ขอเชิญทุกๆมาฟังนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ โดย ท.เลียงพิบูลย์ เรื่องนครแลลับ อยุธยาแห่งความหลังซึ่งเป็นผลงานของ ท.เลียงพิบูลย์ ในชุดกฏแห่งกรรม จะทำให้ท่านรักชาติไทยไปอีกนานๆเท่านานละครัาบบบ
วิธีการเผยแผ่ธรรมะของท่านทองหยก เลียงพิบูลย์ ด้วยความเสียสละของท่านได้สร้างสรรค์งานอันเป็นคุณประโยชน์แก่สังคมและทางพุทธศาสนา ด้วยงานเขียนกฎแห่งกรรม จากงานเขียนดังกล่าวท่านได้สมญานามว่า “ราชันกฎแห่งกรรม” ในปี 2520 เรื่องราวต่างๆในงานเขียนกฎแห่งกรรมได้มีการเผยแผ่ออกมาในรูปแบบของงานละครทีวี ทางช่อง 7 สี สัปดาห์ละ 1 ครั้งปัจจุบันมีการนำผลงานกฎแห่งกรรมไปอ่านออกอากาศที่สถานีวิทยุคลื่น AM 945 เวลา 11.00-11.30 น. ทุกวันจันทร์-เสาร์ นอกจากนั้นในอดีตท่านได้ใช้วิธีการเผยแผ่
ธรรมะเพื่อช่วยเหลือสังคมในด้านต่างๆด้วยตัวของท่านเอง โดยการตอบจดหมายทางไปรษณีย์ ตอบคำถามของคนที่มีเรื่องทุกข์ร้อนทางโทรศัพท์ เปรียบเสมือน “แพทย์ทางใจ” ไปบริการถึงบ้านทั้งที่ไปคนเดียวและในรูปแบบของทีมงานหลายคน มาจากเพื่อนสนิทของท่าน ตระเวนไปพบผู้ที่ต้องความช่วยเหลือ ท่าน ท.เลียงพิบูลย์ ได้ตั้งชมรมกฎแห่งกรรมขึ้น เป็นการพบปะสังสรรค์สนทนาบรรยายถึงเรื่องกฎแห่งกรรม เพื่อนำข้อมูลไปประกอบการเขียนกฎแห่งกรรม ปัจจุบันชมรมนี้ยังดำเนินการอยู่ซึ่งเป็นการเผยแผ่ธรรมะอีกรูปแบบหนึ่งของท่าน ท.เลียงพิบูลย์ ที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
จะเห็นได้ว่าวิธีการเผยแผ่ธรรมะของทั้งสองท่านนั้น จะมีทั้งลักษณะที่คล้ายกันและแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ที่เหมือนกันอย่างมากคือ ลักษณะของทั้งสองท่านเป็นผู้ที่มีความเสียสละ ทำความดีมิเคยปรารถนาลาภยศ สรรเสริญเป็นเครื่องตอบแทน มีคุณธรรมและเป็นผู้ให้อย่างแท้จริง และเรื่องที่นำมาเผยแผ่เป็นการนำหลักคำสอนในพระพุทธองค์มาสั่งสอนชี้แนะแนวทางให้พุทศาสนิกชนนำไปเป็นแนวปฏิบัติอย่างถูกต้อง และดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข
พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของพุทธศาสนิกชนหลังจากได้อ่านหนังสือกฎแห่งกรรม ของ ท่าน ท.เลียงพิบูลย์
เนื่องจากในปัจจุบันบ้านเมืองและสังคมมีแต่ความวุ่นวาย เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งปราศจากความยั้งคิดและความเมตตา เป็นพฤติกรรมที่ผิดวิสัยของมนุษย์ควรกระทำ เช่น ลูกทำร้ายพ่อแม่ พ่อแม่ฆ่าลูก มีการปล้นฆ่ากันอย่างฮึกเหิม ไม่เกรงกลัวต่อบาป ประชาชนในสังคมขาดที่พึ่งและที่ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ ทำให้ทุกคนต่างแสวงหาที่พึ่งทางใจและความสุขในชีวิต
การอ่านหนังสือกฎแห่งกรรม ที่มีเนื้อหาและเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงกับบุคคลต่างๆ ส่วนมากยังมีชีวิตอยู่ สามารถช่วยให้ผู้อ่านหรือผู้ที่ได้ฟังจากการถ่ายทอด การบอกเล่าของผู้อื่น มีอารมณ์และจิตใจอ่อนลงเพราะเกรงกลัวต่อบาปและกฎแห่งกรรม เพราะมีความเชื่อในผลของการกระทำที่ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดไม่ช้าก็เร็ว ว่าคนทำดีต้องได้ดีคนทำชั่วต้องได้รับผลตอบสนองจาก การกระทำของตนเอง
ดังนั้น เมื่อเรื่องราวของผู้คนที่มีประสบการณ์จริง ได้ถูกถ่ายทอดลงในหนังสือกฎแห่งกรรม เพื่อเป็นอุทาหรณ์ คติเตือนใจคนที่ได้อ่านหนังสือ หนังสือกฎแห่งกรรมจึงเปรียบเสมือนสื่อในการกระตุ้นให้ ประชาชนและพุทธศาสนิกชนเริ่มเชื่อว่า การปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระศาสดา สามารถช่วยและปกป้องคุ้มภัยตนเองและคนที่เรารักจากสิ่งชั่วร้ายต่างๆได้ ตัวอย่างที่ทำให้น่าเชื่อว่า การเผยแพร่เรื่องราวในกฎแห่งกรรม ตามหลักคำสอนในพุทธศาสนา เป็นผลที่เกิดจากการกระทำบาป มีอิทธิพลทำให้พฤติกรรมของมนุษย์เปลี่ยนไปดังนี้
1. จากการสอบถาม ผู้อ่านหนังสือกฎแห่งกรรมส่วนมากเชื่อว่า เวรกรรมมีจริง ใครทำอะไรไว้ ผลกรรมจะตามสนองผู้กระทำ มีปริมาณสูงขึ้น ถึงร้อยละ90
2. ผู้อ่านหนังสือกฎแห่งกรรมส่วนใหญ่ ได้นำเรื่องราวและแง่คิดต่างๆที่เกิดขึ้นไปพัฒนาพฤติกรรมของตนเอง และคนใกล้ชิด เช่น คนที่ชอบปวดศีรษะมายเกรนเมื่ออ่านกฎแห่งกรรมแล้วจะรู้ว่าสาเหตุคือ เคยใช้ไฟฟ้าช็อตคน เมื่อผู้ใดอ่านแล้วก็จะทราบว่าการนำไฟฟ้าไปใช้ทำร้ายทั้งคนและสัตว์ก็จะทำให้ผู้กระทำเกิดความเจ็บปวดเช่นเดียวกัน เมื่อรู้เช่นนี้จึงทำให้คนอ่านไม่กล้ากระทำพฤติกรรมดังกล่าว หรือจากเรื่องเจ้าหนี้ร้องไห้ ซึ่งวิญญาณที่ตายไปแล้วได้มาเข้าฝันภรรยาของตนเองและบอกให้นำเงินไปจ่ายจำนวน 73 บาท ถึงกับทำให้เจ้าหนี้ร้องไห้ออกมาเพราะความที่คนดีของวิญญาณที่ตายไป
ส่วนท่าน ท.เลียงพิบูลย์ ท่านจะนำเหตุการณ์ที่เกิดและเห็นผลจากการกระทำดีกระทำชั่วแล้วมาสอนเพื่อให้เป็นแนวทางและบทเรียนในการปฏิบัติตนเป็นคนดี และทั้งสองท่านยังได้ทำงานเผยแผ่ธรรมะในพุทธศาสนา อุทิศร่างกาย สติปัญญา เพื่อช่วยเหลือสังคมและศาสนามาโดยตลอด
สำหรับท่าน ท.เลียงพิบูลย์นั้นถึงแม้ท่านจะเสียชีวิตไปนานแล้ว แต่ตลอดระยะเวลาที่ท่านมีชีวิตอยู่ท่านก็ทำงานเพื่อช่วยเหลือสังคมและบุคคลทุกคนที่ต้องการความช่วยเหลือหรือเดือดร้อน ผลงานของท่านก็เป็นที่ปรากฏ มีเชื่อเสียง ทุกคนรู้จักเมื่อเอ่ยถึงหนังสือกฎแห่งกรรม ก็จะเข้าใจทันที
0 comments :
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น