้นคว้า
หาทางตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยวิธีการต่าง ๆ อยู่ถึง 6 พรรษา วิธีหนึ่งที่ทรงปฏิบัติคือการบำเพ็ญทุกกรกิริยา
ทุกกรกิริยา เป็นการทรมานตนให้ลำบากด้วยประการต่าง ๆ เริ่มแต่ทรงกัดพระทนต์ด้วยพระทนต์
กดพระดาลด้วยพระชิวหา ผ่อนลมหายใจเข้าออกทีละน้อย เสวยพระกระยาหารแต่น้อยจนถึงไม่เสวยเลย จนร่างกายซูบผอม ยากที่ผู้ใดจะทำได้เท่าเทียมกับพระองค์ นับเป็นความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ โดยมีพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เป็นผู้อุปัฏฐากและเป็นพยาน แต่การปฏิบัติดังกล่าวไม่ใช่ทางแห่งความตรัสรู้ และพระองค์ได้ทรงเลิกในเวลาต่อมา

พระมหาโคดมทรงเลิกล้มทุกกรกิริยา

loading picture

พระมหาบุรุษทรงกระทำทุกกรกิริยา ณ เชิงเขาปราคโพธิ หรือ คงฺคสิริ อันตั้งอยู่เบื้องหน้าจากลุมพินี ประเทศเนปาล สู่พุทธคยาประเทศอินเดีย ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ครั้งนั้นปัญจวัคคีย์ คือ โกณทัญญะ ภัททิยะ  วัปปะ มหานามะ และอัสสชิ ได้อยู่เฝ้าปฏิบัติพระองค์อยู่ ด้วยหวังว่าเมื่อพระมหาบุรุษ ผู้มีสรีระสมบูรณ์ ต้องตามมหาปุริสลักษณะพยากรณ์ศาสตร์ มีคติเป็นสอง คือ ถ้าอยู่เป็นฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ถ้าออกบวชจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เมื่อพระองค์กระทำทุกกรกิริยา อดพระกระยาหารอยู่จนพระสรีระซูบผอม พระฉวีวรรณเศร้าหมอง พระเสโทใหล มีพระหทัยสวิงสวาย เพราะพระวาโยธาตุกำเริบ พระปัญจวัคคีย์ ต่างเข้าประคองสองพระพาหา โอบอุ้มพระสรีระ โบกพัดให้คลายร้อน และแสดงความปริเทวนาการ

ศุภนิมิตแห่งพิณสามสาย

loading picture

พระมหาบุรุษได้กระทำความเพียรอย่างแรงกล้าถึงขั้นอุกฤษฏ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ในชมพูทวีป ถึงวาระที่ 3 คือ อดพระกระยาหารจนพระวรกายซูบผอม ซวนเซแทบจะทรงพระกายอยู่ไม่ได้นั้น อุปมาญาณก็ได้เกิดขึ้นในมโนธาตุของพระองค์ว่า "อันความเพียร ถ้าย่อหย่อนก็เสียผลที่หวัง ถ้าเคร่งครัดเกินไปก็ให้ผลเสียหาย" ต่อเมื่อกระทำได้พอดีทั้งกายและใจจึงจะเกิดผลต่อผู้บำเพ็ญ ดุจพิณสามสาย ถ้าหย่อนนักมักไม่ดัง ถ้าตึงนักมักขาด ต่อเมื่อพอดีจึงจะให้เสียงนิ่มนวลฟังได้ไพเราะ
ภาพนี้ พระโบราณาจารย์ได้แสดงเป็นบุคคลาธิษฐานว่า เมื่อพระมหาบุรุษบำเพ็ญเพียรอย่างอุกฤษฏ์ จวนเจียนพระชนม์จะแตกสลายอยู่นั้น ท้าวสักกะเทวราช ที่คอยให้ความช่วยเหลืออนุเคราะห์  แก่ธรรมจารีชนทั้งหลายอยู่เบื้องบน ได้เห็นความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวของพระมหาบุรุษ จะไร้ผลเสียเปล่า จึงได้ถือพิณสามสาย เสด็จลงมาดีดถวาย สายที่หย่อนยาน ดีดเข้าไม่ดัง สายที่ตึงนักดีดเข้าก็ขาด สายที่สามพอดีดีดเข้าประสานเสียงกลมกลืนไพเราะ พระมหาบุรุษได้สติ จึงยึดเอาพิณสายกลางที่พอดี มาเป็นแนวทางปฏิบัติ คือตั้งความเพียรทางใจ ให้เป็นไปพอดี  ไม่หย่อน  ไม่ตึง  จึงเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา จึงสำเร็จพระโพธิญาณสมประสงค์
บรรดาปัญจวัคคีย์ เมื่อเห็นพระองค์เลิกทุกกรกิริยา กลับมาเสวยพระกระยาหาร ก็คลายศรัทธา พากันหลีกไป

THE BUDDHAหน้าต่อไป

0 comments :

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

วัดพุทธบูชา

Picture 012

Picture 008 Picture 006

Picture 010 Picture 013